ปัญหาความยากจนครับ

on วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552


 
เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาอละสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
        ช้อเท็จจริงของเขื่อน ลำปาว วันนี้  วันพุทธที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒
 
๑.)ระดับน้ำเก็บกักสูงสุด                =       + ๑๖๕.๗๐ ม. (ร.ท.ก.)
 
๒.)ปริมาณน้ำที่ดับเก็บกักสูงสุด         =         ๒,๕๑๐      ล้าน ลบ.ม.
 
๓.)ปริมาณน้ำเก็บกักปกติ               =         ๑,๔๓๐      ล้าน ลบ.ม.
 
    คิดเป็น% = ๑,๔๓๐x๑๐๐/๒๕๑๐  =         ๕๖.๙๗       % ชองปริมาณน้ำเก็บกีกสูงสุด.
 
    หรือประสิทธิภาพเขื่อนเหลืออยู่เพียง=          ๕๖.๙๗       %จากเคยเก็บกักน้ำได้ ๑๐๐ %
 
๔.)ปริมาณน้ำใรเขื่อนวันนี้ ๓๐/๙/๕๒  =          ๙๐%ของปริมาตรเก็บกักปกติ.
 
    คิดเป็นปีมาณน้ำในเขื่อน             =         ๑,๔๓๐x๐.๙๐   =  ๑.๒๘๗  ล้าน ลบ.ม.
 
    คิดเป็น%เทียบกับปริมาตรเก็บกักสูงสุด = ๑,๒๘๗x๑๐๐/๒๕๑๐=  ๕๑.๒๗  % เท่านั้น.
 
๕.)ปีนี้ ๒๕๕๒ ปริมาณนำจะใกล้เคียงกับปี ๒๕๕๐ แต่ปริมาณน้ำมหาศาลนี้ก็จะถูกปล่อยทิ้ง
 
    ดูกราฟน้ำสีเขียวของปี ๒๕๕๐ ปริมาณน้ำที่เขื่อนปล่อยทิ้งไหลลงไปท่วมไร่นาของพี่น้อง
 
    เกษตรกร มีปริมาณถึง.-             =  ๑,๗๐๐ - ๑,๓๖๐  =         ๓๔๐ ล้าน ลบ.ม.
 
    ภายในระยะเวลาจาก  ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ - ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เป็นเวลา  ๓๘  วัน
 
    ปริมาณน้ำที่เขื่อนปล่อยทิ้ง เป็นอัตรา =     ๓๔๐/๓๘       =         ๘.๙๕ ล้าน ลบ.ม./วัน
 
    อนึ่งปริมาณน้ำนี้ ยังไม่รวมปริมาณน้ำฝนที่ยัวกำลังตกอยู่ตามข่าว จึงทำให้ร้ำทะลักล้นลำน้ำปาว
 
    และแม่น้ำชีไหลบ่าเข้าไปท่วมไร่นา ป่าบุ่งป่าทาม และสร้างความเสียหายให้นาช้าว และกระชัง
 
     ปลาของพี่น้องเป็นอยู่อย่างนี้ทุกๆปี และคอยดู
 
๖.) ปริมาณน้ำต้นปี ๒๕๕๓ จะเหลืออยู่อย่างทากก็จะไม่เกิน ๑,๑๐๐ ล้าน ลบ.ม. และภัยแล้งก็จะ
 
     ตามมาครับ. วนเวียน และซ้ำซากอยู่เช่นนี้มาชั่วนาตาปี ไม่มีไครแก้ไข? นี่เองคือ เหตุแห่งความ
 
     ยากจนของพี่น้องเราครับ.
 
                              ด้วยจิตรคารวะ
 
                     ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 
 
 


Insert movie times and more without leaving Hotmail®. See how.

การปลูกพืชอายุสั้นในสภาวแห้งแล้ง

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
        ใต้ฝุ่น นากิส เข้าไทยวันนี้ครับ แต่จะไม่มีผลอะไรรุนแรงครับ และก็จะผ่านไป
 
แล้วความแห้งแล้งก็จะเข้ามาเยือน เกษตรกร/ชาวนาที่ยังไม่พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนมา
 
ทำเกษตร "ทฤษฎีใหม่" ผมขอแนะนำให้คิหาพืชอายุสั้นที่เหมาะสมมาปลูกแทนการ
 
ทำนาปรังครับ. น่าแปลกไหม?ครับที่บ้านเรา ภาคอีสาน หลังใต้ฝุ่น ฝนตกชุกผ่านไปเรา
 
ก็จะขาดน้ำ ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก ลักษณ์ภูมิประเทศเป็นที่ลาดชัน ปริมาณน้ำฝน
 
มหาศาลก็จะไหลลงแม่น้ำลำคลองหมดไปในเวลาไม่นาน เมื่อฝนหมด
 
ความแห้งแล้งก็จะเข้ามาแทนครับ พวกเราจึงต้องหาทางเก็บกักน้ำเอาไว้ใช้
 
เองตามแนวพระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" ไงครับ.
 
                    ด้วยจิตรคารวะ
 
              ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 
 
 
 
 
 
 
 

 การปลูกพืชอายุสั้นในสภาวแห้งแล้ง


ภาวะแห้งแล้ง หรือภัยแล้ง หมายถึง สภาวะที่ขาดแคลนปริมาณน้ำฝน อย่างผิดปกติจนไม่เพียง พอต่อความต้องการ นานเกินกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป และเกิดครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง เป็นผลสืบเนื่องมาจากปริมาณฝนตกในช่วงต ้นปีที่ผ่านมาน้อยกว่าปกติทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง คือช่วงธันวาคม-เมษายน อย่างรุนแรง ซึ่งมีผลต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรโดยตรง

เมื่อหมดฤดูนาปีแล้ว จำเป็นต้องให้เกษตรกรปลูกพืชเศรษฐกิจอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อยแทนการทำนาปรัง ในส่วนที่ทำได้ ซึ่งพ ืชที่แนะนำได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพด ทานตะวัน และพืชผักต่าง ๆ ซึ่งพืชที่แนะนำได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพด ทานตะวัน และพืชผัก ต่าง ๆ ซึ่งพืชไร่อายุสั้นเหล่านี้ใช้น้ำน้อยเพียง 300-400 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แต่ถ้าทำนาข้าวจะใช้น้ำถึง 5 เท่า คือ 1,500-2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อ ไร่

แต่การปลูกพืชอายุสั้นนั้น การเตรียมดินจะยุ่งยาก เนื่องจากดินนาส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว การระบายน้ำค่อนข้างเลว จึงต้องเตรียมดินให้ร่วนแล้วทำร่องช่วยระบายน้ำแและเป็นการเพิ่มความลึกของหน้าดิน หากระบายน้ำออกไม่ได้หรือน้ำยังท่วมขัง ไม่ควร<ปลูกพืชอายุสั้นใด ๆ

การปลูกพืชอายุสั้นทดแทนนาปรัง ควรปฏิบัติดังนี้

§         ระยะเวลาปลูก
ถั่วเหลือง, ถั่วลิสง, ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ควรปลูกในช่วง 15 ธันวาคม - 15 มกราคม เพราะช่วงนี้ดินมีความชื้นสูง และพืชเหล่านี้ ยังทนต่ออุณหภูมิต่ำได้ดี ข้าวโพดฝักอ่อน สามารถปลูกได้ถึงเดือนกุมภาพันธ์ แต่ถั่วเขียวควรปลูกในเดือนกุมภาพันธ์

§         ยกร่องแปลงปลูก
ยกร่องกว้าง 1.5 เมตร ทำคลองส่งน้ำและคูระบายน้ำให้เหมาะสมกับความยาวของร่องปลูกเพื่อสามารถให้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้น้ำท่วมถึงบริเวณสันร่องปลูกแล้วปล่อยน้ำค่อย ๆ ซึมเข้าไปในแปลงปลูก

