เกษตรกรสุรินทร์ จี้ “มาร์ค” ทบทวนอัตราประกันราคาข้าวใหม่

on วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
            ตัวเลขที่น่าสนใจ และความหมายของคำว่า พอประมาณ นี่เป็นข้อ
 
คิดจากลูกหลานนะครับ.
 
            ก่อนอื่นลูกหลานขออนุญาติบอกว่า นโยบายการประกันราคาข้าว
 
ของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีนั้น เป็นนะโยบายที่ดี ที่แตกต่าง
 
และพอประมาณ
 
            ที่บอกว่าเป็นนโยบายที่ดีนั้นก็เพราะเป็นแนวคิดที่จะทำให้ผล ถึงพี่
 
น้องเกษตรกรอย่างแท้จริง คือลงไปควบคุมทั้งตัวเกษตรกร พื้นที่ปลูก และผล
 
ผลิตเฉลี่ย/ไร่  (ความโปร่งใส และความประหยัดงบประมาณจะมีมากขึ้น)
 
            และที่แตกต่างก็คือ การับจำนำนั้น รัฐจะต้องแบกรับภาระทั้งหมด
 
ตามตัวเลขที่หน่วยงานรับผิดชอบได้ทำขึ้น ควบคุมยาก และสวนทางกับความ
 
เป็นจริง เพราะรัฐจะต้องเสียทั้งค่าข้าวในราคาประกันที่ประชานิขมสุดๆ มีการรั่ว
 
ไหลในหลายๆจุด แม้กระทั่งมีการนำข้าวจากลาวเข้ามาจำนำเป็นต้น
 
             และพอประมาณ ความหมายตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอ
 
เพียงก็ตือ พออยู่พอกิน/หรือไม่มากไม่น้อยจนเกินไป มีเหตุมีผล ตัวเลขผล
 
ผลิตข้าวต่อไร่ของท่านนายก ๓๕๙ กก./ไร่ และตัวเลขของพี่น้องเกษตรกร/
 
ชาวนา จังหวัดสุรินทร์ ๔๙๓ กก./ไร่ ลูกหลานยอมรับได้ทั้งสองตัวครับ ก็โดย
 
ใช้หลัก พอประมาณเข้ามาจับไงครับ. ที่รับได้ก็คือ ราคาประกันเท่าที่ลูกหลาน
 
ทราบนั้น ข้าวหอมมะลิ ๑๔.-บาท/กก.(ราคาพอประมาณ ใช้ได้เลย) ส่วนผล
 
ผลิต/ไร่นั้นคงจะเป็นการยากที่จะไปแยกแยะเป็นจังหวัด ต้วเลขที่ท่านนายกให้
 
นั้น ๓๕๙ กก./ไร่ (น่าจะพอประมาณคือเฉลี่ยพื้นที่หลายจังหวัดหน่อย) ผม
 
เชื่อว่าบางพื้นที่ บางจังหวัด ผลผลิต/ไร่จะได้น้อยกว่านี้มากเพราะ เข้าไม่ถึง
 
ระบบชลประทาน/หรือถูกระบบชลประทานทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นต้นและที่
 
สำคัญ ในยางพื้นที่ตามที่เป็นข้าว นาปีก็ทำไม่ได้ พอหันมาทำนาปรังก็หนีน้ำ
 
ท่วมแทบจะไม่ทัน.
 
             ทีนี้ลูกหลานขอนำวิชาคำนวณมาจับดูซิว่า ทำไม? ลูกหลานจึงพูด
 
ได้เต็มปากว่า พอประมาณ.
 
         ๑.)พื้นที่ทำนาเฉลี่ย/ครัวเรือน =   ๑๐ - ๑๕   ไร่/ครัวเรือน
 
         ๒.)ผลผลิตที่ต่างกันอยู่        =  ๔๙๓ - ๓๕๙ = ๑๓๔ กก./ไร่
 
         ๓.)ปริมาณข้าวที่ไม่ได้รับการประกัน/ครัวเรือน = ๑,๓๔๐ -๒,๐๑๐
 
              กก/ครัวเรือน
 
         ๔.)จำนวนคน/ครัวเรือน        =  ๕ - ๗ คน/ครัวเรือน
 
         ๕.) จำต้องเก็บข้าวไว้กินเองในครัวเรือน = ๑,๐๐๐ - ๑,๔๐๐ กก/
 
              ปี.(ตรงนี้เองครับที่ผมคิดว่าพอประมาณ และส่วนที่เกินก็ใช้เลี้ยง
 
              สัตว์)
 
          ๖.)ที่ลูกหลานเป็นห่วงก็คือ ความยั่งยืน พอเปลี่ยนรัฐบาล นโยบายก็
 
              จะเปลี่ยน การประกันราคา และราคาก็จะเปลี่ยน เกษตรกร/
 
              ชาวนาก็จะเข้าไม่ถึงอีก.เหมือนเคย.
 
          ๗.)สุดท่ายแล้วทำอย่างไร? เล่าจึงจะยั่งยืน ลูกหลานคิดว่า ต้องช่วย
 
              ตัวเองครับ คือเปลี่ยนมาทำเกษตร "ทฤษฎีใหม่" ขุดสระเก็บน้ำ
 
              เป็นของตนเองเพื่อนเพิ่มรายได้จากการเลี้ยงปลา และประกัน
 
              ความเสี่ยงน้ำแล้ง น้ำท่วม และเกษตรกรจะได้ผลผลิตข้าวพออยู่
 
              พอกินตลอดทุกปี.โดยการทำนาเพียง ๓ - ๔.๕ ไร่ ( ๓๐%ของ
 
             พื้นที่) ถ้าเราทำได้เราจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนครับ ที่สำคัฯเรายังจะ
 
             ได้ป่าปลูกอีก ๓๐% ของพื้นที่เพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและจะ
 
             ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วยและท้ายของสุดท้าย ผมขอให้
 
             ท่านนายกได้เข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาให้พี่น้องเกษตรกร/ชาวนา
 
             และสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลโดยเร็วด้วยครับเพราะพวกเขา
 
            ได้รอท่านนายกมานานกว่า ๑๑๐ วันแล้วนะครับ.
 
                         ด้วยจิตรคารวะ.
 
