การแก้ปัญหาน้ำ คือการแก้ปัญหาความยากจนให้แก่พี่น้องเกษตรกร/ชาวนา ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศครับ.

on วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เรื่อง การแก้ปัญหาน้ำคือการแก้ปัญหาความยากจนให้แก่พี่น้องเกษตรกร/
 
      ชาวนาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศครับ.
 
เรียน คุณชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน.
 
      ผมขออนุญาตินำเสนอแนวคิด ข้อมูลอีสาณมิได้ขาดน้ำเลยครับ
 
แล้วจะผันน้ำโขงเข้ามาทำไม? โครงการโขง ชี มูล ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ
 
เพื่อเก็บกักน้ำที่ระดับสูงเกินไป ทำให้ส่งผลกระทบน้ำท่วมไร่นา ป่าบุ่ง ป่า
 
ทาม สร้างความเสียหายแก่พี่น้องประชาชนอย่างมหาศาล และที่ออกแบบ
 
จากแนวคิดที่ว่า จะสามารถเก็บกักน้ำได้มากและส่งน้ำให้แก่เกษตรกร/
 
ชาวนาได้เป็นแสนๆไร่นั้น ไม่เป็นความจริงเลยครับ กลับกลายเป็นไปเพิ่ม
 
ความสูงของระดับน้ำท่วม และระยะเวลาการท่วมยาวนานขึ้น สร้างความ
 
เสียหายเพิ่มมากขึ้นครับ.
 
        เหตุผลสนับสนุนก็คือ ขนะนี้มี สมัชชาคนจนจำนวนถึง ๗ กลุ่ม
 
กำลังชุมนุมกันอยู่บนสันเขื่อนราษีไศล และได้เข้ามาร่วมประชุมกับคุณ
 
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน
 
๒๕๕๒ คุณอภิสิทธิ์ ฯได้มอบหมายให้คุณสาธิต วงศ์หนองเตย จัดประชุม
 
เพื่อรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมอีกในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๒ จากนี้ผมก็ไม่
 
ทรายผลการประชุมว่าเป็นอย่างไร?ครับ
 
          จากเหตุและผลข้างต้น แสดงว่า พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาเขาเดือด
 
ร้อนจริงๆครับ เพราะพวกเขารวมตัวกันต่อสู้กันมาจนลูกชายจะแต่งงานได้อยู่
 
แล้วครับ ทำไม?ครับ กรมชลจึงไม่ดำเนินการตามข้อเรียกร้องของประชาชน
 
ซึ่งเขาหมดที่พึ่งในการนำเสนอข้อมูลจึงต้องออกมาชุมนุมกันครับ.
 
          อนึ่งเขื่อนขนาดใหญ่ในอีสาณเหนือ กลางและใต้ ได้เสื่อมสภาพ
 
ลงมาก ดูได้จากการปรับปรุงสันเขื่อน ลำปาวอยู่ในขนะนี้ ครม.อนุมัติให้
 
เสริมสันเขื่อนให้สูงขึ้น (ความจริงไม่ใช่เสริมสันเขื่อน ให้ปรับสันฝายให้สูง
 
ขึ้น ๒.๐๐ เมตร เพื่อให้เก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้นอีก ๕๐๐ ล้าน ลบ.ม.) จากปริ
 
มาณเก็บกักปกติ ๑.๔๓๐ ล้าน ลบ.ม. เป็น ๑.๙๓๐ ล้าน ลบ.ม.
 
          ข่าวจากผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธิ์ กลับบอกว่า จะเสริมสันฝาย
 
ประตูน้ำขึ้นอีก ๓.๐๐ เมตร เพื่อให้เก็บกักน้ำให้ได้เพิ่มขึ้นเป็น ๘๐๐ ล้าน
 
ลบ.ม.ปริมาณน้ำเก็บกักปกติก็จะเพิ่มขึ้นเป็น ๒,๒๓๐ ล้าน ลบ.ม. ซึ่งจะใกล้
 
เคียงกับปริมาณน้ำเก็บกักสูงสุดที่ได้ปรับลดลงแล้วคือ ๒,๔๕๐ ล้าน ลบ.
 
ม.จากเดิม ๒,๕๑๐ ล้าน ลบ.ม.และยังมีการติดตั้งฝายยางบนสันฝาย
 
คอนกรีตอีกด้วย เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำได้สูงสุดที่ระดัล + ๑๖๒.๗๐๐
 
เมตร (ร.ท.ก.)คือระดับเก็บกักน้ำสูงสุดเมื่อครั้งก่อสร้างเขื่อน ลำปาวแล้ว
 
เสร็จใหม่ๆครับ ผมเกรงว่าการเสริมสันเขื่อนให้กว้างขึ้นอีกเพียง ๖.๐๐
 
เมตรนั้น จะไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำเก็บกักได้มากถึง ๒,๒๓๐ ล้าน ลบ.
 
ม.ครับ. กรุณาชมเว็บบล็อกนี้ครับ.- http://msuriyamas.blogspot.com
 
         จึงเรียนมาเพื่อได้โปรดพิจารณา.
 
              ขอแสดงความนับถือ.
 
                ประชุม สุริยามาศ.
 
        


Windows Live™ Hotmail®: Search, add, and share the web's latest sports videos. Check it out.

ภาพเขื่อนต่างๆจากกูเกิลครับ.

on วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนณาษีไศลที่นับถือ.
 
     ผมนำภาพเขื่อนต่างๆจากกูเกิลมาให้ชมกันครับ.-
 
๑.) เขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ภาพมุมกว้าง
 
     และภาพขยายใหญ่ครับ และเขื่อนนี้มีสะพานเดินเรือด้วยครับ
 
     คือเรือสามารถผ่านเขื่อนขึ้นและล่องได้ครับ.
 
๒.) เขื่อนปากมูนอันลือลั่นและมีปัญหาที่ไม่มีไครเข้าไปแก้ไขมาเป็น
 
     เวลา ๑๐ กว่าปีมาแล้วครับ.
 
๓.) ภาพเขื่อนหัวนา ที่ยังไม่สามารถปิดแม่น้ำมูนได้ และ สมัชชาคนจน
 
     ๗ กลุ่ม นำปัญหาไปชุมนุมกันอยู่บนสันเขื่อนราษีไศลอยู่ในขนะนี้ครับ.
 
๔.) เขื่อนราษีไศล ก็มีปัญหามายาวนานไม่มีไครเข้าไปแก้ไข. และสมัชชา
 
     คนจน ๗ กลุ่มกำลังชุมนุมกันอยู่บนสันเขื่อนครับ.
 
๕.) เขื่อนลำนางรอง ที่เมื่อมสภาพ จนไม่สามารถเก้บกักน้ำได้มากอีกต่อ
 
     ไป ชมภาพขยายใหญ่ จะสามารถคำนวณหาระดับน้ำได้ว่า ระดับน้ำอยู่
 
     ลึกจากสันเขื่อนลงไปกี่เมตร.จากภาพจะเห็นถนนกว้าง ๘ เมตร ลาด
 
เหนือเขื่อน ๑.๕ : ๑ เราก็วัดระยะและนำมาเทียบกับถนน ก็จะได้ระยะตาม
 
แนวราบ ถ้าวัดได้ยาวเป็น ๔ เท่าของถนน จะเป็นระยะตามแนวราบเท่ากับ
 
๓๒.๐๐ เมตร/๑.๕ = ๒๑.๓๓ เมตร แปลว่า ระดับน้ำในเขื่อนอยู่ต่ำกว่าผิว
 
ถนน ถึง ๒๑.๓๓ เมตร.(เป็นการยืนยันว่า ในเขื่อนมีน้ำไม่มากครับ.
 
     ลองเข้าไปชมกันนะครับ.
 
         ด้วยจิตรคารวะ.
 
    ประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗


Windows Live™ Hotmail®: Celebrate the moment with your favorite sports pics. Check it out.

ดูตารางสรุปปริมาณน้ำ และกราฟน้ำ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ชุดนี้ครับ.

