ข้อมูลเพิ่มเติมของการเลี้ยงเป็ดในนาข้าว.

on วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
 
             ข้อมูลเพิ่มเติมของการเลี้ยงเดในนาข้าวครับ.
 
                            ด้วยจิตรคารวะ
 
                   ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 
 
 
 
 
 
 

หลักสูตร: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเกษตรผสมผสาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

วิชา: 1211730 สัมมนา

ปีการศึกษา: 2544

เรื่อง: ความเป็นไปได้ในการเลี้ยงเป็ดในนาข้าวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมี

นักศึกษา: นางอภิษฐา จำปากุล

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์: apistha@agri.ubu.ac.th

ที่ปรึกษา: รศ.ดร.กิตติ วงส์พิเชษฐ

 

บทคัดย่อ

การเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีทำได้โดยการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน ที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไปคือ การใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ การเลี้ยงเป็ดในนาข้าวร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีน่าจะเป็นแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมี เนื่องจากขณะที่เป็ดหากินในนาข้าว เป็ดจะถ่ายมูลลงไปในนาด้วย การสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและนำเสนอแนวคิดถึงความเป็นไปได้ในการเลี้ยงเป็ดในนาข้าวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมี โดยศึกษาจากเอกสารวิชาการ ผลงานวิจัย และเก็บข้อมูลจากเกษตรกรที่เลี้ยงเป็ดในนาข้าว จากข้อมูลที่ศึกษาและความเห็นของผู้สัมมนาเห็นว่า มีความเป็นไปได้ในการเลี้ยงเป็ดในนาข้าวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมี การเลี้ยงเป็ดในนาข้าวอัตรา 20 ตัว/ไร่ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ สามารถเพิ่มมูลเป็ดเปียก 281 กิโลกรัม/ไร่ เป็นการเพิ่มธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม จำนวน 0.7, 1.1 และ 0.3 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ เป็ดยังช่วยกำจัดหอยเชอรี่และวัชพืช ทำให้ข้าวสามารถใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้น เป็ดยังเป็นอาหารโปรตีน และเกษตรกรสามารถจำหน่ายเป็ดเป็นรายได้เสริมแก่ครอบครัวได้ด้วย

 

คำสำคัญ: การเลี้ยงเป็ดในนาข้าว, ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยคอก


 

คำนำ

           เกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนมากปลูกข้าวเหนียวเพื่อบริโภคในครอบครัวเป็นหลัก หากเหลือจากบริโภคจึงขาย แต่ดินนาในภาคนี้ส่วนใหญ่เป็นดินทราย ความอุดมสมบูรณ์และปริมาณ อินทรีย์วัตถุในดินต่ำ ทำให้ดินดูดซับธาตุอาหารได้น้อย นอกจากนั้น การทำนาที่อาศัยน้ำฝนไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำได้ จึงทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ จากสถิติของผลผลิตข้าวในปี 2544 เฉลี่ยประมาณ 310 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งต่ำกว่าทุกภาคของประเทศไทย คือของภาคกลางประมาณ 489 กิโลกรัม/ไร่ ภาคเหนือประมาณ 446 กิโลกรัม/ไร่ ภาคใต้ประมาณ 362 กิโลกรัม/ไร่ (สำนักงานเศรษฐกิจเกษตร, 2544)  ดังนั้น จึงควรมีการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ข้าว วิธีที่สะดวกและรวดเร็ว คือการใส่ปุ๋ยเคมี เพราะใช้ปริมาณน้อย ประมาณ 25-35 กิโลกรัม/ไร่ ทำให้สะดวกในการปฏิบัติ แต่เนื่องจากปุ๋ยเคมีมีราคาแพงเมื่อเทียบกับราคาผลผลิตที่ได้ คือประมาณ 300-450 บาท/50 กิโลกรัม นอกจากนี้ ถ้าหากนำมาใช้กับดินทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของพืชก็จะต่ำด้วย เนื่องจากปุ๋ยเคมีจะถูกชะล้างไปกับน้ำได้ง่าย การผสมผสานการใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอก น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของดินในระยะยาว (โยธิน, 2542) กล่าวคือ ปุ๋ยเคมีจะช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้ดิน ในขณะที่ปุ๋ยคอกจะช่วยเสริมสร้างระดับอินทรีย์วัตถุ รวมทั้งคุณสมบัติทางกายภาพและชีวภาพของดินด้วย แต่ปัจจุบันการลดลงของจำนวนสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงไว้ใช้งาน เช่น โค และกระบือ ได้ลดจำนวนลงเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา จนถึงปี 2542 จำนวนกระบือได้ลดลงประมาณร้อยละ 33 (สำนักงานเศรษฐกิจเกษตร, 2544) โดยเกษตรกรส่วนมากได้นำเครื่องจักรกลการเกษตรมาทดแทนการใช้แรงงานจากสัตว์ เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังไม่ต้องคอยดูแลเหมือนสัตว์เลี้ยง จึงทำให้เกษตรกรสูญเสียแหล่งของปุ๋ยอินทรีย์ที่จะนำมาใช้ปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ถ้าหากต้องซื้อปุ๋ยคอกมาใช้ก็เป็นการยุ่งยากและไม่คุ้มค่า เนื่องจากในการใช้ปุ๋ยคอกต้องใช้ปริมาณมากเพื่อให้ได้ปริมาณธาตุอาหารเทียบเท่ากับปุ๋ยเคมี ดังเช่นถ้าใส่ปุ๋ยมูลไก่อย่างเดียวในนาข้าว ต้องใส่ประมาณ 600-1,200 กิโลกรัม/ไร่ หรือถ้าใส่ปุ๋ยมูลโค จะใส่ประมาณ 1,500-3,000 กิโลกรัม/ไร่ (อนนท์ และคณะ, 2533) เมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมีที่ใส่เพียง 25-35 กิโลกรัม/ไร่ (กรมวิชาการเกษตร, 2536)