   §         พื้นที่ที่เป็นดินทรายจัด
ควรปลูกถั่วเหลืองโดยไม่เตรียมดิน การให้น้ำควรปล่อยน้ำให้ท่วมแปลงแล้วระบายออก เป็นการให้น้ำปริมาณสูงกว่าการให้น้ำแบบ ยกร่องปลูกแต่ประหยัดน้ำกว่าการทำนาปรัง

§         ควรใช้ฟางข้าวหรือเศษวัชพืชคลุมสันร่องปลูกพืชไร่
(ยกเว้นถั่วลิสง)

§         ระยะเวลาการให้น้ำ
ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ข้าวโพดฝักอ่อน, ถั่วเหลือง, ถั่วลิสง ควรให้น้ำ 14 วันต่อครั้ง ตั้งแต่ปลูกจนถึงระยะออกดอก จาก นั้นให้น้ำ 7 วันต่อครั้ง จนอีก 14 วัน ก่อนจะเก็บเกี่ยวจึงงดให้น้ำโดยสิ้นเชิง (ยกเว้น ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดฝักอ่อน ควรงดให้น้ำ 7 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว) ถั่วเขียว ควรให้น้ำ 21 วันต่อครั้ง และงดให้น้ำ 14 วันก่อนเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้าย

การจะเลือกปลูกพืชไร่ชนิดใดมีข้อเสนอแนะดังนี้

1.     พืชต้นฤดู ควรเป็นพืชอายุสั้น (70-80 วัน) ทนแล้ง แต่ถ้าไม่สามารถปลูกได้ภายในเดือนพฤษภาคม เพราะฝนมาล่าช้า ไม่ควรปลูกพืชอายุสั้น เพราะเป็นการเสี่ยงในช่วงเก็บเกี่ยวจะเจอฝนหนัก ดังนั้นถ้าฝนมาล่าช้าควรปลูกพืชที่มีอายุยาวเพียงพืชเดียว

2.     พืชที่สอง ควรปลูกทันทีหลังเก็บเกี่ยวเพราะฝนจะไม่ทิ้งช่วงนานในช่วงนี้ ถ้าปลูกล่าช้าไปจะมีผลกระทบต่อ ผลผลิต และถ้าฝนตกหนักตามมาจะทำให้เตรียมพื้นที่ปลูกได้ยาก

พืชที่สองนี้ต้องพิจารณาชนิดของพืชเป็นสำคัญและระยะเวลาฤดูฝนที่ยังเหลืออยู่ว่ามีกี่วันโดยถือว่าฝนจะสิ้นสุดในเดือนตุลาคม

การปลูกถั่วเขียว

ควรปลูกพืชในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ความชื้นในดินยังเหลืออยู่ ในภาคเหนือและอีสานควรปลูกในเด ือนกุมภาพันธ์เพราะเป็นช่วงหมดฤดูหนาวจะทำให้ถั่วเจริญเติบโตได้ดี พันธุ์ที่แนะนำคือ อู่ทอง 1 ฝักไม่แตกง่าย อายุ 60-70 วัน กำแพงแสน 2 เหมาะปลูกในฤดูแล้งนอกเขตชลประทาน อายุ 65-75 วัน

การปลูกถั่วเหลือง


พันธุ์ที่เหมาะสมในสภาวะแห้งแล้ง คือ พันธุ์สจ. 4, สจ. และเชียงใหม่ 60 อายุเก็บเกี่ยว 95-100 วัน ข้อควรระวัง ไม่ควรปลูกให้ช่วงออกดอกตรงกับอากาศร้อนจัดในเดือนเมษายน เพราะจะทำให้ไม่ติดฝัก

 

การปลูกข้าวโพด

พันธุ์ที่แนะนำคือ พันธุ์ลูกผสม จะทนแล้งได้ดีกว่าพันธุ์ผสมเปิด ได้แก่ สุวรรณ 2301, และพันธุ์ลูกผสมจากบริษัทเอกชนต่าง ๆ จะทนแล้ง ได้ดี อายุเก็บเกี่ยว 110-120 วัน ข้อควรระวัง ในการปลูกข้าวโพดคือ ช่วงผสมเกสรอย่าให้ขาดน้ำ เพราะจำทำให้ติดเมล็ดไม่ดี เมล็ดจะลีบและช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี หนูจะระบาดอย่างรุนแรง เพราะเป็นช่วงที่อาหารเริ่มขาดแคลน ควรหาทางป้องกันหนูไว้แต่เนิ่น ๆ

 


การปลูกทานตะวัน

ทานตะวันเป็นพืชที่ทนต่อสภาวะแห้งแล้งได้ดีกว่าถั่วเหลือง พันธุ์ที่แนะนำ คือ พันธุ์ลูกผสม เพื่อการผลิตน้ำมันพืช เพราะมีระบบ รากที่ดีรากแผ่กว้างดูดซับความชื้นได้ดี ตอบสนองต่อปุ๋ยและมีแมลงศัตรูรบกวนน้อย อายุเก็บเกี่ยว 90-100 วัน ทานตะวันสามารถปลูกแทนข้าวนาปรังได้ในบางพื้นที่ที่มีการจัดการดี และสภาพพื้นที่นาที่มีการระบายน้ำดีไม่ท่วม ขัง ในที่นาดอนก็ปลูกได้เหมือนพืชไร่ทั่ว ๆ ไป เช่น ข้าวโพด, ถั่วต่าง ๆ


การปลูกหอม กระเทียม และพืชผักอื่น ๆ

ให้คลุมด้วยฟางข้าว, หญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำ และลดความรุนแรงจากแสงแดดส่องโดยตรง รวมทั้งรักษาความชื้นในดิน และบังแสงสว่างทำให้เมล็ดวัชพืชไม่สามารถงอกได้


การปลูกพืชอายุสั้น นอกจากจะแก้ปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำโดยตรงแล้ว ยังมีประโยชน์อีกมากมายที่ตามมาไ ด้แก่

1. เป็นการตัดวงจรชีวิตของศัตรูข้าว เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, โรคไหม้คอรวง เป็นต้น

2. เป็นการปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น

3. ลดการเสี่ยงเนื่องจากผลผลิตนาปรังอาจเสียหายเมื่อน้ำไม่เพียงพอเกษตรกรจะมีรายได้ชดเชยหรือได้มากกว่าการทำนาปรัง

 


Hotmail® has ever-growing storage! Don't worry about storage limits. Check it out.

ดวงจันทร์มี"น้ำ"จริง หวังสานฝันตั้ง"นิคมมนุษย์!"

on วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

จำนวนคนอ่านล่าสุด 3262 คน
 
เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ
 
      บทความ น้ำมีจริง บนดวงจันทร์ของโลกของเราครับ.
 
                 ด้วยจิตรคารวะ
 
         ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 
 
 
 
 
 
วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6879 ข่าวสดรายวัน


ดวงจันทร์มี"น้ำ"จริง หวังสานฝันตั้ง"นิคมมนุษย์!"





"นาซ่า" สร้างภาพจำลองฐานปฏิบัติการบนดวงจันทร์

ข้อมูลจาก "ยานอวกาศ" 3 ลำบ่งชี้หลักฐานการค้นพบ "น้ำ" บนดวงจันทร์ที่มีความน่าเชื่อถือที่สุดและมีการตีพิมพ์รายละเอียดลงใน "ไซเอินซ์ แม็กกาซีน" นิตยสาร วิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก ช่วยเปิดทางให้ความฝันในการเริ่มต้นจัดตั้ง "อาณานิคมมนุษย์" บนดาวบริวารหนึ่งเดียวของโลกเขยิบเข้าใกล้ความจริงมากยิ่งขึ้น!

