เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ. สถานการณ์ปัจจุบัน : สถานการณ์ปกติ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม 2550 เวลาทำการ 08.30น. – 16.30น.
สาเหตุที่น้ำท่วมหมู่บ้านที่ตั้งอยู่รอบๆสนามกีฬา กลับกลายเป็นว่า เกิดน้ำท่วมเนื่องจากสภาพของคลองระบายน้ำด้านท้ายขนาดเล็กและตื้นเขิน จนไม่มีสภาพเป็นคลองระบายน้ำ ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ซึ่งมีข้อเท็จจริงว่าสนามกีฬาไปถมอ่างเก็บน้ำ เถกิงพล นี้เป็นปริมาตรดินถมถึง ๑,๓๕๘,๐๐๐ ลบ.ม. เหลือบริมาตรเก็บกักน้ำได้เพียง ๓๐๐,๐๐๐ ลบ.ม.เท่านั้น ส่วนข้ออ้างที่ว่าคลองระบายน้ำด้านท้ายขนาดเล็กและตื้นเขินนั้นเป็นเพียงข้ออ้างของผู้บริหารจัดการที่ไร้ประสิทธิภาพและปล่อยทิ้งไม่สนใจดูแลต่างหาก.
อนึ่งอีก ๒ ปีข้างหน้าเมื่อโรงกรองน้ำแห่งใหม่ของเทศบาลนครนครราชสีมาก่อสร้างแล้วเสร็จ จะเกิดศึกแย่งน้ำกันระหว่าง บริษัทฯจัดการน้ำและผู้ดูแลบริหารจัดการเขื่อนลำแซะ และเกษตรกร/ชาวนา ที่อาศัยอยู่ท้ายเขื่อน ลำแซะอีกฝ่ายหนึ่ง เหตุผลจะคล้ายๆการก่อส้รางสนามกีฬา ครับ เพราะนักการเมืองมิได้คิดถึงประชาชนเลย(เกษตรกร/ชาวนาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศและยากจน) และไปแย่งน้ำมาจากเขื่อนลำแซะเพื่อมาทำน้ำประปาทั้งๆปริมาณน้ำในเขื่อน ลำตะคอง สามารถเก็บกักได้มากกว่า เพียงไปหาทางผันน้ำจากน้ำตกเหวนรกมาลง ที่ต้นน้ำลำตะคองเท่านั้นคือที่น้ำตกเหวสุวัจเท่านั้น ก็จะได้น้ำเพิ่มขึ้นเป็นปริมาณมากถึง ๑๒๐ ล้าน ลบ.ม./ปี และไปควบคุม การใช้น้ำของรัสอร์ท และสนามกล๊อฟเท่านั้น เขื่อนลำตะคองก็จะมีน้ำใช้ทั้งอุปโภค บริโภค และใช้เพื่อการเกษตร ได้อย่างพอเพียงครับ.
ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างเขื่อน ลำตะคอง กับ เขื่อน ลำแซะ มีดังต่อไปนี้.-
กราฟน้ำใหลลงเขื่อนลำตะคอง ถึงวันเสาร์ที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๒
๑.)ระดับน้ำเก็บกักสูงสุด = + ๒๘๐.๓๐ เมตร (ร.ท.ก.)
๒.)ปริมาณน้ำเก็บกักสูงสุด = ๔๔๕ ล้าน ลบ.ม.
๓.)ระดับน้ำเก็บกักปกติ = + ๒๗๗.๐๐เมตร (ร.ท.ก.)
๔.)ปริมาณน้ำเก็บกักปกติ = ๓๒๔ ล้าน ลบ.ม.
๕.)ปริมาณน้ำวันเสาร์ที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๒= ๕๒%ของปริมาตรน้ำ
เก็บกักปกติ = ๓๒๔x๐.๕๒ = ๑๖๘.๔๘ ล้าน ลบ.ม./คืดเป็น%
ของปริมาณน้ำเก็บกักสูงสุด = ๑๖๘.๔๘x๑๐๐/๔๔๕ = ๓๗.๘๖%
๖.)ปริมาณน้ำในเขื่อนต้นปี ๑ มกราคม ๒๕๔๘ = ๗๘.๒๕ ล้าน ลบ.ม.
