From: Prachoom Suriyamas <msuriyamas@hotmail.com>
Date: Sun, 14 Jun 2009 21:24:02 -0800
ก่อนที่ผมจะนำเสนอบทความพร้อมตัวเลข
เพื่อสนับสนุนคำพูดของผมที่ว่า "ภาคอีสาณมิได้ขาดน้ำเลย
ครับ"ผมจึงได้ส่งข้อมูลเขื่อนต่างๆลงๆปในพื้นที่ อำเภอโขงเจียม
ซึ่งเป็นพื้นที่ๆได้รับผลกระทบจากน้ำทะลักเข้าไปท่วม ไร่
นา ป่าบุ่ง ป่าทาม เป็นบริเวณกว้าง
และได้สร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกร/ชาวนา อันประเมินค่ามิได้
แต่ทุกรัฐบาลกลับ
ไปยึดติดอยู่กับทุน คือผลผลิตกระแสรไฟฟ้า/ปี เพียง ปีละ ๗๐๐ - ๘๐๐
ล้านบาท/ปีเท่านั้น และยังไม่เคยมีข้อมูลจาก
การตรวจสอบเลยว่า ผลิตได้จริงหรือไม๋ อย่างไร? แต่มีข้อเท็จจริงว่า
เขื่อนต่างๆที่ผมได้แนบไฟล์กร๊าฟน้ำไหลลงเขื่องเหล่า
นี้ มีประสิทธิภาพลดลงกว่าครึ่ง (กว่า ๕๐%) แล้วจะไปเหมาเอาว่า
ผลผลิตกระแสนไฟฟ้ายังได้อยู่เต็มร้อยได้อย่างไร?
กฟผ.จะอ้างว่า ปริมาณน้ำในอ่างในหน้าฝนนั้นมีปริมาณน้ำมาก
ก็จะสามารถผลิตกระแสรไฟฟ้าได้มากนั้น ก็ไม่จริง เพราะ
เขื่อนปากมูลใช้พลังงานจากการไหลของน้ำมาผลิตกระแสรไฟฟ้า
พลังงานจากน้ำจะได้มาก/หรือน้อยจึงขึ้นอยู่กับ ระดับน้ำ
แตกต่างระหว่าง ระดับน้ำหน้าเขื่อน และ ระดับน้ำท้ายเขื่อน
ต่างกันเป็นตัวเลขที่มาก ซึ่งก็เป็นไปได้ยากเพราะหน้าฝน
นั้น ระดับน้ำในแม่น้ำโขงก็จะขึ้นสูงอย่างรวดเร็วจึงทำให้
ระดับต่างของระดับน้ำที่หน้าเขื่อนปากมูล และท้ายเขื่อนปากมูล
แตกต่างกันไม่มากอย่างที่คิด แล้วจะผลิตกระแสรไฟฟ้าได้มากอย่างไร?
ผมเองก็ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนจากการทำวิจัย ของ
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.ที่ให้เปิดเขื่อนปากมูล
เป็นเวลา ๘ เดือน และให้เปิดเชื่อนปากมูลเป็นเวลา ๔ เดือนนั้น
ผมเองอยากจะฟันธงไปเลยว่า ถูกต้องแล้ว ทั้งนี้เพราะ
เขื่อนจะสามารถผลิตกระแสรไฟฟ้าได้สูงที่สุดจะอยู่ในช่วงนั้นครับ.