การค้นพบสัญญาณของ "น้ำ" เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างนัก วิทยาศาสตร์ประจำสำนักงานบริหารการบินและอวกาศ สหรัฐ อเมริกา (นาซ่า), มหาวิทยาลัยบราวน์, มหาวิทยาลัยแมร์รี่แลนด์, สำนักงานวิจัยธรณีวิทยา สหรัฐ (ยูเอสจีเอส) และองค์การวิจัยอวกาศอินเดีย

ข้อมูลการวิเคราะห์ได้จากอุปกรณ์บนยานอวกาศแคสซินี่และดีพอิมแพคของนาซ่า รวมทั้งจันทรายาน 1 ของอินเดีย ซึ่งบ่งชี้ตรงกันว่า

พื้นที่หลายจุดบนพื้นผิวดวงจันทร์มี "โมเลกุลของน้ำ" และองค์ประกอบทางเคมีของน้ำที่เรียกว่า "ไฮดรอกซิล" ฉาบทาอยู่บางๆ

โดยจุดที่มีไฮดรอกซิลอยู่หนาแน่นมากที่สุด คือ จุดที่มีอุณหภูมิเย็นจัด บริเวณ "ขั้วดวงจันทร์"

และตรงจุดที่ใน "เวลากลางวัน" อุณหภูมิความร้อนพุ่งถึงจุดเดือดก็ยังพบร่องรอยโมเลกุลของน้ำเช่นเดียวกัน

พระเอกในปฏิบัติการพบร่องรอยน้ำ ได้แก่ อุปกรณ์สเปกโตรมิเตอร์ หรือเครื่องมือวัดแสง ซึ่งติดตั้งอยู่ในยานทั้ง 3 ลำ

โดยเฉพาะสเปกโตรมิเตอร์สุดไฮเทค รุ่น "เอ็ม 3" ของนาซ่า ที่ติดอยู่กับจันทรายาน 1

1.สีฟ้าบ่งชี้จุดพบโมเลกุลน้ำและไฮดรอกซิล

2.นักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบเครื่อง "เอ็ม 3" ซึ่งติดตั้งกับ "จันทรายาน 1"

3.สีฟ้า คือ จุดพบน้ำและแร่ธาตุบนดวงจันทร์

4.ภาพการวิเคราะห์พื้นผิวดวงจันทร์ และตัวอย่างหินดวงจันทร์



และทำงานโดยการวัดค่าแสงที่ตกกระทบ ผิวดวงจันทร์ด้วยคลื่นความถี่อินฟราเรด จนสามารถแยกพื้นที่ต่างๆ บนดวงจันทร์ออกเป็นหลายเฉดสี

ช่วยให้ทีมนักวิทยาศาสตร์นาซ่าแยกแยะจุดสะสมโมเลกุลของน้ำและไฮดรอกซิลได้ชัดเจน

"อย่างไรก็ดี เวลาเราพูดถึงคำว่า "น้ำบนดวงจันทร์" เราไม่ได้หมายถึงทะเลสาบ มหาสมุทร หรือแม้แต่แอ่งน้ำเล็กๆ แต่หมายถึงโมเลกุลของน้ำ กับไฮดรอกซิล ซึ่งทำปฏิกิริยากับโมเลกุลของหินและฝุ่นบนผิวดวงจันทร์ โดยเฉพาะพื้นผิวส่วนบนสุดไม่กี่มิลลิเมตร" คาร์ล ไพเตอร์ส ผู้นำทีมวิจัยข้อมูล เอ็ม 3 อธิบาย

ก่อนหน้านี้ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2542 ยานแคสซินี่เคยบินผ่านดวงจันทร์ พร้อมส่งข้อมูลว่าอาจพบโมเลกุลของน้ำเช่นกัน

แต่หลักฐานไม่ชัดเจนเท่าครั้งล่าสุด

"ถ้ามองในแง่องค์ความรู้ทางวิทยา ศาสตร์เกี่ยวกับดวงจันทร์ การค้นพบสัญญาณของน้ำบนดวงจันทร์ครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีใครนำเสนอหลักฐานชัดเจนขนาดนี้มาก่อน แม้วิธีที่ได้มาซึ่งข้อมูลจะทำด้วยเทคโนโลยีที่มีความละเอียดซับซ้อนมาก ในฐานะที่ศึกษาดวงจันทร์มายาวนาน ผมรู้สึกตกตะลึงจริงๆ เมื่อได้อ่านงานวิจัยชิ้นนี้" พอล จี. ลูซีย์ นักวิทยาดาวเคราะห์แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐ กล่าว

ภาพจากอุปกรณ์ "เอ็ม 3" พื้นที่สีฟ้า คือ จุดพบโมเลกุลของน้ำบนดวงจันทร์



ลูซีย์ ระบุด้วยว่า เมื่อดูข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ตำแหน่งที่อาจมีปริมาณน้ำสะสมมากพอต่อการนำมาใช้ นั่นคือ

พื้นที่โดยรอบ "ขั้วเหนือ-ขั้วใต้"

ส่วนจะมีประมาณที่แท้จริงมากเพียงใด คงต้องรอผลการทดลองขั้นต่อไปหลังจากวันที่ 9 ตุลาคมนี้

เมื่อนาซ่ามีแผนยิง "ดาวเทียมแอลครอส" (LCROSS) พุ่งชนหลุมบริเวณ "ขั้วใต้ของดวงจันทร์" ซึ่งมีชื่อเรียกว่า หลุม "Cabeus A"

เพื่อระเบิดสิ่งที่อยู่ใต้พื้นผิวให้พวยพุ่งออกมา

และใช้ดาวเทียมในอวกาศ รวมถึงกล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ภาคพื้นโลก ตรวจหาหลักฐานการมีอยู่ของ "น้ำแข็ง" และ "น้ำ"

โรเจอร์ คลาร์ก นักวิทยาศาสตร์สังกัดสำนักงานธรณีวิทยา หรือ "ยูเอสจีเอส" ระบุว่า

ปฏิบัติการที่เกิดขึ้นจะช่วยเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อดวงจันทร์ใหม่

จากเดิมเห็นว่าเป็นดาวบริวารแห้งแล้ง ไร้ประโยชน์ ให้กลับมามีความหวังถึงแผนตั้งนิคมมนุษย์อีกครั้ง

"เราพบน้ำแทบทุกละติจูดของดวงจันทร์ ไม่เว้นแม้แต่จุดที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดเดือดบนพื้นโลก ซึ่งเป็นเรื่องน่าประหลาดใจมาก" คลาร์ก กล่าว

อีกคำถามที่ตามมาพร้อมงานวิจัยดวงจันทร์ใหม่ล่าสุดของนาซ่ากับพันธมิตร ก็คือ

แล้วน้ำ หรือโมเลกุลของน้ำ ถือกำเนิดบนดวงจันทร์ได้อย่างไร?

นาซ่าตั้งสมมติฐานหาคำตอบไว้ 3 ข้อ ว่า

1.เกิดจากการถูกดาวหางไม่ทราบจำนวนพุ่งชน และภายในดาวหางเหล่านี้มีน้ำอยู่ภายใน

2.ถูกอุกกาบาตพุ่งชน ทำให้แหล่งน้ำใต้ดินเผยตัวออกมา

3.เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเพราะการทำอันตรกิริยาระหว่าง "ลมสุริยะ" จากดวงอาทิตย์ กับแร่ธาตุในดิน-หินบนดวงจันทร์ โดยเมื่ออนุภาค "ไฮโดรเจน" กับ "ฮีเลียม" ในลมสุริยะพัดมาชนพื้นผิวดวงจันทร์อย่างรุนแรง จะทำปฏิกิริยากับ "ออกซิเจน" ในดิน และจับตัวกันกลายเป็นน้ำ หรือไฮดรอกซิล

คณะนักวิทยาศาสตร์นาซ่าหวังว่า การพบข้อมูลใหม่เรื่องน้ำบนผิวดวงจันทร์จะ ช่วยให้รัฐบาลสหรัฐชุดใหม่ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีบารัก โอบามา

ตัดสินใจอนุมัติเดินหน้าโครงการส่ง "มนุษย์ อวกาศกลับไปเหยียบดวงจันทร์" อีกครั้ง

และเริ่มต้นกระบวนการสร้าง "ฐานบนดวงจันทร์" ภายในปีพ.ศ.2563 เพื่อต่อยอดใช้เป็นฐานส่งมนุษย์บุกเบิกสำรวจ "ดาวอังคาร" ต่อไป