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนา และสมัชชาคนจนที่เขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
       กรุณาดูตารางสรุปปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วประเทศ และ
 
กราฟน้ำชุดนี้นะครับ.
 
                ด้วยจิตรคารวะ.
 
         ประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗


Windows Live™ Hotmail®: Celebrate the moment with your favorite sports pics. Check it out.

ภาพตารางสรุปปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ และกราฟน้ำในเขื่อนต่างๆแต่ทำไว้ตั้งแต่ วันที่ ๓๐ ฟฤษภาคม ๒๕๕๒.

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาที่นับถือ.
 
               ผมได้แนบภาพตารางสรุปปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ทั้วประเทศ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒
 
ส่วนกราฟน้ำนั้นผมทำไว้ตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒ และไม่ครบครับ ขาดกราฟน้ำเขื่อน ลำนางรอง และ
 
เขื่อนสิรินธร นะคับ.
 
               อนึ่งตัวเลขสีแดงบนมุมขวาบนของกราฟน้ำ นำไปเทียบกับปนิมาตรน้ำเก็บกักปกติ จึงทำให้ดูตัว
 
เลขสูงขึ้น ความเป็นจริงแล้วน่าจะนำไปเทียบกับปริมาณน้ำเก็บกักสูงสุด ลองคำนวณดูเองก็ได้นะครับว่า
 
ตัวเลข% จะลดลงครับ.
 
               ด้วยจิตรคารวะ.
 
         ประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗


Windows Live™ Hotmail®: Search, add, and share the web's latest sports videos. Check it out.

ภาคอีสาณนั้นมิได้ขาดย้ำเลยครับ/ประชุม สุริยามาศ.

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนซึ่งกำลังชุมนุมอยู่บนิเวณสันเขื่อน(ฝาย)ราษีไศลอยู่ในขณะนี้.
 
                 ผมขออนุญาติย้อนนำเสนอบทความที่ว่า "ภาคอีสาณนั้นมิด้ขาดน้ำเลยครับ" ดังไฟล์แนบ.
 
มีคำบางส่วนในพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อวัดใหญ่จังหวัดพิษณุโลกที่ว่า เช่น เมืองไทยมีน้ำสมบูรณ์
 
แต่เก็บไม่เป็นมีข้าวก็ปล่อยให้โกงกิน ฯลฯ
 
                 มาวันนี้ผมขอนำเสนอตารางสรุปปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่จำนวน
 
๑๒เขื่อนทั่วประเทศ ณ.วันอังควรที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ดังนี้.-
 
๑.)ปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักสูงสุดรวม(เหนือ,กลาง,ใต้)  =   ๙,๕๖๔  ล้านลบ.ม.
 
๒.)ปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักปกติรวม(เหนือ,กลาง,ใต้)    =   ๗,๕๘๙ ล้าน ลบ.ม.
 
๓.)ปริมาณน้ำที่ใช้การได้รวม         (เหนือ,กลาง,ใต้)    =   ๖,๑๑๗ ล้าน ลบ.ม.
 
๔.)ปริมาณน้ำณ วันที๑มกราคม ๕๑  (เหนือ,กลาง,ใต้)   =    ๖,๑๐๗ ล้าน ลบ.ม.
 
๕.)ปริมาณน้ำณ วันที่๑มกราคม๕๒   (เหนือ,กลาง,ใต้)   =    ๖,๓๔๙ ล้าน ลบ.ม.
 
๖.)ปริมาตรน้ำในอ่างณ วันนี้ ๗กรกฎาคม๕๒รวม          =     ๓,๕๕๓ล้าน ลบ.ม.
 
๗.)ปริมาตรน้ำที่ไหลลงอ่างค่าเฉลี่ย/ปีรวม                  =    ๗,๕๕๐ ล้าน ลบ.ม.
 
๘.)ปริมาตรกากตะกอนและน้ำที่ใช้งานไม่ได้               =     ๗,๕๘๙-๖,๑๑๗
 
                                                                    =     ๑,๔๗๒   ล้าน ลบ.ม.
 
๙.)ข้อสังเกตุที่ว่า อีสาณนั้นมิได้ขาดน้ำเลยครับ ก็สามารถยืนยันได้จากตัวเลขปริมาณ
 
    น้ำที่ไหลลงเขื่อนเฉลี่ย/ปี ๗,๕๕๐ ล้าน ลบ.ม. และปริมาณน้ำเก็บกักปกติ ๗,๕๘๙
 
    ล้าน ลบ.ม. เป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกันมาก หากมีการบริหารจัดการเขื่อนอย่างมี
 
    ประสิทธิภาพ เช่นการพร่องน้ำเพื่อรองรับปริมาณน้ำจำนวนมากในฤดูฝนได้ดีกว่านี้
 
    ปริมาณน้ำในเขื่อน ณ วันที่ ๑ มกราคม ของทุกปี จะมีปริมาณน้ำมากกว่านี้ ทั้งนี้
 
    เพราะในปัจจุบัน ฝนจะตกล่าไปถึงปลายเดือน พฤศจิกายน น้ำซับจากป่ายังพอมี
 
    ไหลลงเขื่อนในเดือน ธันวาคม และทั้งปริมาณน้ำฝนตกเฉลี่ยดังตัวเลขในปี ๒๕๔๖
 
     และปี ๒๕๔๗ ก็มีปริมาณมากพอควร ทำไม? ปริมาณน้ำเก็บกักปกติ และปริมาตร
 
    น้ำต้นปี ณ วันที่ ๑ มกราคม ๕๑ จึงแตกต่างกันอยู่ถึง = ๗,๕๘๙ - ๖,๑๑๗
 
    = ๑,๔๗๒ ล้าน ลบ.ม. แสดงว่า เขื่อนไม่สามารถเก็บกักน้ำได้จริงตามตัวเลขปริมาณ
 
    น้ำเก็บกักปกติ. เราลองมาเปรียบเทียบอัตราการใช้น้ำรวม ระหว่างน้ำต้นปี และ
 
    ปริมาตรน้ำ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม ๕๒ ต่างกักนอยู่ = ๖,๓๔๙ - ๓,๕๕๓ = ๒,๗๙๖
 
    ล่าน ลบ.ม. ตีเสียว่า ใช้เวลา ๖ เดือน อัตราการใช้น้ำรวม/เดือน = ๒,๗๙๖/๖ =
 
    ๔๖๖ ล้าน ลบ.ม./เดือนเท่านั้น ซึ่งแตกต่างกับการใช้น้ำในเดือน ธันวาคม ต่างกัน
 
    ถึง ๓๑๖ % ครับ.
 
                กรุณานำข้อมูลนี้เรียนคุณสาธิต วงหนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายก
 
    รัฐมนตรีให้รับทราบเพื่อที่จะได้นำเรียนคุณอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
 
    ใด้รับทราบเพื่อใช้เป็นข้อมูลทั้งในการปิด ปิดเขื่อนต่างๆในโครงการ โขง ชี มูล
 
    และใช้ในการพิจารณาโครงการผันน้ำโขงซึ่งต้องใช้งเนงบประมาณเป็นจำนวนมาก
 
    และจะผันเข้ามาเก็บไว้ที่ไหน? และผันเข้ามาทำไม?กันครับ.
 
            อนึ่งผมได้แนบภาพเขื่อนเจ้าพระยาจากกูเกิลมาให้ชมกัน ในภาพแสดงสะ
 
พานเดินเรือด้วยครับ และผมเองก็อยากจะเห็นภาพสะพานเดินเรือได้เกิดขึ้นในแม่น้ำมูน
 
ของเรา เพียงเราลดระดับเก็บกักน้ำของเขื่อน ราษีไศล เขื่อนหัวนา และเขื่อนปากมูล
 
ลงมาอยู่ที่ระดับที่เหมาะสม นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาความยากจนได้แล้ว และเราก่อ
 
สร้างเขื่อน(ฝาย)ระหว่างเขื่อนทั้งสามตามความเหมาะสม และสร้างสะพานเดินเรือ
 
เสริมเข้าไปในทุกๆเขื่อน พี่น้องเราก็จะสมารถมีทางเลือกในการขนส่งผลผลิตทางการ
 
เกษตรทางน้ำซึ่งขนส่งได้ครั้งลำมากๆ อีกด้วยครับ เพราะเมื่อวานนี้ผมได้นั่งเรือด่วน
 
ในแม่น้ำเจ้าพระยา จากท่าน้ำพายัพ (ศรีย่าน) ไปขึ้นรถไฟฟ้าฟรีที่ท่าน้ำสะพานตาก
 
สินทร์ (สะพารสาธรเดิม)ได้พบเห็นการขนส่งทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ผม
 
คิดถึงบ้านเกิดคือแม่น้ำมูน นี่ผมฝันเกินจริงไปหรือเปล่าครับ.
 
