ภาพพื้นที่ก่อสร้างโครงการเทือกเขาสะโนวี่ แปลน (Plan) รูปตัดแนวตั้งโรงการเทือกเขาสะโนวี่ (Profile)

on วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เรื่อง : ภาพเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่โครงการผลิตกระแสไฟฟ้า เทือกเขาสะโนวี่ รัฐนิวเซ๊าท์เวล ประเทศออสเตรเลีย
 
        และพื้นที่โครงการ โขง ชี มูน อันลือลั่น ในภาคอีสานของประเทศไทย.
 
เรียน พี่น้องเกษตรกร/ชาวนา และสมัชชาคนจน บริเวณพื้นที่เขื่อนปากมูน เขื่อนราษีไศล และเขื่อนหัวนา.
 
        ปัญหาอันยาวนานของเขื่อนปากมูล เขื่อนราษีไศล และเขื่อนหัวซึ่งก่อสร้างอาคารบังคับน้ำเสร็จเรียบ
 
ร้อยมาแล้วกว่า ๑๐ ปี (เขื่อนหัวนา) ก็ยังไม่สามารถถมกลับแม่น้ำมูลเดิมได้ ทั้งนี้ก็เป็นเพราะรัฐบาลและผู้ที่
 
เกี่ยวข้อง ไม่สามารถชี้แจงได้ว่า เมื่อถมกลับ(ปิด)แม่น้ำมูลเดิมแล้ว จะไม่เกิดผลกระทบทำให้น้ำทะลักเข้าไป
 
ท่วมไร่นา ป่าบุ่ง ป่าทาม เช่นเดียวกับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล และเขื่อนราษีไศล หรือไม่อย่างไร?
 
และข้อเท็จริงมีอยู่ว่า ชุมชนเกษตรกรรมในภาคอีสานใต้ บริเวนเขื่อนหัวนา เขื่อนปากมูน และเขื่อนราษีไศล
 
นั้นจะตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูนทั้งสองฝั่ง ชุมชนที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูน บริเวณเขื่อนปากมูน และบริเวณเขื่อน ราษีไศล
 
พวกเขาได้รับผลกระทบจากน้ำทะลักเข้าไปท่วมพื้นที่ไร่นา ป่าบุ่ง ป่าทามเห็นๆกันอยู่ มาเป็นเวลานานกว่า ๑๐ ปี
 
และได้สร้างความเสียหายให้แก่พวกเขามหาศาล ดังนั้นพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาบริเวณเขื่อนหัวนา จึงได้รวมตัว
 
กันต่อต้าน เพื่อไม่ให้ทางรัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินกา รถมกลับ(ปิด)แม่น้ำมูนเดิมมานาร่วม ๑๐ ปีหลังการ
 
ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ(ฝาย/หรือเขื่อน)แล้วเสร็จ
 
                    มีข้อแตกต่างระหว่า'พื้นที่เก็บกักน้ำของโครงการชลประทานและผลิตกระแสไฟฟ้าของโครงการ
 
เทือกเขาสะโนวี่ และพื้นที่เก็บกักน้ำของโครงการ โขง ชี มูล (ดังภาพที่ได้แนบมา ถ้านำขึ้นเว็บบล็อกได้)
 
                    ผมขออนุญาติบรรยายภาพให้มองเห็นโดยไม่เห็นภาพได้ดังนี้ครับ.-
 
 ๑.) ภาพที่ ๓๕๑,๓๕๒,และภาพที่ ๓๕๓. เป็นภาพแสดงพื้นที่บนเทือกเขาสะโนวี่ตามแนวราบ (Plan) เป็นพื้นที่บนเทือก
 
เขาสูง ระหว่าง ๓,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ ฟุต เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง/หรือประมาณ ๙๐๐ - ๑,๕๐๐ เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
 
ปานกลาง เป็นพื้นที่ๆมี หิมะปกคลุมตลอด ๕ - ๖ เดือน/ปี (Australian Alps)
 