นั่นก็แสดงว่าเขื่อนปากมูล จะผลิตกระแสรไฟฟ้า/ปี
เพียง ๒๓๔ - ๒๖๗ ล้านบาท/ปีเท่านั้น. (เปิดเขื่อน จากเดือน ๑๖
เมษายน,พฤษภาคม, มิถุนายน, กรกฎาคม,สิงหาคม,
กันยายน, ตุลาคม,พฤศจิกายน , ๑๕ ธันวาคม เป็นเวลา ๘ เดือนเต็ม
และจะต้องปิดเขื่อนเพื่อใช้น้ำผลิตกระแสรไฟฟ้า
จาก ๑๖ ธันวาคม, มกราคม,กุมภาพันธุ์,มีนาคม.๑๕ เมษายน. เป็นเวลา ๔
เดิอนเต็มครับ.)เพราะช่วงนี้ผมคาดว่า ระดับน้ำ
หน้าเขื่อน และระดับน้ำท้ายเขื่อน จะต่างกันมากที่สุด
และเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๔ เดือนครับ.ใช้เวลาซัก ๒ ปีก็จะเห็น
ผลชัดเจนครับ ปัญหาเขื่อนปากมูลที่ไม่มีไครแก้ได้ ก็จะแก้ไขได้
เพราะเราก็จะทราบว่า กฟผ.สร้างเขื่อนสูงเกินจริง ลด
ระดับเก็บกักลง ๔.๕ - ๕.๕ เมตร ปัญหาน้ำท่วมก็จะลดลงทันทีครับ
(เหตุและผลดังกล่าวจะเยงกันในที่ประชุม ไม่มีวันจบ
ครับ ตรงนี้คือจุดอ่อนของนักวิชาการ ต้องลงมือทำการวิจัยครับจึงจะมีบทสรุป.) ครับ.
ต่อไปก็ถามชาวบ้านเขาบ้างว่า
จะสร้างฝายขนาดเล็กกั้นแม่น้ำมูลระหว่าง เขื่อนปากมูล กับเขื่อนหัวนา
และ ระหว่างเขื่อนหัวนา กับเขื่อน ราษีไศล พร้อมสะพานเดินเรือจะเอาไหม?
และจะยอมให้ปิดแม่น้ำมูลที่เขื่อนหัวนาไหม?
คำตอบมันจะชัดครับ คือเอาแน่ๆ
เพราะเขาทั้งสองกลุ่มจะได้มีเส้นทางขนส่งทางเรือเป็นมางเลือก
ระดับเก็บกักน้ำพอเหมาะ
เขาก็จะมีน้ำใช้ทำการเกษตร และกลุ่มที่ถูกน้ำท่วมเขาก็จะได้ที่นา
ป่าบุ่งป่าทามกลับคืนมา ความสมนฉันท์และความอุดม
สมบูรณ์ก็จะกลับคืนมา พวกเขาไม้เอาก็บ้าแล้วครับ.
จึงเรียนมาเพื่อทราบ.
นับถือ.
ประชุม สุริยามาศ.
From: msuriyamas@hotmail.com
To: shewit2000@gmail.com
Subject: FW: กร๊าฟน้ำไหลลงเขื่อนอุบลรัตน์
และตัวอย่างโครงการชลประทานขนาดเล็ก ระบบท่อ.
Date: Sat, 13 Jun 2009 04:16:29 -0800
กร๊าฟน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ครับเพิ่มเติม./ประชุม.
From: msuriyamas@hotmail.com
To: shewit2000@gmail.com
Subject: กร๊าฟน้ำไหลลงเขื่อนอุบลรัตน์
และตัวอย่างโครงการชลประทานขนาดเล็ก ระบบท่อ.
Date: Fri, 12 Jun 2009 00:35:21 -0800
เรียนคุณสุชัย ฯ
ผมได้แนบไฟล์ กร๊าฟน้ำไหลลงเขื่อนอุบลรัตน์
เพิ่มเติมมาให้ครับ คุณจะได้เบรียบเทียบ กับ กร๊าฟน้ำที่ไหลลง
เขื่อน ลำปาว จะได้มองเห็นความแตกต่างของสองเขื่อนนี้ครับ
คือปริมาตรน้ำที่ไหลลงเขื่อนทั้งสองไม่แตกต่างกันเลย ยกเว้น
ปี ๒๕๔๘ เขื่อน ลำปาวน้ำมากจนต้องปล่อยน้ำทิ้งเป็นจำนวนมาก แต่เขื่อน
อุบลรัตน์นั้นมีน้ำไหลลงเขื่อนน้อย ทั้งนี้ก็เนื่องมา
จาก พื้นที่รับน้ำที่ต่างกัน(อยู่คนละแห่ง)
และปริมาณน้ำฝนก็จะต่างกันด้วย.และที่สำคัญก็คือ เชื่อนอุบลรัตน์
ก่อสร้างก่อนโดบ
การพลังงานแห่งชาติ(เรียกกันในสมัยนั้นครับ) และเขื่อน
ลำปาวก่อสร้างโดยกรมชลประทาน และสร้างทีหลังครับ. ในป้จจุบัน
มีสภาพที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนครับ.