การทำเกษตรผสมผสานระหว่างพืชกับสัตว์ เป็นรูปแบบที่สอดคล้องกับสมดุลของแร่ธาตุและพลังงาน มีการเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมการผลิตมากขึ้น และใกล้เคียงกับระบบนิเวศธรรมชาติที่สุด (เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, 2535) เพราะการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ จะได้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยให้แก่พืช และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน ทำให้ประสิทธิภาพการใช้ธาตุอาหารดีขึ้น ดังเช่นอุดม และคณะ (2541) ได้ศึกษาการใช้ปุ๋ยมูลเป็ดในพื้นที่ปลูกอ้อยที่มีสภาพดินร่วนทราย ระยะเวลา 3 ปี พบว่า การใส่ปุ๋ยมูลเป็ดอัตรา 500 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ และ 50 กิโลกรัม/ไร่ ได้ผลผลิตไม่แตกต่างกันคือ 6.9  และ 6.7 ตัน/ไร่ ตามลำดับ ชี้ให้เห็นว่า การเลี้ยงเป็ดในนาข้าวน่าจะเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีของข้าว การสัมมนาครั้งนี้จึงได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวคิดความเป็นไปได้ในการเลี้ยงเป็ดในนาข้าว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี และเพื่อเป็นแนวทางให้เกษตรกรที่มีสภาพเงื่อนไขที่เหมาะสมนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป    

 

การศึกษา

          เพื่อที่จะทราบว่าการเลี้ยงเป็ดในนาข้าวจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีได้หรือไม่ จำเป็นจะต้องทราบปริมาณและธาตุอาหารในมูลเป็ด  ความต้องการธาตุอาหารของข้าว สภาพดินที่ใช้ปลูกข้าว และข้อดีข้อเสียของการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอก  ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไปนี้

 

ปริมาณและธาตุอาหารในมูลเป็ด และการเจริญเติบโตของเป็ด

เป็ดที่เลี้ยงในประเทศไทยเป็นเป็ดบ้าน (Anas domestic) แยกเป็นสองประเภท คือ เป็ดไข่ และเป็ดเนื้อ เนื่องจากเป็ดกินปลา แมลง และสัตว์เล็กๆ มากกว่ากินพืช นอกจากนั้นมูลและปัสสาวะของเป็ดจะถูกขับถ่ายร่วมกัน จึงทำให้มูลเป็ดมีความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมสูง (ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541) ดังข้อมูลในตารางที่ 1 และเนื่องจากน้ำหนักของเป็ดมีความสัมพันธ์กับปริมาณมูลเป็ด คือเมื่อเป็ดมีน้ำหนักมากขึ้นปริมาณมูลก็จะมากขึ้นด้วย จึงได้แสดงข้อมูลการเจริญเติบโตของเป็ด ตามรูปที่ 1