ปริมาณน้ำในเขื่อนต้นปี ๑ มกราคม ๒๕๔๙ = ๑๗๘.๐๐ ล้าน ลบ.ม.
ปริมาณน้ำในเขื่อนต้นปี ๑ มกราคม ๒๕๕๐ = ๒๒๕.๐๐ ล้าน ลบ.ม.
ปริมาณน้ำในเขื่อนต้นปี ๑ มกราคม ๒๕๕๑ = ๑๘๕.๐๐ ล้าน ลบ.ม.
ปริมาณน้ำต้นในเขื่อนต้นปี ๑ มกราคม ๒๕๕๒ = ๒๙๕.๐๐ ล้าน ลบ.ม.
ปริมาณน้ำในเขื่อนต้นปีเฉลี่ยใน ๕ ปี = ๙๖๑.๒๕/๕=๑๙๒.๒๕ ล้าน ลบ.ม.
บวกปริมาณน้ำที่จะผันมาจากน้ำตกเหวนรก = ๑๐๗.๗๕ ล้าน ลบ.ม.
รวมเป็นปริมาณน้ำทั้งสิ้นต้นปีจะมีน้ำ = ๓๐๐.๐๐ ล้าน ลบ.ม.
และควบคุมการใช้น้ำจากลำตะคองของรีสอร์ท/และสนามก๊อล์ฟให้
ดี เราก็จะมีน้ำใช้อุปโภค บริโภคและใช้ในการเกษตรกรรมอย่าง
พอเพียง โดยไม่ต้องไปแย่งน้ำมาจากเขื่อน ลำแซะ ซึ่งมีปริมาณ
ไม่พอใช้เพื่อการเกษตรกรรมอยู่แล้ว.
๗.)อัตราการใช้น้ำจากเขื่อนลำตะคองรวม (ใช้ในการอุปโภค,บริโภค และใช้ใน
การเกษตรกรรม) = ๒๘ ล้าน ลบ.ม./เดือน ใช้จนถึงหน้าฝนเดือนกรกฎาคม
เป้นเวลา ๗ เดือนจะใช้น้ำรวมเป็นจำนวน = ๒๘x๗ = ๑๙๖ ล้าน ลบ.ม.บวกเผื่อ
ส่งไปบริการเขตอุคสาหกรรม สุระนารี ๗ เดือนๆละ ๑๐ ล้าน ลบ.ม.
= ๗๐ ล้าน ลบ.ม.รวมทั้งสิ้นมีความต้องการน้ำรวม = ๒๖๖ ล้าน ลบ.ม./ปี
ซึ่งเขื่อนมีปริมาณน้ำมากกว่าถึง = ๓๐๐ - ๒๖๖ = ๓๔ ล้าน ลบ.ม.
กราฟร้ำไหลลงเขื่อน ลำแซะ ถึงวันเสาร์ที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๒
๑.)ระดับน้ำเก็บกักสูงสุด = + ๒๒๘.๕๐ เมตร (ร.ท.ก.)
๒.)ปริมาณน้ำเก็บกักสูงสุด = ๓๒๕ ล้าน ลบ.ม.
๓.)ระดับน้ำเก็บกักปกติ = + ๒๒๗.๐๐ เมตร (ร.ท.ก.)
๔ ปริมาณน้ำเก็บกักปกติ = ๒๗๕ ล้าน ลบ.ม.
๕.)ปริมาณน้ำณ.วันเสาร์ที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๒ = ๗๓%ของปริมาตรเก็บกักปกติ
= ๒๗๕x๐.๗๓ = ๒๐๐.๗๕ ล้าน ลบ.ม./คิดเป็น%ของปริมาณน้ำเก็บกักสูงสุด
= ๒๐๐.๗๕x๑๐๐/๓๒๕ = ๖๑.๗๖%
๖.)ปริมาณน้ำในเขื่อนต้นปี ๑ มกราคม ๒๕๔๘= ๙๕ ล้าน ลบ.ม.
