เรื่องที่อยากให้อ่าน "ตะเกียงเจ้าพายุ" ดำเนินรายการโดยหนูเล.

on วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนที่นับถือ.
 
            ก่อนอื่นผมต้องขออนุญาติคุณหนูเล ด้วยนะครับ เพื่อพี่น้องเกษตรกร/ชาวนา
 
ผู้ที่ไม่เคยเห็นตะเกียงเจ้าพายุ เพราะเกิดไม่ทันยุคนั้น จะได้มีข้อมูลในการคิดต่อยอดใช้
 
พลังงานทดแทน เช่น ไบโอก๊าซ/หรือแอลกอฮอล์จากมันสำปะหลัง ซึ่งจะได้ประโยชน์
 
สองอย่างคือ ได้ใช้พลังงานทดแทนราคาถูก และเป็นการเพิ่มมูลค่าหัวมันสดอีกด้วยครับ.
 
            อนึ่งหม้อต้มไทยทำนั้น ไปหาซื้อได้วัดป่ามณีย์กาญจน์ จ.นนทบุรี ที่ท่านเจ้อา
 
ได้ค้นคิดขึ้นใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพรถยนต์ดีเซลล์ และลดควันดำได้อีกด้วยและไม่
 
ต้องใช้พลังงานจากภายนอกเลยครับ เพียงตัดท่อยางหม้อน้ำออกบางส่วนและใส่อุปกรณ์
 
หม้น้ำนี้ลงไปแทนและใช้เข็มขีดรัดให้แน่นและต่อท่อน้ำมันเข้าด้านล่าง ไปออกด้านบน
 
ไปเข้า ปั้มหัวฉีดเป็นอันแล้วเสร็จครับ.
 
             ความหมายและแนวคิดของผมก็คือ เราน่าจะใช้ระบบควบคุมของเตาก๊าซหุง
 
ต้มในครัวเรือน มาผสมผสานเข้ากับหม้อต้มไทยทำ เพื่อนำมาประกอบใช้ทดแทนระบบ
 
ก๊าซแบบดูด โดยใช้ ไบโอก๊าซมาใช้เป็นพลังงานทดแทน/และนำแอลกอฮอล์ที่ได้จากการ
 
หมักหัวมันสำปะหลังที่ความบริสุทธิ์ ๘๕ - ๙๕ ดีกรี มาผ่านหม้อต้มไทยทำให้กลายเป็น
 
ก๊าซก่อนนำไปใช้เป็นพลังงานทกแทนนั่นเองครับ.
 
                      ด้วยจิตรคารวะ
 
               ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 
 
 
 
 
 
 
 
 

Tent logo02

Home

ตะเกียงเจ้าพายุ
ตะเกียง Petromax
ตะเกียง Aida
ตะเกียง Coleman
ตะเกียง Tilley
ข้อมูลตะเกียงเจ้าพายุ
[ปืนคลาสสิก] [คาวบอยและลูกทุ่งตะวันตก] [แก๊งค์ปืนลม] [เตาและตะเกียง] [ชมรมธนู]
องก์หนึ่ง

