ประเทศไทยมิได้ขาดน้ำเลยครับ. เพียงเราเก็บกักและบริหารจัดการไม่ถูกต้องเท่านั้นเอง.
เขียนโดย Prachoom on วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่นับถือ.
วันนี้ผมขออนุญาติย้อนอดีตของการชุมนุมของสมัชชาคนจน สมัยโบราณ เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ
ของการชุมนุมของสมัชชาคนจน บนเขื่อนหัวนา ชมภาพแนบ(กรรมกร รถลาก ร้องทุกข์ คณะราษฎร์)โดยไม่ต้องบรร
ยายนะครับ.ส่วนบทความปัญหาเขื่อนหัวนา เขื่อนราษีไศล ที่ผมได้แนบมานั้น มีสิ่งที่น่าสนใจดังนี้ครับ.-
๑.) สมัชชาคนจน รวม ๗ กลุ่มซึ่งได้รับผลกระทบจากเขื่อนราษีไศล เขื่อนหัวนา และเขื่อนปากมูล เริ่ม
ชุมนุมได้เพียง ๑ วันเท่านั้น ก็ได้มีโอกาศ เข้าไปร่วมประชุมกับคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีที่ ทำเนียบรัฐ
บาล กรุงเทพฯ ทันทีในวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๒
๒.) ผมคิดว่า ท่านนายกให้ความสนใจในการแก้ปัญหาซึ่งคาราคาซังกันมาเป็นเวลาหลายปี ผ่านมา ๑๐
รัฐบาลก็ไม่มีไครเข้ามาแก้ไขได้ เพราะขาดความจริงใจ .
๓.) ได้มีการประชุมร่วมกันอีกในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๒ โดยมีคุณสาธิต วงศ์หนองเตยเป็นประธาน
ซึ่งผมก็หวังว่าจะได้ข้อสรุปเป็นที่พอใจกันทุกฝ่ายนะครับ. (ซึ่งผมยังไม่มีข้อมูล ผลการประชุม)
๔.) ผมขอให้คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้โปรดตัดสินใจทำเพื่อพี่น้องเกษตรกร/ชาวนา
ซึ่งเป็คนส่วนใหญ่ของประเทศด้วยความกล้าหาญด้วยครับ เช่นจะทำการเปิดเขื่อน ทั้งเขื่อนราษีไศล และเขื่อน
ปากมูลไปพร้อมๆกันก็ได้ โดยใช้ระยะเวลาการเปิดและปิดเขื่อนตามผลการวิจัยของ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี
เป็นเวลาซัก ๑ - ๒ ปี ก็จะได้ผลสรุปที่ดีและทุกฝ่ายได้ประโยชนครับ
๔.) เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ผมได้นำเสนอไปแล้วคือ ให้ลดระดับเก็บกักน้ำลง เท่าไดนั้น หลัง
การเปิดเขื่อนตามผลการวิจัยผมคิดว่า น่าที่จะได้ตัวเลขที่ชัดเจนครับ ซึ่งผมก็ได้แนบข้อมูล คือ พระราชดำริของ
พระเจ้าอยู่หัว ในโครงการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำสำหรับลุ่มน้ำกล่ำตอนล่าง ทรงให้กรมชลประทาน ก่อสร้างอา
คารบังคับน้ำเพียง "เตี้ย ๆ" ซึ่งเขื่อน(ฝาย) ต่างๆในโครงการ โขง ชี มูล ซึ่งทำการก่อสร้างไปแล้วเป็นจำนวนรวม
๑๕ แห่งนั้น มีลักษณะเหมือน ๆกัน และก็สามารถ ลดระดับเก็บกักน้ำได้ในทันที่โดยการเปิดบานประตูเท่านั้นครับ
๕.) เมื่อตัวที่ส่งผลกระทบคือน้ำลดลง ผมเชื่อมั่นว่า ปัญหาก็จะลดลงไปด้วย ส่วนจะลดระดับลงเท่าได
นั้น ยังมีเวลาเพื่อรอผลสรุปจาก การเปิดเขื่อนตาม มติของ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