            ด้วยจิตรคารวะ.
 
      ประชุม สุริยามาศ.วย.๗๗๗
 
 
 
 
 
 
 
 





Bing™ brings you maps, menus, and reviews organized in one place. Try it now.

ภาพโบราณรถรางไฟฟ้าขนส่งมวลชนเมื่อ ๕๐ กว่าปีก่อนที่ผมเคยใช้บริการเป็นคู่ทุกข์คู่ยาก.

on วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาที่นับถือ.
 
ภาพโบราณภาพที่ ๒ เป็นภาพรถรางไฟฟ้าขนส่งมวลชน เมื่อ ๕๐ ปีก่อนมราผมเคยใช้บริการเป็นคู่ทุกข์คู่ยากครับ.
 
๒.)  รถรางไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง ชั้น ๑ อยู่ข้างหน้า อัตราค่าบริการ ๕๐ สะตางค? (มีเบาะนั่งนุ่มหน่อย)
 
      ชัน ๒ อยู่ข้างหลัง (มีเพียง ๒ โบกี้) ที่นั่งไม้ไม่มีเบาะรองนั่ง แต่พอขากลับ ก็จะกลายเป็นชั้น ๑ เพียง
 
      นำเบาะกลับมาวางเท่านั้น อัตราค่าบริการชั้น ๒ ราคา ๒๕ สะตางค์ (หนึ่งสลึง) ผมมาพักอยู่แถวเทเวศม์
 
      และต้องเดินทางไปเรียนหนังสือถึงสามย่านโน่น ก็ได้อาศับบริการขนส่งมวลชนคู่ยากอันทันสมัยในครั้ง
 
      กระโน้นก็คือเขานี่อหละครับ โดยเฉพาะวันไหนที่มีดนตรีที่หอประชุม ผมต้องเตรียมเงินค่าบริการรถขน
 
      ส่งมวลชนนี้เอาไว้ อย่างน้อยหนึ่งสลึง และต้องรับออกำปรอรถคู่ยากนี้ที่สามย่านก่อนเวลา ๔ ทุ่มซึ่งเป็น
 
      รถขบวนสุดท้าย สายบางกระบือ - ถนนวิทยุที่จะสามารถนำผมกลับบ้านที่เทเวศม์ได้เท่านั้น หาไม่แล้ว
 
      ก็ต้องเดินเพราะเหรียญสุดท้ายที่เหลืออยู่คือ เหรียญสลึงเพียงหนึ่งเดียวครับ.
 
                       ด้วยจิตรคารวะ.
 
                     ประชุม สุริยามาศ.
 
     


NEW mobile Hotmail. Optimized for YOUR phone. Click here.

ภาพโบราณของกรุงเทพมหานคร เมือ่ ๑๐๐ กว่าปีก่อน.

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาที่นับถือ.
 
               วันนี้เป็นวันอาทิตย์สบายๆ เรามาชมภาพเก่าในอดีตของกรุงเทพมหานครกันดีกว่านะครับ.-
 
๑.) ภาพสะพานมัฆวานรังสรรค์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เพื่อข้ามคลอง ผดุงกรุงเกษม พิธีเปิดเมื่อ
 
     วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๖ สิริรวมอายุถึงว้นนี้ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒ สะพานมีอายุ ๑๐๕ ปี ๖ เดือน
 
      กับ ๒๖ วันแล้วครับ ไคร?เคยเข้ามาเที่ยวกรุงเทพฯ เมื่อ ๕๐ กว่าปีก่อนก็จะเคยเห็นสะพานตามภาพ
 
      นี้ครับ การเปลี่ยนแปลงมาเริ่มเอาหลัง ๕๐ กว่าปีนี้ มีการถมคลองขยายถนน สะพานและตัดต้นไม้
 
      ตามริมทางเท้าจะมีหัวจ่ายน้ำประปา และมีผู้คนมาอาบน้ำ ซักผ้าและรองเอาไปใช้ และยังมี
 
      รถสามล้อใช้แรงคนปั่นไว้บริการ รถแท็กซี่ก็จะมีรถออสตินท้ายตัดนั่งอัดกันได้หลายคน และโก้หน่อย
 
      ก็รถเก๋งยี่ห้อเรย์โนลย์รถเล็กประหยัดน้ำมันเป็นต้น
 
                 ความจริงผมตั่งใจจะนำภาพโบราณนี้ขึ้น ครั้งละ ๒ ภาพ แต่ขนาดไฟล์น่าจะใหญ่เกินไป
 
      ไม่สามารถนำขึ้นเว็บบล็อกได้ครั้งลั ๒ ภาพครับ แต่ไม่เป็นไรครับ หากพี่น้องสนใจ ผมก็จะค่อยๆ
 
       ทะยอยนำขึ้นไปให้ได้ชมกันนะครับ.
 
                 ด้วยจิตรคารวะ.
 
               ประชุม สุริยามาศ.


Bing™ brings you maps, menus, and reviews organized in one place. Try it now.

FW: บทความ ปัญหาเขื่อนหัวนา-เขื่อนราษีไศล:บทพิสูจน์ความจริงใจของรัฐ บนเส้นทางการต่อสู้ของคนจน.:โดยสำนักข่าวเสียงอีสาน.


 


From: msuriyamas@hotmail.com
To: mriyamas.water@blogger.com
Subject: บทความ ปัญหาเขื่อนหัวนา-เขื่อนราษีไศล:บทพิสูจน์ความจริงใจของรัฐ บนเส้นทางการต่อสู้ของคนจน.:โดยสำนักข่าวเสียงอีสาน.
Date: Sat, 25 Jul 2009 18:04:01 -0800

ปัญหาเขื่อนหัวนา - เขื่อนราษีไศล : บทพิสูจน์ความจริงใจของรัฐบนเส้นทางการต่อสู้ของคนจน
by : สำนักข่าวเสียงคนอีสาน
IP : (124.120.178.164) - เมื่อ : 9/07/2009 10:51 PM


นับเป็นเวลาร่วม 1 เดือนเต็มแล้ว ที่สันเขื่อนราษีไศล เขื่อนคอนกรีตขนาดยักษ์ซึ่งนอนพาดขวางลำน้ำมูนอันกว้างใหญ่แห่งแดนอีสาน ได้กลายสภาพมาเป็นที่กินอยู่หลับนอน ของชาวบ้านนับพันคนจากกลุ่มสมัชชาคนจน ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีปัญหาเขื่อนหัวนา เขื่อนราษีไศล ซึ่งตัดสินใจเข้ายึดสันเขื่อนเพื่อใช้เป็นที่ชุมนุมตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 4 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา

กลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งเดินทางมาจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากหลายอำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ยื่นข้อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมชลประทาน เร่งรีบดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นมายาวนานกว่า 16 ปีให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด ทั้งยังยืนยันอย่างหนักแน่นว่า การชุมนุมในครั้งนี้จะเป็นไปอย่างยืดเยื้อโดยไม่มีกำหนด จนกว่าจะมีความชัดเจนในการแก้ไขปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตามหลังจากที่การชุมนุมผ่านพ้นไปได้เพียง 1 วันการเปิดโต๊ะเจรจาเพื่อคลี่คลายปัญหาระหว่างตัวแทนผู้เดือดร้อนจากกกลุ่มสมัชชาคนจน ๗ กลุ่มปัญหากับฝ่ายรัฐบาลก็เริ่มต้นขึ้น