                 ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 
 

เกษตรกรสุรินทร์ จี้ "มาร์ค" ทบทวนอัตราประกันราคาข้าวใหม่
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 ตุลาคม 2552 16:00 น.
เครือข่ายเกษตรกรฯสุรินทร์ ตบเท้าเข้าพบนายกฯ ร้องบอกการประกันราคาข้าวหอมมะลิตามโครงการ ประกันรายได้เกษตรกรต่ำกว่า อัตราผลผลิตจริง พร้อมยื่นหนังสือจี้รัฐฯให้ทบทวนดูใหม่อีกรอบ
       

       
       

       
       วันนี้ (28 ต.ค. ) ที่อาคารรัฐสภา เครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิจังหวัดสุรินทร์ นำโดยนายพิรุณ แก้วพินึก พร้อมกลุ่มเกษตรกรกว่า 20 คน ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อร้องขอให้ทางรัฐบาลทบทวนการกำหนดอัตราผลผลิตเฉลี่ยข้าวหอมมะลิของจังหวัดสุรินทร์ที่ประกันไว้ 359 กิโลกรัมต่อไร่ ตามโครงการประกันรายได้เกษตรกร
       
       เนื่องจากการกำหนดดังกล่าวตำกว่ากว่ากว่าความเป็นจริงมาก โดยจากข้อมูลการทำนาของเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์ในปีนี้สภาพภูมิอากาศฝนฟ้าอุดมสมบูรณ์ดี ทำให้ข้าวหอมมะลิเจริญเติบโตงอกงามดีกว่าทุกปีที่ผ่านมา จากการสรุปผลการขึ้นทะเบียนตามแบบรายงานผลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรข้าวนาปี การผลิต 52/53 ของจังหวัดสุรินทร์ ตัดยอดวันที่ 2 ตุลาคม 2552 ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ข้าวนาปี คือ 493 กิโลกรัมต่อไร่
       
       ด้วยเหตุนี้เครือข่ายเกษตรกรฯจึงร้อง ขอให้รัฐบาลได้ทบทวนผลผลิตตามข้อเท็จจริงคือ 493 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดอื่นๆอย่างแท้จริง
       
       ทางด้านนายอภสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับหนังสือจากกลุ่มเกษตร พร้อมกล่าวยืนยันว่าจะนำไปศึกษาเพื่อทำการดำเนินการตามขั้นตอนอีกครั้งหนึ่ง



Windows 7: It helps you do more. Explore Windows 7.

นักบริหารลุ่มน้ำชี้การเมืองปมปัญหาแก้น้ำล้นน้ำแล้งล้มเหลว

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
            ผมเห็นด้วยตามหัวข้อของการสัมนาที่ว่า "การเมืองปมปัญหาแก้น้ำ
 
ล้นน้ำแล้งล้มเหลว"
 
            และผมก็เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่ทุกฝ่ายได้นำเสนอ แต่ปัญหา
 
อยู่ที่รัฐบาลที่บอกว่า ประชาชนต้องมาก่อน ท่านจะเอาด้วยหรือไม่เท่านั้น ถ้า
 
รัฐบาลเป็นของประชาชน ปัญหาเขื่อนต่างๆก็จะได้รับการแก้ไขไปนานแล้วครับ
 
ทำไม? ครับ ส.ส. และรัฐบาลจึงชอบคิดแทนชาวบ้าน ผู้ซึ่งอยู่ชิดติดปัญหา
 
และรู้ปัญหาเป็นอย่างดี กลับไม่มีไคร?ฟังชาวบ้านเลยครับ.
 
             พี่น้องครับกรุณาอ่านความคิดเห็นของนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์
 
วัชระที่ว่า.-
 
           
 
          " นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า นักวิชาการ ข้าราชการ ชาวบ้าน สื่อ ต้องมาร่วมมือกันถึงสามารถจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนได้ หมดเวลาของการก่อม็อบประท้วงขัดแย้งรุนแรงแล้ว ต้องมาเน้นสิทธิชุมชน เพื่อเป็นการ"ป้องกัน" ไม่ให้เกิดการ"ทำลาย"ทรัพยากร กรรมการสิทธิฯก็จะทำหน้าที่นี้ เสนอให้ สกว.เป็นเจ้าภาพ คนในพื้นที่เป็นเลขาฯขับเคลื่อน เชื่อมทุกภาคส่วนมาช่วยกัน จึงสามารถจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างยั่งยืน"
       
              พวกเราติดต่อและประสานงานกับนายแพทย์นิ
 
รันดร์ พิทักษ์วัชระ กันดีไหม?ครับ.
 
                          ด้วยจิตรคารวะ
 
                 ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 

นักบริหารลุ่มน้ำชี้การเมืองปมปัญหาแก้น้ำล้นน้ำแล้งล้มเหลว

October 21, 2009

 อุบลราชธานี-นักวิจัยลุ่มน้ำร่วมวิเคราะห์ปัจจัยการแก้ปัญหาน้ำมาก น้ำน้อย น้ำเสีย จังหวัดอุบลราชธานีไม่ไปไหน เพราะการเมืองดึงเกม แนะต้องนำการบริหารทรัพยากรน้ำเข้าแผนพัฒนาฉบับหน้า เพื่อเป็นแรงผลักดัน ด้านหมอนิรันดร์ นักสิทธิชุมชนเน้นชาวบ้านร่วมป้องกันไม่ให้เกิดการทำลายน้ำ 
 
 
 ที่ห้องบัวทิพย์ 1 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี จัดประชุมค้นหารูปแบบความร่วมมือของภาคีเครือข่ายและเสวนาการจัดการทรัพยากรน้ำ โดยมีภาคีเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชนร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำประมาณ 60 คน 
 
 นายพรชัย โควสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า หน่วยงานจัดการทรัพยากรน้ำมีมาก แต่ไม่ได้ดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งที่เวลาประชาคม ชาวบ้านอยากได้น้ำ แต่พอผ่านผู้แทนที่ไรได้ถนนกลับมาทุกที จึงมีความเห็นว่าการรวมตัวของประชาชนสร้างความเข้มแข็งเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ใช่ให้นโยบายข้างบนมาครอบงำ ต้องทำในสิ่งที่ชาวบ้านอยากทำ จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำได้ 
 
 ด้าน ดร.อินธิรา ซาฮีร์ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี แสดงความเห็นด้วยกับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่หน่วยงานจัดการน้ำไม่มีเอกภาพ แม้มีเงินใช้จ่ายมาก แต่ไม่บูรณาการแผน และควรใช้ จ.อุบลราชธานี เป็นต้นแบบลองบริหารร่วมกัน เพราะ จ.อุบลราชธานี เป็นจังหวัดปลายน้ำกลายเป็นที่รวมของน้ำเสียมาจากทุกที่ ถ้ามีการวางแผนทำงานแบบบูรณาการน้ำทั้งระบบน่าจะแก้ปัญหาได้ 
 