สิ่งหนึ่งที่ทำให้มนุษย์ครองความเป็นจ้าวโลก(และกลายเป็นผู้ล่า ทำลาย
เผ่าพันธุ์อื่น หลาย species ให้สูญหายไปจากโลกเบี้ยวๆใบนี้มาโดยตลอด)
นั่นก็คือความสามารถในการนำไฟมาใช้งาน ในการให้ความอบอุ่นยามหน้า
หนาว และให้สว่างในเวลากลางคืน อันเป็นการกำจัดจุดอ่อนของมนุษย์ที่
ไม่มีโสตสัมผัสที่ดีในความมืดให้หมดสิ้นไป
หลังจากที่มนุษย์นำไฟมาใช้งานแล้ว บรรพบุรุษของเราก็มีความผูกพันกับไฟมาก เริ่มตั้งแต่การเทิดทูน (บูชา)ไฟ ดัง
จะเห็นได้จากการนับถือสักการะเทพเจ้าแห่งไฟมีอยู่ในวัฒนธรรมของหลายชนชาติ และหลังจากมนุษย์ได้นำไฟมา
ใช้เป็นแสงสว่างในเวลากลางคืนแล้ว ก็ได้พยายามปรับปรุงให้ได้แสงสว่าง "อย่างมีประสิทธิภาพ" กล่าวคือมีโคมไฟ
ดวงน้อย แต่ให้แสงมาก แต่เชื่อหรือไม่ครับว่ามนุษย์ได้ใช้แสงสว่างจากเปลวไฟ-ตั้งแต่ กองไฟฟืน คบไฟ เทียน จน
มาถึงตะเกียงน้ำมัน มาเป็นหลายหมื่นปีแล้ว แต่มนุษย์ก็ยังไม่สามารถเอาชนะความมืดชนิดขาดลอยได้ เพราะแสง
สว่างจากเปลวไฟนั้นยังมีข้อจำกัดในเรื่องของประสิทธิภาพการให้แสงสว่าง ตัวอย่างเช่นถ้าเราต้องการความสว่างมาก
เราก็ต้องมีเปลวไฟกองใหญ่ -อย่างเช่นที่เราเล่นแคมป์ไฟกัน- ซึ่งทำไม่ได้ในอาคารบ้านเรือนของคนทั่วไป หรืออีกวิธี
คือการใช้เปลวไฟขนาดเล็กจำนวนมาก  อย่างเช่นต้องจุดเทียนเป็นสิบเป็นร้อยแท่งเป็นต้น ซึ่งการจะจุดจะดับกันแต่
ละครั้งก็แสนจะยุ่งยาก ข้อเสียอีกประการใหญ่ของแสงสว่างจากเปลวไฟก็คือ เปลวไฟนั้นมีความสามารถในการเผาไหม้
วัตถุอื่นที่ติดไฟ อันเป็นต้นเหตุของอัคคีภัยทีดี ถ้าเผลอไผลไม่ดูแลโคมไฟ หรือเทียนกันให้ดีแล้ว ก็มีสิทธ์จะต้องห้าบ้าน
ใหม่อยู่กันง่ายๆ โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์หลักฐานว่าต้นเพลิงเกิดมาจากไฟฟ้าลัดวงจร...เอ๊ยเกิดจากตะเกียงน้ำมัน
กลางบ้าน

ศตวรรษ ที่ผ่านมา นับว่าโลกเราเข้าสู่ยุค Revolution หรือการพัฒนาแบบก้าวกระโดดโดยแท้ ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา
นี้มีนวตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นและถ้าไม่แจ๋วจริง ก็ล้มหายตายจาก ไปมากมาย รวมทั้งฝันที่เป็นจริงของบรรพบุรุษเราก็คือ
การมีตะเกียงดวงเล็ก ที่ให้แสงความสว่างสูงๆ นั่นคือ "ตะเกียงเจ้าพายุ"ได้เกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในปลายปี ค.ศ. 189x
และกลายมาเป็นอุปกรณ์ประจำทุกบ้านพี่เฮือนน้องในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 193x มาจนถึง ค.ศ. 195x และแสงเจ้าตะเกียง
เจ้าพายุทั้งหลายบนโลกใบนี้ก็ค่อยๆดับลงทีละดวง เนื่องจากมนุษย์ได้หันไปใช้แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าแทน ทำให้
ตะเกียงเจ้าพายุซึ่งครั้งหนึ่งเป็นของสำคัญประจำบ้าน ได้ถูกโยนเข้ากรุกลายเป็นของไร้ค่าและถูกลืมเลือนอย่างรวดเร็ว
แรงบันดาลใจ
ผมเป็นชาวกรุงที่เกิดมาพร้อมกับบ้านที่มีไฟฟ้าแล้ว จึงไม่ได้มีโอกาสสัมผัสการใช้ตะเกียงเจ้าพายุที่บ้าน เหมือนกับ
สหายรุ่นเดียวกันบางท่าน ตะเกียงเจ้าพายุนั้นก็กลายเป็นของที่ "ตื่นตาตื่นใจ" เมื่อเห็นยามไปเที่ยวงานวัด หรือ งาน
เทศกาลนอกเมือง ส่วนชีวิตการเดินทางเที่ยวธรรมชาติ Thailand Outdoor ในตอนแรกๆนั้น ก็อาศัยไฟฟืนในหุงต้ม
อาหารและการให้แสงในกลางคืน ส่วนยามจะไปทำกิจกรรมหฤหรรษอื่นๆในเวลากลางคืน (อย่าคิดมากครับ...แค่ไป
อาบน้ำ) ก็ใช้ไฟฉายดวงน้อยใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Maglite ดุ้นใหญ่ หรือ ท่อนจิ๋ว ไฟฉายทหาร ไฟฉายกันน้ำ(ซึ่งเป็นไฟ
ฉายที่ติดเป้ทุกวันนี้) และไฟฉายตีกบ(ไฟฉายติดในลังหมัศจรรย์คู่ใจ) ก็ลองมาหมดแล้ว