ทั้งนี้เนื่องจาก "น้ำ" คือปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์

นอกจากนั้น ยังนำมาผลิตเป็นก๊าซออกซิเจนสำหรับใช้หายใจ

และแยกโมเลกุลของมันออกมาใช้เป็น "เชื้อเพลิง" ป้อนจรวดในภารกิจเดินทางไปกลับระหว่างพื้นโลก กับดวงจันทร์นั่นเอง



ข้อมูลจาก : เว็บไซต์นาซ่า, น.ส.พ.แอลเอไทมส์


Microsoft brings you a new way to search the web. Try Bing™ now

เตือนภัยไต้ฝุ่นกิสนา ฉบับใหม่

จำนวนคนอ่านล่าสุด 2757 คน
 
เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ
 
      ไม่ต้องตกใจกับใต้ฝุ่น นากีส นะครับ เพราะกว่าจะเข้าไทย ผ่านมาทางลาว
 
ก็จะลดความเร็วลมและความรุนแรงลงมากแล้วครับ จะมีเพียง ฝนตกหนักเท่านั้น
 
เป็นบริเวณกว้างครับ ซึ่งก็จะเป็นผลดีมากกว่าผลเสียนะครับ.
 
                 ด้วยจิตรคารวะ
 
         ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 
 

วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552 เวลา 18:01 น.  ข่าวสดออนไลน์


เตือนภัยไต้ฝุ่นกิสนา ฉบับใหม่

เวียดนามอพยพเรือนแสน ปินส์ตายพุ่ง240ศพ!


 เมื่อวันที่ 29 ก.ย. กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนภัย พายุกิสนา (KETSANA) ฉบับที่ 6 ว่า เมื่อเวลา 16.00 น.พายุกิสนาเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองดานัง ประเทศเวียดนามแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 340 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกของจังหวัดอุบลราชธานี หรือที่ละติจูด 15.4 องศาเหนือ ลองจิจูด 108.8 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว ประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ พายุนี้จะเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณแนวจังหวัดมุกดาหารและอุบลราชธานีในวันที่ 30 ก.ย. 52 และจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว

 ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นมากขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากได้ในหลายพื้นที่ โดยเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกก่อนในวันนี้ ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบต่อไป จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มของจังหวัดหนองคาย นครพนม สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา จันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา ระมัดระวังสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ 

  อนึ่ง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงทำให้คลื่นลมในทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะ 1-3วันนี้
 
 ด้านบีบีซีรายงานว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์ แถลงว่า พบผู้เสียชีวิตจากพายุ "กิสนา" (ภาษาลาว-ชื่อต้นไม้) หรือกฤษณา เพิ่มขึ้นอีกว่าร้อยศพ พุ่งขึ้นเป็น 240 รายแล้ว โดยยอดใหม่ที่เพิ่มเข้ามาเป็นยอดในกรุงมะนิลา เมืองหลวง ถึง 90 ราย ด้านผู้อพยพออกจากบ้านเรือนกว่า 450,000 ราย ต้องอาศัยอยู่ในที่พังพิงชั่วคราว 374,890 ราย ส่วนอาสาสมัครและทหารออกช่วยผู้ประสบภัยที่ติดค้างตามอาคารได้ราว 7,900 ราย
 ส่วนที่เวียดนาม มีการอพยพผู้คนจากเขตพายุเข้าแล้ว 170,000 คน


Bing™ brings you maps, menus, and reviews organized in one place. Try it now.

สหรัฐซุ่มวิจัยก๊อบปี้หอมมะลิ พาณิชย์หวั่นคู่แข่งสำคัญไทย

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาไทยทั่วประเทศและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
      กรณีย์สหรัฐอเมริการได้ทำการวิจัยพันธุ์ข้าวหอมมะลิเป็นผลสำเหร็จ และจะให้ชาวนาอเมริกัน
 
ในรัฐลุยเซียนา จะหันมาปลูกข้าวนี้มากขึ้น และช่วยทดแทนการนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยได้
 
ขณะนี้ยังไม่น่าเป็นห่วงว่าข้าวดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อตลาดข้าวหอมมะลิไทยในสหรัฐ มีปริมาณ
 
ส่งออกเฉลี่ยปีละ 4 แสนตัน แต่กว่าข้าวแต่ละชนิดจะเป็นที่ยอมรับจากตลาด ต้องใช้เวลาหลายปี
 
ที่สำคัญผลผลิตข้าวหอมมะลิเขาผลิตได้ถึง ๑,๒๒๖ กก./ไร่ ส่วนของเราผลผลิตได้เพียง ๔๐๐ กก/ไร่
 
และรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ราคาประกันเพียง ๑๐,๐๐๐.-บาท/เกวียนเท่านั้น.
 
           ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ชาวนาไทยจะได้พิจจารณาให้ถ่องแม้ว่า พวกเราควรจะปรับเปลี่ยน
 
การทำนาข้าวหอมมะลิเพื่อขายให้พ่อค้าส่งออก หรือจำทำนาข้าวหอมมะลิไว้กิน กินเเหลือจึงขาย
 
ทั้งนี้เพื่อลดปริมษรข้าวภายในประเทศลง ราคาก็จะดีขึ้น (ราคาตลาดโลกลืมไปได้เลย) นอกจาก
 
ผลกระทบทางด้านราคาแล้ว ชาวนาไทย ยังมีต้นทุนการผลิต/กก. สูงอีกด้วย เพราะราคาปุ๋ยเคมี
 
ปรับสูงขึ้น ราคาน้ำมันดีเซลล์ก็สูงขึ้น และยังได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม น้ำแล้งอีกด้วยจากการบริ
 
หารจัดการน้ำของภาครัฐที่ล้มเหลว ดังจะเห็นได้จากแปลงเกษตรปลูกยางพารา และแปลงนาที่ผม
 
ได้นำมาลงให้ชมนี้คือ.-
 
      ๑.) แปลงนาข้าวของนายทองหนัก ศรีคัดเค้า อายุ 49 ปี เลขที่ 176 หมู่ 5 ชาวนาบ้านธนบุรี
 
           ต.โพนงาม อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ จะเห็นว่า แปลงนานั้นขาดน้ำ เพราะเขื่อน ลำปาว
 
           ไม่มีน้ำเพียงพอ แต่ต้องรีบเก็บเกี่ยวเพราะเข้าหน้าฝน น้ำจากเขื่อนลำปาวจะทะลักไหลง
 
            มาท่วมและเป็นอยู่อย่างนี้ทุกปีไม่มีการแก้ไขจากรัฐ (ผลกระทบจากนโยบายรัฐ)
 
           วิธีการแก้ปัญหาคุณทองหนัก ฯครับ คุณต้องต้ดสินใจแล้วละครับว่าคุณต้องปรับ
 
            เปลี่ยนมาทำเกษตร "ทฤษฎีใหม่" เพื่อการดำรงค์ชีพตามแนวพระราชดำริ "เศรษฐกิจพอเพียง"
 
            หรือการพึ่งตัวเองครับ ผมไม่ทราบว่าคุณทำนากี่ไร่? เฉลี่ยสมมุติ ๑๕ ไร่ เกษตร "ทฤษฎีใหม่นั้น
 
            ต้องแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วนดังนี้ ขุดสระลึก ๔ เมตร : ทำนา : ปลูกไม้ ๓ อย่างเพื่อ
 
            ประโยชน์ ๔ อย่าง : ปลูกบ้าน โรงนา คอกสัตว์ และปลูกผักสวนครัว = ๓๐ :๓๐ :๓๐ : ๑๐
 
            และเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์/จุลินทรีย์/มูลสัตว์ และใช้แรงงานในครัวเรือน/แรงงานสัตว์พื่อลด
 
            ต้นทุนการผลิต เมื่อเราทำนาน้อยก็จะสามารถดูแลได้ดีนอกจากต้นทุนต้ำแล้ว ผลผลิตก็จะสูง
 