 

ตารางที่ 1 ปริมาณมูลเป็ดที่ขับถ่ายต่อวัน และร้อยละของธาตุอาหารที่สำคัญในมูลเป็ดไข่

                 (คำนวณจากน้ำหนักมูลแห้ง)

ปริมาณมูล/วัน

     N (%)

   P2O5 (%)

    K2O5 (%)

น้ำหนักเปียก (กรัม/ตัว)

น้ำหนักแห้ง (กรัม/ตัว)

 

 

 

234.4

22.1

0.8 - 3.7

2.7 - 6.9

0.5 -1.9

ที่มา: ดัดแปลงจาก กาญจนา และคณะ (2544); ภาควิชาปฐพีวิทยา (2541) และ Kiss and Peker, n.d.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อายุ (สัปดาห์)

Text Box: น้ำหนักมูลเป็ดแห้ง (กรัม/ตัว)Text Box: น้ำหนักเป็ด (กรัม/ตัว) 

 

 

 

 

 

 

 

 


        รูปที่ 1  การเจริญเติบโตของเป็ด และปริมาณมูลเป็ดแห้ง

         ที่มา: ดัดแปลงจาก กาญจนา และคณะ (2544); ภาควิชาปฐพีวิทยา (2541) และ Kiss and Peker, n.d.

 

ความต้องการธาตุอาหารและการเจริญเติบโตของข้าว

          ข้าวเป็นพืชล้มลุก ในปัจจุบันมีการปลูกกันอยู่สองชนิด คือ Oryza sativa L. ปลูกมากในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย และ Oryza glaberrima Steud ปลูกที่อาฟริกาตะวันตก การเจริญเติบโตของข้าวแบ่งได้เป็นสามระยะคือ การเจริญเติบโตทางลำต้น (vegetative phase) การเจริญเติบโตช่วงสืบพันธุ์ (reproductive plase) และการเจริญเติบโตระยะสุกแก่ของเมล็ด (ripening plase) การเจริญเติบโตของข้าวทั้งสามระยะจำเป็นต้องใช้ธาตุอาหารรวม 16 ธาตุ ดังแสดงในตารางที่ 2

 
   ตารางที่ 2 ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าว

ธาตุอาหารที่ข้าวต้องการปริมาณมาก

ธาตุอาหารที่ข้าวต้องการปริมาณน้อย

ได้จากดิน

ได้จากอากาศและน้ำ

ได้จากดิน

คาร์บอน (C)

ไฮโดรเจน (H)

ออกซิเจน (O)

ไนโตรเจน (N )

ฟอสฟอรัส (P )

โปแตสเซียม (K )

แคลเซียม (Ca)

แมกนีเซียม (Mg)

กำมะถัน (S )

                   เหล็ก (Fe)

                   แมงกานีส (Mn)

                   โบรอน (B)

                   โมลิบดินัม (Mo)

                    ทองแดง (Cu)

                    สังกะสี (Zn)

                    คลอรีน (Cl )

        ที่มา:  วิทยา (2535)

จากตารางที่ 2 จะเห็นว่าธาตุอาหารที่ข้าวต้องการปริมาณมาก มีจำนวนเก้าธาตุ สามธาตุแรกคือธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ซึ่งข้าวได้รับเพียงพอจากน้ำและอากาศ ส่วนธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ในดินทั่วไปมักจะมีธาตุทั้งสามนี้น้อย ไม่พอกับความต้องการของข้าว หรือถึงจะมีอยู่มาก แต่อยู่ในรูปที่ข้าวใช้ไม่ได้ ส่วนธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก แมงกานีส โบรอน โมลิบดินัม ทองแดง สังกะสี และคลอรีน มีเพียงพอในดินทั่วไป จากการศึกษาของดวงใจ และคณะ (2541; อ้างโดยโยธิน, 2542) พบว่าดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณธาตุไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมต่ำ ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของข้าว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเพิ่มให้โดยการใส่ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์ ตามความต้องการของข้าว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าว ชนิดของดินที่ใช้ปลูกข้าว และความต้องการธาตุอาหารของข้าว ข้าวต้องการธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ตามระยะการเจริญเติบโตดังรูปที่ 2