๒.) ภาพ๓๕๔,และภาพ ๓๕๕ เป็นภาพรูปตัดแนวตั้งของโครงการเทือกเขาสะโนวี่ (Profile) แสดงความสูงตำแหน่งที่ตั้ง
 
ของเขื่อนต่างๆ อุโมงผันน้ำกลับเข้ามาสู่แผ่นดินใหญ่ซึ่งแห้งแล้ง และที่ตั้งสถานีผลิตกระแสรไฟฟ้าต่างๆ ทั้งที่อยู่ในภูเขา
 
(มีภาพ Tumut 1 Power Station ตั้งอยู่ในภูเขา)
 
๓.) ภาพ๓๕๔ เขื่อน (อ่างเก็บกักน้ำ) ยูคัมบีน (EUCUMBYNE DAM) ปริมาณน้ำเก็บกักสูงสุด ๓,๕๐๐,๐๐๐
 
 เอเคอร์-ฟุต (หรือประมาณ ๔,๕๐๐ ล้าน ลบ.ม. ประมาณ ๒ เท่าของปริมาณน้ำเก็บกักสูงสุด ของเขื่อน ลำปาว จังหวัด
 
กาฬสินธุ์)
 
๔.) ภาพ ๓๕๕ เป็นภาพโมเดลของสถานีผลิตกระแสไฟฟ้าใต้ภูเขา (TUMUT 1 POWER STATION.) พลังงานไฟฟ้า
 
ติดตั้ง ๓๒๐,๐๐๐ กิโลวัตต์  ติดตั้ง Turbine 4 Vertical Shaft Francis turbines by English Electric Co.
 
 with Rated output 110,500 h.p.at 375 r.p.m. under net head of 960 ft. (หรือประมาณ ๑๐๐ เมตร)
 
๕.) ภาพ ๓๖๑ แสดงรูปตัดแม่น้ำมูน บริเวณเหรือที่ตั้งของเขื่อนปากมูน มีน้ำไหลปริ่มฝั่ง (ตลิ่ง) ทุกเขื่อนมีลักษณะเป็น
 
แบบนี้ทั้งหมดคือจะมีคันดิน (Earth Dike) ความสูงอยู่ระหว่าง ๒.๕๐ - ๕.๕๐ เมตร ก่อสร้างบนตลิ่งทั้งสองฝั่งของแม่น้ำ
 
มูน ยาวขึ้นไปเหนือเขื่อนปากมูล โดยไปคิดเพียงว่า จะทำให้เขื่อยเก็บกักน้ำได้มากขึ้น เกษตรกร/ชาวนาจะได้มีน้ำใช้ใน
 
การเกษตรกรรมได้เป็นพื้นที่ยาวขึ้น (มากขึ้น) และที่สำคัญจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากๆ ตัวเลขคือ ๒๘๐ ล้านหน่วย/ปี
 
และสามารถเพิ่มพื้นที่บริการน้ำได้มากขึ้น แต่ตามความเป็นจริงกลับตรงกันข้าม ปัจจุบันดังที่ผมได้ประมาณการผลผลิตกระ
 
แสรไฟฟ้าเอาไว้ได้เพียงประมาณ ๒๕%ของ ๒๘๐ ล้านหน่วยเท่านั้น ทั้งนี้เพราะเขื่อนปากมูลได้รับผลกระทบจากการก่อ
 
สร้างเขื่อนกั้นต้นน้ำของแม่น้ำโขงในประเทศจีน และเขื่อนต่างๆที่ใช้เก็บกักน้ำเอาไว้ในภาคอีสาน ได้เสือมสภาพลงอย่าง
 
มาก เลยทำให้ ระดับต่างของระดับน้ำหน้าเขื่อนและท้ายเขื่อนต่างกันไม่ทากดังที่ออกแบบไว้ และเขื่อนปากมูลก็ปิดเขื่อน
 