            ขึ้นอีกด้วย (เกษตรกร/ชาวนา สุพรรณบุรี ได้ผลผลิตข้าวถึง ๑,๐๐๐ กก.ขึ้น/ไร่ โดยการใช้ปุ๋ย
 
            จุลินทรีย์
 
                     ๑.๑) พื้นที่ขุดสระ ๓๐% = ๔.๕ ไร่ ถ้าน้ำท่วมสูงสุด ๐.๗๐ เมตร เราน้อมนำโครงการ
 
             แก้มลิงมาปรับใช้ในการขุดสระเพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยขุดดิยจากข้างในมาถมเป็นคันกว้าง
 
             ๔.๕๐ เมตรถมสูงกว่าระดับน้ำสูงสุด ๐.๓๐ เมตร คันดินถมจะสูง ๑.๐๐ เมตร สูงพันน้ำอยู่
 
             ๐.๓๐ เตร เพื่อใช้ปลูกผักสวนครัวได้ตลอดปีเพราะมีน้ำ ดินขุดเหวี่ยงมาถมไม่ต้องขน  ขนาดร่อง
 
             ปากกว้าง ๘.๕๐ เมตร กันร่องกว้าง ๔.๕๐ เมตร เท่าคันดิน และลึกเพียง ๑.๐๐ เมตร จะได้ดิน
 
             ขุดพอดีนำมาทำคันจำนวน ๑,๖๐๐ ลบ.ม. เศษ ค่าขุด/เกลี่ย/บดตกประมาณ ๑๕,๐๐๐.-บาท
 
              แต่ต้องวางแผนเผื่อขยายไว้ด้วย แก้มลิงรวมร่องน้ำ จะเก็บน้ำได้ประมาณ ๗,๕๐๐ ลบ.ม. ปล่อย
 
              ปลานิลลงเลี้ยง ๑๕,๐๐๐ ตัว เล้ยง ๖ - ๘ เดือน จะได้ผลผลิตปลาประมาณ ๗๕๐ กก./ปี นำไป
 
              ขายตรงที่ตลาด กก.ละ (ขนาด ๕ - ๖ ต้ว/กก.) ๓๐.-บาท จะได้เงินเป็นค่าขุดสระแล้วจำนวน
 
              ๒๒,๕๐๐.-บาท/ปี. แก้มลิงต้องวางท่อและทำประตูระบายน้ำเข้าด้วย
 
                     ๑.๒ ) พื้นที่ทำนา ๓๐ % = ๔.๕๐ ไร่ พื้นที่ติดต่อกับสระแก้มลิงขุดดินทำคันกว้าง
 
             ซัก ๒.๕๐ เมตร ถมสูง ๐.๕๐เมตร ปล่อยน้ำเข้าท่วมเป็นแก้มลิงเช่นกัน หล้งน้ำลด ๑ เดือน
 
             ก็จะสามารถปลูกผักบนค้นนาได้น้ำในสระแก้มลิงก็จะลดลงประมาณ ๓๐ - ๔๐ ซม เช้นกัน
 
             เราก็จะสามารถสูบน้ำจากที่ๆจำทำนาเข้าไปเก็บไว้ ก็อาจจะทำนาปีได้ก่อนเพื่อนคือ ใช้
 
             ยุทธการหว่านวันแม่- เกี่ยววันพ่อ และทำนาต่อ (ถ้าจะทำนาล้มตอซังต่อควรทำนาดำ)
 
             รอบที่สองได้อีกโดยการทำนาแบบล้มตอซัง.ตามข้อมูลที่ผมได้ส่งตามมาให้แล้วครับ.
 
                    ๑.๓) พื้นที่ปลูกไม้ผล ไม้ยินต้น และไม้ใช้สอย (ปลูกไม้ ๓ อย่างเพื่อประโยชน์ ๔ อย่าง)
 
             ๓๐% เราใช้ริมคันดินปลูกไปพลางๆกอน เมื่อเห็นว่าได้ผลดีในสิ้นปีแรกจึง ขุดสระให้ลึกและกว้าง
 
             เพิ่มขึ้น และนำดินไปถมขยายคันดินให้กว้างมากขึ้นเรื่อยๆและวางแผนปลูกไม้ผลต่อไป
 
             จนกว่าจะครบพื้นที่เป้าหมายคือ ๔.๕ ไร่.
 
                    ๑.๔) พื้นที่ปลูกบ้าน ปลูกโรงนา คอกสัตว์ และปลูกผักสวนครัว ก็ทำเช่นเดียวกันคือขุดขยาย
 
             คันดิน อาจรวมที่นาขุดสระให้ใหญ่ขึ้น ที่ทำนาเลื่อนไปทำในที่ๆดอนกว่าต่อไป.
 
                           ภายใน ๔ ปีก็จะครบถ้วนโครงการแปลงเกษตร "ทฤษฎีใหม่" เราก็จะสามารถ ป้องกัน
 
             ภัยแล้ง ภัยน้ำท่วมได้ และจะมางานทำและมีรายได้ตลอดปี และไม่ต้องกล้วว่า ข้าวหอมจากอเมริกา
 
             จะออกมาตีตลาดอย่างไร? เราก็จะไม่ถูกผลกระทบเลยครับ. ทั้งหมดนี้คือ "ทฤษฎีใหม่" ขั้นที่ ๑ ครับ
 
             ต่อไปขั้นที่ ๒ เราอาจรวมตัวกันทำโรงสีกลุ่มจากข้าวที่กินเหลือแล้วขาย และไม่ต้องไปจ้างโรงสีชุมชน
 
             ประสิทธิภาพต่ำอีกต่อไปครับ.(โรงสีประสิทธิภาพต่ำจะกินข้าวเราไปมากครับ เราไม่ได้สรฟรีนะครับ
 
              ทดลองชั่วข้าวเปลือก ๑๐๐ กก.แล้วนำไปทดลองสีดูก็ได้ เราจะได้ข้าวสารกลับมาถึง ๕๐ กก.หนือเปล่า?)
 
              แต่ถ้าเรารวมตัวกันซื้อเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก ราคาประมาณ ๖๕,๐๐๐.-บาท จะสีได้ข้าวสารถึง ๖๕% -
 
              ๖๙% หมายความว่า สีข้าวเปลือก ๑๐๐ กก จะได้ข้าวสาร ๖๕ กก. ปลายข้าว ๕ กก รำข้าว ๑๐ กกและ
 
              แกลบ ๒๐ กก. รวมกันเป็น ๑๐๐ กก.
 
            ๒.) แปลงสวนยางพาราของนายทองใบ บุญแน่น ที่ไถต้นยางทิ้ง ๑๒ ไร่นั้น น่าจะแตกต่างจากที่นาของ
 
               คุณทองหนัก เพราะจะไม่ถูกผลกระทบน้ำท่วมจากเขื่อนห้วยหลวง แต่ก็จัถูกผลกระทบจากภัยแล้ง
 
              คุณทองใบ บุญแน่นก็ควรที่จะปรับเปลี้ยนพื้นที่ ๑๒ ไร่มาเป็นเกษตร "ทฤษฎีใหม่"  โดยการขุดสระลึก
 
             ๔ เมตร พื้นที่ ๓๐% =  ๓.๖ ไร่ จะเก็บน้ำได้ประมาณ ๑๕,๐๐๐ ลบ.ม. แบ่งขุดเป็น ๕ ครั้งๆละ ๓,๐๐๐
 
             ลบ.ม. จะใช้เงินประมาณ ๒๐,๐๐๐.-บาท โดยขุดเหวี่ยงแล้วถอนทำคัน ๒ ด้าน และขุดต่อในปีต่อไปครับ
 
             ทำนา ๓๐% คิดเป็น ๔ ไร๋ สระมีน้ำ ๓,๐๐๐ ลบ.ม.ไว้เริมน่าจะพอเพียงในปีแรก ปีต่อไปมีน้ำมากขึ้น ก็จะ
 
             ป้องกันภัยแล้งได้และสามารถทำนาแบบล้มตอซังในรอบที่ ๒ ได้อีกด้วย เวลาที่เหลือ ก็ปลูกพืชตระกูลถั่ว
 
             เพื่อปรับปรุงดินนะครับ. พื้นที่น้ำไม่ท่วมคันดินก็ไม่ต้องไปถมสูง เอาแค่เพียงน้ำไม่ขังเพื่อใช้ปลูกไม้ผล
 
             ไม้ยินต้นได้ดีเท่านั้น และเลี้ยงปลานิล เละยงหมูบนบ่อปลานิลครับ. ข้อมูล "ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับน้ำ"
 
             ปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" ยุทธการหว่านวันแม่ - เกี่ยววันพ่อ การทำนาแบบล้มตอซัง การเล้ยงปู
 
            เลี้ยงเป็ดในนาข้าว และการทำปุ๋ยจุลินทรีย์ต้นแบบครูทองเหมาะ แจ่มแจ้ง ผมได้ส่งตามไปให้แล้วนะครับ.
 