 ขณะเดียวกันนายวิสูตร อยู่คง นักวิชาการป่าไม้ เสนอให้มีกระบวนการจัดการป่าทามในเขตบ้านวังยางให้เกิดประโยชน์ เพราะเป็นป่าทามขนาดใหญ่สามารถใช้เป็นแหล่งกรองน้ำเสียในแม่น้ำมูล แม่น้ำชีได้เป็นอย่างดี หากประกาศให้พื้นที่เป็นแหล่งชุ่มน้ำระดับจังหวัดจะเป็นอานิสงส์ของจังหวัด เพราะสามารถใช้พื้นที่ช่วยแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำได้ระดับหนึ่ง 
 
 สำหรับนายสมาน มานะกิจ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.อุบลราชธานี ระบุว่า หลายครั้งมีการออกแบบบริการทรัพยากรน้ำ ร่วมกับนักวิจัย ร่วมกับชาวบ้าน มีการลงดูพื้นที่ควรทำ หรือไม่ควรทำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อขออนุมัติงบประมาณ แต่นักการเมืองไม่เอาด้วย เพราะต้องการเอางบประมาณไปใช้ในพื้นที่ที่มีหัวคะแนนอยู่ การบริหารจัดการน้ำเลยไม่ตรงจุดประสงค์ 
 
 จึงต้องช่วยกันคิดจะดำเนินแผนให้ตรงกับกลุ่มผู้ต้องใช้น้ำจริงๆได้อย่างไร และมีความเห็นต้องร่วมกันผลักดันให้การบริหารจัดการน้ำเข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาแห่งชาติฉบับหน้า เพื่อให้การแก้ปัญหาได้ตรงจุดยิ่งขึ้นด้วย 
 
 ด้าน นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า นักวิชาการ ข้าราชการ ชาวบ้าน สื่อ ต้องมาร่วมมือกันถึงสามารถจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนได้ หมดเวลาของการก่อม็อบประท้วงขัดแย้งรุนแรงแล้ว ต้องมาเน้นสิทธิชุมชน เพื่อเป็นการป้องกัน ไม่ให้เกิดการทำลายทรัพยากร กรรมการสิทธิฯก็จะทำหน้าที่นี้ เสนอให้ สกว.เป็นเจ้าภาพ คนในพื้นที่เป็นเลขาฯขับเคลื่อน เชื่อมทุกภาคส่วนมาช่วยกัน จึงสามารถจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างยั่งยืน 
 
 นอกจากการจัดเสวนาเรื่องการบริหารจัดการลุ่มน้ำ ยังมีการนำเสนอผลงานการไขปัญหาน้ำตามชุมชน โดยใช้แนวคิดผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น อาทิ การใช้ระบบผันน้ำแอร์แว ของชาวบ้านผาชัน อ.โพธิ์ไทร ซึ่งได้รับรางวัลโครงการวิจัยดีเด่นของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ให้ผู้สนใจได้ชมด้วย 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  ทึ่งระบบ"แอร์แว" ภูมิปัญญาชาวบ้าน
รายละเอียด

          ทึ่งระบบ"แอร์แว" ภูมิปัญญาชาวบ้าน


 