ปัญหาเขื่อนหัวนา - เขื่อนราษีไศล : บทพิสูจน์ความจริงใจของรัฐบนเส้นทางการต่อสู้ของคนจน

by : สำนักข่าวเสียงคนอีสาน
IP : (124.120.178.164) - เมื่อ : 9/07/2009 10:51 PM


นับเป็นเวลาร่วม 1 เดือนเต็มแล้ว ที่สันเขื่อนราษีไศล เขื่อนคอนกรีตขนาดยักษ์ซึ่งนอนพาดขวางลำน้ำมูนอันกว้างใหญ่แห่งแดนอีสาน ได้กลายสภาพมาเป็นที่กินอยู่หลับนอน ของชาวบ้านนับพันคนจากกลุ่มสมัชชาคนจน ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีปัญหาเขื่อนหัวนา เขื่อนราษีไศล ซึ่งตัดสินใจเข้ายึดสันเขื่อนเพื่อใช้เป็นที่ชุมนุมตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 4 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา

กลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งเดินทางมาจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากหลายอำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ยื่นข้อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมชลประทาน เร่งรีบดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นมายาวนานกว่า 16 ปีให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด ทั้งยังยืนยันอย่างหนักแน่นว่า การชุมนุมในครั้งนี้จะเป็นไปอย่างยืดเยื้อโดยไม่มีกำหนด จนกว่าจะมีความชัดเจนในการแก้ไขปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตามหลังจากที่การชุมนุมผ่านพ้นไปได้เพียง 1 วันการเปิดโต๊ะเจรจาเพื่อคลี่คลายปัญหาระหว่างตัวแทนผู้เดือดร้อนจากกกลุ่มสมัชชาคนจน ๗ กลุ่มปัญหากับฝ่ายรัฐบาลก็เริ่มต้นขึ้น โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน ซึ่งการเจรจาพูดคุยกันครั้งนี้จัดขึ้นยังห้องประชุมทำเนียบรัฐบาลในช่วงบ่ายของวันที่ 5 มิถุนายน 2522

จากการพูดคุยกันนานกว่า 1 ชั่วโมง ในที่สุดที่ประชุมก็มีมติในการแก้ไขปัญหาร่วมกันกล่าวคือในกรณีปัญหาเขื่อนหัวนา เขื่อนราษีไศล และปัญหาเร่งด่วนอื่น ๆของกลุ่มชาวบ้านสมัชชาคนจน การดำเนินการนับจากนี้ให้มีการนัดประชุมร่วมกันอีกครั้งในวันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2522 โดยทางฝ่ายรัฐบาลมอบหมายให้ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นตัวแทนการประชุม

"พวกเราจะชุมนุมคอยติดตามการทำงานของกรมชลประทานและคณะกรรมการที่ถูกแต่งตั้งมาจนกว่าจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจจึงจะกลับบ้าน" แม่ผา กองธรรม ตัวแทนชาวบ้านผู้เดือดร้อนจากกรณีปัญหาเขื่อนราษีไศล นักต่อสู้รุ่นบุกเบิก กล่าวย้ำจุดยืนในการชุมนุมครั้งนี้ชัดเจน พร้อมทั้งให้เหตุผลว่า "เป็นเพราะที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมชลประทานไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา ทั้งที่แนวทางการแก้ไขปัญหามีความชัดเจนหมดแล้ว แต่ที่ผ่านมากรมชลประทานทานพยายามแยกสลายมวลชน เล่นแง่ ถ่วงเวลามาตลอด"

เช่นเดียวกับ สุข จันทร แกนนำชาวบ้านอีกคนหนึ่งที่ยืนยันไม่ต่างกันว่า "การชุมนุมคราวนี้เป็นเพราะหลายเรื่องยังไม่ได้รับการแก้ไข อยากให้ประชาชนเข้าใจถึงความเดือดร้อนของพวกเรา เราไม่ได้มาสร้างความเดือดร้อนให้ใคร การชุมนุมก็เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองและจะรอจนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไข"

ส่วนในกรณีของเขื่อนหัวนานั้นหากจะว่าไปแล้ว ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาผลการแก้ไขปัญหาก็ดูเหมือนว่าจะไม่แตกต่างอะไรกันนักกับปัญหาเขื่อนราษีไศล โดยเฉพาะกลไกการแก้ไขภายใต้การควบดูแลของกรมชลประทาน ที่ชาวบ้านพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "ไม่เคยจริงใจในการแก้ไขปัญหา"

"ของเขื่อนหัวนา มติครม. เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 ชัดเจนว่าให้ยุติการดำเนินการใดๆ จนกว่าการศึกษาผลกระทบจะเสร็จสิ้น และให้มีการพิสูจน์สิทธิ์ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ แต่ผ่านมา 7 ปีแล้วก็ยังไม่เสร็จเพราะกรมชลประทานหน่วงเหนี่ยวเอาไว้" สำราญ สุรโคตร แกนนำผู้หญิงอีกคนหนึ่งซึ่งได้รับผลกระทบจากกรณีเขื่อนหัวนา บอกเล่าถึงอุปสรรคที่เจอ ก่อนจะพูดถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้ว่า

"สถานการณ์ในพื้นที่ขณะนี้ มีขบวนการล่ารายชื่อชาวบ้านเพื่อเสนอให้มีการล้มมติครม. วันที่ 25 กรกฎาคม 2543 ให้มีการปิดเขื่อน ทั้งที่ผลการศึกษาผลกระทบยังไม่เสร็จ การพิสูจน์สิทธิ์ก็ยังไม่เสร็จ ซึ่งพวกเราก็ขอเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยุติการกระทำโดยเร็ว"

สำหรับปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเขื่อนเจ้าปัญหาทั้งสองแห่งนั้น ในช่วงที่ผ่านมากระบวนการแก้ไขปัญหาได้ยึดตามมติ ครม.เมื่อปี 2543 โดย กรณีของเขื่อนราษีไศล ได้มีมติให้เปิดประตูน้ำ เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการกระจายของดินเค็มและผลกระทบทางสังคม การพิสูจน์สิทธิ์ในที่ดินทำกินในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ตลอดจนถึงการจ่ายค่าชดเชย แต่อย่างไรก็ตามนับจนถึงบัดนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นก็ยังคงคาราคาซังตลอดมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ขณะที่ปัญหาของเขื่อนหัวนา ครม.ก็ได้มีมติให้หยุดดำเนินการถมลำน้ำมูนเดิมไปก่อน ทั้งนี้ให้รอจนกว่าผลการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจะแล้วเสร็จ นอกจากนั้นยังให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินของประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากเขื่อน แต่ทว่าในประเด็นหลังนี้แม้ว่าวันเวลาล่วงเลยผ่านมากว่า 7 ปีแล้ว แต่การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาก็ยังคงไม่คืบหน้าและดูท่าว่าจะไร้ผล

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาร่วม 1 เดือนเต็มของการชุมนุมครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการชุมนุมเพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานและกลไกต่าง ๆ ที่ตั้งกันขึ้นมาแล้ว ในอีกด้านหนึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมยังมีการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในพื้นที่ ทั้งภายในอำเภอราษีไศลและชุมชนที่อยู่รายล้อมเขื่อน ที่นอกจากจะเป็นการอธิบายถึงเหตุผลของการจัดชุมนุมแล้ว ยังเป็นการบอกเล่าถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในด้านของชีวิตชุมชนและสภาพแวดล้อม และถ้าหากนับเนื่องจนถึงวันนี้ก็เป็นเวลากว่า 16 ปีแล้ว ที่ชาวบ้านกลุ่มนี้ต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้กับตัวเองโดยไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลาอีกนานสักเท่าใด