เมื่อเริ่มแก่ตัว...เอ๊ย..เริ่มมีฐานะ ผมก็เริ่มหันมาพึ่งเครื่องทุ่นแรงโดยใช้พาหนะในการท่องเที่ยวธรรมชาติแบบ "แคมป์
คาร์" มากขึ้น และแน่นอนว่าเมื่อรถเข้าถึงอุปกรณ์อำนวยความสะดวกทั้งหลายทั้งปวงเช่นเต๊นท์, ชุดทำครัว, เตาสนาม
ก็เริ่มตามมา อย่างไรก็ตามผมก็ยังไม่ได้คิดจะซื้อตะเกียง.. ไม่ว่าตะเกียงรั้วหรือตะเกียงเจ้าพายุ... อาจเป็นเพราะผม
เป็นโรคภูมิแพ้...แพ้อากาศดีๆครับ ไปนอนในป่าทีไร 2-3 ทุ่มก็ง่วงแล้ว... เลยยังไม่ได้สนใจจะหาตะเกียงดีๆมาไว้ใช้
งาน จนกระทั่งการไปพักแรมที่แค้มป์บ้านกร่างหลายปีก่อน ในขณะที่นั่งกินข้าวเย็นผ่านแสงสลัวที่มาจากตะเกียงไส้
ทำจากกระป๋องนมนั้น ทันใดนั้นมุมหนึ่งของแค้มป์บ้านกร่างที่มืดมิดก็กลับสว่างไสวไปด้วยแสงสีเหลืองนวลประหนึ่ง
มีใครเปิดไฟหลายดวงพร้อมกัน และผมก็ได้เห็นต้นกำเนิดของแสงสว่างนั้นมาจากตะเกียงเจ้าพายุขนาด 500 แรงเทียน
ของเพื่อนร่วมทาง
เจ้าพายุดวงแรก
หลังจากที่ได้ตื่นตาตื่นใจไปเห็นเพื่อนร่วมทางเต็นท์อื่นใช้ตะเกียงเจ้า
พายุอยู่กลางวงสนทนาพร้อมอาหารมื้อเย็นแล้ว ผมก็จัดการไปถอยตะเกียง
เจ้าพายุตราผีเสื้อ Butterfly ดวงใหม่เอี่ยมมาพร้อมกับตาเกิ้นจากร้านแดง
รัสเซียมาคนละ 1 ดวง โดยส่วนประกอบภายนอกของเจ้าตะเกียง Butterfly
ดวงนี้ไม่ว่าจะเป็นถังน้ำมันและฝาตะเกียงมันวาววับด้วยวัสดุเหล็กชุม
โครเมียม ก้านสูบและแก้วครอบมีตราสัญลักษณ์ผีเสื้อติดอยู่ ในลังกระดาษ
ใส่ตะเกียงนั้นยังมีคู่มือภาษาอังกฤษหนึ่งแผ่นและภาษาไทย(แปล)อีกหนึ่ง
แผ่นให้มาพร้อมกับไส้ตะเกียง 3 ชุด กาแอลกอฮอล์พลาสติก และประแจ
ขนาดเล็ก 1 ตัวที่สามารถไขน๊อตได้หลายขนาด
เจ้าพายุ primus 1060 ครับ ผมบุญน้อย
เลยได้เห็นแต่รูป

ผมได้แอบหมายมั่นปั้นมือว่าการกินข้าวเย็นในทริปถัดไปที่ทุ่งแสลงหลวงของผมนั้นจะสว่างไสวจนสามารถแยกแยะ
พริกขี้หนูสวนเม็ดเขียวออกจากผัดผักบุ้งได้ แต่ด้วยความ"อ่อนซ้อม" -จริงๆคือไม่ซ้อม- ผนวกกับความเชื่อมั่นในตัว
เองว่า อ่านคู่มือแล้วก็ทำได้ ทำให้หน้าของผมแตกไปพร้อมกับแก้วครอบตะเกียง เนื่องจากแทนที่จะใช้แอลกอฮอล์ใน
การอุ่นน้ำมันกลับไปใช้น้ำมันซิปโป้ (ไม่ควรใช้เชื้อเพลิงประเภทอื่นในการจุดเพื่ออุ่นน้ำมันครับ เพราะทำให้แก้วครอบ
แตกได้)  อีกทั้งไม่ได้ทำการแช่น้ำมันและนวดลูกยางปั้มลมที่ทำมาจากหนังทำให้จุดอย่างไรก็จุดไม่ติด เพราะปั้มลม
ไม่เข้า และเมื่อทำการอุ่นน้ำมันหนที่สอง แก้วก็แตกดังเปรี๊ยะเช่นเดียวความฝันอันเจิดจ้าของผม