          ปัญหาการขาดแคลนน้ำ เป็นปัจจัยหลักในการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ในพื้นที่ภาคอีสานมีมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
          แม้ภาครัฐพยายามทุกหนทางที่จะพัฒนาปรับปรุง การกักเก็บน้ำ การผันน้ำ เพื่อบรรเทาทุกข์ให้ แต่ความช่วยเหลือยังคงไปไม่ถึงมือประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่
          บ้านผาชัน ต.สำโรง อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ซึ่งมีปัญหาขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ในฤดูแล้ง ทั้งที่หมู่บ้านตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำโขง เหตุเพราะเป็นพื้นที่สูงชัน ตั้งบนหน้าผาของแม่น้ำโขงมีความสูงเฉลี่ยราว 35 เมตร
          แหล่งน้ำดิบในพื้นที่ทำเกษตรกรรม และใช้ในครัวเรือน มีประชากร 135 ครอบครัว จำนวน 562 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม และทำประมงริมน้ำโขง มีเพียงบ่อน้ำตื้นจำนวน 4 บ่อ และน้ำจากบุ่งพระละคอน บึงธรรมชาติเชื่อมต่อกับแม่น้ำโขง
          ในฤดูน้ำหลากชาวบ้านใช้น้ำจากบ่อน้ำตื้น และน้ำจากบุ่งพระละคอน แต่ในฤดูแล้งชาวบ้านต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างหนัก เพราะบ่อน้ำตื้นจะแห้งขอด ส่วนน้ำจากบุ่งพระละคอนเครื่องสูบน้ำไม่สามารถส่งน้ำขึ้นมาให้ใช้ได้ เพราะระดับน้ำต่ำลงไปตามความเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง ทำให้เครื่องสูบน้ำที่มีแรงดันน้อย ไม่สามารถส่งน้ำเข้าสู่ระบบการผลิตน้ำประปาหมู่บ้านได้
          ชาวบ้านต้องลงไปหาบน้ำจากบุ่งพระละคอนขึ้นมาใช้ โดยจัดเรียงตามคิว เพื่อแบ่งปันน้ำให้มีใช้กันอย่างทั่วถึง และกว่าเด็กนักเรียนที่ไปช่วยพ่อแม่หาบน้ำขึ้นมาเก็บไว้ใช้ในครัวเรือน จะเข้าเรียนได้เวลาก็ล่วงเลยมาเกือบเที่ยงวัน ทำให้ทางโรงเรียนบ้านผาชัน ต้องจัดการเรียนการสอนเพิ่มเติมให้เด็กในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์
          จากความยากลำบากดังกล่าว ชาวบ้านจึงพยายามหาวิธีในการนำน้ำจากบุ่งพระละคอน ขึ้นมาใช้ประโยชน์ในช่วงหน้าแล้งให้สะดวกมากขึ้น ด้วยการรวมกลุ่มระดมภูมิปัญญาชาวบ้าน ร่วมแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำแบบถาวร
          รวมถึงติดต่อขอรับการสนับสนุนจากมูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิต ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อสนับสนุนการวิจัยและดูงานของชาวบ้านผาชัน
          ระยะเริ่มแรกของการระดมมันสมองตามรูปแบบประชาคมหมู่บ้าน กว่าชาวบ้านจะพร้อมใจ และเห็นความสำคัญต่อการจัดการปัญหาน้ำกินน้ำใช้ใช้เวลาไปร่วม 6 เดือน โดยระหว่างนั้นมีการไปศึกษาดูงานจากหลายที่ ซึ่งเคยประสบปัญหาขาดน้ำกินน้ำใช้ และแก้ปัญหาสำเร็จลุล่วงไปแล้ว
          อาจารย์กล พรมสำลี อาจารย์โรงเรียนบ้านผาชัน เล่าว่า การเข้าไปดูการแก้ไขปัญหาน้ำของแต่ละพื้นที่ พบว่าภูมิประเทศแต่ละแห่งไม่เหมือนที่บ้านผาชัน บางแห่งใช้เงินทุนในการผันน้ำขึ้นมาใช้จำนวนหลายล้านบาท มากเกินกำลังของชาวบ้านที่ต้องการช่วยเหลือตัวเอง
          จึงตัดสินใจหันกลับมาใช้วิธีใช้เครื่องสูบน้ำส่งน้ำขึ้นมาในหมู่บ้านตามเดิม แต่ยังคงประสบปัญหาแบบเดิม คือ ใช้ได้เพียง 2-3 เดือนเครื่องสูบน้ำก็ไหม้เสียหายอีก
          กระทั่งการประชุมประชาคมหมู่บ้านในครั้งหนึ่ง มีชาวบ้านตั้งข้อสังเกตว่า ขณะกำลังใช้สายยางรดน้ำต้นไม้เห็นว่าสายยางมีรูรั่ว จึงพับสายยางไว้ เพื่อไม่ให้น้ำไหลทิ้ง พบว่าน้ำกลับมีแรงดันเพิ่มขึ้น น่าจะนำมาใช้กับเครื่องสูบน้ำได้
          ที่ประชุมจึงทดลองนำท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว ยาวประมาณ 1 เมตร ตัดต่อเข้ากับท่อพีวีซีที่ใช้เป็นท่อส่งน้ำเข้าหมู่บ้าน แต่แรงดันน้ำก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างที่คิดกันไว้ และกลับทำให้เครื่องสูบน้ำพังเร็วกว่าปกติอีก
          แต่กลุ่มชาวบ้านที่เป็นนักคิดค้นประดิษฐ์ยังไม่ท้อถอย พยายามใช้วิธีดังกล่าวทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่งมีผู้เสนอว่าจะทดลองนำวิธีการสูบลมเข้า-ออก ของช่างตีเหล็กมาลองใช้ดู
          ด้วยเหตุผลว่า การตีเหล็กของช่างเหล็กต้องเป่าลมเข้าไปในเตาไฟ เพื่อเร่งถ่านให้ไฟลุกโชนใช้หลอมละลายเหล็กในระดับที่ต้องการ และการเป่าลมของช่างตีเหล็กจะมีคันโยกใช้สูบลมสลับกันไปมา
          กลุ่มชาวบ้านจึงนำท่อพีวีซีมาเชื่อมต่อกับท่อใช้ส่งน้ำจาก 1 ท่อให้เป็น 2 ท่อ ทิ้งระยะห่างกันราว 0.30 เมตร เมื่อทดลองสูบน้ำให้ไหลผ่าน พบว่าเกิดการทำปฏิกิริยาระหว่างท่อน้ำ 2 ท่อ คือ ในท่อน้ำขนาดความยาว 1 เมตร จะมีน้ำอยู่ราว 60 เซนติเมตร ส่วนที่เหลืออีก 40 เซนติเมตรจะเป็นอากาศ
          ท่อน้ำทั้ง 2 ท่อ ทำหน้าที่คล้ายลูกสูบ คือ อากาศจะไหลเวียนสลับผ่านท่อน้ำหนึ่งส่งต่อไปยังอีกท่อน้ำหนึ่ง เมื่อท่อน้ำท่อใดมีอากาศอัดแน่น ท่อจะทำหน้าที่ดันน้ำให้ไหลไปหาที่ว่าง นั่นคือถังใช้เก็บน้ำของหมู่บ้าน
          โดยไล่ลำดับกันไปเป็นทอดๆ ส่วนอากาศที่เข้ามาอยู่ในท่อได้ เพราะถูกดูดขึ้นมาพร้อมกับน้ำ แต่ก่อนที่ไม่มีการติดตั้งท่อให้มีช่องว่างของอากาศ เมื่อเครื่องสูบน้ำดูดอากาศเข้ามาอยู่ในท่อ และอากาศถูกอัดจนแน่น ทำให้เกิดเป็นสุญญากาศดันกลับมาที่เครื่องสูบน้ำ จึงทำให้แรงดันน้ำลดลงเรื่อยๆ และมีผลทำให้เครื่องสูบน้ำไหม้ดังกล่าว
          การค้นพบระบบกลไกหมุนเวียนของอากาศโดยบังเอิญครั้งนี้ ชาวบ้านตั้งชื่อระบบนี้ว่า "แอร์แว" มีความหมายอย่างตรงตัว "แอร์" ในภาษาอังกฤษหมายถึง อากาศ ส่วนคำว่า "แว" เป็นภาษาท้องถิ่นแปลว่า "เวียน" เมื่อรวมกัน "แอร์แว" คือ อากาศที่แวะเวียนไปเวียนมาอยู่ในท่อน้ำ
          หลังการค้นพบระบบหมุนเวียนของอากาศภายในท่อส่งน้ำพีวีซี ทำให้บ้านผาชันไม่ต้องประสบภาวะขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ และยังมีน้ำใช้ทำเกษตรกรรมในฤดูแล้ง

          นอกจากนี้ ระบบ "แอร์แว" ที่กลุ่มชาวบ้านผาชันใช้ภูมิปัญญาคิดค้นประดิษฐ์ขึ้นมาใช้เอง ยังได้รับคัดเลือกจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จาก 1,200 โครงการ ให้เป็นสิ่งประดิษฐ์ชนะเลิศอันดับ 1 ในสิ่งประดิษฐ์ 8 ชนิด ที่ส่งเข้าร่วมประกวดในปี 2550 ด้วย ที่สำคัญ "แอร์แว" เป็นระบบที่ขจัดปัญหาเรื่องน้ำที่เกษตรกรทุกคนสามารถผลิตใช้ได้เอง เพราะมีราคาเพียง 800 บาท เท่านั้น
   

 
 
นักบริหารลุ่มน้ำชี้การเมืองปมปัญหาแก้น้ำล้นน้ำแล้งล้มเหลว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 ตุลาคม 2552 11:44 น.