เพื่อเก็บกักน้ำให้มีระดับสูงสุดตลอดหน้าฝน ทำนองเดียวกันระดับน้ำในแม่น้ำโขงก็จะขึ้นสูงสุดเช่นกันในหน้าฝน เพราะป่า
 
ต้นน้ำถูกทำลาย จึงจะทำให้ระดับต่างของระดับน้ำมีไม่มากเท่าที่ควรในหน้าฝน แต่พอเริ่มจะหมดฤดูฝน ประเทศจีนเขาก็จะ
 
ปิดเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำเอาไว้ จึงทำให้ระดับน้ำที่ปากแม่น้ำมูลลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลทำใหระดับน้ำท้ายเขื่อนลงต่ำสุด
 
และระดับน้ำหน้าเขื่อนก็จะลงต่ำตามไปด้วย เพราะเขื่อนต่างๆในภาคอิสานเสื่อมสภาพไม่สามารถเก็บกักน้ำเอาไว้ได้มาก
 
ดังตัวอย่างปริมาณน้ำต้นปี ของเขื่อน ลำนางรองในช่วง ๗ ปีที่ผ่านมาแสดงผลไว้อย่างชัดเจน อีกทั้งกรมชลประทานก็ยัง
 
ต้องออมน้ำไว้บริการแก่พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาอีกด้วย จึงทำให้ผลิตกระแสรไฟฟ้าไม่ได้ดังที่คิดเอาไว้.(ในฤดูฝนเขื่อนที่
 
เสื่อมสภาพไม่สามารถเก็บกักน้ำเอาไว้ได้ และหลังฤดูฝนผ่านไปแล้ว ถึงต้นปี ก็ไม่มีน้ำพอเพียงไว้บริการเกษตรกร/ชาวนา
 
เขื่อนที่เสื่อมสภาพดังกล่างจึงไม่มีประโยชน์อะไร? อีกต่อไป.)
 
                  แล้วพี่น้องเกษตรกร/ชาวนา และสมัชชาคนจนจะเอาอย่างไร? ก็ต้องกลับไปที่เดิมคือ ต้องนำข้อมูลที่เห็น
 
เป็นรูปธรรมเสนอให้คุณอภิสิทธิ์ ฯ เพื่อได้รับทราบ จะได้ดำเนินการเปิดเขื่อนปากมูล ตามที่คณะวิจัยของ มหาวิทบาลัย
 
อุบลราชธานีได้นำเสนอไปนานแล้วมาดำเนินการโดยเร่งด่วน เพื่อที่รัฐบาลจะได้มีข้อมูล และเหตุผลที่ถูกต้องในการตัดสิน
 
ใจว่าจะทำการเปิดและปิดเขื่อนต่างๆในโครงการ โขง ชี มูน ในช่วงไหน? เป็นระยะเวลากี่เดือน/หรือว่าจะดำเนินการ ลด
 
ระดับน้ำเก็บกักลงมาเท่าได? เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ (ประโยชน์สูงสุด) นั่นเองครับ.
 
                  จึงเรียนมาเพื่อใช้เป็นข้อมูลและเป็นแนวคิดในการหาทางแก้ไขปัญหาผลกระทบน้ำท่วม จากโครงการ
 
โขง ชี มูน ให้ได้ มิใช้เพียงแต่แก้ปัญหาเขื่อนปากมูลเท่านั้นต้องทำการแก้ไข ทั้งโครงการ  เพราะการแก้ปัญหาน้ำ คือการ
 
แก้ปัญหาความยากจนของพี่น้องเกษตรกร/ชาวนา ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ.
 
                   ด้วยจิตร คาระวะ.
 
                  ประชุม สุริยามาศ.
 
หมายเหตุ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี จะขึ้นมาตรวจราชการที่ จังหวัดอุบลราชธานีในวันพฟหัสบดี
 
           ที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๒ นั้ครับ.
 
           


Windows Live™: Keep your life in sync. Check it out.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น