พระราชดำริพระราชทานให้แก่กรมชลประทานในการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ (ฝาย/หรือเขื่อนกั้นลำน้ำนั่นเอง) กั้นลำน้ำก่ำตอนล่าง

on วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เรื่อง.การแก้ปัญหาน้ำคือการแก้ปัญหาความยากจนของเกษรกร/ 
 
         ชาวนา ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ.(โครงการโขง ชี มูล)
 
เรียนคุณอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี.
 
         ผมมีข้อมูลต่อเนื่องในการแก้ปัญหาน้ำคือการแก้ปัญหาความยาก
 
จนของเกษตรกร/ชาวนา ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ สำหรับการลงไป
 
ตรวจราชการของท่านในเขตจังหวัดอุบลราชธานีในโอกาศต่อไป  ซึ่งผมคิด
 
ว่า น่าที่จะลงไป โดยเร็วนะครับ
 
 และการแก้ไขปัญหาน้ำซึ่งผมกำลังจะพูดถึงต่อไปนี้ก็คือ การแก้ปัญหา
 
เขื่อนปากมูล ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้แก่พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาตลอด
 
สองฝั่งแม่น้ำมูลมาอย่างยาวนานเกิน ๑๐ ปีแล้วนะครับ
 
             ครั้งนี้ผมขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติ น้อมนำ พระราช
 
ดำริของพระองค์ท่าน ที่มีต่อกรมชลประทาน ในการพิจารณาสร้างอาคาร
 
บังคับ น้ำ(ฝาย/หรือเขื่อนกั้นลำน้ำก่ำตอนล่าง)ดังต่อไปนี้นะครับ.
 
             "...ให้กรมชลประทานพิจารณาก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำน้ำ
 
ก่ำตอนล่างเพียงเตี้ยๆ เพื่อให้ท่วมพื้นที่เพียงเล็กน้อยก่อน เนื่องจากขณะนี้
 
ยังมีปัญหาที่ดินที่จะถูกน้ำท่วม ราษฎร เรียกร้องค่าตอบแทนสูง แต่ถ้าไม่
 
พิจารณาก่อสร้างก็เสียดาย เพราะถ้าสร้างอาคารบังคับน้ำในลำน้ำก่ำตอน
 
ล่างนี้ได้แล้ว จะช่วยพื้นที่บริเวณริมน้ำโขงได้อย่างมาก อย่างไรก็ตามเมื่อ
 
พิจารณาก่อสร้างอาคารบังคับน้ำตอนล่างเพียงเตี้ยๆได้แล้ว ต่อไป ถ้า
 
สามารถเจรจาปัญหาที่ดินที่ถูกน้ำท่วมได้ในราคารที่เหมาะสมแล้ว จึง
 
พิจารณาก่อสร้างอาคารบังคับน้ำให้เก็บกักน้ำได้มากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับ
 
โครงการห้วยตาแปด จังหวัดเพชรบุรีที่ทำสำเหร็จมาแล้ว สำหรับการสูบน้ำ
 
จากลำน้ำก่ำตอนล่างขึ้นไปใช้ประโยชน์นั้น สมควรให้ราษฎณทั้งสองฝั่งสูบ
 
น้ำขึ้นไปใช้กันเอง..."
 
              อนึ่งโครงการประตูระบายน้ำ น้ำก่ำตอนล่าง  อำเภอธาตุพนม
 
จังหวัดนครพนม. ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อไม่นานมานี้ หาก
 
คุณอภิสิทธิ ฯ ขึ้นไปตรวจงานที่จังหวัดนครพนมในโอกาศ ต่อไป จะได้มี
 
ข้อมูล ไปตอบข้อซักถามของเกษตรกร/ชาวนาและประชาชนได้อย่างสอด
 
คล้องและถูกต้องครับ.
 
                สำหรับข้อมูลโดยละเอียดในการแก้ปัญหาเขื่อนปากมูล
 
เขื่อนราษีไศล เขื่อนหัวนา และเขื่อนอื่นๆในโครงการ โขง ชี มูล อันลือลั่น
 
นั้น ทั้งระดับเก็บกัก ที่จะต้องปรับลดลงให้ได้นั้น จะต้องอยู่ที่ระดับเท่าใด?
 
พร้อมด้วยเหตุผลใด จึงจะเหมาะสมนั้น ผมจะได้นำเสนอในโอกาศต่อไป
 
ครับ.
 
               จึงเรียนมาเพื่อได้โปรดทราบและตรวจสอบข้อมูลครับ.
 
                        ขอแสดงความนับถือ.
 
                      ประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗.
 