       อุบลราชธานี-นักวิจัยลุ่มน้ำร่วมวิเคราะห์ปัจจัยการแก้ปัญหาน้ำมาก น้ำน้อย น้ำเสีย จังหวัดอุบลราชธานีไม่ไปไหน เพราะการเมืองดึงเกม แนะต้องนำการบริหารทรัพยากรน้ำเข้าแผนพัฒนาฉบับหน้า เพื่อเป็นแรงผลักดัน ด้านหมอนิรันดร์ นักสิทธิชุมชนเน้นชาวบ้านร่วมป้องกันไม่ให้เกิดการทำลายน้ำ
       

       ที่ห้องบัวทิพย์ 1 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี จัดประชุมค้นหารูปแบบความร่วมมือของภาคีเครือข่ายและเสวนาการจัดการทรัพยากรน้ำ โดยมีภาคีเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชนร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำประมาณ 60 คน
       
       นายพรชัย โควสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า หน่วยงานจัดการทรัพยากรน้ำมีมาก แต่ไม่ได้ดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งที่เวลาประชาคม ชาวบ้านอยากได้น้ำ แต่พอผ่านผู้แทนที่ไรได้ถนนกลับมาทุกที จึงมีความเห็นว่าการรวมตัวของประชาชนสร้างความเข้มแข็งเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ใช่ให้นโยบายข้างบนมาครอบงำ ต้องทำในสิ่งที่ชาวบ้านอยากทำ จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำได้
       
       ด้าน ดร.อินธิรา ซาฮีร์ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี แสดงความเห็นด้วยกับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่หน่วยงานจัดการน้ำไม่มีเอกภาพ แม้มีเงินใช้จ่ายมาก แต่ไม่บูรณาการแผน และควรใช้ จ.อุบลราชธานี เป็นต้นแบบลองบริหารร่วมกัน เพราะ จ.อุบลราชธานี เป็นจังหวัดปลายน้ำกลายเป็นที่รวมของน้ำเสียมาจากทุกที่ ถ้ามีการวางแผนทำงานแบบบูรณาการน้ำทั้งระบบน่าจะแก้ปัญหาได้
       
       ขณะเดียวกันนายวิสูตร อยู่คง นักวิชาการป่าไม้ เสนอให้มีกระบวนการจัดการป่าทามในเขตบ้านวังยางให้เกิดประโยชน์ เพราะเป็นป่าทามขนาดใหญ่สามารถใช้เป็นแหล่งกรองน้ำเสียในแม่น้ำมูล แม่น้ำชีได้เป็นอย่างดี หากประกาศให้พื้นที่เป็นแหล่งชุ่มน้ำระดับจังหวัดจะเป็นอานิสงส์ของจังหวัด เพราะสามารถใช้พื้นที่ช่วยแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำได้ระดับหนึ่ง
       
       สำหรับนายสมาน มานะกิจ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.อุบลราชธานี ระบุว่า หลายครั้งมีการออกแบบบริการทรัพยากรน้ำ ร่วมกับนักวิจัย ร่วมกับชาวบ้าน มีการลงดูพื้นที่ควรทำ หรือไม่ควรทำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อขออนุมัติงบประมาณ แต่นักการเมืองไม่เอาด้วย เพราะต้องการเอางบประมาณไปใช้ในพื้นที่ที่มีหัวคะแนนอยู่ การบริหารจัดการน้ำเลยไม่ตรงจุดประสงค์
       
       จึงต้องช่วยกันคิดจะดำเนินแผนให้ตรงกับกลุ่มผู้ต้องใช้น้ำจริงๆได้อย่างไร และมีความเห็นต้องร่วมกันผลักดันให้การบริหารจัดการน้ำเข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาแห่งชาติฉบับหน้า เพื่อให้การแก้ปัญหาได้ตรงจุดยิ่งขึ้นด้วย
       
       ด้าน นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า นักวิชาการ ข้าราชการ ชาวบ้าน สื่อ ต้องมาร่วมมือกันถึงสามารถจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนได้ หมดเวลาของการก่อม็อบประท้วงขัดแย้งรุนแรงแล้ว ต้องมาเน้นสิทธิชุมชน เพื่อเป็นการ"ป้องกัน" ไม่ให้เกิดการ"ทำลาย"ทรัพยากร กรรมการสิทธิฯก็จะทำหน้าที่นี้ เสนอให้ สกว.เป็นเจ้าภาพ คนในพื้นที่เป็นเลขาฯขับเคลื่อน เชื่อมทุกภาคส่วนมาช่วยกัน จึงสามารถจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างยั่งยืน
       
       นอกจากการจัดเสวนาเรื่องการบริหารจัดการลุ่มน้ำ ยังมีการนำเสนอผลงานการไขปัญหาน้ำตามชุมชน โดยใช้แนวคิดผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น อาทิ การใช้ระบบผันน้ำแอร์แว ของชาวบ้านผาชัน อ.โพธิ์ไทร ซึ่งได้รับรางวัลโครงการวิจัยดีเด่นของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ให้ผู้สนใจได้ชมด้วย
 

  ทึ่งระบบ"แอร์แว" ภูมิปัญญาชาวบ้าน
รายละเอียด

          ทึ่งระบบ"แอร์แว" ภูมิปัญญาชาวบ้าน


 

