ภาคอีสาณนั้นมิได้ขาดย้ำเลยครับ/ประชุม สุริยามาศ.

on วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนซึ่งกำลังชุมนุมอยู่บนิเวณสันเขื่อน(ฝาย)ราษีไศลอยู่ในขณะนี้.
 
                 ผมขออนุญาติย้อนนำเสนอบทความที่ว่า "ภาคอีสาณนั้นมิด้ขาดน้ำเลยครับ" ดังไฟล์แนบ.
 
มีคำบางส่วนในพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อวัดใหญ่จังหวัดพิษณุโลกที่ว่า เช่น เมืองไทยมีน้ำสมบูรณ์
 
แต่เก็บไม่เป็นมีข้าวก็ปล่อยให้โกงกิน ฯลฯ
 
                 มาวันนี้ผมขอนำเสนอตารางสรุปปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่จำนวน
 
๑๒เขื่อนทั่วประเทศ ณ.วันอังควรที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ดังนี้.-
 
๑.)ปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักสูงสุดรวม(เหนือ,กลาง,ใต้)  =   ๙,๕๖๔  ล้านลบ.ม.
 
๒.)ปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักปกติรวม(เหนือ,กลาง,ใต้)    =   ๗,๕๘๙ ล้าน ลบ.ม.
 
๓.)ปริมาณน้ำที่ใช้การได้รวม         (เหนือ,กลาง,ใต้)    =   ๖,๑๑๗ ล้าน ลบ.ม.
 
๔.)ปริมาณน้ำณ วันที๑มกราคม ๕๑  (เหนือ,กลาง,ใต้)   =    ๖,๑๐๗ ล้าน ลบ.ม.
 
๕.)ปริมาณน้ำณ วันที่๑มกราคม๕๒   (เหนือ,กลาง,ใต้)   =    ๖,๓๔๙ ล้าน ลบ.ม.
 
๖.)ปริมาตรน้ำในอ่างณ วันนี้ ๗กรกฎาคม๕๒รวม          =     ๓,๕๕๓ล้าน ลบ.ม.
 
๗.)ปริมาตรน้ำที่ไหลลงอ่างค่าเฉลี่ย/ปีรวม                  =    ๗,๕๕๐ ล้าน ลบ.ม.
 
๘.)ปริมาตรกากตะกอนและน้ำที่ใช้งานไม่ได้               =     ๗,๕๘๙-๖,๑๑๗
 
                                                                    =     ๑,๔๗๒   ล้าน ลบ.ม.
 
๙.)ข้อสังเกตุที่ว่า อีสาณนั้นมิได้ขาดน้ำเลยครับ ก็สามารถยืนยันได้จากตัวเลขปริมาณ
 
    น้ำที่ไหลลงเขื่อนเฉลี่ย/ปี ๗,๕๕๐ ล้าน ลบ.ม. และปริมาณน้ำเก็บกักปกติ ๗,๕๘๙
 
    ล้าน ลบ.ม. เป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกันมาก หากมีการบริหารจัดการเขื่อนอย่างมี
 
    ประสิทธิภาพ เช่นการพร่องน้ำเพื่อรองรับปริมาณน้ำจำนวนมากในฤดูฝนได้ดีกว่านี้
 
    ปริมาณน้ำในเขื่อน ณ วันที่ ๑ มกราคม ของทุกปี จะมีปริมาณน้ำมากกว่านี้ ทั้งนี้
 
    เพราะในปัจจุบัน ฝนจะตกล่าไปถึงปลายเดือน พฤศจิกายน น้ำซับจากป่ายังพอมี
 
    ไหลลงเขื่อนในเดือน ธันวาคม และทั้งปริมาณน้ำฝนตกเฉลี่ยดังตัวเลขในปี ๒๕๔๖
 
     และปี ๒๕๔๗ ก็มีปริมาณมากพอควร ทำไม? ปริมาณน้ำเก็บกักปกติ และปริมาตร
 
    น้ำต้นปี ณ วันที่ ๑ มกราคม ๕๑ จึงแตกต่างกันอยู่ถึง = ๗,๕๘๙ - ๖,๑๑๗
 
    = ๑,๔๗๒ ล้าน ลบ.ม. แสดงว่า เขื่อนไม่สามารถเก็บกักน้ำได้จริงตามตัวเลขปริมาณ
 
    น้ำเก็บกักปกติ. เราลองมาเปรียบเทียบอัตราการใช้น้ำรวม ระหว่างน้ำต้นปี และ
 
    ปริมาตรน้ำ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม ๕๒ ต่างกักนอยู่ = ๖,๓๔๙ - ๓,๕๕๓ = ๒,๗๙๖
 
    ล่าน ลบ.ม. ตีเสียว่า ใช้เวลา ๖ เดือน อัตราการใช้น้ำรวม/เดือน = ๒,๗๙๖/๖ =
 
    ๔๖๖ ล้าน ลบ.ม./เดือนเท่านั้น ซึ่งแตกต่างกับการใช้น้ำในเดือน ธันวาคม ต่างกัน
 
    ถึง ๓๑๖ % ครับ.
 
                กรุณานำข้อมูลนี้เรียนคุณสาธิต วงหนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายก
 
    รัฐมนตรีให้รับทราบเพื่อที่จะได้นำเรียนคุณอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
 
    ใด้รับทราบเพื่อใช้เป็นข้อมูลทั้งในการปิด ปิดเขื่อนต่างๆในโครงการ โขง ชี มูล
 
    และใช้ในการพิจารณาโครงการผันน้ำโขงซึ่งต้องใช้งเนงบประมาณเป็นจำนวนมาก
 
    และจะผันเข้ามาเก็บไว้ที่ไหน? และผันเข้ามาทำไม?กันครับ.
 
            อนึ่งผมได้แนบภาพเขื่อนเจ้าพระยาจากกูเกิลมาให้ชมกัน ในภาพแสดงสะ
 
พานเดินเรือด้วยครับ และผมเองก็อยากจะเห็นภาพสะพานเดินเรือได้เกิดขึ้นในแม่น้ำมูน
 
ของเรา เพียงเราลดระดับเก็บกักน้ำของเขื่อน ราษีไศล เขื่อนหัวนา และเขื่อนปากมูล
 
ลงมาอยู่ที่ระดับที่เหมาะสม นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาความยากจนได้แล้ว และเราก่อ
 
สร้างเขื่อน(ฝาย)ระหว่างเขื่อนทั้งสามตามความเหมาะสม และสร้างสะพานเดินเรือ
 
เสริมเข้าไปในทุกๆเขื่อน พี่น้องเราก็จะสมารถมีทางเลือกในการขนส่งผลผลิตทางการ
 
เกษตรทางน้ำซึ่งขนส่งได้ครั้งลำมากๆ อีกด้วยครับ เพราะเมื่อวานนี้ผมได้นั่งเรือด่วน
 
ในแม่น้ำเจ้าพระยา จากท่าน้ำพายัพ (ศรีย่าน) ไปขึ้นรถไฟฟ้าฟรีที่ท่าน้ำสะพานตาก
 
สินทร์ (สะพารสาธรเดิม)ได้พบเห็นการขนส่งทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ผม
 
คิดถึงบ้านเกิดคือแม่น้ำมูน นี่ผมฝันเกินจริงไปหรือเปล่าครับ.
 
            ด้วยจิตรคารวะ.
 
      ประชุม สุริยามาศ.วย.๗๗๗
 
 
 
 
 
 
 
 





Bing™ brings you maps, menus, and reviews organized in one place. Try it now.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น