ข้อมูลเขื่อน ลำนางรอง เพื่อเป็นข้อมูลแก่พี่น้องเกษตรกร/ชาวนา.

on วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

 
เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาที่นับถือ.
 
               ตามที่ผมได้นำเสนอโครงการแก้มลิง ตามแนวพระราชดำริ เพื่อใช้แก้ไขปัญหาน้ำท่วมไร่นา
 
ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมไร่นาอันเกิดจากสภาพเสื่อมโทรมของเขื่อน ลำปาว เขื่อน ลำพระเพลิง ทำให้
 
ไม่สามารถเก็บกักน้ำที่ไหลลงเขื่อนประจำปีได้เท่าที่ควร (และปริมารฝนตก/ปีเปลี่ยนแปลงไปไม่มาก)
 
                ผมได้ติดตามข่าวและพบว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะลงไปตรวจราชการที่
 
จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขื่อน ลำนาวรอง ที่ถูกลืมครับ จึงได้เข้าไปค้นข้อมูล และพบว่า มีลักษณะ
 
คล้ายเขื่อนทั้งสองดังกล่าว น่าจะส่งผลกระทบเช่นเดีนวกัน มีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้ครับ.
 
     ๑.) ประสิทธิภาพของเขื่อน ลำปาว (แก้ไขล่าสุด)     = ๑,๔๓๐x๑๐๐/๒๕๑๐ = ๕๖.๙๗%
 
     ๒.) ประสิทธิภาพเขื่อน ลำพระเพลิง(แก้ไขล่าสุด)    =    ๑๑๐x๑๐๐/๒๔๒   = ๔๕.๔๕%
 
     ๓.) ประสิทธิภาพเขื่อน ลำนางรอง (แก้ไขล่าสุด)     =    ๑๒๑x๑๐๐/๑๘๒   = ๖๖.๔๘%
 
                 เขื่อน ลำนางรองมีปริมาณน้ำต้นปีดังต่อไปนี้.-
 
     ๑.) ปริมาณน้ำต้นปี ๒๕๔๖                            =      ๔๒       ล้าน ลบ.ม.
 
     ๒.) ปริมาณน้ำต้นปี ๒๕๔๗                            =      ๔๔      ล้าน ลบ.ม.
 
     ๓.) ปริมาณน้ำต้นปี ๒๕๔๘                            =      ๖๒       ล้าน ลบ.ม.
 
     ๔.) ปริมาณน้ำต้นปี ๒๕๔๙                            =      ๔๔.๗๗ ล้าน ลบ.ม.
 
     ๕.) ปริมาณน้ำต้นปี ๒๕๕๐                            =      ๔๑.๕๐  ล้าน ลบ.ม.
 
     ๖.) ปริมาณน้ำต้นปี ๒๕๕๑                            =       ๔๕      ล้าน ลบ.ม.
 
     ๗.) ปริมาณน้ำต้นปี ๒๕๕๒                           =        ๗๖      ล้าน ลบ.ม.
 
                          ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำต้นปี           =       ๓๕๔.๒๗/๗  =  ๕๐.๖๑  น ลบ.ม.
 
           เพราะฉะนั้น ประสิทธิภาพการให้บริการน้ำของเขื่อน ลำนางรอง เหลืออยู่เพียง.-
 
                                                              =         ๕๐.๖๑x๑๐๐/๑๘๒  = ๒๗.๘๑% เท่านั้นครับ.
 
            เกิดอะไร? ขึ้นกับเขื่อน ลำนางรองนี้ครับ หรือว่า เขาถูกลืมไปแล้ว เพราะยังมีข้อมูลน้ำฝนเฉลี่ยบริเวณพื้นที่
 
            จังหวัดขอนแก่นปี ๒๕๔๖                         =        ๑,๔๖๗.๔๐ มม.
 
                             ปี ๒๕๔๗                        =        ๑,๒๒๑.๘๐  มม.
 
            จังหวัดร้อยเอ็ด  ปี ๒๕๔๖                        =        ๑,๔๑๗.๖๐  มม.
 
                              ปี ๒๕๔๗                       =        ๑,๔๕๕.๘๐ มม.
 
             จังหวัดสุรินทร์   ปี ๒๕๔๖                       =        ๑.๖๒๘.๒๐  มม.
 
                               ปี ๒๕๔๗                      =        ๑,๕๔๔.๕๐ มม.
 
             จังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๔๖                    =          ๙๓๓.๐๐  มม.
 
                                  ปี ๒๕๔๗                   =          ๙๘๐.๐๐  มม.
 
             ดูจากปริมาณน้ำฝนปี ๒๕๔๖, และปี ๒๕๔๗ แล้ว เหตุที่เขื่อนมีปริมาณน้ำต้นปีน้อนฃยนั้น ไม่น่าจะเกิดจาก
 
             ปริมาณน้ำฝน  แล้วถ้าเป็นเช่นนั้น แล้วเกิดจากอะไร? ครับ ? สภาพเขื่อน. การบริหารจัดการน้ำ.
 
                                   จึงเรียนมาเพื่อพี่น้องจะได้นำเรียน คุณอภิสิทธิ์ ฯ นายกรัฐมนตรีเพื่อทราบด้วยครับ.
 
                                                     นับถือ.
 
                                              ประชุม สุริยามาศ.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


Lauren found her dream laptop. Find the PC that's right for you.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น