          ปัญหาการขาดแคลนน้ำ เป็นปัจจัยหลักในการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ในพื้นที่ภาคอีสานมีมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
          แม้ภาครัฐพยายามทุกหนทางที่จะพัฒนาปรับปรุง การกักเก็บน้ำ การผันน้ำ เพื่อบรรเทาทุกข์ให้ แต่ความช่วยเหลือยังคงไปไม่ถึงมือประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่
          บ้านผาชัน ต.สำโรง อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ซึ่งมีปัญหาขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ในฤดูแล้ง ทั้งที่หมู่บ้านตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำโขง เหตุเพราะเป็นพื้นที่สูงชัน ตั้งบนหน้าผาของแม่น้ำโขงมีความสูงเฉลี่ยราว 35 เมตร
          แหล่งน้ำดิบในพื้นที่ทำเกษตรกรรม และใช้ในครัวเรือน มีประชากร 135 ครอบครัว จำนวน 562 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม และทำประมงริมน้ำโขง มีเพียงบ่อน้ำตื้นจำนวน 4 บ่อ และน้ำจากบุ่งพระละคอน บึงธรรมชาติเชื่อมต่อกับแม่น้ำโขง
          ในฤดูน้ำหลากชาวบ้านใช้น้ำจากบ่อน้ำตื้น และน้ำจากบุ่งพระละคอน แต่ในฤดูแล้งชาวบ้านต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างหนัก เพราะบ่อน้ำตื้นจะแห้งขอด ส่วนน้ำจากบุ่งพระละคอนเครื่องสูบน้ำไม่สามารถส่งน้ำขึ้นมาให้ใช้ได้ เพราะระดับน้ำต่ำลงไปตามความเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง ทำให้เครื่องสูบน้ำที่มีแรงดันน้อย ไม่สามารถส่งน้ำเข้าสู่ระบบการผลิตน้ำประปาหมู่บ้านได้
          ชาวบ้านต้องลงไปหาบน้ำจากบุ่งพระละคอนขึ้นมาใช้ โดยจัดเรียงตามคิว เพื่อแบ่งปันน้ำให้มีใช้กันอย่างทั่วถึง และกว่าเด็กนักเรียนที่ไปช่วยพ่อแม่หาบน้ำขึ้นมาเก็บไว้ใช้ในครัวเรือน จะเข้าเรียนได้เวลาก็ล่วงเลยมาเกือบเที่ยงวัน ทำให้ทางโรงเรียนบ้านผาชัน ต้องจัดการเรียนการสอนเพิ่มเติมให้เด็กในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์
          จากความยากลำบากดังกล่าว ชาวบ้านจึงพยายามหาวิธีในการนำน้ำจากบุ่งพระละคอน ขึ้นมาใช้ประโยชน์ในช่วงหน้าแล้งให้สะดวกมากขึ้น ด้วยการรวมกลุ่มระดมภูมิปัญญาชาวบ้าน ร่วมแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำแบบถาวร
          รวมถึงติดต่อขอรับการสนับสนุนจากมูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิต ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อสนับสนุนการวิจัยและดูงานของชาวบ้านผาชัน
          ระยะเริ่มแรกของการระดมมันสมองตามรูปแบบประชาคมหมู่บ้าน กว่าชาวบ้านจะพร้อมใจ และเห็นความสำคัญต่อการจัดการปัญหาน้ำกินน้ำใช้ใช้เวลาไปร่วม 6 เดือน โดยระหว่างนั้นมีการไปศึกษาดูงานจากหลายที่ ซึ่งเคยประสบปัญหาขาดน้ำกินน้ำใช้ และแก้ปัญหาสำเร็จลุล่วงไปแล้ว
          อาจารย์กล พรมสำลี อาจารย์โรงเรียนบ้านผาชัน เล่าว่า การเข้าไปดูการแก้ไขปัญหาน้ำของแต่ละพื้นที่ พบว่าภูมิประเทศแต่ละแห่งไม่เหมือนที่บ้านผาชัน บางแห่งใช้เงินทุนในการผันน้ำขึ้นมาใช้จำนวนหลายล้านบาท มากเกินกำลังของชาวบ้านที่ต้องการช่วยเหลือตัวเอง
          จึงตัดสินใจหันกลับมาใช้วิธีใช้เครื่องสูบน้ำส่งน้ำขึ้นมาในหมู่บ้านตามเดิม แต่ยังคงประสบปัญหาแบบเดิม คือ ใช้ได้เพียง 2-3 เดือนเครื่องสูบน้ำก็ไหม้เสียหายอีก
          กระทั่งการประชุมประชาคมหมู่บ้านในครั้งหนึ่ง มีชาวบ้านตั้งข้อสังเกตว่า ขณะกำลังใช้สายยางรดน้ำต้นไม้เห็นว่าสายยางมีรูรั่ว จึงพับสายยางไว้ เพื่อไม่ให้น้ำไหลทิ้ง พบว่าน้ำกลับมีแรงดันเพิ่มขึ้น น่าจะนำมาใช้กับเครื่องสูบน้ำได้
          ที่ประชุมจึงทดลองนำท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว ยาวประมาณ 1 เมตร ตัดต่อเข้ากับท่อพีวีซีที่ใช้เป็นท่อส่งน้ำเข้าหมู่บ้าน แต่แรงดันน้ำก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างที่คิดกันไว้ และกลับทำให้เครื่องสูบน้ำพังเร็วกว่าปกติอีก
          แต่กลุ่มชาวบ้านที่เป็นนักคิดค้นประดิษฐ์ยังไม่ท้อถอย พยายามใช้วิธีดังกล่าวทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่งมีผู้เสนอว่าจะทดลองนำวิธีการสูบลมเข้า-ออก ของช่างตีเหล็กมาลองใช้ดู
          ด้วยเหตุผลว่า การตีเหล็กของช่างเหล็กต้องเป่าลมเข้าไปในเตาไฟ เพื่อเร่งถ่านให้ไฟลุกโชนใช้หลอมละลายเหล็กในระดับที่ต้องการ และการเป่าลมของช่างตีเหล็กจะมีคันโยกใช้สูบลมสลับกันไปมา
          กลุ่มชาวบ้านจึงนำท่อพีวีซีมาเชื่อมต่อกับท่อใช้ส่งน้ำจาก 1 ท่อให้เป็น 2 ท่อ ทิ้งระยะห่างกันราว 0.30 เมตร เมื่อทดลองสูบน้ำให้ไหลผ่าน พบว่าเกิดการทำปฏิกิริยาระหว่างท่อน้ำ 2 ท่อ คือ ในท่อน้ำขนาดความยาว 1 เมตร จะมีน้ำอยู่ราว 60 เซนติเมตร ส่วนที่เหลืออีก 40 เซนติเมตรจะเป็นอากาศ
          ท่อน้ำทั้ง 2 ท่อ ทำหน้าที่คล้ายลูกสูบ คือ อากาศจะไหลเวียนสลับผ่านท่อน้ำหนึ่งส่งต่อไปยังอีกท่อน้ำหนึ่ง เมื่อท่อน้ำท่อใดมีอากาศอัดแน่น ท่อจะทำหน้าที่ดันน้ำให้ไหลไปหาที่ว่าง นั่นคือถังใช้เก็บน้ำของหมู่บ้าน
          โดยไล่ลำดับกันไปเป็นทอดๆ ส่วนอากาศที่เข้ามาอยู่ในท่อได้ เพราะถูกดูดขึ้นมาพร้อมกับน้ำ แต่ก่อนที่ไม่มีการติดตั้งท่อให้มีช่องว่างของอากาศ เมื่อเครื่องสูบน้ำดูดอากาศเข้ามาอยู่ในท่อ และอากาศถูกอัดจนแน่น ทำให้เกิดเป็นสุญญากาศดันกลับมาที่เครื่องสูบน้ำ จึงทำให้แรงดันน้ำลดลงเรื่อยๆ และมีผลทำให้เครื่องสูบน้ำไหม้ดังกล่าว
          การค้นพบระบบกลไกหมุนเวียนของอากาศโดยบังเอิญครั้งนี้ ชาวบ้านตั้งชื่อระบบนี้ว่า "แอร์แว" มีความหมายอย่างตรงตัว "แอร์" ในภาษาอังกฤษหมายถึง อากาศ ส่วนคำว่า "แว" เป็นภาษาท้องถิ่นแปลว่า "เวียน" เมื่อรวมกัน "แอร์แว" คือ อากาศที่แวะเวียนไปเวียนมาอยู่ในท่อน้ำ
          หลังการค้นพบระบบหมุนเวียนของอากาศภายในท่อส่งน้ำพีวีซี ทำให้บ้านผาชันไม่ต้องประสบภาวะขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ และยังมีน้ำใช้ทำเกษตรกรรมในฤดูแล้ง

          นอกจากนี้ ระบบ "แอร์แว" ที่กลุ่มชาวบ้านผาชันใช้ภูมิปัญญาคิดค้นประดิษฐ์ขึ้นมาใช้เอง ยังได้รับคัดเลือกจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จาก 1,200 โครงการ ให้เป็นสิ่งประดิษฐ์ชนะเลิศอันดับ 1 ในสิ่งประดิษฐ์ 8 ชนิด ที่ส่งเข้าร่วมประกวดในปี 2550 ด้วย ที่สำคัญ "แอร์แว" เป็นระบบที่ขจัดปัญหาเรื่องน้ำที่เกษตรกรทุกคนสามารถผลิตใช้ได้เอง เพราะมีราคาเพียง 800 บาท เท่านั้น
   



Windows 7: Simplify your PC. Learn more.