"พวกเราจัดขบวนรณรงค์ขึ้นก็เพื่อทำความเข้าใจกับชาวบ้านให้มีความเข้าใจตรงกัน โดยเฉพาะเรื่องเขื่อนหัวนาซึ่งเป็นโครงการของรัฐที่กำลังมีความพยายามจะดำเนินการให้แล้วเสร็จ ซึ่งหากไม่ได้ศึกษาผลกระทบก่อนก็จะเกิดผลเสียกับชาวบ้านเหมือนกับเขื่อนราษีไศล ที่ตอนนี้พี่น้องเราหลายคนต้องสูญเสียที่ดินทำกิน น้ำท่วมไร่นาเสียหาย ป่าก็หายไป ทุกคนเดือดร้อน" สำราญ หอกระโทก แกนนำชาวบ้านเขื่อนหัวนา บอกเล่าถึงเจตนาของการจัดขบวนรณรงค์เพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเขื่อนเจ้าปัญหาทั้ง 2 แห่ง

อย่างไรก็ดี ตลอดระยะเวลาของการชุมนุมที่ผ่านมา แม้ว่าตัวแทนกลุ่มผู้เดือดร้อนจะมีการเจรจาพูดคุยเพื่อคลี่คลายปัญหาผ่านกลไกการแก้ปัญหาในระดับต่างๆ กันไปบ้างแล้ว แต่นั่นก็ดูเหมือนจะเป็นพิธีกรรมที่เริ่มจะไม่ศักดิ์สิทธิ์เสียแล้วในสายตาของชาวบ้าน ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงมีมติร่วมกันในการที่จะปักหลักต่อสู้ ด้วยการประกาศจัดตั้งหมู่บ้านคนจนขึ้นมาเป็นฐานที่มั่น อีกทั้งยังย้ำจุดยืนชัดเจนว่า หากปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ถูกคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น พวกเขาทั้งหมดจะปักหลักชุมนุมกันอยู่ที่นี่เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิดร่วมกัน พร้อมกันนั้นยังมีการตระเตรียมข้าวปลาอาหารเพื่อเป็นเสบียงและเป็นหลักประกันในการต่อสู้ที่อาจยาวนานกว่าทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา

ถึงวันนี้ แม้ว่าระยะเวลาจะล่วงเลยมาถึง 1 เดือนเต็มแล้ว แต่ก็ยังไม่มีใครสามารถที่จะให้คำตอบได้ว่า การลุกขึ้นมาเรียกร้องความเป็นธรรมของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนหัวนา – เขื่อนราศีไศล ในเวลานี้จะมีบทสรุปเป็นเช่นใด จะยุติลงเมื่อไหร่ จะมีครั้งต่อไปหรือไม่ และถึงแม้ผลการเจรจาที่เกิดขึ้นจะทำให้หลายคนมีความหวังลึกๆ ในใจว่าปัญหาของตนคงจะถูกคลี่คลายไปไม่มากก็น้อย แต่ทว่าบทเรียนการต่อสู้กับสิ่งที่เรียกว่า "อำนาจรัฐ" ผ่านกลไกในรูปแบบต่างๆ เป็นเวลายาวนานกว่า 16 ปีของพวกเขา ก็คงจะเป็นบทสรุปที่แจ่มชัดแล้วว่า ที่ผ่านมานั้น "อำนาจรัฐไม่เคยคิดจะกลับใจและพร้อมจะบิดเบือนกลบเกลื่อนเพื่อรักษาอำนาจของตนเองไว้ทุกครั้งที่มีโอกาส"

ในขณะเดียวกันการลุกขึ้นมาต่อสู้ของกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ ก็ถือเป็นเป็นบทพิสูจน์ครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งว่า ที่ผ่านมา "คนจนไม่เคยยอมจำนนต่ออำนาจรัฐ และพร้อมจะต่อสู้ทุกครั้งที่อำนาจรัฐหยิบยื่นความไม่เป็นธรรมมาให้" ซึ่งความทรหดอดทนในการต่อสู้ที่ยืดเยื้อยาวนานร่วมสิบกว่าปี ผ่านมาแล้ว 10 รัฐบาล จวบจนกระทั่งถึงวันนี้ ก็คงจะเป็นสิ่งที่ยืนยันและบทพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนที่สุด

อนึ่งในวันที่ 10 กรกฎาคม 2552 "สมัชชาคนจน" เขื่อนราษีไศล - เขื่อนหัวนา จัดงาน "ปฏิบัติการสิทธิชุมชนคนป่าทาม" ขึ้น ณ หัวงานเขื่อนราษีไศล

ทั้งนี้ชาวบ้าน "สมัชชาคนจน" เขื่อนราษีไศล – เขื่อนหัวนา 2,500 คน จากจังหวัดศรีสะเกษ , สุรินทร์ , ร้อยเอ็ด , ชุมนุมอยู่ที่หัวงานเขื่อนราษีไศล จ.ศรีสะเกษ มาตั้งตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2552 นับได้เดือนกว่าแล้ว เพื่อเรียกร้องให้กรมชลประทานและรัฐบาลแก้ปัญหาผลกระทบซึ่งยืดเยื้อมา 16 ปีแล้ว

เขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนาเป็น 2 เขื่อนใหญ่สุด ในโครงการ โขง ชี มูล ปิดกั้นลำน้ำมูลที่จังหวัดศรีสะเกษ เกิดน้ำท่วมพื้นที่ทาม พื้นที่ชุ่มน้ำ ที่เป็นที่ทำกินและแหล่งเศรษฐกิจชุมชนมาหลายร้อยปี แม้การศึกษาผลกระทบ (ภายหลังการสร้าง) จะระบุว่า ไม่มีความคุ้มค่าใดๆ แต่โครงการก็จะดำเนินการต่อไป เหมือนโครงการรัฐที่ไร้ธรรมาภิบาลอื่นๆ เฉพาะเขื่อนราษีไศลใช้พื้นที่ทามดินดีที่สุดในภาคอีสาน 93,000 ไร่ เพื่อทำอ่างเก็บน้ำ สูบน้ำไปให้นาดินทรายในที่สูง ทำนาปรัง 34,400 ไร่ เขื่อนหัวนาใช้พื้นที่ทาม 67,654 ไร่ ทำอ่างเก็บน้ำ ท่วมแหล่งดินปั้นหม้อ พื้นที่เลี้ยงสัตว์ พื้นที่ทำนาทามและแหล่งประมงสำคัญ เพื่อเอาน้ำให้พื้นที่ชลประทาน 77,300 ไร่ ซึ่งไม่มีความแน่นอนว่าจะได้พื้นที่จริงกี่เปอร์เซ็นต์

ชาวชุมชนราษีไศล - หัวนา ประมาณ 250 หมู่บ้าน ถูกละเมิดสิทธิ์ในที่ดินทำกิน สิทธิชุมชนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดิน, น้ำ, ป่า เพื่อการดำรงชีพ ชาวบ้านรวมตัวกันเรียกร้องมาเป็นเวลานาน แต่กระบวนการแก้ปัญหาไม่คืบหน้าเท่าที่ควรเป็น ขณะที่โครงการจัดการน้ำในลักษณะเดียวกันกำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต เพื่อเป็นบทเรียนต่อสังคมโดยรวม เราใคร่ขอเชิญพี่น้องเพื่อนมิตรทุกท่าน ทุกองค์กร ร่วมงาน "ปฏิบัติการสิทธิชุมชนคนป่าทาม" ในครั้งนี้ตามกำหนดการ

มนตรีเป็นตัวแทนการประชุม

"พวกเราจะชุมนุมคอยติดตามการทำงานของกรมชลประทานและคณะกรรมการที่ถูกแต่งตั้งมาจนกว่าจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจจึงจะกลับบ้าน" แม่ผา กองธรรม ตัวแทนชาวบ้านผู้เดือดร้อนจากกรณีปัญหาเขื่อนราษีไศล นักต่อสู้รุ่นบุกเบิก กล่าวย้ำจุดยืนในการชุมนุมครั้งนี้ชัดเจน พร้อมทั้งให้เหตุผลว่า "เป็นเพราะที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมชลประทานไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา ทั้งที่แนวทางการแก้ไขปัญหามีความชัดเจนหมดแล้ว แต่ที่ผ่านมากรมชลประทานทานพยายามแยกสลายมวลชน เล่นแง่ ถ่วงเวลามาตลอด"