 

อายุหลังปักดำ (สัปดาห์)

Text Box: น้ำหนัก (ก.ก./ไร่) 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


         รูปที่ 2  ความต้องการธาตุอาหารของข้าว กข 8

           ที่มา: ดัดแปลงจากศักดิ์ดา และคณะ (2542) และ Yoshida (1981)


 

 

 

 


 

 

 


ข้อดีและข้อเสียของปุ๋ยเคมี  ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมัก

ข้อดีของปุ๋ยเคมี

          1. พืชใช้ธาตุอาหารจากปุ๋ยได้ทันที จึงให้ผลเร็ว

          2. มีราคาถูกเมื่อคิดเทียบจากปริมาณของธาตุอาหารที่มีในปุ๋ย

          3. ค่าขนส่งถูกกว่า ปริมาณที่ใส่น้อย แต่มีความเข้มข้นของธาตุอาหารสูง

ข้อเสียของปุ๋ยเคมี

          1. มีธาตุอาหารที่พืชต้องการอยู่ในปุ๋ยไม่ครบถ้วน

2. มีอิทธิพลต่อคุณสมบัติทางเคมีของดิน เช่น เมื่อใส่ปุ๋ยยูเรีย แอมโมเนียมซัลเฟต และแอมโมเนียมฟอสเฟตไปนานๆ จะทำให้ดินมีความเป็ดกรดมากขึ้น

3. มีอิทธิพลต่อคุณสมบัติทางชีวภาพของดิน คือจะไปเร่งการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุในดิน และ       ทำให้จุลินทรีย์บางชนิดที่อาศัยอยู่ในดินลดลง

          4. มีราคาแพง หากเทียบจากปริมาณของเนื้อปุ๋ย และต้องซื้อมาใช้อยู่เสมอ

5. การใส่ปุ๋ยเคมีที่มีประสิทธิภาพต้องแบ่งใส่ทีละน้อย หลายๆครั้ง จึงทำให้ใช้แรงงานมาก

6. การสูญเสียธาตุอาหารโดยการถูกชะล้างจากดินมีมาก โดยเฉพาะในสภาพนาดินทรายและ      ร่วนปนทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อดีของปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก

          1. มีธาตุอาหารที่พืชต้องการอยู่เกือบครบถ้วน

2. เพิ่มความสามารถของดินในการอุ้มน้ำและดูดซับธาตุอาหารไว้ในดิน ไม่ให้ถูกชะล้างไปจาก       ดิน และทำให้ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ดินทรายอุ้มน้ำได้ดีขึ้น และทำให้ดินเหนียวร่วนซุย มีการระบายน้ำและอากาศดีขึ้น

          3. เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน และทำให้จุลินทรีย์ในดินเพิ่มขึ้น

          4. หาได้ค่อนข้างง่ายจากคอกสัตว์เลี้ยงทั่วไป

          6. การสูญเสียธาตุอาหารโดยการชะล้างออกจากดินมีน้อย

ข้อเสียของปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก

          1. ธาตุอาหารในปุ๋ยคอกมีปริมาณน้อย

          2. ใช้เวลานานกว่าที่พืชจะได้ใช้ธาตุอาหารจากปุ๋ย จึงเห็นผลช้า

          3. มีราคาแพง เมื่อคิดราคาจากปริมาณของธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ย

          4. ค่าขนส่งแพง เนื่องจากต้องใช้เนื้อที่มากในการขนส่ง และต้องใช้ปริมาณปุ๋ยที่ใส่มาก

 

 

 

การสูญเสียธาตุอาหารจากการใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวและแนวทางแก้ไข

          เนื่องจากดินนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินทรายหรือดินร่วนปนทราย ซึ่งมีองค์ประกอบของเนื้อดินเป็นทราย (sand) มาก เมื่อใส่ปุ๋ยเคมี จึงไม่ยึดจับธาตุอาหาร ทำให้ธาตุอาหารถูกชะล้างไปกับน้ำได้ง่าย ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ เกษตรกรไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำได้ เนื่องจากอาศัยน้ำฝนในการทำนา บางครั้งฝนตกหนักก็อาจทำให้น้ำไหลบ่าไปตามแนวราบได้ ทำให้ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีต่ำ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี ทำได้โดยการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี เพราะปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน และอินทรีย์วัตถุช่วยเพิ่มความจุในการดูดซับธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ไม่ให้สูญหายไปโดยการชะล้าง และช่วยป้องกันมิให้ปุ๋ยที่ใส่ในดินถูกตรึง และมีโอกาสที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้มากและนานขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้โปร่งร่วนซุย มีการถ่ายเทน้ำและอากาศดีขึ้น ส่งเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ดินที่เป็นประโยชน์ และเพิ่มความต้านทานความเป็นกรด เป็นด่างของดิน