 
 


Hotmail® has ever-growing storage! Don't worry about storage limits. Check it out.

3 ความคิดเห็น:

วิชุดา กล่าวว่า...

อยากให้ข้าราชการไทย มีความคิดแบบพ่อหลวงของเราจริงๆ

ประชุม สุริยามาศ กล่าวว่า...

เรียนคุณวิชชุดา ฯทราบ
ผมต้องขอโทษที่ต้องนำเสนอข้อเท็จจริงของเขื่อนลำนางรองนะครับและได้เข้าไปชมภาพอันสวยงามจากเว็บไซ๊ด์ อีสานโกอินเตอรแล้ว จริงตามที่คุณพูดว่า "เคยมีความทรงจำดีๆที่เขื่อนลำนางรองเมื่อหลายปีก่อน
ไม่นึกว่าเขื่อนจะไร้การเหลียวแลเช่นนี้" เพียงผมหวังว่า รัฐบาลจะได้รับทราบและเข้ามาแก้ไขปรับปรุง และถ้าคุณได้กลับไปชมภาพอีกครั้งหนึ่ง ความทรงจำดีๆที่เขื่อน ลำนางรองก็จะกลับคืนมาครับ.
เขื่อน ลำตะคอง เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนมูลบน เขื่อนลำแซะ และเขื่อนลำปลายมาศ ที่โคราชบ้านผมก็ตกอยู่ในสภาพไร้การเหลียวแลเช่นกันครับ.ซึ่งผมจะได้นำเสนอคุณอภิสิทธิ์ ฯนายกรัฐมนตรีในโอกาศต่อไป. อนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของบวงชนชาวไทยนั้น พระองค์ ทรงนึกถึงความเดือดร้อนของประชาชนตลอดเวลาครับ ผมได้ชมวีดีโอย้อนรอยพระบาท เมื่อครั้งพระองคฺท่านเสด็จเยี่ยมตำรวจตระเวณชายแดนแดน ผกค ที่จังหวัดนครพนม โดยเฮลิคอบเตอร์ ระหว่างทางทรงทดพระเนตรเห็นบึงเก็บน้ำบริเวณอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ พระองค์ สั่งให้ ฮ.ลงจอด และมีชาวบ้านเป็นร้อย ถางป่านำพระองค์ เพื่อที่จะเข้าไปดูแหล่งน้ำนั้น ประมาณปี ๒๕๑๕ และอีก ๒๐ ปีเศษต่อมา พระองค์จึงทรงกลับไปพัฒนาพื้นที่อำเภอเขาวง อันแห้งแล้งกันดาร โดยทรงให้ กรปกลางขุดสระเก็บกักน้ำให้แก่เกษตรกร/ชาวนาแปลงละ ๕,๐๐๐ ลบ.ม. ทำให้เกษตรกร/ชาวนาที่เคยได้ผลผลิตข้าวเพียง ๓ - ๔ ถัง/ไร่ เพิ่มเป็น ๓๐ - ๔๐ ถัง/ไร่ พระองค์ ทรงยื่นพระหัตเข้าไปช่วยพสกนิกรของพระองค์ก่อน เพื่อให้พวกเขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ แล้วจึงทรงพัฒนาบึงเก็บน้ำนั้น ให้เก็บกักน้ำได้ถึง ๑,๒๐๐.๐๐๐ ลบ.ม.ในภายหลังตรงนีคือโครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพยังตอนล่าง เสร็จแล้วจึงทรงพัฒนาลุ่มน้ำลำพยังตอนบนเป็นขั้นเป็นตอน ทรงใช้งบประมาณในการปรับปรุงบึงเป็นอ่างเก็บน้ำไปเพียง ๖๗๐,๐๐๐.-บาทเศษ เท่านั้นครับ พระองค์ทรงทำแปลงตัวอย่างก่อนที่วัดมงคลชัยพัฒนา จังหวัดสระบุรีจนเห็นผลสำเหร็จแล้วจึงทรงไปพัฒนาที่อำเภอเขาวงเป็นแห่งที่สองครับ คุณวิชชุดาจะเห็นว่า พระองค์ท่านไม่เคยลืมประชาชนเลยครับ แม้ว่าเวลาจะผ่านไปถึง ๒๐ ปีเศษ (เริ่มโครงการปี ๒๕๓๖ ปัจจุบันแล้วเสร็จครบถ้วนแล้วครับ.

ประชุม สุริยามาศ กล่าวว่า...

http://msuriyamas.blogspot.com/2009/06/fw_20.html
URL เจ้าไปดูแบบก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ และคำนวณราคา ครับ.

แสดงความคิดเห็น