เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
วันนี้ผมขออนุญาติ นำเสนอวิธีการทำนาแบบดั้งเดิม คือการทำนา
ดำนั่นเอง ความกมายของการไถแปร ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนรุ่นใหม่ที่คิดอยากทำนา
โดยเฉพาะ ในแปลงเกษตร ทฤษฎีใหม่ นะครับ.
ด้วยจิตรคารวะ
ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
|
การไถดะหมายถึง การไถครั้งแรกเพื่อทำลายวัชพืชในนาและพลิกกลับหน้าดิน แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ ๑ สัปดาห์ ที่มา : จากหนังสือ "ความรู้เรื่องข้าว" โดย ดร. ประพาส วีระแพทย์ สาขาคัดพันธุ์ต้านทานศัตรูข้าว กองการข้าว กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
2. การทํ านา
ประเทศไทยรับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก และผลิตข้าวเป็นสินค้าส่งออกด้วย มีพื้นที่ในการ
ทำ ข้าวอยู่โดยรอบอาณาเขต ของประเทศไทย แต่ที่ทํ ากันมากที่สุดอยู่บริเวณภาคกลางตอนบน ถึง
ภาคเหนือตอนล่าง ( อยุธยา ฯ ,สุโขทัย , พิษนุโลก ) และภาคอีสาน ( ขอนแก่น ,อุดรธานี ,หนองคาย ,
สกลนคร เป็นต้น )
การทํ านา หมายถึง การปลูกข้าวและการดูแลรักษาต้นข้าวในนา ตั้งแต่ปลูกไปจนถึงเก็บ
เกี่ยว การปลูกข้าวในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามสภาพของดินฟ้าอากาศและสังคมของท้อง
ถิ่นนั้น ๆ ในแหล่งที่ต้องอาศัยนํ้ าจากฝนเพียงอย่างเดียว ก็ต้องกะระยะเวลาการปลูกข้าวให้เหมาะสม
กับช่วงที่มีฝนตกสมํ่ าเสมอ และเก็บเกี่ยวในช่วงที่ฤดูฝนหมดพอดี เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นมีสภาพดิน
ฟ้าอากาศที่แตกต่างกัน
สํ าหรับการทํ านาในประเทศไทยมีปัจจัยหลัก 2 ประการ เป็นพื้นฐานของการทํ านาและเป็น
ตัวกํ าหนด
วิธีการปลูกข้าว และพันธุ์ข้าวที่จะใช้ในการทํ านาด้วยหลัก 2 ประการ คือ
1. สภาพพื้นที่ ( ลักษณะเป็นพื้นที่สูงหรือตํ่ า ) และภูมิอากาศ
2. สภาพนํ้ าสํ าหรับการทํ านา
ฤดูทํ านาปี ในประเทศไทยปกติจะเริ่มราวเดือนพฤษภาคมถึงกรกฏาคมของทุกปี ขึ้นอยู่กับ
ปริมาณนํ้ าฝนในแต่ละปี
เมื่อ 3 เดือนผ่านไป ข้าวที่ปักดํ าหรือหว่านเอาไว้จะสุกงอมเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว ส่วนนาปรัง
สามารถทํ าได้ตลอดปี เพราะพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง เมื่อข้าวเจริญเติบโตครบ
กํ าหนด อายุก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้
การทํ านามีหลักสํ าคัญ คือ
1. การเตรียมดิน ก่อนการทํ านาจะมีการเตรียมดินอยู่ 3 ขั้นตอน
การไถดะ เป็นการไถครั้งแรกตามแนวยาวของพื้นที่กระทงนา (กรณีที่แปลงนาเป็นกระทง
ย่อยๆ หลายกระทงในหนึ่งแปลงนา) เมื่อไถดะจะช่วยพลิกดินเพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศ
ออกซิเจน และเป็นการตากดินเพื่อทํ าลายวัชพืช โรคพืชบางชนิด การไถดะจะเริ่มทํ าเมื่อฝนตกครั้งแรก
ในปีฤดูกาลใหม่ หลังจากไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์
การไถแปร หลังจากที่ตากดินเอาไว้พอสมควรแล้ว การไถแปรจะช่วยพลิกดินที่กลบเอาขึ้น
การอีกครั้งเพื่อทํ าลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่ และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง จํ านวนครั้งของการไถแปร
จึงขึ้นอยู่กีบชนิดและปริมาณของวัชพืช ลักษณะดินและระดับนํ้ า ในพื้นที่ขึ้นอยู่กับปริมาณนํ้าฝนด้วยแต่โดยทั่วไปแล้วจะไถแปรเพียงครั้งเดียว
การคราด เพื่อเอาเศษวัชพืชออกจากกระทงนา และย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงอีก จนเหมาะ
แก่การเจริญของข้าว ทั้งยังเป็นการปรับระดับพื้นที่ให้มีความสมํ่ าเสมอ เพื่อสะดวกในการควบคุม ดู
แลการให้นํ้ า
2. การปลูก การปลูกข้าวสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง ได้แก่ การ
ทํ านาหยอดและนาหว่าน และ การเพาะเมล็ดในที่หนึ่งก่อน แล้วนํ าต้นอ่อนไปปลูกในที่อื่นๆ ได้แก่
การทํ านาดํ า การทํ านาหยอด ใช้กับการปลูกข้าวไร่ตามเชิงเขาหรือในที่สูง วิธีการปลูก หลังการ
เตรียมดินให้ขุดหลุมหรือทํ าร่อง แล้วจึงหยอดเมล็ดลงในหลุมหรือร่อง จากนั้นกลบหลุมหรือร่อง เมื่อ
ต้นข้าวงอกแล้วต้องดูแลกํ าจัดวัชพืชและศัตรูพืช
การทํ านาหว่าน ทํ าในพื้นที่ควบคุมนํ้ าได้ลํ าบาก
วิธีหว่าน ทํ าได้ 2 วิธี คือ การหว่านข้าวแห้งและการหว่านข้าวงอก
การหว่านข้าวแห้ง แบ่งตามช่วงระยะเวลาของการหว่านได้ 3 วิธี คือ
การหว่านหลังขี้ไถ ใช้ในกรณีที่ฝนมาล่าช้าและตกชุก มีเวลาเตรียมดินน้อย จึงมีการไถดะ
เพียงครั้งเดียว และไถแปรอีกครั้งหนึ่ง แล้วหว่านเมล็ดข้าวลงหลังขี้ไถ เมล็ดพันธุ์อาจเสียหายเพราะ
หนู และอาจมีวัชพืชในแปลงนามาก
การหว่านคราดกลบ เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด จะทํ าหลังจากที่ไถแปรครั้งสุดท้ายแล้วคราด
กลบ จะได้ต้นข้าวที่งอกสมํ่ าเสมอ
การหว่านไถกลบ มักทํ าเมื่อถึงระยะเวลาที่ต้องหว่าน แต่ฝนยังไม่ตกและดินมีความชื้นพอ
ควร หว่านเมล็ดข้าวหลังขี้ไถแล้วไถแปรอีกครั้ง เมล็ดข้าวที่หว่านจะอยู่ลึกและเริ่มงอกโดยอาศัย
ความชื้นในดิน
การหว่านข้าวงอก (หว่านนํ้ าตม) เป็นการหว่านเมล็ดข้าวที่ถูกเพาะให้รากงอกก่อนที่จะนํ า
ไปหว่าน ในที่ที่มีนํ้ าท่วมขัง เพราะหากไม่เพาะเมล็ดเสียก่อน เมื่อหว่านแล้วเมล็ดข้าวอาจเน่าเสียได้
การเพาะข้าวทอดกล้า ทํ าโดยการเอาเมล็ดข้าวใส่กระบุง ไปแช่นํ้ าเพื่อให้เมล็ดที่มีนํ้ าหนักเบา หรือลีบ
ลอยขึ้นมาแล้วคัดทิ้ง แล้วนํ าเมล็ดถ่ายลงในกระบุงที่มีหญ้าแห้งกรุไว้ หมั่นรดนํ้ าเรื่อยไปอย่าให้ข้าว