เช่นเดียวกับ สุข จันทร แกนนำชาวบ้านอีกคนหนึ่งที่ยืนยันไม่ต่างกันว่า "การชุมนุมคราวนี้เป็นเพราะหลายเรื่องยังไม่ได้รับการแก้ไข อยากให้ประชาชนเข้าใจถึงความเดือดร้อนของพวกเรา เราไม่ได้มาสร้างความเดือดร้อนให้ใคร การชุมนุมก็เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองและจะรอจนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไข"

ส่วนในกรณีของเขื่อนหัวนานั้นหากจะว่าไปแล้ว ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาผลการแก้ไขปัญหาก็ดูเหมือนว่าจะไม่แตกต่างอะไรกันนักกับปัญหาเขื่อนราษีไศล โดยเฉพาะกลไกการแก้ไขภายใต้การควบดูแลของกรมชลประทาน ที่ชาวบ้านพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "ไม่เคยจริงใจในการแก้ไขปัญหา"

"ของเขื่อนหัวนา มติครม. เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 ชัดเจนว่าให้ยุติการดำเนินการใดๆ จนกว่าการศึกษาผลกระทบจะเสร็จสิ้น และให้มีการพิสูจน์สิทธิ์ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ แต่ผ่านมา 7 ปีแล้วก็ยังไม่เสร็จเพราะกรมชลประทานหน่วงเหนี่ยวเอาไว้" สำราญ สุรโคตร แกนนำผู้หญิงอีกคนหนึ่งซึ่งได้รับผลกระทบจากกรณีเขื่อนหัวนา บอกเล่าถึงอุปสรรคที่เจอ ก่อนจะพูดถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้ว่า

"สถานการณ์ในพื้นที่ขณะนี้ มีขบวนการล่ารายชื่อชาวบ้านเพื่อเสนอให้มีการล้มมติครม. วันที่ 25 กรกฎาคม 2543 ให้มีการปิดเขื่อน ทั้งที่ผลการศึกษาผลกระทบยังไม่เสร็จ การพิสูจน์สิทธิ์ก็ยังไม่เสร็จ ซึ่งพวกเราก็ขอเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยุติการกระทำโดยเร็ว"

สำหรับปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเขื่อนเจ้าปัญหาทั้งสองแห่งนั้น ในช่วงที่ผ่านมากระบวนการแก้ไขปัญหาได้ยึดตามมติ ครม.เมื่อปี 2543 โดย กรณีของเขื่อนราษีไศล ได้มีมติให้เปิดประตูน้ำ เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการกระจายของดินเค็มและผลกระทบทางสังคม การพิสูจน์สิทธิ์ในที่ดินทำกินในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ตลอดจนถึงการจ่ายค่าชดเชย แต่อย่างไรก็ตามนับจนถึงบัดนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นก็ยังคงคาราคาซังตลอดมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ขณะที่ปัญหาของเขื่อนหัวนา ครม.ก็ได้มีมติให้หยุดดำเนินการถมลำน้ำมูนเดิมไปก่อน ทั้งนี้ให้รอจนกว่าผลการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจะแล้วเสร็จ นอกจากนั้นยังให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินของประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากเขื่อน แต่ทว่าในประเด็นหลังนี้แม้ว่าวันเวลาล่วงเลยผ่านมากว่า 7 ปีแล้ว แต่การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาก็ยังคงไม่คืบหน้าและดูท่าว่าจะไร้ผล

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาร่วม 1 เดือนเต็มของการชุมนุมครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการชุมนุมเพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานและกลไกต่าง ๆ ที่ตั้งกันขึ้นมาแล้ว ในอีกด้านหนึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมยังมีการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในพื้นที่ ทั้งภายในอำเภอราษีไศลและชุมชนที่อยู่รายล้อมเขื่อน ที่นอกจากจะเป็นการอธิบายถึงเหตุผลของการจัดชุมนุมแล้ว ยังเป็นการบอกเล่าถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในด้านของชีวิตชุมชนและสภาพแวดล้อม และถ้าหากนับเนื่องจนถึงวันนี้ก็เป็นเวลากว่า 16 ปีแล้ว ที่ชาวบ้านกลุ่มนี้ต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้กับตัวเองโดยไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลาอีกนานสักเท่าใด

"พวกเราจัดขบวนรณรงค์ขึ้นก็เพื่อทำความเข้าใจกับชาวบ้านให้มีความเข้าใจตรงกัน โดยเฉพาะเรื่องเขื่อนหัวนาซึ่งเป็นโครงการของรัฐที่กำลังมีความพยายามจะดำเนินการให้แล้วเสร็จ ซึ่งหากไม่ได้ศึกษาผลกระทบก่อนก็จะเกิดผลเสียกับชาวบ้านเหมือนกับเขื่อนราษีไศล ที่ตอนนี้พี่น้องเราหลายคนต้องสูญเสียที่ดินทำกิน น้ำท่วมไร่นาเสียหาย ป่าก็หายไป ทุกคนเดือดร้อน" สำราญ หอกระโทก แกนนำชาวบ้านเขื่อนหัวนา บอกเล่าถึงเจตนาของการจัดขบวนรณรงค์เพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเขื่อนเจ้าปัญหาทั้ง 2 แห่ง

อย่างไรก็ดี ตลอดระยะเวลาของการชุมนุมที่ผ่านมา แม้ว่าตัวแทนกลุ่มผู้เดือดร้อนจะมีการเจรจาพูดคุยเพื่อคลี่คลายปัญหาผ่านกลไกการแก้ปัญหาในระดับต่างๆ กันไปบ้างแล้ว แต่นั่นก็ดูเหมือนจะเป็นพิธีกรรมที่เริ่มจะไม่ศักดิ์สิทธิ์เสียแล้วในสายตาของชาวบ้าน ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงมีมติร่วมกันในการที่จะปักหลักต่อสู้ ด้วยการประกาศจัดตั้งหมู่บ้านคนจนขึ้นมาเป็นฐานที่มั่น อีกทั้งยังย้ำจุดยืนชัดเจนว่า หากปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ถูกคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น พวกเขาทั้งหมดจะปักหลักชุมนุมกันอยู่ที่นี่เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิดร่วมกัน พร้อมกันนั้นยังมีการตระเตรียมข้าวปลาอาหารเพื่อเป็นเสบียงและเป็นหลักประกันในการต่อสู้ที่อาจยาวนานกว่าทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา

ถึงวันนี้ แม้ว่าระยะเวลาจะล่วงเลยมาถึง 1 เดือนเต็มแล้ว แต่ก็ยังไม่มีใครสามารถที่จะให้คำตอบได้ว่า การลุกขึ้นมาเรียกร้องความเป็นธรรมของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนหัวนา – เขื่อนราศีไศล ในเวลานี้จะมีบทสรุปเป็นเช่นใด จะยุติลงเมื่อไหร่ จะมีครั้งต่อไปหรือไม่ และถึงแม้ผลการเจรจาที่เกิดขึ้นจะทำให้หลายคนมีความหวังลึกๆ ในใจว่าปัญหาของตนคงจะถูกคลี่คลายไปไม่มากก็น้อย แต่ทว่าบทเรียนการต่อสู้กับสิ่งที่เรียกว่า "อำนาจรัฐ" ผ่านกลไกในรูปแบบต่างๆ เป็นเวลายาวนานกว่า 16 ปีของพวกเขา ก็คงจะเป็นบทสรุปที่แจ่มชัดแล้วว่า ที่ผ่านมานั้น "อำนาจรัฐไม่เคยคิดจะกลับใจและพร้อมจะบิดเบือนกลบเกลื่อนเพื่อรักษาอำนาจของตนเองไว้ทุกครั้งที่มีโอกาส"