ถึงเวลารื้อรถไฟ-ถึงเวลากำจัดเหลือบ ล้างทุจริต !?

on วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชางนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
           แล้วถึงเวลารื้อโครงสร้าง(กรม)การบริหารจัดการน้ำ - ถึงเวลากำจัด
 
เหลือบ ริ้น ไร ล้างทุจริต โครงสร้าง(กรม)การบริหารจัดการน้ำหรือยัง? ครับ.
 
เขื่อนเก่าปล่อยปละละเลย แสะไปสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ขึ้นมาใหม่ในราคาที่
 
แสนแพง โดยการอ้างเพียงจำนวนพื้นที่การเกษตรที่จะได้รับประโยชน์ ซึ่งจะ
 
ได้จริงหรือไม่อย่างไร? ไม่มีไครตรวจสอบ.
 
           พี่น้องครับ พวกเราก็เหมือนการรถไฟแห้งประเทศไทยที่รอวันสิ้น
 
สลาย    พวกเราต้องสู้และสู้ต่อไปครับ.
 
                      ด้วยจิตรคารวะ
 
             ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 
 
 
 
 
 
 

ถึงเวลารื้อรถไฟ-ถึงเวลากำจัดเหลือบ ล้างทุจริต !?
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 30 ตุลาคม 2552 00:30 น.


"ผ่าประเด็นร้อน"
       

       ในที่สุดพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยจำนวน 6 คน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ก็ถูกไล่ออกตามคำสั่งของ ผู้ว่าการรถไฟฯ ยุทธนา ทัพเจริญ โดยเป็นการใช้คำสั่งที่ลงวันที่ย้อนหลัง
       
       น่าสังเกตก็คือเป็นคำสั่งไล่ออกหลังจากที่ทางสหภาพแรงงานการรถไฟสาขาหาดใหญ่กับตัวแทนฝ่ายบริหาร ฝ่ายปกครองรวมไปถึงหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ที่มีถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานสามารถบรรลุข้อตกลงจนเปิดการเดินรถตามปกติ
       
       แต่คำสั่งดังกล่าวของผู้ว่าการรถไฟฯเสมือนจงใจทำให้ปัญหาบานปลาย รวมไปถึงเจตนาที่จะทำลายพนักงานโดยเฉพาะสหภาพการรถไฟที่กำลังเรียกร้องให้มีการปลดเขาให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีพฤติกรรมส่อไปทางทุจริต และปัดความรับผิดชอบ
       
       แม้ว่าต้องยอมรับความจริงอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 สัปดาห์ที่มีการหยุดเดินรถไฟในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ และภาพความเป็นผู้ร้ายได้ตกอยู่กับสหภาพรถไฟสาขาหาดใหญ่ รวมไปถึงสหภาพการรถไฟทั้งหมดอีกด้วย
       
       ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่าได้พ่ายเกมมวลชน จนถูกมองเป็นลบจากสังคม !!
       
       อย่างไรก็ดีหากพิจารณาอีกมุมหนึ่งการเคลื่อนไหวครั้งนี้เริ่มปะทุมาจากอุบัติเหตุรถไฟตกรางที่สถานีเขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบครีรีขันธ์เมื่อต้นเดือนตุลาคม จนมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก
       
       แต่กลับกลายเป็นว่าฝ่ายที่ตกเป็นแพะมีความผิดเพียงฝ่ายเดียวคือพนักงานขับรถ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วเป็นเรื่องที่จะต้องรับผิดชอบไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ผู้บริหารตั้งแต่ผู้ว่าการรถไฟฯไปจนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจะต้องร่วมรับผิดชอบด้วย จะปฏิเสธไม่ได้เป็นอันขาด
       
       หรือแม้แต่การแสดงสปิริตเหมือนกับที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งล่าสุดกรณีเกิดอุบัติเหตุรถไฟชนกันที่ประเทศอียิปต์เมื่อสองสัปดาห์ก่อนจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากเช่นเดียวกัน แต่รัฐมนตรีขนส่งก็ได้ยื่นใบลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบในทันที แล้วปล่อยให้มีการสอบสวนหาสาเหตุอย่างเต็มที่
       
       แต่กรณีของไทยกลับตรงกันข้ามฝ่ายบริหารกลับปัดความรับผิดชอบ นั่งทับปัญหา
       นอกจากนี้ยังไม่นับกรณีที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เคยสรุปความผิดของ ยุทธนา ทัพเจริญ สมัยที่เป็นรองผู้ว่าฯการรถไฟฯในกรณีที่เป็นประธานพิจารณาเช่าที่ดินบริเวณตลาดนัดซันเดย์เมื่อหลายปีก่อน
       
       ขณะที่ตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โสภณ ซารัมย์ ก็เป็นตัวแทนของกลุ่มการเมืองอิทธิพลในบุรีรัมย์ที่บุกรุกที่ดินการรถไฟบนเขากระโดงและยังมีพฤติกรรมอันอื้อฉาวมานับไม่ถ้วน
       
       เมื่อกลับมาพิจารณาถึงข้อเรียกร้องของพนักงานและสหภาพการรถไฟฯก็จะพบว่าเป็นการเรียกร้องให้มีการตรวจสอบสภาพหัวรถจักรและอุปกรณ์การเดินรถให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์เพื่อความปลอดภัยของพนักงานขับรถเองและผู้โดยสาร ไม่ใช่เป็นการเรียกร้องเรื่องสวัสดิการหรือผลประโยชน์ของตัวเอง
       
       และแม้ว่าการหยุดเดินรถในครั้งนี้จะต้องมีการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาผู้กระทำผิด ซึ่งต้องกระทำกันอย่างตรงไปตรงมาและไม่มีเจตนาอื่นใดแอบแฝง
       