 

การปล่อยเป็ดเลี้ยงในนาข้าว

          จากข้อมูลปริมาณและธาตุอาหารในมูลเป็ดตามตารางที่ 1 และข้อดีข้อเสียของการใส่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอก  หากนำเป็ดจำนวน 20 ตัว ปล่อยเลี้ยงในนาข้าวพื้นที่หนึ่งไร่ ตามคำแนะนำของวิฑูรย์ (2530)  เนื่องจากปกติการเลี้ยงเป็ดเนื้อและเป็ดไข่ ใช้อัตรา 7 และ 4-5 ตัว/ตารางเมตร ตามลำดับ (กระจ่าง, 2545) เมื่อนำมาเลี้ยงในนาข้าว ซึ่งในหนึ่งตารางเมตรมีต้นข้าวประมาณ 16 กอ จึงต้องเพิ่มพื้นที่ต่อตัวเป็ดมากขึ้นด้วย จากการนำเป็ดเลี้ยงในนาข้าวจำนวน 20 ตัว/ไร่ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ ในระยะเวลา 60 วัน คือปล่อยเป็ดเลี้ยงเมื่อเป็ดมีอายุ 20 วัน และข้าวหลังปักดำ 20 วันจนถึงข้าวออกรวง ตามรูปที่ 3 จะสามารถเพิ่มปริมาณมูลเป็ดเปียก และเพิ่มธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมให้แก่ข้าว ตามตารางที่ 3

รูปที่ 3  ระยะเวลาที่เป็ดอยู่ในนาข้าว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                  ตารางที่ 3 ปริมาณมูลเป็ดและธาตุอาหารในมูลเป็ดจำนวน 20 ตัว เป็นเวลา 60วัน

ปริมาณมูลเป็ดเปียก

ปริมาณธาตุอาหารในมูลเป็ด (ก.ก./ไร่)

N

P2O5

K2O

281.2

0.7

1.1

0.3

         

          จากรูปที่ 3 และตารางที่ 3 การเลี้ยงเป็ดในนาข้าวจำนวน 20 ตัว/ไร่ สามารถเพิ่มปริมาณมูลเป็ดเปียก 281 กิโลกรัม/ไร่ สอดคล้องกับคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร (2536) ที่ได้แนะนำไว้ว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีแต่ละครั้งไม่ควรต่ำกว่า 200-300 กิโลกรัม/ไร่ และเมื่อดินมีอิทรีย์วัตถุมากขึ้นจะทำให้เพิ่มความสามารถของดินในการดูดยึดธาตุอาหารไว้ในดินไม่ให้ถูกชะล้างไปจากดิน ช่วยป้องกันมิให้ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินถูกตรึง และมีโอกาสเป็นประโยชน์ต่อพืชมากและนานขึ้น ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้โปร่งร่วนซุย มีการถ่ายเทน้ำและอากาศดีขึ้น ทำให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น ส่งเสริมการทำงานของ     จุลินทรีย์ดินที่เป็นประโยชน์ เพิ่มความต้านทานการเปลี่ยนแปลงความเป็ดกรด-ด่างของดิน นอกจากนี้ การเลี้ยงเป็ดในนาข้าวยังสามารถเพิ่มธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม จำนวน 0.7, 1.1 และ 0.3 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ และยังเพิ่มธาตุอาหารรองและจุลธาตุแก่ข้าวด้วย ถึงแม้ปริมาณไม่มาก แต่ก็มีเกือบครบถ้วน จากการศึกษาของประเสริฐ และวิทยา (2536) ได้ศึกษาการใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี ระหว่างปี 2521-2528 พบว่าการใช้ปุ๋ยคอกอัตรา 400 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ร้อยละ 50-100 การใช้ปุ๋ยคอกในช่วงระยะ 2-3 ปีแรกมักไม่ปรากฏผลเด่นชัดนัก เมื่อใส่ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะให้ผลดีทั้งปรับปรุงคุณสมบัติของดินและเพิ่มผลผลิตข้าว  นอกจากนี้ การเลี้ยงเป็ดในนาข้าวยังได้อาหารโปรตีนจากเป็ดและขายเป็นรายได้เสริมแก่ครอบครัวได้ด้วย