ในขณะเดียวกันการลุกขึ้นมาต่อสู้ของกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ ก็ถือเป็นเป็นบทพิสูจน์ครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งว่า ที่ผ่านมา "คนจนไม่เคยยอมจำนนต่ออำนาจรัฐ และพร้อมจะต่อสู้ทุกครั้งที่อำนาจรัฐหยิบยื่นความไม่เป็นธรรมมาให้" ซึ่งความทรหดอดทนในการต่อสู้ที่ยืดเยื้อยาวนานร่วมสิบกว่าปี ผ่านมาแล้ว 10 รัฐบาล จวบจนกระทั่งถึงวันนี้ ก็คงจะเป็นสิ่งที่ยืนยันและบทพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนที่สุด

อนึ่งในวันที่ 10 กรกฎาคม 2552 "สมัชชาคนจน" เขื่อนราษีไศล - เขื่อนหัวนา จัดงาน "ปฏิบัติการสิทธิชุมชนคนป่าทาม" ขึ้น ณ หัวงานเขื่อนราษีไศล

ทั้งนี้ชาวบ้าน "สมัชชาคนจน" เขื่อนราษีไศล – เขื่อนหัวนา 2,500 คน จากจังหวัดศรีสะเกษ , สุรินทร์ , ร้อยเอ็ด , ชุมนุมอยู่ที่หัวงานเขื่อนราษีไศล จ.ศรีสะเกษ มาตั้งตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2552 นับได้เดือนกว่าแล้ว เพื่อเรียกร้องให้กรมชลประทานและรัฐบาลแก้ปัญหาผลกระทบซึ่งยืดเยื้อมา 16 ปีแล้ว

เขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนาเป็น 2 เขื่อนใหญ่สุด ในโครงการ โขง ชี มูล ปิดกั้นลำน้ำมูลที่จังหวัดศรีสะเกษ เกิดน้ำท่วมพื้นที่ทาม พื้นที่ชุ่มน้ำ ที่เป็นที่ทำกินและแหล่งเศรษฐกิจชุมชนมาหลายร้อยปี แม้การศึกษาผลกระทบ (ภายหลังการสร้าง) จะระบุว่า ไม่มีความคุ้มค่าใดๆ แต่โครงการก็จะดำเนินการต่อไป เหมือนโครงการรัฐที่ไร้ธรรมาภิบาลอื่นๆ เฉพาะเขื่อนราษีไศลใช้พื้นที่ทามดินดีที่สุดในภาคอีสาน 93,000 ไร่ เพื่อทำอ่างเก็บน้ำ สูบน้ำไปให้นาดินทรายในที่สูง ทำนาปรัง 34,400 ไร่ เขื่อนหัวนาใช้พื้นที่ทาม 67,654 ไร่ ทำอ่างเก็บน้ำ ท่วมแหล่งดินปั้นหม้อ พื้นที่เลี้ยงสัตว์ พื้นที่ทำนาทามและแหล่งประมงสำคัญ เพื่อเอาน้ำให้พื้นที่ชลประทาน 77,300 ไร่ ซึ่งไม่มีความแน่นอนว่าจะได้พื้นที่จริงกี่เปอร์เซ็นต์

ชาวชุมชนราษีไศล - หัวนา ประมาณ 250 หมู่บ้าน ถูกละเมิดสิทธิ์ในที่ดินทำกิน สิทธิชุมชนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดิน, น้ำ, ป่า เพื่อการดำรงชีพ ชาวบ้านรวมตัวกันเรียกร้องมาเป็นเวลานาน แต่กระบวนการแก้ปัญหาไม่คืบหน้าเท่าที่ควรเป็น ขณะที่โครงการจัดการน้ำในลักษณะเดียวกันกำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต เพื่อเป็นบทเรียนต่อสังคมโดยรวม เราใคร่ขอเชิญพี่น้องเพื่อนมิตรทุกท่าน ทุกองค์กร ร่วมงาน "ปฏิบัติการสิทธิชุมชนคนป่าทาม" ในครั้งนี้ตามกำหนดการ

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนา ที่นับถือ.
 
     ผมได้ทำสำเนาว์บทความปัญหาเขื่อนหัวนา-เขื่อนราษีไศล:บทพิสูจน์ความจริงใจของรัฐ บนเส้นทางการต่อสู้ของคนจน.โดย :สำนักข่าวเสียงอีสาน IP:(124.120.178.164)-เมื่อ 9/07/2009.10:51PM.ดังที่ได้แสดงไว้แล้วข้างบนครับ อนึ่ง :
 
วันที่ๆได้แสดงไว้ในบทความนี้คือ วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๒๒ น่าจะเป็นวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๒ และวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๒ น่าจะเป็นวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๒ นะครับ/ประชุม.




NEW mobile Hotmail. Optimized for YOUR phone. Click here.

Windows Live™ Hotmail®: Celebrate the moment with your favorite sports pics. Check it out.

ประเทศไทยมิได้ขาดน้ำเลยครับ. เพียงเราเก็บกักและบริหารจัดการไม่ถูกต้องเท่านั้นเอง.

 
เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่นับถือ.
 
               วันนี้ผมขออนุญาติย้อนอดีตของการชุมนุมของสมัชชาคนจน สมัยโบราณ เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ
 
ของการชุมนุมของสมัชชาคนจน บนเขื่อนหัวนา ชมภาพแนบ(กรรมกร รถลาก ร้องทุกข์ คณะราษฎร์)โดยไม่ต้องบรร
 
ยายนะครับ.ส่วนบทความปัญหาเขื่อนหัวนา เขื่อนราษีไศล ที่ผมได้แนบมานั้น มีสิ่งที่น่าสนใจดังนี้ครับ.-
 
         ๑.)  สมัชชาคนจน รวม ๗ กลุ่มซึ่งได้รับผลกระทบจากเขื่อนราษีไศล เขื่อนหัวนา และเขื่อนปากมูล เริ่ม
 
ชุมนุมได้เพียง ๑ วันเท่านั้น ก็ได้มีโอกาศ เข้าไปร่วมประชุมกับคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีที่ ทำเนียบรัฐ
 
บาล กรุงเทพฯ ทันทีในวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๒
 
          ๒.) ผมคิดว่า ท่านนายกให้ความสนใจในการแก้ปัญหาซึ่งคาราคาซังกันมาเป็นเวลาหลายปี ผ่านมา ๑๐
 
รัฐบาลก็ไม่มีไครเข้ามาแก้ไขได้ เพราะขาดความจริงใจ .
 
          ๓.) ได้มีการประชุมร่วมกันอีกในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๒ โดยมีคุณสาธิต วงศ์หนองเตยเป็นประธาน
 
ซึ่งผมก็หวังว่าจะได้ข้อสรุปเป็นที่พอใจกันทุกฝ่ายนะครับ. (ซึ่งผมยังไม่มีข้อมูล ผลการประชุม)
 
          ๔.) ผมขอให้คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้โปรดตัดสินใจทำเพื่อพี่น้องเกษตรกร/ชาวนา
 
ซึ่งเป็คนส่วนใหญ่ของประเทศด้วยความกล้าหาญด้วยครับ เช่นจะทำการเปิดเขื่อน ทั้งเขื่อนราษีไศล และเขื่อน
 
ปากมูลไปพร้อมๆกันก็ได้ โดยใช้ระยะเวลาการเปิดและปิดเขื่อนตามผลการวิจัยของ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี
 
เป็นเวลาซัก ๑ - ๒ ปี ก็จะได้ผลสรุปที่ดีและทุกฝ่ายได้ประโยชนครับ
 
           ๔.) เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ผมได้นำเสนอไปแล้วคือ ให้ลดระดับเก็บกักน้ำลง เท่าไดนั้น หลัง
 
การเปิดเขื่อนตามผลการวิจัยผมคิดว่า น่าที่จะได้ตัวเลขที่ชัดเจนครับ ซึ่งผมก็ได้แนบข้อมูล คือ พระราชดำริของ
 
พระเจ้าอยู่หัว ในโครงการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำสำหรับลุ่มน้ำกล่ำตอนล่าง ทรงให้กรมชลประทาน ก่อสร้างอา
 
คารบังคับน้ำเพียง "เตี้ย ๆ" ซึ่งเขื่อน(ฝาย) ต่างๆในโครงการ โขง ชี มูล ซึ่งทำการก่อสร้างไปแล้วเป็นจำนวนรวม
 