แตกหน่อ แล้วนํ าไปหว่านในที่นาที่เตรียมดินไว้แล้วการทํ านาดํ า เป็นการปลูกข้าวโดยเพาะเมล็ดให้
งอกและเจริญเติบโตในระยะหนึ่ง . แล้วย้ายไปปลูกในที่หนึ่ง สามารถควบคุมระดับนํ้ า วัชพืชได้ การทํา
นาดําแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน คือ
การตกกล้า เพาะเมล็ดข้าวเปลือกให้มีรากงอกยาว 3 - 5 มิลลิเมตร นํ าไปหว่านในแปลงกล้า
ช่วงระยะ 7 วันแรก ต้องควบคุมนํ้ าไม่ให้ท่วมแปลงกล้า และจะสามารถถอนกล้าไปปักดําได้เมื่อมีอายุ
ประมาณ 20 - 30 วัน
การปักดํา ชาวนาจะนํากล้าที่ถอนแล้วไปปักดําในแปลงปักดํา ระยะห่างระหว่างกล้าแต่ละ
หลุมจะมีความแตกต่างกันขึ้นกับลักษณะของดิน คือ ถ้าเป็นนาลุ่มปักดํ าระยะห่าง เพราะข้าวจะแตก
กอใหญ่ แต่ถ้าเป็นนาดอนปักดํ าค่อนข้างถี่ เพราะข้าวจะไม่ค่อยแตกกอ (อ้างอิง: www.thairice.org)
วิธีการปักดํ าจากการตกกล้า
1. ขั้นแรกทํ าการแช่ตอกในนํ้ าเพื่อใช้มัดต้นกล้า
1.1. หลังจากต้นกล้าที่มีอายุ 20 –30 วัน ( ขนาดของความสูงต้นกล้า 1 – 1.5 ศอก ) ก็ทํา
การถอนโดยในนานั้นมีนํ้ าท่วมขังอยู่ประมาณ 5 – 8 นิ้ว เพื่อใช้ในการตีโคลนออกจากรากของกล้า
1.2. ถอนต้นกล้าให้ได้ขนาด เท่ากับ 1 กํ ามือ (รวมกันให้ได้ 3-5 กํ ามือ ) จุ่มนํ้ า หมุนวน
โดยรอบบริเวณรากกล้า แล้วยกขึ้นใช้เท้าตี จนโคลนออก ( ทํ าซํ้ า 2 – 3 ครั้ง ) ไม่ควรตีโคลนออกจน
ต้นกล้าชํ้า แล้ววางลอยไว้ที่นํ้า เพื่อต้นกล้าจะได้ไม่เหี่ยวเฉาตาย แล้ว
ทํ าการถอนกล้า ต่อไปเรื่อย ๆ เพียงพอต่อความต้องการในการปักดํา
1.3. รวมต้นกล้าเข้าเป็นมัด ๆ โดยใช้ตอกที่ทํ าจากไม้ไผ่แช่นํ้ าแล้ว มัดไว้ 3 / 4 ส่วนของต้นกล้า
1.4. เมื่อได้ต้นกล้าเป็นมัดแล้วจุ่มนํ้ าไว้เหมือนเดิม และใช้มีดทํ าการตัดปลายข้าวออก
โดยยึดเอาจากปลายข้าวส่วนที่มีตอกมัดอยู่ 3 – 5 เซนติเมตร เป็นเกณฑ์ (หมายถึง ข้าว = 4 ส่วน แต่ตัดปลายออก = 1 ส่วน)
2. หลังจากได้มัดกล้าแล้ว ก็หาบไปวางไว้ที่จะปักดํ า โดยไม้คันหลาว* ( ไม้คันหลาว คือ ไม้ไผ่ ที่ชาวนาตัดมาเพื่อหาบข้าว เป็นลักษณะยาวเรียว 2 – 3 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 นิ้วสามารถรองรับนํ้าหนักของต้นกล้าได้ )
2.1. หาบมัดกล้าวางไว้ในพื้นที่การปักดํ า ให้มีระยะห่าง 1 เมตร / 2 – 3 มัดกล้า
2.2. วางมัดกล้าให้รอบบริเวณการปักดํ า
3. หลังมีมัดกล้าแล้วก็จะทํ าการปักดํา โดยใช้มือที่ถนัด อุ้มมัดกล้าไว้ อีกมือคลี่มัดกล้าออก
3 – 5 ต้น แล้ว ปักดํ า กะระยะห่างของต้นกล้าใหม่ราวๆ 1 ฝ่ามือ ชาวนามีคํ าพูดกันว่า (ปัก) ดํ าถี่ได้
ฟาง ดําห่างได้รวงข้าว" ฉะนั้น การปักดํ าจึงมีความสํ าคัญมากเพราะหมายถึงผลผลิตข้าวทั้งหมด
Your E-mail and More On-the-Go. Get Windows Live Hotmail Free. Sign up now.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น