๖.) ตามหัวข้อเรื่องที่ว่า ประเทศไทยมิได้ขาดน้ำเลยครับ นั้น ผมมิได้พูดลอย ๆนะครับ ผมขออนุญาติ
นำบางส่วนของพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อวัดใหญ่ มายืนยันดังนี๋ "สาเหตุที่หลวงพ่อไม่ให้ใช้สถานที่ของกลุ่มเสื้อแดง เพราะ 1. ถ้าเกิดเหตุอะไรที่วัดใหญ่ ใครจะรับผิดชอบ 2.กฎข้อห้ามวัด ห้ามยุ่งกับการเมือง 3.ไม่ให้นักบวช เล่นการเมือง และสุดท้ายคือ จะทำให้เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินเดือนร้อน เรามาพึ่งพระบรมโพธิสมพาน ถือเป็นบุญหนักหนา ลองไปอยู่ประเทศอื่นก็ลองคิดดูเถอะ ไม่มีอะไรดี เมืองไทยนั้นดีอยู่แล้ว แต่กลับใช้ไม่เป็น เช่น เมืองไทยมีน้ำสมบูรณ์ แต่เก็บไม่เป็น มีข้าวก็ปล่อยให้โกงกิน ฯลฯ"
๗.) จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เมืองไทยมีน้ำอุดม สมบูรณ์ แต่เก็บไม่เป็น คือเขื่อนขนาดใหญ่ต่างๆทั้งในอีสานเหนือ และอีสานใต้นั้น ไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้
ตามที่ออกแบบไว้ ๕ -๖ เขื่อนหลักก็คือ เขื่อนลำปาว ซึ่งกำลังปรับปรุงให่สามารถเก็บกักน้ำได้เพิ่มมากขึ้น เขื่อน ลำพระเพลิง กำลังจะเปิดประมูล เขื่อน มูลบน เขื่อน ลำแซะ เขื่อน ลำปลายมาศและเขื่อน ลำนางรองซึ่งผมได้นำเสนอไปแล้วว่า ต้นปีทำไม? มีน้ำน้อยมาก ทั้งๆที่ปริมาณน้ำฝน/ปีก็มิได้ลลงมากมายอะไรเลย.
๘.)ด้วยเหตุผลจากข้อ ๗ นี้เองจึงทำให้เขื่อน(ฝาย) ต่างๆในโครงการ โขง ชี มูน ส่งผลกระทบทำให้น้ำทะลักเข้าไปท่วมไร่นา ป่าบุ่ง ป่าทามหนักขึ้น และเป็นบริเวณกว้างขึ้น พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาทำนาไม่ได้เลยครับ. เพราะประเทศไทยไม่ขาดน้ำนั้นเอง พอเข้าฤดูฝน เรามีน้ำเป็นปริมาณมาก แต่เขื่อนที่เราได้สร้างเอาไว้นั้นได้เสื่อมสภาพไปมากก่อนเวลาอันควร แทนที่จะช่วยเก็บกักเอาไว้ได้และค่อยๆปล่อยไหลลงไปใช้ได้ในหน้าแล้ง ในเมื่อประเทศไทยของเรามิได้ขาดน้ำเลยครับ แล้วจะไปผันน้ำโขงเข้ามาทำไม?กันครับ. เสียทั้งเงินงบประมาณ และเราก็ยังไม่มีที่เก็บกักน้ำเอาไว้ ดังที่หลวงพ่อวัดใหญ่ ท่านกล่าวว่า "เมืองไทยมีน้ำสมบูรณ๋ แต่เก็บไม่เป็น" พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาคงจะเข้าใจนะครับว่า คำว่า เก็บไม่เป็นนั้น มีความหมายครอบคลุมในทุกๆเรื่อง.
๙.) สุดท้าย นี้ ผมหวังว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี คงจะเข้าใจ
ในปัญหาน้ำได้เป็นอย่างดี และกล้าตัดสินใจทำเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนให้แก่พี่
น้องเกษตรกร/ชาวนาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศด้วยนะครับ.
ด้วยจิตรคารวะ
ประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗
NEW mobile Hotmail. Optimized for YOUR phone. Click here.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น