๑๕ แห่งนั้น มีลักษณะเหมือน ๆกัน และก็สามารถ ลดระดับเก็บกักน้ำได้ในทันที่โดยการเปิดบานประตูเท่านั้นครับ
 
           ๕.) เมื่อตัวที่ส่งผลกระทบคือน้ำลดลง ผมเชื่อมั่นว่า ปัญหาก็จะลดลงไปด้วย ส่วนจะลดระดับลงเท่าได
 
นั้น ยังมีเวลาเพื่อรอผลสรุปจาก การเปิดเขื่อนตาม มติของ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
 
           ๖.) ตามหัวข้อเรื่องที่ว่า ประเทศไทยมิได้ขาดน้ำเลยครับ นั้น ผมมิได้พูดลอย ๆนะครับ ผมขออนุญาติ
 
นำบางส่วนของพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อวัดใหญ่ มายืนยันดังนี๋  "สาเหตุที่หลวงพ่อไม่ให้ใช้สถานที่ของกลุ่มเสื้อแดง เพราะ 1. ถ้าเกิดเหตุอะไรที่วัดใหญ่ ใครจะรับผิดชอบ 2.กฎข้อห้ามวัด ห้ามยุ่งกับการเมือง 3.ไม่ให้นักบวช เล่นการเมือง และสุดท้ายคือ จะทำให้เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินเดือนร้อน เรามาพึ่งพระบรมโพธิสมพาน ถือเป็นบุญหนักหนา ลองไปอยู่ประเทศอื่นก็ลองคิดดูเถอะ ไม่มีอะไรดี เมืองไทยนั้นดีอยู่แล้ว แต่กลับใช้ไม่เป็น เช่น เมืองไทยมีน้ำสมบูรณ์ แต่เก็บไม่เป็น มีข้าวก็ปล่อยให้โกงกิน ฯลฯ"
 
           ๗.) จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เมืองไทยมีน้ำอุดม สมบูรณ์ แต่เก็บไม่เป็น คือเขื่อนขนาดใหญ่ต่างๆทั้งในอีสานเหนือ และอีสานใต้นั้น ไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้
ตามที่ออกแบบไว้ ๕ -๖ เขื่อนหลักก็คือ เขื่อนลำปาว ซึ่งกำลังปรับปรุงให่สามารถเก็บกักน้ำได้เพิ่มมากขึ้น เขื่อน ลำพระเพลิง กำลังจะเปิดประมูล เขื่อน มูลบน เขื่อน ลำแซะ เขื่อน ลำปลายมาศและเขื่อน ลำนางรองซึ่งผมได้นำเสนอไปแล้วว่า ต้นปีทำไม? มีน้ำน้อยมาก ทั้งๆที่ปริมาณน้ำฝน/ปีก็มิได้ลลงมากมายอะไรเลย.
 
          ๘.)ด้วยเหตุผลจากข้อ ๗ นี้เองจึงทำให้เขื่อน(ฝาย) ต่างๆในโครงการ โขง ชี มูน ส่งผลกระทบทำให้น้ำทะลักเข้าไปท่วมไร่นา ป่าบุ่ง ป่าทามหนักขึ้น และเป็นบริเวณกว้างขึ้น พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาทำนาไม่ได้เลยครับ. เพราะประเทศไทยไม่ขาดน้ำนั้นเอง พอเข้าฤดูฝน เรามีน้ำเป็นปริมาณมาก แต่เขื่อนที่เราได้สร้างเอาไว้นั้นได้เสื่อมสภาพไปมากก่อนเวลาอันควร แทนที่จะช่วยเก็บกักเอาไว้ได้และค่อยๆปล่อยไหลลงไปใช้ได้ในหน้าแล้ง ในเมื่อประเทศไทยของเรามิได้ขาดน้ำเลยครับ แล้วจะไปผันน้ำโขงเข้ามาทำไม?กันครับ. เสียทั้งเงินงบประมาณ และเราก็ยังไม่มีที่เก็บกักน้ำเอาไว้ ดังที่หลวงพ่อวัดใหญ่ ท่านกล่าวว่า "เมืองไทยมีน้ำสมบูรณ๋ แต่เก็บไม่เป็น" พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาคงจะเข้าใจนะครับว่า คำว่า เก็บไม่เป็นนั้น มีความหมายครอบคลุมในทุกๆเรื่อง.
 
            ๙.) สุดท้าย นี้ ผมหวังว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี คงจะเข้าใจ
 
ในปัญหาน้ำได้เป็นอย่างดี และกล้าตัดสินใจทำเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนให้แก่พี่
 
น้องเกษตรกร/ชาวนาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศด้วยนะครับ.
 
                  ด้วยจิตรคารวะ
 
            ประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗

       


 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


NEW mobile Hotmail. Optimized for YOUR phone. Click here.

FW: ภาพจากเมืองจีนเมื่อเช้านี

on วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ภาพสุริยุปราคาเต็มดวง (อาทิตย์ดับ,และเกิดในวันเดือนดับในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ แรม ๑๕ ค่ำเดือน ๗)
 
 เป็นภาถ่ายจากเมืองจีนในเวลาเช้า./ประชุม.
 

From: punchira.von@kmutt.ac.th
To: pattra_m@yahoo.co.th; dracde@hotmail.com; msuriyamas@hotmail.com; keangsanamnang@hotmail.com; p2479@hotmail.com; bee2702@yahoo.co.th; yaowapha_w@yahoo.com; buasaip@yahoo.com; fon_micro@hotmail.com; n_mumu@hotmail.com; rchindapan@gmail.com; oniphsuk@hotmail.com; ppenroj@yahoo.com; ppenroj@hotmail.co.uk; preechakorn@yahoo.com; TOOMAENG@HOTMAIL.COM; jusayamon08@yahoo.com; srisuwann@yahoo.com; toomaeng@gmail.com; vasu@qualityceramic.com; ngiu.juergen@freenet.de
CC: somruedee1@yahoo.com; sompornk@mhm.co.th; sivawanp@yahoo.com; suchart_boon@yahoo.com; patcha-72@hotmail.com; Siravich@contrologic.co.th; onkoksoong@yahoo.com
Subject: Fw: ภาพจากเมืองจีนเมื่อเช้านี
Date: Wed, 22 Jul 2009 18:32:41 +0700

 
----- Original Message -----
To: รศ.ดร.พรรณจิรา วงศ์สวัสดิ์ ; อ.วิชัย นพประพันธ์ ; อัจฉรา เมืองมา ; หนู ภัทธรศยา ; สุรชัย คู ; สาธิต น้อยบรรจง ; สมเกียรติ คูหาเกษมสิน ; วีระพันธ์ วี ; ยุวพร ประเสริฐศรี ; มาโนช มงคลธนานนท์ ; ภูษา ปุญญา ; พัชรินทร์ พันธิตพงษ์ ; บุญชู (*) เสือสละ ; บี สุภัชรี ; บอส ; ตู่-เบญจวรรณ AIA ; ตุ๊ก.ปิยะฉัตร เยี่ยมฉวี ; กุ้ง เวรุวาปี ; เมย์ วัชรี บัตรมาก ; เปี๊ยก ลัดดา ; เบญจพร รังสถิต ; Wirinraks Sampun ; Weerachai Wongraweewat ; Wanida Krobtienchai ; sunaree A+ ; Sophon Munthawornwong ; sompatsorn kaewkongyos ; Rungnapa Narasri ; narumol mernwattana ; Luechai Amornmettachit ; lek pleancharoon ; lek janjam ; Duangjai Manyat ; Duangporn Leelarpornchai ; chanon chommee ; Chamnan Cheevadisaikul ; chai patimapornchai ; chaichart Ruangprach ; adchariya chancharoen
Sent: Wednesday, July 22, 2009 5:42 PM
Subject: ภาพจากเมืองจีนเมื่อเช้านี


 

 



What can you do with the new Windows Live? Find out

Windows Live™ Hotmail®: Search, add, and share the web's latest sports videos. Check it out.