เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
ผมพยายามส่งข่าวเกี่ยวกับเขื่อนต่างๆในภาคอีสาน และข่าวผลกระทบจากน้ำท่วม น้ำแล้ง
อันเนื่องมาจากสภาพของเขื่อน(ประสิทธิภาพ)ในการกักเก็บร้ำ ตลอดจนการบริหารจัดการน้ำในช่วงต่างๆ
ดังเป็นข่าวอยู่บ่อยๆในหน้าฝนว่า น้ำทะลักจากเขื่อน ลำปาว/หรือเขื่อน ลำพระเพลิง (๒ เขื่อนดังที่กำลัง
ทำการซ่อมและกำลังจะซ่อมกันด้วยงบประมาณมหาศาล) เพื่อให้เก็บกักน้ำเพิ่มขึ้นอีก ๕๐๐ ล้าน ลบ.ม.
ด้วยงบประมาณสูงถึง ๑,๘๒๐ ล้านบาท/หรือตก = ๑,๘๒๐/๕๐๐ = ๓.๖๔ ล้านบาท/๑ ลบ.ม.
(สำหรับโครงการปรับปรุงเขื่อน ลำปาว) ถามว่าสูงไปไหม? ตอบว่า งบประมาณจำนวนนี้ ถ้านำไปก่อสร้าง
ประปาหมู่บ้านมาตรฐานจะก่อสร้างได้ถึง ๕๐๐ หมู่บ้านครับ./หมู่บ้านละประมาณ ๓.๕ ล้านบาท น่าจะได้
ประโยชน์ถึงพี่น้องเกษตรกร/ชาวนามากกว่า ส่วนเขื่อน ลำพระเพลิงนั้น ก็จะใช้งบประมาณอีกถึง ๑,๒๐๐
ล้าน บาท ปรับปรุงเขื่อนให้เก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้นอีกเพียง ๕๐ ล้าน ลบ.ม./หรือตก = ๑,๒๐๐/๕๐ = ๒๔
ล้าน บาท/๑ ลบ.ม. และถ้านำเงินงบประมาณจำนวนนี้ไปก่อสร้างประปาหมู่บ้าน จะก้อสร้างได้ถึง
= ๑,๒๐๐/๓.๕ = ๓๔๓ แห่ง
ความจริง ครม.สัญจรได้อนุมัติเงินงบประมาณสำหรับก่อสร้างปรับปรุงสันเขื่อนลำปาวตามข่างถึง
๓,๐๐๐ ล้าน บาท บวกกับงบประมาณก่อสร้างปรับปรุงสันเขื่อน ลำพระเพลิง อีกจำนวน ๑.๒๐๐ ล้านบาท
รวมกันเป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้นถึง ๔,๒๐๐ ล้าน บาท หากคุณอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี สนใจ
และหาเงินจำนวนเท่านั้น ไปทำโครงการ ไทยเข้มแข็ง โดยทำเป็น โครงการแก้มลิงตามแนวพระราชดำริ
และให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ ของรัฐมนตรีคุณหญิงกัลยา โสภณพานิชย์ รับผิดชอบนำไปทำโครงการ
เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร/ชาวนา ซึ่งถูกผลกระทบน้ำท่วม จากเขื่อน ลำปาว เขื่อน ลำพระเพลิง เขื่อน
ราษ๊ไศลเขื่อนปากมูล และอีก ๑๓ เขื่อน (ฝาย) ของโครงการโขง ชี มูล ใช้เงินเพียง โครงการละ
๕๐,๐๐๐.-บาท สำหรับเกษตรกรที่มีที่นาทำกินน้อง ๑๐ - ๑๕ ไร่. เกษตรกร/ชาวนาก็จะมีสระเก็บ
กักน้ำได้สระละ ๗,๐๐๐ - ๙,๐๐๐ ลบ.ม.เพื่อปรับจากทำนาอย่างเดียวมาเป็นแปลงเกษตร
" ทฤษฎีใหม่" ได้เป็นจำนวนถึง = ๔,๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐/๕๐,๐๐๐ = ๘๔,๐๐๐๐ แปลง นั่นก็คือจะ
สามารถช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง (ปัญหาความยากจน) ให้เกษตรกร/ชาวนาได้ ถึง ๘๔,๐๐๐
ครัวเรือน คิดเป็รจำนวนประชากรโดยรวมได้ถึง = ๘๔,๐๐๐x๔ = ๓๓๖,๐๐๐ คน นี่คือโครงการไทย
เข้มแข็งที่จะถึงมือประชาชนอย่างแท้จริง อย่างน้องก็เป็นการสร้างงานช่วงก่อสร้าง และสร้างงานอย่าง
ถาวรให้แรงแรงในคร้วเรือนๆละ ๒ คน จะเป็นจำนวนคนที่มีงานทำตลอดปีถึง = ๘๔,๐๐๐x๒ =
๑๖๘,๐๐๐ คน ข้อดีอีกประการคือ ก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว ภายในฝนหน้า ความเดือดร้อน น้ำท่วม
น้ำแล้งก็จะหมดไป และรัฐก็ไม่ต้องไปควักเงินงบประมาณออกมาช่วยเหลือ แบบตกๆ หล่นๆ อีกต่อไป
และข่าวแบบไม่ตรงความจริงนี้ก็จะหมดไปจากหน้าหนังสือพิมพ์ (ความจริงน่าจะเป็น "น้ำมูน ครับ.)
