เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนา สมัชชาคนจนที่นับถือ.
ผมขออนุญาติบรรยายเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการเทือกเขาสะโนวี่อีกซักเล็กน้อยครับ
เพื่อพี่น้องจะได้เห็นความแตกต่างของแหล่งน้ำดิบ (น้ำต้นทุน) ของโครงการเทือกเขาสะโนวี่ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
และการชลประทาน และโครงการ โขง ชี มูล เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและและการชลประทาน เช่นเดียวกันครับ ดูภาพ
ที่ ๓๘๔ นะครับ จะเห็นว่า พื้นที่โครงการจะถูกหิมะปกคลุมอยู่เป็นเวลา ๕ - ๖ เดือน/ปี น้ำดิบจะได้จากการละลาย
ของหิมะในฤดูร้อน และไหลงไปทางทิศตะวันตกสู่แม่น้ำ เมอเรย์ และแม่น้ำเมอรัมบิดจี เข้าสู่พื้นที่ชลประทาน และ
ไหลลงทะเลทางรัฐออสเตรเลียใต้ และอีกด้านไหลไปลงแม่น้ำสะโนวี่ ซึ่งรับน้ำส่วนแบ่งมากที่สุดแต่ไหลไปคนละ
ทางกับแม่น้ำเมอเรย์และแม่น้ำเมอร้มบิดจี และลงสู่ทะเลทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ วิคตอเรีย (ลงสู่ทะเล
แปซิฟิก.) ในทางกลับกันพื้นที่บริเวณนี้มีฝนตกพอเพียงสำหรับการชลประทานอยู่แล้ว. แผนการพิจารณาความเป็น
ไปได้ในการผันน้ำกลับไปทางทิศตะวันตก พร้อมทำโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังน้ำและเพื่อการชลประทาน
จึงเกิดขึ้นคือ THE SNOWY MOUNTAIM HY-DRO-ELECTRIC SCHEME. แนวคิดนี้น่าที่จะนำมาใช้ในการ
ผันน้ำจากเขาเขียว (น้ำตกเหวนรก) มาลงตันน้ำลำตะคอง ที่บริเวณน้ำตกเหวสุวัตร เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้แก่
เขื่อน ลำตะคอง ประมาณว่าจะได้น้ำถึงปีละ ๘๐ - ๑๐๐ ล้าน ลบ.ม./ปี ทั้งนี้เพราะพื้นที่บนเขาเขียวนั้นจะเทเอียง
ไปทาง จังหวัดนครนายก น้ำส่วนใหญ่จึงไหลรวมไปลงคลองท่าด่าน ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงเขื่อนขุนด่านปราการชล
เกิน ๒๒๔ ล้าน ลบ.ม. (ความจุที่ระดับเก็บกักสูงสุด) อยู่ถึง ๑๐๐ - ๑๒๐ ล้าน ลบ.ม./ปี ซึ่งผมได้เคยนำเสนอแนวคิด
ในการแก้ปัญหาน้ำในภาคตะวันออกแก่ท่านผู้ว่าราขการจังหวัดในขนะนั้น โดยการสร้างโรงกรองที่บริเวณเขื่อนขุนด่าน
ปราการชล และส่งน้ำที่กรองแล้วไปยังการประปาในภาคตะวันออกเพื่อทำการจ่ายต่อไป และยังสามารถใช้ท่อน้ำนี้
ในการส่งน้ำดิบไปเติมให้อ่างเก็บน้ำต่างๆในภาคตะวันออกได้อีกด้วยในกรณีย์เกิดภัยแล้วรุนแรงในบางปี.
วันต่อไปผมจะบรรยายเรื่อง สถานีสูบน้ำกลับ JINDABYNE PUMPING STATION. และความหมาย
ที่สำคัญของท่อผันน้ำขนาดเล็กที่เรียกว่า AQUEDUCTS พร้อมอาคารบังคับน้ำขนาดเล็ด เพื่อนำแนวคิดมาปรับใช้ในการ
บริหารจัดการน้ำจากคลองส่งน้ำให้เข้าถึงเกษตรกร/ชาวนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
อนึ่งโครงการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำขนาดเล็กตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่
หัวนั้นได้ทรงทำการทดลองใช้งาน มาแล้วตั้งแต่ปี ๒๕๑๖ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในตำบลและหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกล
แล้วยังได้อ่างเก็บน้ำขนาดเล็กใช้เก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรกรรมอีกด้วย. ถ้าผมจำไม่ผิดโครงการนี้อยู่ในเขต
อำเภอจอมทอง และอยู่ไม่ไกลจากภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ครับ.
ด้วยจิตรคารวะ.
ประชุม สุริยามาศ.
๑๓/๗/๒๕๕๒.
Windows Live™ SkyDrive™: Get 25 GB of free online storage. Get it on your BlackBerry or iPhone.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น