            อย่างช้า วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ คงจะถึงมือทั้งสองท่านนะครับ ผมขอเป็นกำลังใจให้ต่อสู้นะครับ
 
            เราต้องเชื่อในพระเจ้าอยู่หัว และต้องอดทน และปฏิบัติตามพระองค์ท่านไมนานเกินรอเราก็จะสามารถ
 
            ยืนอยู่ได้บนลำแข้งของเราเองครับ. แล้วเราและครอบครัวก็จะมีความสุข.
 
                               ด้วยจิตรคารวะ
 
                       ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 
 
 
 
 
 
สหรัฐซุ่มวิจัยก๊อบปี้หอมมะลิ พาณิชย์หวั่นคู่แข่งสำคัญไทย

วันที่ 28 กันยายน 2552 11:31
ข้าวหอมมะลิ, สหรัฐ
TOOLS
คอลัมน์อื่นๆ
พาณิชย์ เผยสหรัฐเตรียมปลูกข้าวสายพันธุ์ใหม่ มีคุณสมบัติหอม นิ่ม ใกล้เคียงข้าวหอมมะลิไทย แถมตั้งชื่อ JAZZMAN เลียนแบบทูตพาณิชย์ไทย
Oneworld AllianceTravel with Around The World Fare Starting Price from THB 92,835www.oneworld.com
บัตรเครดิต-สินเชื่อบุคคลโปรโมชั่นล่าสุด จากทุกธนาคาร ประเมินผล Online ทันทีwww.silkspan.com
นางสมรรัตน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์วิจัยและค้นคว้าเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยลุยเซียนา มลรัฐลุยเซียนา ประเทศสหรัฐได้ประกาศอย่างเป็นทางการ ว่า ได้ค้นคว้าและพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ LA2125 มีคุณภาพทัดเทียมกับข้าวหอมมะลิไทย และตั้งชื่อคล้ายคลึงกันว่า JAZZMAN เพื่อแข่งขันกับข้าวหอมมะลิไทย ส่วนข้าวหอมมะลิไทยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า JASMINE ซึ่งในฤดูกาลผลิตปี 2552/2553 ได้นำเมล็ดพันธุ์ไปให้ชาวนาเพาะปลูกเพื่อการค้าแล้ว
สำหรับข้าว JAZZMAN ศูนย์วิจัยฯ ได้เริ่มการทดลองผสมพันธุ์ตั้งแต่ปี 2509 โดยนำข้าวกลิ่นหอมของจีนสายพันธุ์ 96a-8 มาผสมกับข้าวเมล็ดยาวของรัฐอาร์คันซอ ใช้เวลา 12 ปี จึงเป็นผลสำเร็จ และอ้างว่ามีคุณภาพ ความหอมทัดเทียมกับข้าวหอมมะลิไทย สามารถแข่งขันกับข้าวหอมมะลิไทยได้แน่นอน เพราะข้าวมีความหอมและนิ่ม ที่สำคัญให้ผลผลิตโดยเฉลี่ยไร่ละ 1,265 กิโลกรัม
ขณะที่ข้าวไทยได้ผลผลิตไร่ละ 400 กิโลกรัม ชาวนาผู้ปลูกข้าวดังกล่าว ยืนยันว่าชาวนาในรัฐลุยเซียนา จะหันมาปลูกข้าวนี้มากขึ้น และช่วยทดแทนการนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยได้
อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์คริสโตเฟอร์ ดาเรน ประจำสถาบันวิจัยข้าว มหาวิทยาลัยอาร์คันซอ ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการวิจัยข้าวหอมมะลิให้ข้อคิดเห็นว่า ข้าวดังกล่าวเป็นข้าวหอมพันธุ์ดีที่สุดของสหรัฐ แต่ยังไม่สามารถเทียบเท่ากับข้าวหอมมะลิไทย เพราะข้าวหอมมะลิไทยมีคุณสมบัติพิเศษเป็นของตัวเอง และเป็นธรรมชาติ ซึ่งข้าวพันธุ์อื่นๆ ไม่สามารถให้พัฒนาได้ทัดเทียม หรือมาแข่งขันได้ เชื่อว่าข้าวหอมมะลิไทยมีคุณภาพดีที่สุดในโลก
"หากชาวนาสหรัฐปลูกข้าวมากขึ้น จะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดข้าวหอมมะลิไทยในสหรัฐได้ และทำให้สหรัฐนำเข้าข้าวหอมมะลิไทยลดลงในอนาคต ส่งผลให้ราคาข้าวหอมมะลิไทยตกต่ำลงได้ ผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิไทยควรเตรียมกลยุทธ์ป้องกัน และต่อสู้กับข้าว JAZZMAN เพื่อรักษาตลาดข้าวไทยในสหรัฐ" นางสมรรัตน์ กล่าว
ด้าน นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่น่าเป็นห่วงว่าข้าวดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อตลาดข้าวหอมมะลิไทยในสหรัฐ มีปริมาณส่งออกเฉลี่ยปีละ 4 แสนตัน แต่กว่าข้าวแต่ละชนิดจะเป็นที่ยอมรับจากตลาด ต้องใช้เวลาหลายปี ต้องยอมรับว่าข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้าพรีเมียมที่ตลาดยอมรับมานานและมีคุณค่าทางตลาด แต่ต้องจับตามองว่ามีลักษณะทางกายภาพเหมือนหรือต่างจากข้าวหอมมะลิของไทยอย่างไร หากใกล้เคียงกันอาจต้องระวังว่าจะมีการนำมาผสมกับข้าวหอมมะลิไทยก่อนวางจำหน่าย หากไม่เหมือนกันก็ถือว่าเป็นคนละตลาด
"ต้องยอมรับว่าเรายังไม่รู้ว่าข้าวชนิดใหม่นี้ มีลักษณะทางกายภาพและคุณภาพหลังการหุงต้มเป็นอย่างไร แต่เบื้องต้นไม่น่าเป็นห่วง เพราะตลาดข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้าพรีเมียมที่มีจุดยืนในตลาดชัดเจน ขณะที่สินค้าใหม่ๆ หรือข้าวชนิดใหม่กว่าจะได้รับการยอมรับจากตลาดจะใช้เวลานาน เช่น ข้าวปทุมธานี เป็นต้น" นายชูเกียรติ กล่าว
 
 
 
 
ชาวนากาฬสินธุ์ผวาน้ำท่วมซ้ำซาก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 กันยายน 2552 14:55 น.