       แต่การด่วนออกคำสั่งไล่ออก 6 พนักงานของผู้ว่าการรถไฟถือว่ามีเจตนาที่น่าสงสัย เสมือนสมคบกับฝ่ายการเมืองที่ต้องการสำทับให้สังคมมองว่าพนักงานทำผิด ตกเป็นผู้ร้ายเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่มีการสอบสวนอย่างเป็นธรรม
       
       ซึ่งวิธีการดังกล่าวน่าจะเป็นการทำร้ายการรถไฟให้ปั่นป่วนตามมาอีกทั้งที่น่าจะคลี่คลายลงได้ในระดับหนึ่ง
       

       อีกทั้งเมื่อวานนี้(29 ต.ค.) ฝ่ายบริหารยังมีการแถลงผลการดำเนินการของรถไฟในปี 2551 ว่ามีการขาดทุนเป็นประวัติการณ์คือ 10,202 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2550 ที่ขาดทุนจำนวน 7,864 ล้านบาท และพยายามชี้ให้เห็นว่าจากการประท้วงของสหภาพแต่ละครั้งทำให้ขาดทุนครั้งละไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท ทั้งที่โดยความเป็นจริงแล้ว นี่คือการประจานผลงานการบริหารที่ไร้ประสิทธิภาพอย่างสิ้นเชิง แต่ปัดความรับผิดชอบ
       
       ล่าสุดวานนี้(29 ตุลาคม) รถไฟขบวนวงเวียนใหญ่-มหาชัยได้เกิดอุบัติเหตุตกรางอีก แต่โชคดีไม่มีใครได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต กรณีที่เกิดขึ้นจะชี้หน้ากล่าวโทษพนักงานขับรถแต่เพียงฝ่ายเดียวอีกหรือ
       
       อย่างไรก็ดีสิ่งที่น่าจับตาก็คือ การนัดหารือกันทุกฝ่ายทั้ง กระทรวงคมนาคม ผู้บริหารการรถไฟฯและสหภาพการรถไฟ โดยมีนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นประธาน เพื่อหาทางออกในการปฏิรูปการรถไฟอย่างขนานใหญ่ ซึ่งต้องมาพิจารณากันต่อไปว่าจะออกมาในรูปไหน
       
       เพราะ โสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้แย้มออกมาล่วงหน้าแล้วว่าจะเพิ่มรายได้ลดการขาดทุนด้วยการนำเอกชนเข้ามาทำประโยชน์บนที่ดินของการรถไฟ ซึ่งก็พอมองออกว่าเป็นเอกชนกลุ่มไหน และใครได้ประโยชน์
       
       ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากปัญหาทั้งหมดก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการปฏิรูปการรถไฟกันทั้งระบบ เพื่อให้คนไทยทุกคนได้ประโยชน์ และได้รับความสะดวกในการเดินทาง ไม่ใช่นักการเมืองและกลุ่มที่ใกล้ชิดการเมืองเข้ามาแสวงหาประโยชน์อย่างที่เป็นอยู่ และถึงเวลากวาดล้างทุจริต เอาเหลือบที่เกาะกินออกไปให้หมด
       
       ที่สำคัญต้องมีการสอบสวนคนที่กระทำผิดอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม นี่แหละคือหลักการที่จะทำให้การรถไฟพัฒนารุดหน้าไปได้ แต่ทุกอย่างก็ต้องขึ้นอยู่กับความกล้าหาญของนายกรัฐมนตรีด้วย !!

 
 

 
ความคิดเห็นที่ 9 +22 คลิกที่นี่หากท่านสนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านไม่สนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านต้องการตอบกลับความคิดเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านเห็นว่าความคิดเห็นนี้ขัดต่อกฎ กติกา มารยาท
ขอให้กำลังใจท่านสาทิต แก้วหวานและสหภาพการรถไฟหาดให่ญ ให้กู้ชาติ กู้การรถไฟไทยให้ดี มีความปลอดภัยแก่ประชาชน และล้างทุจริตในการรถไฟไทยให้สิ้นทรากจากระบอบเนวิน
กนก เสื้อเหลือง
ความคิดเห็นที่ 7 +17 คลิกที่นี่หากท่านสนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านไม่สนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านต้องการตอบกลับความคิดเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านเห็นว่าความคิดเห็นนี้ขัดต่อกฎ กติกา มารยาท
เห็นด้วยกับการปฏิรูปการรถไฟไทย สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารและกระบวนการบริหารงาน เพราะเขานั่งบริหารอยู่ในห้องแอร์ ไม่เคยออกไปดูสภาพภายนอกเลย ดูง่ายๆ บริเวณสถานีรถไฟแทบทุกแห่งในเขต กทม. มีแต่เศษขยะสกปรกมากๆ เท่านี้ก็มองเห็นความสกปรกของการบริหารแล้ว... ควรพัฒนาอย่างจริงจัง โปร่งใส ตรวจสอบได้ครับ
พงษ์
ความคิดเห็นที่ 1 +13 คลิกที่นี่หากท่านสนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านไม่สนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านต้องการตอบกลับความคิดเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านเห็นว่าความคิดเห็นนี้ขัดต่อกฎ กติกา มารยาท
ผมก็เป็ลลูกค้าการรถไฟคนหนึ่งน่ะ ผูบริหารน่าจะมีความรับผิดชอบมากกว่านี้น่ะ ไม่ใช่โทษพนักงาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายเดียว คุณลองนึกดูซิองค์กรจะพัฒนาได้ ผู้บริหารต้องก้าวหน้า ไม่ใช่เล่นซุกผลประโยชน์ แอบอิงนักการเมือง
p''
ความคิดเห็นที่ 5 +10 คลิกที่นี่หากท่านสนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านไม่สนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านต้องการตอบกลับความคิดเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านเห็นว่าความคิดเห็นนี้ขัดต่อกฎ กติกา มารยาท
ฟรีทีวีประโคมข่าวทุกวัน แต่ไม่มีการสาวเบื้องลึก
รายงานแต่สถานการณ์ปัจจุบัน ชาวบ้านเข้าใจผิด
สหภาพรับไปเต็มๆ น่าเห็นใจ
MM
ความคิดเห็นที่ 6 +9 คลิกที่นี่หากท่านสนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านไม่สนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านต้องการตอบกลับความคิดเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านเห็นว่าความคิดเห็นนี้ขัดต่อกฎ กติกา มารยาท
ที่มันแปลกก็คือ รัฐบาลให้งบประมาณมหาศาลในการทำถนน แต่ละเลยกับงบพัฒนารถไฟ จะปล่อยให้มันแห้งตายไปเอง เป็นอย่างนี้มาทุกรัฐบาลเลย เป็นไปได้ไง
แอมเปิ้ล ชิต



Windows 7: It works the way you want. Learn more.