นอกจากประโยชน์จากธาตุอาหารที่ได้จากมูลเป็ดแล้ว เป็ดยังสามารถกำจัดวัชพืชในนาข้าว (คมสัน และประสาน,  2541) ทำให้ลดปริมาณวัชพืชในนาข้าว ข้าวจึงสามารถใช้ประโยชน์จากธาตุอาหารได้เต็มที่ เพราะไม่มีวัชพืชแย่งธาตุอาหาร จากการสอบถามเกษตรกรที่ปล่อยเป็ดเลี้ยงในนาข้าวในเขตอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าเป็ดสามารถกำจัดหอยเชอรี่ในนาข้าวได้ สอดคล้องกับชมพูนุชและทักษิณ (2542) ที่ปล่อยเป็ดเก็บกินหอยขนาดเล็กในนาที่เหลือจากการใช้แรงงานคนเก็บ การกำจัดวัชพืชและแมลงศัตรูข้าวเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ธาตุอาหารจากปุ๋ยเคมีของข้าวด้วยเช่นกัน แต่การเลี้ยงเป็ดในนาข้าวก็มีข้อจำกัด คือ หากที่พักไม่อยู่ในบริเวณนา หรือใกล้บริเวณนา อาจทำให้ยุ่งยากในการต้อนเป็ดลงไปเลี้ยงในแปลงนา และจากการสอบถามเกษตรกรที่ปล่อยเป็ดเลี้ยงในนาข้าวเขตอำเภอพิบูลมังสาหาร พบว่าเป็ดจะกินรวงข้าวอ่อนจนถึงช่วงเมล็ดแก่ โดยจะกินรวงข้าวอ่อนมากกว่า ดังนั้น ในช่วงข้าวออกรวง จึงควรงดปล่อยเป็ดเลี้ยงในนาข้าว

 

 

สรุป

มีความเป็นไปได้ในการเลี้ยงเป็ดในนาข้าวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมี เนื่องจากการเลี้ยงเป็ดในนาข้าวอัตรา 20 ตัว/ไร่ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ จะสามารถเพิ่มปริมาณมูลเป็ดเปียกให้แก่ดิน 281 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อดินมีอินทรีย์วัตถุมากขึ้น จะทำให้เพิ่มความสามารถของดินในด้านการดูดยึดธาตุอาหารไว้ในดิน ไม่ให้ถูกชะล้างไปจากดินได้ง่าย ต้านทานการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด-ด่างของดิน ทำให้ดินทรายอุ้มน้ำได้ดีขึ้น ดินเหนียวร่วนซุยขึ้น เพิ่มธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมให้แก่ข้าว จำนวน 0.7, 1.1 และ 0.3 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ เป็ดในนาข้าวยังช่วยกำจัดวัชพืชและศัตรูของข้าว เมื่อข้าวไม่มีวัชพืชคอยแย่งธาตุอาหารและไม่มีศัตรูทำลาย จึงทำให้การใช้ปุ๋ยของข้าวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  นอกจากนั้น เกษตรกรยังได้อาหารโปรตีนจากเป็ด และสามารถขายเป็ดเป็นรายได้เสริมแก่ครอบครัวอีกด้วย

 

เอกสารอ้างอิง

กระจ่าง  วิสุทธารมณ์. 2545.  การเลี้ยงเป็ด [http://web.ku.ac th/agri/duck 2-2.htm.] เมษายน  2545.

กาญจนา  บันสิทธิ์,  ธีระพล  บันสิทธิ์,  วริษา  สินทวีวรกุล,  วิชาญ  แก้วเลื่อน และนิภาพรรณ  สิงห์ทอง

ลา. 2544. การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางเศรษฐกิจของเป็ดเทศและเป็ดพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในสภาพการเลี้ยงแบบขัง, โครงการวิจัยหมวดเงินอุดหนุนทั่วไป งบประมาณปี 2542/43. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  20 หน้า.