 

 
 
 
 
 
กาฬสินธุ์ - อิทธิพลของฝนที่ตกหนักติดต่อกันหลายวัน ทำให้ชาวนาที่จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ลุ่มติดแม่น้ำ และพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก อยู่ในอาการหวาดผวา ต้องเร่งเก็บเกี่ยวข้าวในนาที่ยังไม่แก่เต็มที่ เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น แม้ว่าจะได้ผลผลิตที่ลดต่ำก็ตาม
       
       นายทองหนัก ศรีคัดเค้า อายุ 49 ปี เลขที่ 176 หมู่ 5 ชาวนาบ้านธนบุรี ต.โพนงาม อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่าจากการที่ในช่วงนี้ ฝนได้ตกลงมาอย่างหนักและติดต่อกันหลายวัน ที่จะทำให้ปริมาณน้ำในลำห้วยสาขาและแม่น้ำลำปาว เพิ่มสูงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับที่อุตุนิยมวิทยา ได้พยากรณ์และเตือนว่า ตลอดสัปดาห์นี้ยังจะมีฝนตกชุกหนาแน่น ที่จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และเอ่อท่วมฉับพลัน
       
       ทำให้ชาวนาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหวาดผวาเป็นอย่างมาก เนื่องจากกลัวว่าน้ำจะท่วมพื้นที่แปลงนาได้รับความเสียหาย
 
 
 
 

 
 
 
 
 
 
ศูนย์ข่าวขอนแก่น - โครงการปลูกยางล้านไร่ส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งไปทั่วประเทศ "ชาวนาโนนสัง" หนองบัวลำภูสุดช้ำ แฉโดน "รัฐบาลแม้ว" ต้มจนเปื่อย แถมกล้ายางพาราที่นำไปให้ก็ไร้คุณภาพ เผยเข้าร่วมโครงการปลูกยาง 14 ไร่แค่ปีเศษก็เจอดี ต้นยางออกดอกถึงร้อยละ 90 จึงตัดสินใจไถทิ้งหันมาปลูกข้าวตามเดิม ครวญเสียทั้งเงิน-เวลา-ความรู้สึก จี้ต่อมสำนึกภาครัฐหากจะส่งเสริมต้องจริงใจ ตั้งข้อสังเกตโครงการนี้ทุจริตหรือไม่

 
ไถทิ้ง "กล้ายางฉาว" แฉ "รัฐบาลแม้ว" ต้ม เสียทั้งเงิน-เวลา
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 กันยายน 2552 11:24 น.

นายสมศักดิ์ ทองบุญมา พาไปดูต้นยางที่ปลูกมา 3 ปีต้นโตแค่นี้ สภาพต้นยางพาราจากโครงการยางพารา 1 ล้านไร่ ต้นเล็กมาก เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ถึง 3 นิ้ว
 
 
 
 
 
 


Lauren found her dream laptop. Find the PC that's right for you.

ชาวนาแฉกล้ายางล้านไร่ รัฐบาลแม้วต้ม-ไถทิ้งทำนาต่อ

on วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
       ผมไม่ขอวิจารย์ครับ เพราะข้อมูลจากบทความนั้นมีครบถ้วนแล้ว
 
อย่างไรก็ตามผมขอเป็นกำลังใจให้นายสมศักดิ์ ทองบุญมา สู้ต่อไปนะครับ
 
อย่าไปยอมแพ้นะครับ ผมขออนุญาติแนะนำให้คุณสมศักดิ์ ฯลองศึกษา
 
ปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" โดยปรับเปลี่ยนแปลงปลูกยางที่ไถทิ้ง
 
นำมาทำเป็นแปลงเกษตร "ทฤษฎีใหม่" ครับ และข้อมูลต่างๆผมจะพยายามหา
 
ทางส่งมาให้นะครับในเร็ววันนี้.
 
                     ด้วยจิตรคารวะ
 
             ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 
 
 

ชาวนาแฉกล้ายางล้านไร่ รัฐบาลแม้วต้ม-ไถทิ้งทำนาต่อ
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 28 กันยายน 2552 00:02 น.

ปลูก 3 ปีต้นโตแค่นี้ สภาพต้นยางพาราจากโครงการยางพารา 1 ล้านไร่ ต้นเล็กมาก เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ถึง 3 นิ้ว

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
นายสมศักดิ์ พาผู้สื่อข่าวไปดูสวนยางพาราที่เหลือไว้ดูว่าจะเติบโตได้มากแค่ใหน

นายสมศักดิ์ และนางกัลยาณี ทองบุญมา พาไปดูสวนยางพาราที่ไถทิ้งและเปลี่ยนมาปลูกข้าวนาปีตามเดิม

แปลงนา ที่นายสมศักดิ์ และภรรยา ไถต้นยางพาราทิ้ง กลับมาปลูกข้าวนาปีตามเดิม

สภาพไร่ยางพาราที่รู้แล้วว่าไม่เจริญเติบโตกว่านี้แน่

รันทด...นายสมศักดิ์ และภรรยา นั่งมองดูไร่ยางพารา ที่ทั้งสองคนทุ่มเทแรงกายแรงใจไปกว่า 2 ปี แต่กลับไม่ได้อะไรกลับคืนมา

นายสมศักดิ์ พยายามกรีดยางพาราให้ดูว่า จะได้น้ำยางแค่ไน

นายสมศักดิ์ ทองบุญมา ที่ต้องผิดหวังเปลี่ยนชีวิตจากคนขายแรงงานต่างประเทศ มาเป็นชาวไร่ปลูกยางพารา แต่ก็ต้องสุดช้ำเมื่อต้องผิดหวังกับกล้ายางคุณภาพต่ำ

นางกัลยาณี ทองบุญมา ถ่ายทอดความรู้สึกที่ต้องเสียทั้งเวลา เสียทั้งเงินและความรู้สึกหมดไปกับการปลูกยางพาราตามโครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ศูนย์ข่าวขอนแก่น-โครงการปลูกยางล้านไร่ส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งไปทั่วประเทศ "ชาวนาโนนสัง" หนองบัวลำภูสุดช้ำ แฉโดน "รัฐบาลแม้ว" ต้มจนเปื่อย แถมกล้ายางพาราที่นำไปให้ก็ไร้คุณภาพ เผยเข้าร่วมโครงการฯ ปลูกยาง 14 ไร่ แค่ปีเศษก็เจอดี ต้นยางออกดอกถึงร้อยละ 90 จึงตัดสินใจไถทิ้งหันมาปลูกข้าวตามเดิม ครวญเสียทั้งเงิน-เวลา-ความรู้สึก จี้ต่อมสำนึกภาครัฐหากจะส่งเสริมต้องจริงใจ ตั้งข้อสังเกตโครงการนี้ทุจริตหรือไม่
       

       โครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ตามนโยบายสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (พ.ศ.2547-2549) แบ่งพื้นที่ปลูกในภาคอีสาน 700,000 ไร่ และภาคเหนือ 300,000 ไร่ โดยมีบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ "ซีพี" เป็นผู้รับผิดชอบผลิตกล้ายางพาราให้กับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) นำไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
       
       สำหรับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับความสนใจจากเกษตรกรอีสานสูงมาก เนื่องจากราคายางพาราที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์มากกว่ากิโลกรัมละ 90 บาท ในช่วงที่เริ่มเกิดโครงการนั้น เป็นแรงกระตุ้นและดึงดูดให้เกษตรกรสมัครเข้าร่วมจนล้นโครงการ พื้นที่ปลูกยางพาราคาน่าจะสูงกว่า 1 ล้านไร่
       
       **แฉยางพารา 1 ล้านไร่ไร้ผล
       
       นายสมศักดิ์ ทองบุญมา อายุ 34 ปี และนางกัลยาณี ทองบุญมา อายุ 33 ปี สองสามีภรรยาชาวบ้านโนนสว่าง ต.โนนเมือง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู ซึ่งเป็นเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ เปิดเผยว่า โครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ สร้างความหวังให้คนอีสานสูงมากว่า จะสามารถพลิกฟื้นชีวิตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการเมื่อปี 2549 นำโฉนดที่ดินทำกินไปยื่นกับเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอโนนสัง จ.หนองบัวลำภู แจ้งว่า จะปลูกยางพาราทั้งสิ้น 14 ไร่ ทั้งที่ความรู้การปลูกยางพารา ไม่มีอยู่เลย แต่กระแสความนิยมในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ของคนอีสานที่จะนำพาคนอีสานให้อยู่ดีกินดี และราคายางขณะนั้นสูงมาก เป็นตัวชี้วัดได้ว่า การตัดสินใจเปลี่ยนมาปลูกยางพารา น่าจะประสบผลสำเร็จ
       