หลังจากกลับมาจากทุ่งแสลงหลวง ผมก็เอาเจ้าพายุสัญชาติสิงคโปร์ ตราผีเสื้อเก็บเข้าตู้เก็บของพร้อมกับความขยาด
ต่อฤทธิ์พยศของมัน จนกระทั่งวันหนึ่งได้เจอประกาศใน pantip โฆษณาร้านขายอะไหล่-รับซ่อมตะเกียงเจ้าพายุซอย
แปลงนามชื่อ "เชียงเฮงเส็ง" ผมจึงนึกขึ้นได้ว่าจะต้องหาซื้อเจ้าแก้วครอบมาเปลี่ยนเพื่อให้เจ้าผีเสื้อสมบูรณ์พร้อมขาย(ทิ้ง)
ตามคติพจน์ของน้าผมซึ่งทำฟาร์มเลี้ยงวัวที่ว่า "ถ้าดื้อก็...ขาย!!"

ตอนบ่ายผมกลับมาจากร้าน"เชียงเฮงเส็ง" พร้อมกับครอบแก้วใหม่ 2 ชิ้นอยู่ที่ถุงในมือซ้าย...และในมือขวาก็ถือถุงใส่
ตะเกียงเจ้าพายุเก่าขนาด 350 แรงเทียนอีกดวงที่มีอายุอานามกว่า 40 ปีสัญญาติเยอรมัน โดยที่ข้างถังน้ำมันมีตรา
สินค้าพิมพ์นูนเป็นรูปกวางกระโดดกลางวงกลมพร้อมกับตัวอักษรปั้มลงในเนื้อโลหะว่า "AIDA"......

.....และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของ ความชื่นชอบ... หลงใหล... ตะเกียงเจ้าพายุอีก 10 ดวงเศษของผม และเรื่องราว(น่าเบื่อ)เรื่องนี้
เจ้าพายุ
เจ้าพายุแห่งแดนสิงโตคำราม Tilley
คำว่า"เจ้าพายุ"นั้นเชื่อว่าแปลมาจากภาษาอังกฤษที่เรียกตะเกียงประเภทนี้ว่า Storm Lantern (ตะเกียง Tilley) หรือ
 Hurricane Lantern (ตะเกียง Coleman) โดยตะเกียงประเภทนี้นอกจากใช้ในบ้านเรือนแล้วยังได้ถูกนำไปใช้ใน
โคมไฟตามถนนหนทาง รวมถึงประภาคารเพื่อส่งแสงเจิดจ้าฝ่าความมืดผ่านมหาสมุทรเพื่อแจ้งเตือนเรือถึงภัยจาก
หินโสโครก ส่วนชื่อเป็นทางการของตะเกียงเจ้าพายุจะได้แก่ "Incandescent Mantle Pressured Lamp" ซึ่งน่าจะ
แปลได้ว่า "ตะเกียงไส้เปล่งสว่างด้วยแหล่งเชื้อเพลิงที่ทำการอัดแรงดัน" แหมก็ชื่อทางการยืดยาวแบบนี้จึงไม่มีคน
เรียกกันครับ

หลักการกำเนิดแสงสว่างของตะเกียงเจ้าพายุนั้น เป็นหลักการของการเปล่งแสงของวัสดุอันเนื่องมาจากพลังงาน
ความร้อน(Incandescent) ตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ (จริงๆไม่ง่ายหรอกครับ ต้องตามอาจารย์สมพรไปดูการตีมีด) คือ
เมื่อเราเผาเหล็กด้วยความร้อนจนถึงจุดจุดหนึ่งเหล็กก็จะเริ่มเปล่งแสงออกมาเป็นสีแดงหรือส้มตามความร้อนที่
มันได้รับ ดังนั้นจริงๆแล้วก็การสว่างของไส้ตะเกียงเจ้าพายุก็เป็นหลักการเดียวกับหลอดไฟไส้ของท่านโทมัส เอดิสัน
เพียงแต่ว่าไส้ตะเกียงซึ่งทำมาจากไหมหรือ Rayon ที่ปนเปื้อนด้วยสารละลายของของโลหะบางประเภทนั้น เปล่ง
แสงเนื่องจากความร้อนที่เกิดจากการลุกไหม้ของไอน้ำมันภายในกระเปาะไส้ตะเกียง ในขณะที่ไส้หลอดทังสเตน
เปล่งแสงเนื่องมาจากพลังงานไฟฟ้าที่ไหลผ่านไส้หลอด