ผมมีข้อมูลชลประทานระบบท่อบ้านซำตาเรือง อ.เขาคิชฌกูฏ
จ.จันทบุรี จากหน้า ๑๐ เกษตรเดลี่นิวส์ ประจำ
วันนี้ วันศุกรที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๒
เป็นโครงการพัฒนาลุ่มน้ำจันทบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
มีอ่างเก็บน้ำคลองศาลทราย
มีความจุเก็บกักเพียงประมาณ ๑๐ ล้าน ลบ.ม.เท่านั้นครับ
ใต้เขื่อนเทียบได้กับ โครงการ โขง. ชี.มูล เลยครับ เพราะมีฝาย
กั้นน้ำเป็นช่วงๆเหมือนกัน
แต่ที่ต่างกันคือขนาดอ่างเก็บกักน้ำในแม่น้ำมูลนั้น สูงเกินความจำเป็น
(รัฐไปคิดเพียงจะได้กระแส
รไฟฟ้าเป็นหลัก การเกษตรเป็นรอง) คุณสุชัย ฯ
ดูรูปตัดแม่น้ำมูลที่จุดเหนือเขื่อนปากมูล
จะเห็นคันดินสูงทั้งสองฝั่งนะครับ
ตรงนี้เองที่สร้างความเสียหายให้แก้เกษตรกร/ชาวนาอย่างมหาศาล
เพียงทุนต้องการผลิตกระแสรไฟฟ้าให้ได้ปีละ ๒๘๐
ล้านหน่วย คิดเป็นเงินที่มองเห็นเพียง ๗๐๐ - ๘๐๐ ล้านบาทเท่านั้น
และยังอ้างว่าเอาไว้เสริม ใน ชั่วโมงที่ทีการใช้ไฟ
สูงสุด แต่ได้สร้างความเสียหาย ที่ไม่มีไครอยากไปค้นหาเป็น
หมื่นๆล้านบาท/ปีครับ.และทำให้ชุมชนแตกสลาย.
ผมเปรียบเทียบให้เห็นแล้วใช่ไหม?ครับว่า
เขื่อนปากมูลเราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร? ไม่ยากเลยครับ ถ้าเรา
ตวจสอบผลกระทบตามที่ผลการวิจัยบอกว่า เปิดแปด ปิดสี่เดือนนั่นเอง
เราก็จะได้ทราบกันเสียทีว่า เราจะเปิดหรือจะปิด
เขื่อนปากมูล เพราะข้อเท็จจริงก็จะออกมาให้เห็นกันหมดครับว่า หน้าแล้ง
ปลาจะมีน้ำในแม่น้ำมูลเพื่อการเจริญเติบโตหรือ
ไม่อย่างไร และการไฟฟ้าจะมีน้ำใช้ผลิตกระแสรไฟฟ้าได้มากน้อยแค่ไหน?อย่างไร?
และก็จะทำให้ท่านนายกมีข้อมูลที่จะ
สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมแก่ทุกๆฝ่ายครับ
สำหรับความคิดเห็นของผมนะครับ
ปัญหาทั้งหลายจะลดลง/หรือหมดไปเลย ถ้าเราลดระดับเก็บกักน้ำ
ลงให้ได้ประมาณ ๓๐% - ๔๐% หรือ ปรับระดับเก็บกักสูงสุดลงประมาณ ๔.๕ -
๕.๕๐ เมตร ระดับน้ำก็จะต่ำกว่าตลื่งแม่
น้ำประมาณ ๒.๕๐ - ๓.๕๐ เมตร ปัญหาน้ำทะลักเข้าไปท่วมไร่นาก็จะหมดไปครับ
และถ้าเราสร้างฝายขนาดกลาง ระหว่าง
เขื่อนปากมูลและเขื่อนหัวนา และระหว่างเขื่อนหัวนาและเขื่อนราษีไศล จำนวน
๒ แห่ง และสร้างสะพานเดินเรือเสริม
ทั้ง ๔ แห่ง ก็ยังจะสามารถใช้ในการ คมนาคมได้อีกด้วยครับ
ปัญหาของเขื่อนหัวนาก็จะสามารถปิดกั้นแม่น้ำมูลเดืมได้
และพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาทั้งสองฝ่ายก็จะมีแต่ได้ครับ
คือฝ่ายที่ต้องการน้ำก็มีน้ำใช้ในการเกษตร และผู้ที่กลัวน้ำท่วม
น้ำก็จะไม่ท่วมครับ.
