การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องวิสัยทัศน์ชุมชน...สู่การจัดการลุ่มน้ำพองอย่างยั่งยืน

on วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ไม่มีรูป
2. นายประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗ [IP: 58.9.189.242]
เมื่อ อ. 27 พ.ย. 2550 @ 12:49
472811 [ลบ] [แจ้งลบ]

ความเห็น การประชุมนี้เต็มไปด้วยสมาคม และองค์กรอนุร้กษ์น้ำต่างๆมากมาย แต่ไม่เห็นมีองค์กรที่ปล่อยน่ำเสียลง ลำน้ำพองเลยครับ มีการแสดงตัวเลขคุณภาพน้ำว่ามี บี.โอ.ดี. เท่าไหร่เช่น โรงงานกระดาด มีค่า บี.โอ.ดี.๑๐ชาวบ้านน้อยคนที่จะทราบความหมาย แต่ถ้านำเสนอภาพบ่อบำบัดน่ำเสียของโรงงานชาวบ้านเขาจะเข้าใจได้มากกว่า (แต่ไม่มีสื่อได หรือหน่วยงานรัฐไดกล้านำเสนอเลย)ผมเชื่อว่าประชุมเสร็จแล้วก็ลืมก้นไป ไม่นาน ก็จะพบว่ามีปลาในกระชังตายก้นอีก.ทั้งนี้เพราะพี่น้องประชาชนยังไม่เข้มแข็ง ขอพูดว่า ยังไม่สามารถยืนอยู่บนลำแข้งของตนเองได้ หน่วยงานที่รับผิดชอบซ้ำซ้อนเช่นกรมพ้ฒนาลุ่มน้ำมีแต่นักวิชาการจัดประชุมอย่างเดียวจนท่านนายอำเภอท่านเอือมระอา ส่วนกรมชลก็ก่อตั้งมากว่าศตวรรษ แต่ยังมีพื้นที่การเกษตรยังต้องอาศัยน่ำฝนอยู่ถึง ๗๘% คิดเป็นจำนวนครัวเรือนกว่า ๑๐ ล้านครัวเรือน พื้นที่เกษตรกรรมที่เข้าถึงระบบชลประทานมีเพียง ๒๒% เท่านั้น คิดเป็นจำนวนครัวเรือนเพียง ๓.๕ ล้านครัวเรือนเศษ. ผมได้เข้าไปสืบค้นข้อมูลคำว่า "ลุ่มน้ำพอง"พบว่า ลุ่มน้ำพองตอนบน นั้นมีลำน้ำสาขามากมาย ลำน้ำพองตอนบน มีลำน้ำสาขาถึง ๖ ลำน้ำ ส่วนลุ่มน้ำพองตอนล่าง มีลำน้ำสาขาจำนวน ๑๐ ลำน้ำ แตเกษตรกร/ชาวนายังต้องเสียค่าสูบน้ำถึงไร่ละ ๘๐-๑๐๐.-บาท แล้วพวกเขาจะเข้มแข็งได้อย่างไร?ครับ และที่ผมว่ามีหน่วยงานซ้ำซ้อนดูตรงนี้ครับ.
สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานดูแล (ตามหลักต้องให้ กฟผ.ดูแลและรับผิดชอบค่าไฟในการสูบน้ำจึงจะถูกต้อง เป็นกานคืนกำไรให้แก่ท้องถิ่น.)ในเขตอำเภออุบลรัตน์ ๗ สถานี ในเขตอำเภอน้ำพอง ๗ สถานี และในเขตอำเภอกระนวน อีก ๑ สถานี. ส่วนท่าสูบน้ำกลับกลายเป็นของกรมชลประทานดูแล ทั้งในอำเภอน้ำพอง อำเภออุบลรัตน์ และอำเภอกระนวน ถ้าเราเข้าไปชมอย่างผิวเผิน ก็จะไม่เห็นความแตกต่าง เพราะเป็นส่วนราชการเหมือนกัน แต่ถ้าเรามองอีกด้านหนึ่งของภาพ ก็จะพบว่าการทำงานของหน่วยงานที่ก่อตั้งมากว่า ๑๐๐ ปี จะให้มีประสิทธิภาพเท่ากับหน่วยงานที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้ได้อย่างไร?ครับ. ท่าน้ำขาดน้ำก็ไม่มีน้ำส่งให้เกษตรกร/ชาวนา เครื่องสูบน้ำเสียแต่ท่าน้ำมีน้ำ ก็ไม่สามารถส่งน้ำให้เกษตรกร/ชาวนาเช่นกัน นี่แหละพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาเขาจึงจะข้ามโขงไปอยู่ประเทศ ส.ป.ป.ลาว ปัจจุบันพวกเขาต้องไปตกระกำลำบากอยู่ที่ อำเภอสูงเนิน โคราชบ้านผมเองครับ. ผมพยายามค้นหาผู้นำที่กล้าเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเพราะน้ำคือชีวิต และเป็นต้นเหตุแห่งความยากจน.