ดังนั้นตะเกียงที่หลักการเปล่งแสงของไส้ตะเกียงไม่ว่าจะมาจากเชื้อเพลิงประเภทใด - จะใช้ น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน
หรือแก๊ส - ก็ถือเป็นตะเกียงเจ้าพายุทั้งหมดครับ ไม่ต้องเถียงกัน ส่วนตะเกียงวิเศษของอาลาดินที่ถูข้างตะเกียงแล้วมี
ยักษ์ออกมานั้น ไม่ใช่เจ้าพายุแน่นอน
ส่วนประสมแห่งเจ้าพายุ

หลักการของตะเกียงเจ้าพายุเกิดขึ้นจาก 3 ประสมครับ คือ 1. การคิดค้นไส้ตะเกียงที่เปล่งแสงสว่างอย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อได้รับความร้อน 2. เชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพ 3.การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงอย่างสมบูรณ์เพื่อให้พลังงานความร้อน
แก่ไส้ตะเกียงได้อย่างเต็มที่ โดยส่วนประสมของเจ้าข้อ 2 และข้อ 3 นั้นเมื่อมารวมกันแล้วก็ได้กลายเป็นเตาน้ำมัน
สนามยังไงครับ  ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ผลิตเตาสนามค่ายสวีเดนหลายเจ้าได้ออกเตาน้ำมันสนามรุ่น 2 in 1 ที่
สามารถเปลี่ยนหัวให้กลายเป็นตะเกียงเจ้าพายุได้
Radius 131F เตา-ตะเกียงเจ้าพายุ แบบ 2-in-1 พอหุงข้าวเสร็จก็ถอดเตาออกแล้วประกอบหัวตะเกียง
เข้าไป เท่านี้ก็ไม่ต้องกินข้าวเคล้าแสงเทียนแล้ว