       การตัดสินใจมาปลูกยางพาราตามกระแสนิยมในครั้งนั้น ทางครอบครัวของตนได้ตัดสินใจนำเงินที่เก็บจากการไปทำงานในต่างประเทศ มาลงทุนเป็นค่าใช้จ่าย ปรับหน้าดินจากที่นาปลูกข้าวที่กำลังประสบปัญหาข้าวราคาตกต่ำ เปลี่ยนหน้าดินมาปลูกยางพาราทั้งหมด รวมถึงค่าปุ๋ยบำรุงดิน ค่าจ้างแรงงาน ค่าทำรั้ว รวมเบ็ดเสร็จค่าใช้จ่ายเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนต้นกล้ายางพาราจากรัฐบาลขณะนั้นก็ตาม
       
       "วันที่เดินทางไปรับต้นกล้ายางพาราจาก สกย.ที่ อ.หนองวัวซอ จ.หนองบัวลำภู มีเกษตรกรขับรถไปรับกล้ายางพาราจำนวนมาก ไม่สามารถเลือกต้นกล้าได้ เพราะเจ้าหน้าที่ได้มัดต้นกล้าวางไว้แล้ว พวกเราต้องขนต้นกล้ายางพาราขึ้นรถเท่านั้น จึงไม่รู้ว่าได้ต้นกล้ายางพาราที่สมบูรณ์หรือไม่ แต่ที่น่าตกใจมากก็คือหลังจากที่ปลูกกล้ายางพาราไปได้ประมาณ 2 ปี ต้นยางพาราจำนวนมากกว่าร้อยละ 90 ที่ปลูกต่างออกดอกสีขาวคล้ายดอกสะเดา และติดผลสีเขียว ทั้งที่ต้นยางยังเล็กอยู่" นายสมศักดิ์ กล่าว
       
       **เชื่อคนอีสานโดนหลอกทั้งภาค
       
       นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า หลังเกิดปัญหาดังกล่าว ตนได้สอบถามไปยังญาติของตนที่ จ.เลย ที่ปลูกยางพาราประสบผลสำเร็จ ซึ่งได้รับให้คำแนะนำมาว่า ต้นกล้ายางพาราที่ตนปลูกนั้นไม่สมบูรณ์ เป็นต้นกล้าที่ติดตาจากต้นยางแก่ หรือยางตาสอย หากปล่อยไว้จะไม่ให้ผลผลิตน้ำยาง ต้นยางจะไม่เติบโตเท่าที่ควร ไม่คุ้มจะดูแลรักษาต่อไป ตนจึงตัดสินใจไถต้นยางพารากว่า 12 ไร่ทิ้งเมื่อปี 2551 ที่ผ่านมาเหลือไว้แค่ 2 ไร่เพื่อดูว่าต้นยางเหล่านี้จะเติบโตมากน้อยแค่ไหน แต่ท้ายที่สุดตนก็ต้องกลับมาปลูกข้าวเช่นเดิม
       
       "ผมมีความเชื่อมั่นว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ และไปรับต้นกล้ายางพาราในวันเดียวกันกับผมนั้น น่าจะประสบปัญหาได้รับต้นกล้ายางไม่สมบูรณ์เช่นเดียวกันกับผม เพราะส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรอยู่ในพื้นที่ อ.โนนสัง อ.ศรีบุญเรือง อ.หนองวัวซอ จ.หนองบัวลำภู รวมถึงหลายอำเภอใน จ.อุดรธานีด้วย" นายสมศักดิ์ กล่าวพร้อมกับเปิดเผยอีกว่า สำหรับญาติของตนที่ปลูกยางพาราประสบผลสำเร็จนั้น เขาไม่ได้เข้าร่วมโครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ แต่เป็นเกษตรกรรุ่นแรกที่เข้าร่วมโครงการขยายพื้นที่ปลูกยางพารากับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ซึ่งได้ให้คำแนะนำมาว่า ควรลงทุนซื้อกล้ายางพันธุ์ดีจากทางภาคใต้มาปลูกเองน่าจะดีกว่า แต่ตนต้องการลดต้นทุนค่าพันธุ์ยางจึงเข้าร่วมโครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่ แต่ในที่สุดก็ประสบปัญหาขึ้นดังกล่าว
       
       **ชี้ถูกรัฐบาลทักษิณหลอก เสียทั้งเงิน/เวลา/ความรู้สึก
       
       นางกัลยาณี เปิดเผยความรู้สึกว่า เมื่อรู้ว่าต้นยางพาราที่ปลูกไว้จะไม่ให้ผลผลิตน้ำยาง พวกเราก็รู้ทันทีว่าถูกหลอกแน่ ซึ่งทำให้ตนเสียความรู้สึกมากที่โครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นเช่นนี้ ตนอยากถามว่าทำไมต้องมาหลอกลวงประชาชนคนจนด้วย ซึ่งการตัดสินใจปลูกยางพาราของตนนั้นเป็นความหวังสูงสุดตามที่รัฐบาลระบุว่า รายได้จากน้ำยางเมื่ออายุครบกรีดจะเป็นรายได้หลัก และตนก็ตั้งใจไว้ว่าจะนำรายได้จากยางพาราดังกล่าวเป็นเงินทุนสำหรับส่งให้ลูกทั้ง 2 คนของตนได้เรียนให้จบปริญญาตรี
       
       "รู้สึกเสียใจมาก ที่ครอบครัวทุ่มเทแรงกายแรงใจไปกับยางพาราตามนโยบายของรัฐบาล แต่ก็ต้องสูญเปล่า เสียดายเวลา และเงินทุนที่เก็บหอมรอมริบไว้ต้องสูญหายไปกับยางพารา และเสียความรู้สึกมาก เพราะตลอดระยะเวลาที่ปลูกยางพารา เราประคบประหงมดูแลอย่างดี แต่ก็กลับไม่มีอะไรคืนมาเลย มีแต่เสียกับเสีย ทำให้ชีวิตครอบครัวต้องมาเริ่มต้นใหม่ ความฝันที่วาดหวังไว้ว่ายางพาราจะชุบชีวิตให้อยู่ดีกินดี ก็ต้องมาล่มสลายในพริบตา" นางกัลยาณี ถ่ายทอดความรู้สึก
       
       **จี้ต่อมสำนึกรัฐบาลจริงใจ ปชช.
       
       นางกัลยาณี กล่าวต่ออีกว่า ความรู้สึกส่วนตัวเชื่อมั่นในตัว พ.ต.ท.ทักษิณและการบริหารงานของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ แต่โครงการฯนี้ได้ทำลายความเชื่อมั่นของตนลงไปหมดสิ้น โครงการฯนี้เป็นบทเรียนสำคัญที่ผู้บริหารประเทศหรือภาครัฐ จะต้องตระหนักในแผนงาน และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั้งประเทศ ต้องจริงใจ มีแผนติดตาม และประเมินผล แก้ปัญหาทันท่วงที อย่าให้เหมือนโครงการปลูกยาง 1 ไร่ให้การส่งเสริมแล้วเงียบหายทันที
       
       ท้ายสุด นางกัลยาณี ตั้งข้อสังเกตว่า โครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่และการแจกจ่ายต้นกล้ายางพารา 90 ล้านต้นนั้นมีการทุจริตหรือไม่ เพราะเกษตรกรอีสานหลายๆ ราย แม้ว่าจะเพิ่งปลูกยางพาราช่วงเริ่มต้น แต่เกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.เลย ล้วนประสบผลสำเร็จ สามารถกรีดยางและเกิดรายได้อย่างเป็นรูปธรรม



Hotmail® has ever-growing storage! Don't worry about storage limits. Check it out.