คำบรรยายภาพ.
๑.)ภาพ ๓๖๒,๓๖๓ เป็ยภาพเขื่อน ยูคัมบีน แบบโครงสร้างเขื่อนและข้อมูลจำเพาะ ก่อสร้างกั้นแม่น้ำ ยูคัมบีน ผันน้ำผ่าน
อุโมงกลับ ไปยังแม่น้ำสะโนวี่ และต่อไปยังแม่น้ำจีไฮ ต่อไปยังพื้นที่ชลประทานเมอเรย์ (สู่แผ่นดินใหญ่ที่แห้งแล้ง)
๒.)ภาพ ๓๖๔ เป็นภาพโมเดลโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ทูมัต ๑ ตั้งอยู่ใต้ภูเขา มีกำลังการผลิตติดตั้ง ๓๒๐,๐๐๐ กิโลวัตต์
๓.)ภาพ ๑๘๑ เป็นภาพรูปตัดแม่น้ำมูนที่จุดเหนือเขื่อนปากมูล(และทุกเขื่อน/ฝายในโครงการโขงชีมูลจะมีรูปลักษณ์
เป็นแบบเดียวกัน) ใช้พื้นที่ในแม่น้ำในการเก็บกักน้ำ ซึ่งในฤดูฝน ปริมารน้ำจะมีมหาศาล จึงได้ออกแบบเพื่อให้เก็บกัก
น้ำไว้ให้ได้มากที่สุด จึงต้องก่อสร้าง คันดิน (Earth Dike) บนริมตลื่งทั้งสองฝั่งของแม่น้ำมูน ความสูงของคันดิน
ประมาณ ๒.๕๐ - ๕.๕๐เมตร และแทนที่จะก่อสร้างคันดิน (Earth Dike) บนริมตลิ่งทั้งสองฝั่งของ ลำน้ำสาขาไป
ด้วย กลับไปออกแบบเป็นประตูระบายน้ำได้ทางเดียง คือไม่ให้น้ำจากแม่น้ำมูนทะลักเข้าไปในลำน้ำสาขาได้ และออก
แบบติดตั้งให้ น้ำจาก ลำน้ำสาขาไหลลงแม่น้ำมูนได้ แต่โชคร้ายที่ข้อเท็จจริงกลับสวนทางกับที่วิศวกรออกแบบคิด คือ
ระดับน้ำในแม่น้ำมูนจะขึ้นสูงอย่างรวดเร็วในฤดูฝน น้ำจึงไปดันประตูระบายน้ำปิดสนิท น้ำจากลำน้ำสาขาจึงไหลลงมาใน
แม่น้ำมูลไม่ได้และได้ทะลักเข้าไปท่วมไร่นา ป่าบุ่ง ป่าทาม สร้างความเสียหายมหาศาลให้แก่พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาที่
อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำดังกล่าว มากมายและเป็นเวลา ๑๐ กวาปีมาแล้ว ไม่มีรัฐบาลไหน? เข้าไปแก้ไข? อีกสาเหตุก็
คือการบริหารจัดการประตูระบายน้ำไร้ประสิทธิภาพ ก็ทำให้น้ำจากแม่น้ำมูนทะลักเข้าไปท่วมไร่นาป่าบุ่ง ป่าทามได้
เพียงมีเศษไม้เข้าไปขวางบานประตูเอาไว้เท่านั้นเอง. การป้องกัน ดังพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ทรงให้กรมชล ประทาน ก่อสร้างอาคาร(ฝาย/หรือเขื่อน) เตี้ยๆ ทรงย้ำคำว่า เตียๆ ลแกรสูบน้ำไปใช้นั้น ให้ราษฎร
เขาดำเนินการกันเอง หรือคนมีความรู้และมีอำนาจดูแลหน่วยงานที่เกี่ยงข้อง เพียงลอทิฐิลงบ้าง โดยการรับฟังพี่น้อง
เกษตรกร/ชาวนา และสมัชชาคนจนเข้าบ้าง ปัญหาเหล่านี้ก็จะสามารถแก้ไขได้อย่างแน่นอนครับ พี่น้องเกษตรกร/
ชาวนาจะเห็นว่า พระบาทสมเด้จพระเจ้าอยู่หัวทรงมองปัญหาและทรงป้องกันไว้ก่อนที่จะเกิดปัญหา.
ด้วยจิตรคาระวะ
ประชุม สุริยามาศ.
Insert movie times and more without leaving Hotmail®. See how.
ภาพรูปแบบโครงสร้างและข้อมูลจำเพาะ เขื่อน ยูคัมบีน. ภาพโมเดลโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ทูมัต ๑ และรูปตัดแม่น้ำมูนเหนือเขื่อนปากมูน.
เขียนโดย Prachoom on วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น