เจ้าสามสูตรผสมแห่งการประดิษฐ์ตะเกียงเจ้าพายุที่พูดมานั้นดูเหมือนง่าย แต่เชื่อไหมครับว่ากว่าแต่ละส่วนประสม
จะถูกคิดขึ้นมาได้นั้นนักประดิษฐ์หลายต่อหลายท่านได้ต่อยอดฐานความรู้กันหลายร้อยปีกว่าจะมาลงเอยกับส่วน
ประสมที่เหมาะสมได้ เอาแค่ตัวอย่างการคิดค้นไส้ตะเกียงเจ้าพายุนะครับ เริ่มจากปี ค.ศ. 1835 มีการค้นพบว่าเมื่อ
ทำการเผากระดาษที่เปื้อนสารละลาย Calcium Chloride แล้วจะเกิดเป็นขี้เถ้าสีขาวซึ่งจะเปล่งแสงสว่างไสวเมื่อ
ทำการเผาด้วยไฟ และผ่านไปอีก 50 ปี คุณ Welsbach จึงได้ทำการประดิษฐ์ไส้ตะเกียงที่เปล่งแสงส่องสว่างได้เป็น
ผลสำเร็จ โดยไส้ตะเกียงซึ่งทำมาจากใยถักเป็นถุงตาข่ายของไหมหรือผ้าฝ้ายแล้วนำไปจุ่มในสารละลายที่ประกอบ
ด้วย Thorium และ Cerium Nitrate เมื่อเราเผาไส้ตะเกียง ด้ายของไส้ตะเกียงก็จะไหม้ไฟไปจนหมดและเหลือแต่
โครงรูปกระเปาะของเถ้าสีขาว(ที่แข็งเป็นรูปแต่เปราะ!!) อันเป็นส่วนประกอบของ Thorium และ Cerium Oxide ครับ
ซึ่งเจ้ากระเปาะ Thorium+Cerium Oxide นี้จะเปล่งแสงเมื่อได้รับความร้อนและแสงนั้นสุกสว่างกว่าเปลวไฟถึง 6 เท่า!!
หลักการทำงานของ "เจ้าพายุ"
เห็นไหมครับว่าแค่การหาสูตรสำเร็จ เอาแค่ไส้ตะเกียงเจ้าพายุกว่าจะลงตัวได้ก็ปาเข้าไปเกือบร้อยปีแล้ว แต่คุณ
Welsbach ก็ไม่ได้เสียแรงคิดเปล่านะครับ เพราะไส้ตะเกียงเจ้าพายุที่เราใช้อยู่ในทุกวันนี้ก็ยังเป็นใช้ไส้ตะเกียงที่ใช้
หลักการของคุณ Welsbach เป็นแม่แบบของไส้ตะเกียงที่ผลิตขายครับ แม้ว่าจะอาจจะมีการเปลี่ยนวัสดุของด้ายที่
ถักถุงตะเกียง หรือสูตรของเกลือสารละลายไปบ้างก็ตาม ซึ่งไส้ตะเกียงเจ้าพายุนี้มีข้อเสียคือมันเปราะบางมากหาก
ขนขึ้นรถลงเรือเดินทางไปแล้วก็อาจจะฉีกขาดได้ทำต้องเปลี่ยนไส้ตะเกียงและจุดเผาด้ายกันใหม่ หลายท่านคงจะ
ปรารถนา(เช่นเดียวกับผม)ว่าทำไมมนุษย์เราไม่ยอมคิดไส้ตะเกียงชนิดที่มันทนทานขึ้นมา(วะ) และตอนนี้ฝันก็กลาย
เป็นจริงของนักเดินดงแล้ว โดยหนึ่งในนวตภัณฑ์ที่แสดงในงาน Outdoor Retailer 2003 ที่ผ่านมาได้แก่ตะเกียง
เจ้าพายุไร้ไส้ (Mantle-less) ดวงแรกของโลกผลิตโดยบริษัท Brunton ได้ผลิตออกจำหน่ายมาล่อกิเลสและสตางค์
ในกระเป๋าของนักเดินทางอาชีพทั้งหลาย  อิ..อิ มาถึงตรงนี้ขอเผา(ไส้ตะเกียง) Brunton หน่อยเถอะครับ ประการแรก
มันไม่ใช่ตะเกียงไร้ไส้ แต่เป็นตะเกียงเจ้าพายุที่ไส้ตะเกียงทำจากโลหะซึ่งจะไม่ขาดยุ่ยเหมือนไส้ตะเกียงเจ้าพายุทั่ว
ไป.. และที่คุยว่า ดวงแรกของโลกนั้น ว่ากันจริงๆแล้ว คุณ Lewes ได้ทำการประดิษฐ์ไส้ตะเกียงที่ทำจากโลหะ Platinum
 + Iridium มาตั้งแต่ ค.ศ. 18xx ปู๊น แล้วครับ (และเชื่อว่าเป็นที่มาของสูตรไส้ตะเกียงโลหะของ Brunton ดวงนี้) แต่
เจ้าไส้โลหะนั้นได้ถูกเลือนหายไปเนื่องจากว่ามันมีราคาแพงมาก(ในการถลุงโลหะ Platinum ในยุคนั้น) เห็นไหมครับ
ใครว่ามนุษย์เราเดี๋ยวนี้ฉลาดกว่าเมื่อก่อน ผมเถียงขาดใจ
ตะเกียงเจ้าพายุ mantleless รุ่นใหม่ที่กำลังเป็นที่ฮือฮา
ชาตะ ค.ศ. 1895
ตะเกียงเจ้าพายุดวงแรกของโลกได้ถือกำเนิดขึ้น-ตามที่มีเอกสารยืนยัน-ในปี ค.ศ. 1895 โดยคุณ Meyenberg,
Wendorf และ Henlein ได้ทำการจดลิขสิทธิ์ "ตะเกียงไอ (Vapourlamp) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม คศ. 1895

และอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นครับว่า 2 ประสมแรกของตะเกียงเจ้าพายุอันได้แก่ เชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพ และการ
เผาไหม้อย่างสมบูรณ์นั้น เป็นสูตรของเตาน้ำมันสนาม ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่า สำนักผลิตเตาน้ำมันสัญชาติไวกิ้ง
 Primus และ Optimus ได้กลายเป็น Major Players ในการผลิตตะเกียงเจ้าพายุออกจำหน่ายในยุคแรกๆ  อย่างไรก็
ตามสูตรประสมของเจ้าพายุในยุคแรกนั้นยังใช้งานไม่คล่องตัวเหมือนปืน Single Action - แหมพูดอย่างนี้ มาร์แชล
ต่อศักดิ์และตาเกิ้นค้อนผมแน่เลย - จนกระทั่งคุณ Max Graetz แห่งค่าย Petromax สัญชาติเยอรมัน ได้ผลิตตะเกียง
เจ้าพายุ Model 826 ซึ่งได้กลายเป็นแบบมาตรฐานของเจ้าพายุที่จำหน่ายไปทั่วโลก- เสมือนกับปืน Colt model
1911- มาจนถึงทุกวันนี้ครับ

เจ้าพายุในเมืองไทย
ในขณะที่เตาน้ำมันสนามของสวีเดนเป็นที่แพร่หลาย พบเห็นได้ทั่วไปตามร้านขายของเก่ามากกว่าเตาสนามค่าย
อื่นๆเยอะ แต่หากพูดถึงตะเกียงเก่าแล้ว เจ้าพายุเยอรมันกลับเป็นที่แพร่หลายในอดีตและยังคงความทนทานหลง
เหลือมาถึงปัจจุบันจำนวนไม่น้อย ผมเองยังไม่มีบุญได้เจอะตะเกียงเจ้าพายุของสวีเดน วางขายตามแผงหรือร้าน
ของเก่าเลยครับ

เจ้าพายุของเก่าอีกค่ายที่ได้รับความนิยมได้แก่เจ้าพายุที่ผลิตในภูมิภาคบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นจีน ฮ่องกง สิงคโปร์
หรือในเมืองไทยเอง

เจ้าพายุแดนอินทรีย์เหล็ก
ในการทำตลาดตะเกียงเจ้าพายุสัญชาติเยอรมันในบ้านเรา ผมไม่แน่ใจเหมือนกันครับว่าเกิดอะไรขึ้น(เกิดไม่ทัน..อิ อิ) 
แต่มีหลักฐานทำเชื่อว่าการแข่งขันน่าจะรุนแรงน้องๆการทำตลาดรถ City Car สัญชาติญี่ปุ่นในปัจจุบันนี้เลยครับ
เนื่องจากตะเกียงค่ายเยอรมันที่จำหน่ายในเมืองไทย 3 ยี่ห้อหลักนี้จะมีป้ายภาษาไทยติดเพิ่มว่า "จัดจำหน่ายโดย...."
และแถมบางยี่ห้อมีเขียนอีกว่า "ตะเกียงเยอรมันแท้" เรามาดูกันครับว่า Honda หรือ Toyota ...เอ๊ย เจ้าพายุเยอรมัน
สังกัดไหนที่แจ๋วกว่ากัน

ตะเกียง Petromax ตรามังกรคู่....เจ้าแห่งตะเกียงเจ้าพายุน้ำมันก๊าด
เป็นหนึ่งตะเกียงเจ้าพายุที่มีประวัติยาวนานที่สุดครับ กล้าพูดเช่นนั้นเพราะตะเกียงเจ้าพายุที่ใช้น้ำมันก๊าดดวงแรก
ของโลกได้ถูกประดิษฐ์โดยคุณ Max Graetz ในปี ค.ศ.1910 คนเดียวกับผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตตะเกียง Petromax ออก
ขายไปทั่วโลกครับ ถ้าท่านผู้อ่านอยากรู้รายละเอียดเชิญ click ที่นี่เลยครับ (link to petromax-เจ้าแห่งเจ้าพายุ)

เจ้า Max ของผม
หน้าตาเจ้า Petromax ของผม
เจ้า Max ของผมดวงนี้มาไกลครับ มาจากแผงขายของเก่าริมถนนที่เชียงใหม่ เพื่อนผมไปเดินเจอเลยโทรมาบอก
ผมเลยฝากซื้อมาให้หน่อยครับ