กรมวิชาการเกษตร. 2540  เอกสารวิชาการ ทิศทางการใช้ปุ๋ยเพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน. กระทรวง

เกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 140 หน้า.

กรมวิชาการเกษตร.  2536. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรการใช้ปุ๋ยกับพืชต่างๆ รุ่นที่ 1 เล่มที่ 3,

ระหว่างวันที่ 25-27 สิงหาคม.  กองปฐพี  กรมวิชาการเกษตร. หน้า 1-72.

ภาควิชาปฐพีวิทยา.  2541.  ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 547 หน้า.

คมสัน  นครศรี  และประสาน  วงศาโรจน์.  2541.  การควบคุมวัชพืชด้วยการเลี้ยงเป็ดในข้าวนาดำ.  แก่น

เกษตร.  26(2) : 101-108.

เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก.  2535.  เกษตรกรรมทางเลือก หนทางรอดของเกษตรกรรมไทย. เครือข่าย

เกษตรกรรมทางเลือก, กรุงเทพฯ.  หน้า  69-81.

ชมพูนุช  จรรยาเพศ  และทักษิณ  อาชวาคม.  2542.  หอยเชอรี่.  เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาหอย

เชอรี่, วันที่ 24 กันยายน 2542.  ณ โรงแรมโซฟิเทล ราชา ออคิด ขอนแก่น. หน้า 1-14.

โยธิน  คนบุญ,  2542.  การสัมมนาวิชาการข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วันที่ 10-11 สิงหาคม 2542.

โรงแรมลายทอง จังหวัดอุบลราชธานี.  หน้า 96-106.

 

 

วิทยา  ศรีทานันท์.  2535. การใช้ปุ๋ยกับข้าว  เทคโนโลยีการปลูกข้าวที่อาศัยน้ำฝน. โครงการพัฒนาข้าวใน

เขตเกษตรล้าหลัง, สถาบันวิจัยข้าว. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ.  หน้า 61-70.

วิฑูรย์  เลี่ยนจำรูญ. 2530. การเกษตรแบบผสมผสาน โอกาสสุดท้ายของเกษตรกรรมไทย. หน้า 111-114.

ศักดิ์ดา  จงแก้ววัฒนา.  จิรวัฒน์  เวชแพศ   และอานันท์  ผลวัฒนะ.  2542.  การประเมินค่าสัมประสิทธิ์ทาง

พันธุกรรมของข้าวโดยใช้ Genotype Coefficient Calculator (GENCALC), รายงานความก้าวหน้า ฉบับที่ 4 โครงการวิจัยระบบสนับสนุนการตัดสินการผลิตพืช: ข้าวในภาคเหนือ. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  หน้า 97.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.  2544.  สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปีเพาะปลูก 2543/44 ศูนย์สารสน

เทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ.

อุดม  รัตนารักษ์,  ปรีชา  ประจวบเหมาะ  และสมภพ  จงรวยทรัพย์.  2541. ประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีและ

ปุ๋ยมูลเป็ดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในภาคตะวันออก, การใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับพืชไร่เศรษฐกิจ. กองปฐพี กรมวิชาการเกษตร. 32 หน้า.

อนนท์  สุขสวัสดิ์,  พนัส  สุวรรณธาดา และดิเรก  อินตาพรม.  2537.  อิทธิพลของปริมาณและระยะเวลา

ในการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว. วารสารวิชาการเกษตร.  12(2): 94-100.

อุดร  ส่งพุ่ม.  ม.ป.ป.  การเลี้ยงเป็ดไข่.  โครงการหนังสือเกษตรชุมชน. 72 หน้า.

อรรควุฒิ  ทัศน์สองชั้น.  ม.ป.ป.  เรื่องของข้าว (rice story).  ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตร มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์. หน้า 84-105.

Kiss, L. and Peker, F. n.d.  Effective Manure Production of Fishpond Raised Ducks, Integrated Fish

Farming.  Hu Baotong P. 157-162.

Yoshida, S. 1981. Fundamentals of Rice. Crop Science International Rice Research Institute, LosBanos,

Laguna Philipines P. 128-129.



Microsoft brings you a new way to search the web. Try Bing™ now

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น