๑.) แก้ปัญหาเขื่อนปากมูลให้จบ ไม่ใช่เปิดๆปิดๆเช่นทุกวันนี้. จะปิด/หรือจะเปิด มีเพียง ๒ ทางเลือก และต้องให้ทุกฝ่ายยอมรับได้.
๒.) โครงการ โขง ชี มูล อันลือลั่นจะเอาอย่างไร?จะสานต่อ/หรือจะยกเลิก
หมายเหตุ. ทั้ง ๒ ข้อนี้ ไม่มีอยู่ในนะโยบายของพรรคการเมืองไหนเลยครับ พรรคไหนกล้าตัดสินใจ เปิดเขื่อนปากมูลตลอดไปพร้อมเหตุผล/หรือปิดเขื่อนปากมูลตลอดไปพร้อมเหตุผลที่ยอมรับได้ และกล้าที่จะสานต่อโครงการโขง ชี มูล พร้อมด้วยเหตุและผลที่ยอมรับได้เช่นกัน ข้อนี้มีทางเลือกเดียว เพราะผมเองเห็นว่าต้องสานต่อเท่านั้น ถ้าไม่สานต่อภาคอิสานจะกลายเป็นทะเลทรายแน่นอน. พรรคไหนกล้าตัดสินใจพร้อมเหตุผลเป็นที่ยอมรับและโดนใจพี่น้องชาวอิสาน ผมคิดว่า ท่านหัวหน้าพรรคนั้นลอยลำเข้าเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปแน่นอนครับ.
P
   ขออภัยนะครับ วิสัยทัศน์ชุมชน จะดี เก่งซักเพียง ไดก็ไม่สามารถจัดการลุ่มน้ำพองอย่างยั่งยืนได้ เพราะ รัฐกุมอำนาจและไม่จัดการอะไร? เนื่องจากคนของรัฐที่ไปทำงานอยู่ในท้องถิ่นเป็นคนมาจากที่อื่นเลยไม่มีความรับผิดชอบ และจะทำตามแต่นโยบายผู้บังคับบัญชา เช่น ทรัพยากรธรรมชาติจังหวัด สำนักชลประทานจังหวัด กฟผ. ยังมีอีกหลานหน่วยงานที่มีอำนาจเข้ามาจัดการน้ำ เช่นจะออกใบอนุญาติการใช้น้ำซึ่งเปนทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น.ก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้เกษตรกร/ชาวนา จะเกิดการจับกุม เหมือนเมื่อมีการประกาศเขตป่าสงวนอย่างไร? ก็อย่างนั้นครับ กระจายอำนาจและงบประมาณตรงถึงชุมชนเลยจะไม่ดีกว่าหรือครับ. ถามว่า โรงงารกระดาษ เขาสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียครบถ้วนและถูกต้องแล้วหรือยัง? ครับ.
 
 
 
3. นายบอน@kalasin
เมื่อ พ. 28 พ.ย. 2550 @ 15:21
474273 [ลบ] [แจ้งลบ]

ขอบคุณความเห็นของคุณประชุม สุริยามาศอย่างมากครับ.
 
ความคิดเห็นเพิ่มเติม
 
      รัฐไปใช้ทรัพยากรของชุมชน ทำไม? ไม่มีการคืนทุนให้ชุมชนกันบ้าง เช่นเขื่อนต่างๆที่ใช้ทรัพยากรน้ำผลิตกระแสไฟฟ้า ก็ควรจัดพลังงานไฟฟ้าคืนให้ชุมชนเพื่อใช้ในการสูบน้ำไปใช้เพื่อการเกษตรกรรม โดยให้ชุมชนเขาดูแลกันเองครับ.


Hotmail® has ever-growing storage! Don't worry about storage limits. Check it out.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น