ปริมาณน้ำในเขื่อน ต้นปี๑มกราคม ๒๕๔๙ = ๑๒๗ ล้าน ลบ.ม.
ปริมาณน้ำในเขื่อนต้นปี ๑มกราคม ๒๕๕๐ = ๒๓๔ ล้าน ลบ.ม.
ปริมาณน้ำในเขื่อนต้นปี ๑ มกราคม ๒๕๕๑= ๑๘๙ ล้าน ลบ.ม.
ปนิมาณน้ำในเขื่อนต้นปั ๑ มกราคม ๒๕๕๒= ๒๖๔ ล้าน ลบ.ม.
ปริมาณน้ำต้นปีเฉลี่ย ๕ ปี = ๙๐๙/๕ = ๑๘๑.๘๐ ล้าน ลบ.ม.
๗.)อัตราการใช้น้ำเฉลี่ยเพื่อการอุปโภค บริโภคและเพื่อการเกษตรกรรม
= ๒๐ ล้าน ลบ.ม.บวกเผื่อปริมาณน้ำที่จะใช้ในเขตอุตสาหกรรมสุระนารีอีก
เดือนละ ๑๐ ล้าน ลบ.ม. รวมเป็น ๓๐ ล้าน ลบ.ม./เดือน ปริมาณน้ำในเขื่อน
ที่ต้องการถึง เดือนกรกฎาคม (เข้าหน้าฝน) เป็นเวลา ๗ เดือน= ๓๐x๗
= ๒๑๐ ล้าน ลบ.ม. และปริมาณการใช้ยังจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปรืมาณน้ำจะ
ไม่พอใช้ ครับ.
ด้วยจิตรคารวะ
ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
โทรศัพท์ 0-2243-6956, 0-2241-3350,0-2243-1098 โทรสาร 0-2243-6956, 0-2241-3350,0-2243-1098
http://www.rid.go.th/flood , www.kromchol.com, E-mail : rid_flood@yahoo.com
_________________________________________________________
สรุปสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2550
วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม 2550
1. สภาพภูมิอากาศ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยยังคงมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ในทุกภาคของประเทศมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ในระยะนี้
2. สภาพฝน
ปริมาณฝนสูงสุดรายภาค ตั้งแต่ 07.00น. วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 จนถึง 07.00 น.วันที่ 19 กรกฎาคม 2550 มีดังนี้
ภาคเหนือ ที่ อ.เมือง จ.ลำปาง 23.1 มม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม 16.8 มม.
ภาคกลาง ที่ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ 19.2 มม.
ภาคตะวันออก ที่ อ.พลิ้ว จ.จันทบุรี 21.9 มม.
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ที่ อ.หนองพลับ จ.เพชรบุรี 50.5 มม.
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่ อ.เมือง จ.กระบี่ 21.8 มม.
3. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (19 กรกฎาคม 2550) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 44,971 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 66 ของความจุอ่างฯทั้งหมด น้อยกว่าปี 2549 (46,335 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,364ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น ร้อยละ 2
อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 8,817 และ 5,522 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 65 และ 58 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯรวมกัน จำนวน 14,339 ล้านลูกบาศก์เมตร
สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ น้อยกว่า 30 % ของความจุอ่างฯ มีจำนวน 4 อ่าง ได้แก่
1) อ่างเก็บน้ำแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาตรน้ำในอ่าง 57 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างฯ
2) อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี มีปริมาตรน้ำในอ่าง 23 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ
3) อ่างเก็บน้ำจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ มีปริมาตรน้ำในอ่าง 48 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างฯ
4) อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่าง 194 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 20 ของความจุอ่างฯ
สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ มากกว่า 80 % ของความจุอ่างฯ มีจำนวน 3 อ่าง ได้แก่
1) อ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่าง 14,824 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 84 ของความจุอ่างฯ
2) อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จังหวัดระยอง มีปริมาตรน้ำในอ่าง 142 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 86 ของความจุอ่างฯ
3) อ่างเก็บน้ำประแสร์ จังหวัดระยอง มีปริมาตรน้ำในอ่าง 214 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 86ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ต้องติดตามและเฝ้าระวัง มีดังนี้
4. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง ที่สถานี P.1 สะพานนวรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 13 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 440 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
สถานี P.2A บ้านท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดตาก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 674.5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,830 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำวัง ที่ สถานี W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 6 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 316 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มทรงตัว
แม่น้ำยม ที่สถานี Y.1C ที่สะพานบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 6.75 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น
สถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 95.85 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ) อยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง
แม่น้ำน่าน โดยที่สถานี N.5A ที่สะพานเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 168.55ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
สถานี N.8A ที่บ้านบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 322 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,230 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
สถานี N.67 สะพานบ้านเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 390 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,370 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
สถานีวัดน้ำ N.60 บ้านเด่นสำโรง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 203.25 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,550 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
ส่วนสภาพน้ำท่าด้านเหนือเขื่อนสิริกิติ์ ที่สถานี N1 หน้าสำนักงานป่าไม้ อ.เมือง จ.น่าน มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 46ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 695 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 249 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +
แม่น้ำมูล สถานีวัดน้ำ M.6A บริเวณบ้านสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1.5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 496 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง
สถานีวัดน้ำ M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 283ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 1,980 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์น้อย มีแนวโน้มลดลง
แม่น้ำคลองใหญ่ สถานีวัดน้ำ Z.10 บริเวณบ้านศรีบัวทอง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 199.8 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 499 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำจันทบุรี สถานีวัดน้ำ Z.13 บริเวณบ้านปึก อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 42.8ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ความจุ 244 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำตาปี สถานีวัดน้ำ X.37 A บริเวณบ้านย้านดินแดง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 233.2 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำ 9.12 ม. (ความจุ 490 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับตลิ่ง
5.สถานการณ์น้ำท่วม
จังหวัดนครราชสีมา
เนื่องด้วยอ่างเก็บน้ำเถกิงพล เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง เดิมมีความจุเก็บกัก 1.658 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันการกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบ โดยทางการกีฬาแห่งประเทศไทยทำการปรับปรุงสภาพอ่างเก็บน้ำจนเหลือความจุประมาณ 300,000 ลบ.ม. และในคืนวันที่ 17 กรกฎาคม 2550 มีปริมาณฝนตกบริเวณอ่างเก็บน้ำ ประมาณ 74 ม.ม. จึงทำให้ปริมาณน้ำไหลออกผ่านท่อระบายน้ำ ไม่มีบานบังคับน้ำระดับธรณีท่อประมาณ +216.00 ม.รทก. และปริมาณน้ำรอบนอกบริเวณสนามกีฬาไหลรวมลงออกด้านท้ายอ่างเก็บน้ำเถกิงพล จึงทำให้พื้นที่ด้านท้ายน้ำบริเวณบ้านพบสุข บ้านแสนสุข บ้านเคียงเคหะ ตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง เกิดน้ำท่วมเนื่องจากสภาพของคลองระบายน้ำด้านท้ายขนาดเล็กและตื้นเขิน จนไม่มีสภาพเป็นคลองระบายน้ำ ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว
6.การให้ความช่วยเหลือ
ปัจจุบันกรมชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำประจำ ที่ท่าสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยทั้งประเทศ จำนวน 22 เครื่อง โดยแยกรายจังหวัดได้ดังนี้ เชียงใหม่ 2 เครื่อง พิษณุโลก 1 เครื่อง สุโขทัย 1 เครื่อง นนทบุรี 9 เครื่อง ปทุมธานี 4 เครื่อง สมุทรสาคร 1 เครื่อง นครนายก 1 เครื่อง นครศรีธรรมราช 3 เครื่อง
************************************
นายจารุพงษ์ คงใจ วิศวกรชลประทาน 4 รายงาน
นายพรชัย พ้นชั่ว หัวหน้าศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ ตรวจ
Hotmail: Trusted email with powerful SPAM protection. Sign up now.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น