น้ำชีนั้นจะไหลไปเชื่อมแม่น้ำมูล ที่อำเภอวารินชำราย จ.อุบลราชธานีโน่นครับ จะไปส้งผลกระทบบริ
เวณเหนือเขื่อนปากมูล และเหนือขึ้นมาบริเวณปากน้ำปาวเชื่อนแม่น้ำชี ที่อำเภอธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ดครับ.
ลูกหลานที่เข้ามาอ่านพบข้อมูลนี้ได้โปรดช่วยพิมพ์เอาไปให้คุณลุง คุณป้า คุณน้าคุณอาว์ และ
คุณพ่อคุณแม่ได้อ่านด้วย เพื่อท่านจะได้แนวคิดในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้ โดยเฉพาะ พี่น้อง
เกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราไศล จะได้คิดพื่งตนเองไปพร้อมๆกับการชุมนุมครับ.
ตราบไดที่พวกเรายังไม่มีการเมืองไหม่ คงจะต้อวยึดสภาษิตที่ว่า " ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" นะครับ.
อนึ่งสื่อกรุณาเชคข่าวให้ดีด้วยนะครับ ระวังคนลุ่มน้ำ ชี เขาจะแห่กันขึ้นมาประท้วง
ที่หน้าสำนักงานนะครับ นี่ยังโขคดี ที่พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาบริเวณ ลุ่มน้ำชี ก็ถูกผลกระทบน้ำ
จากเขื่อนไหลทะลังลงมาท่วมเช่นกันเหตุการๆชุมนุมจึงยังไม่เกิดขึ้นนะครับ.
ด้วยจิตรคารวะ
ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
หมายเหตุ งบไทยเข้มแข็งของกรมชลประทาน ๗๐,๐๐๐ ล้าน บาทเศษนั้นส่วนใหญ่จะนำไปทำ
โครงการขนาดใหญ่ ข้อมูลจากเว็บไซ๊ด์ไทยเข้มแข็ง พบว่า กำลังดำเนินการ กว่าจะริ่มได้
รัฐบาลนี้จะยังอยู่หรือเปล่าไม่ทราบ.(ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือโครงการปรับปรุงสัน
เขื่อนลำปาว ครม.สัญจรอนุมัติงบประมารไปเมื่อปี ๒๕๔๘ เพิ่งมาเริ่มก่อสร้างได้เมื่อ
ปลายปี ๒๕๕๐จะไปแล้วเสร็จเอาโน่น ต้นปี ๒๕๕๔ ครับ)และกระทรวงมรัพยากรธรรม
ชาติและสิ่งแวดล้อม ก็จะนำงบมหาศาล ไปทำโครงการผันน้ำโขง ถามว่า เมื่อไหร่ครับ
ไทยจึงจะเข้มแข็งและจะเอาน้ำที่ผันเข้ามาได้นั้นไปเก็บกักไว้ในเขื่อนไหน? ครับ ระวังน้ำ
ที่ผันเข้ามานั้นจะไปซ้ำเติมพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนซึ่งพวกเขายังชุมนุม
เรียกร้องให้เปิดประตูเขื่อนราษีไศล และเขื่อนปากมูงกันอยู่นะครับ/หรือว่า
" ประชาชนต้องมาทีหลัง" กันแน่ครับท่าน นายกฯ ครับ.
|
Hotmail: Trusted email with Microsoft's powerful SPAM protection. Sign up now.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น