จึงเรียนมาเพื่อช่วยกันคิดนะครับ.
นับถือ.
ประชุม สุริยามาศ.
Lauren found her dream laptop. Find the PC that's right for you.
Windows Live(tm): Keep your life in sync. Check it out.
_________________________________________________________________
Lauren found her dream laptop. Find the PC that's right for you.
http://www.microsoft.com/windows/choosepc/?ocid=ftp_val_wl_290
3 ความคิดเห็น:
ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ไหมครับ
เ้ห็นรูปภาพบางส่วนแล้ว คิดว่า ท่านคงมีข้อมูลที่จะนำเสนออีกครับ
ที่คุณบอกว่า
ถ้าเราลดระดับเก็บกักน้ำลงให้ได้ประมาณ ๓๐% - ๔๐% หรือ ปรับระดับเก็บกักสูงสุดลงประมาณ ๔.๕ -
๕.๕๐ เมตร ระดับน้ำก็จะต่ำกว่าตลิ่งแม่น้ำประมาณ ๒.๕๐ - ๓.๕๐ เมตร
มีเอกสารสนับสนุนหรือไม่ครับ
ทุกวันนี้ ฝนตกทีไร น้ำก็ท่วมทุกที ขนาดไม่ตกหนัก
ตลิ่งริมน้ำก็พังทลายลงไปทุกๆที
คุณนักศึกษา ม.มหิดล
ผมได้แนบไฟล์ภาพรูปตัดแม่น้ำมูล ตรงจุดเหนือเขื่อนปากมูล ไปให้คุณดูแล้วนะครับ ทีนี้เรามาดูระดับเก็บกักน้ำที่มีปัญหาก็คือ กฟผ.เขาจะเก็บกักน้ำที่ระดับเก็บกักสูงสุด (หรือที่ระดับ + 108 ร.ท.ก. /หนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่ง คมช.ได้มีคำสั่งแก้ไขในภายหล้ง) นั่นก็คือ ความสูงของเขื่อน วัดจากก้นแม่น้ำมูล ถึงระดับเก็บกักสูงสุด (ระดับ + 108 ร.ท.ก.)เท่ากับ 17.00 เมตรครับ. ส่วนความสูงของคันดิน ( Earth Dike)จากดินเดิมริมตลิ่ง ประมาณ ๒.๕๐ -๓.๕๐ เมตรครับ ถ้าเราลดระดับเก็บกักลง 40% ของ 17.00 เมตร เท่ากับ6.80 เมตร ระดับน้ำเก็บกักก็จะอยู่ที่ระดับ 108.00 - 6.80 = + 101.20 ร.ท.ก.ปรกติระดับคันดินจะต้องอยู่สูงกว่า ระดับน้ำเก็บกักสูงสุดอย่างเป็นน้อย เท่ากับ 0.30 เมตร. ระดับหลังคันดินก็จะอยู่ที่ระดับ + 108.00 + 0.30 = 108.30 เมตร ร.ท.ก. เพราะฉะนั้น ระดับบนริมตลิ่ง ก็จะอยู่ที่ = 108.30- 3.50 = 104.80 เมตร ร.ท.ก. และระดับน้ำเก็บกักซึ่งได้ลดระดับลงแล้ว ก็จะอยู่ต่ำกว่า นัดับนิมตลิ่ง = 104.80 - 101.20 = 3.60 เมตร ร.ท.ก. ก็จะทำให้ ปริมาณน้ำที่ทะลักเข้าไปในลำน้ำสาขาน้อยลง ไร่นา ป่าบุ่ง ป่าทาม ก็จะกลับคืนมาครับ ยิ่งระยะทางเหนือเขื่อนปากมูลเหนือขึ้นไปไกลขึ้น ผมกระทบจากน้ำท่วม ก็จะยิ่งน้อยลงไปทุกทีครับ.ตรงจุดนี้ต้องคอยตรวจสอบดูว่า ลดระดับลงมากไปหรือไม่อย่างไร? ต้องพิเพียง จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดครับ./ประชุม สุริยามาศ
แสดงความคิดเห็น