เจ้า (Petro)Max ตรามังกรคู่นี้ จัดจำหน่ายโดย บริษัท เต็กกี่ จำกัดครับ เป็นตะเกียงที่"ดู"สภาพครบสมบูรณ์ แต่จริงๆ
แล้ว มีการจับผสมอย่างเช่นที่ Label เหนือถังติดว่าเป็นรุ่น 523/ 500 CP (candle power) ซึ่งหมายถึง 500 แรง
เทียน แต่ตัวตะเกียงทั้งหมดกลับเป็นรุ่น 350 CP และครอบแก้วที่มี screen Petromax นั้น ก็เป็นแก้วไทยทำ screen
แปะเข้าไป (ถ้าเป็นครอบแก้วแท้ราคาที่ขายน่าจะซื้อเจ้า Max ได้หลายดวงครับ) นี่แหล่ะครับที่แม่ผมว่า ง.งูสระโอไม้เอก
มาก่อน ฉ.ฉิ่ง-ลอ-อา-ดอ กว่าจะถึงบางอ้อก็ผ่านมาเป็นปีครับ
ตราสินค้า Petromax
ตราผู้แทนจำหน่ายในเมืองไทยโดย เต็กกี่ ครับ
หากท่านใดไม่ชอบของเก่า ต้องการตะเกียงใหม่ปิ้งก็ยังสามารถเป็นเจ้าของ Petromax ได้..แต่ต้องมีสตางค์หน่อย
นะครับ..เพราะทุกวันนี้ ก็ยังมีบริษัทผลิตตะเกียงเจ้าพายุ Petromax ออกจำหน่าย โดยบริษัทอเมริกันชื่อ BriteLyt
ได้ไปขอซื้อสิทธิ์และตราสินค้า Petromax มาผลิตขายดิบขายดีอยู่ (แม้ว่าเซียนตะเกียงจะบ่นกันว่า คุณภาพงานสู้
รุ่นเก่าไม่ได้ก็ตาม)
ตะเกียง Aida ตรากวาง
ผมว่าเซียนตะเกียงเจ้าพายุในเมืองไทยทุกคนอย่างน้อยจะต้องมีเจ้าตรากวาง หรือ ตะเกียง "อีด้า" บางคนก็อ่าน
"ไอด้า" Aida ไว้ครอบครองครับ เหมือนเจ้า colt ตราม้ากระโดด ขนาด 11 มม. Model 1911 กับ นักเลงปืนสมัยก่อน
อย่างไรอย่างนั้น (แต่ก็ไม่แน่ เดี๋ยวนี้นักเลงปืนอาจจะหันมาพก Glock แทน) จากสถิติส่วนตัวที่เห็นในร้านหรือแผง
ขายของเก่าแล้ว พบตะเกียง Aida มากสุด

แม้ในแง่การตลาดแล้วตะเกียงตรากวางจะเป็นคู่กัดกับตรามังกรคู่ Petromax แต่ในแง่การประดิษฐ์คิดค้นแล้ว
ตะเกียงทั้ง 2 นั้นมีแหล่งกำเนิดมาจากที่เดียวกันครับ เพราะ ในปี ค.ศ. 1926 4 ยักษ์ใหญ่ด้านตะเกียงซึ่ง 2 ในนั้น
คือ Petromax และ Aida ได้ร่วมกันจดลิขสิทธิ์การประดิษฐ์สินค้าตะเกียงเจ้าพายุ Model 826 ซึ่งตะเกียงรุ่นดัง
กล่าวได้กลายเป็นพิมพ์นิยมไปทั่วโลก และแถมหุ้นส่วนของ Petromax แยกตัวออกมาควบกิจการตะเกียง Aida
ในปี ค.ศ.1943 และกลายเป็นผู้ผลักดันตราสินค้า "ตรากวาง" จำหน่ายไปทั่วโลกไม่เปลี่ยนแปลง และถ้าสนใจอ่าน
ประวัติ Aida เพิ่มเติม Click ที่นี่เลยครับ (link to Aida ตรากวาง)
อีด่าง ของผม
ตะเกียง "อีด่าง" Aida ของผม
ตะเกียงอีด่าง ของผม เป็นตะเกียง Aida ซึ่งจัดจำหน่ายโดย บ. รัตนมาลา เป็นเจ้าพายุสะสมดวงแรกของผมที่ไปหิ้ว
มาจากร้านเชียงเฮงเส็งหลังจากตั้งใจแค่จะไปซื้ออะไหล่ซ่อมตะเกียง Butterfly นั่นแหล่ะครับ ตอนซื้อมาจากร้านก็ชื่อ
 "อีด้า" แต่ด้วยความอ่อนประสบการณ์ไม่เคยจุดตะเกียงเจ้าพายุน้ำมันก๊าดมาก่อน เคยแต่จุดตะเกียงเจ้าพายุน้ำมัน
เบนซิน Coleman ซึ่งไม่ต้องทำการ"อุ่นน้ำมัน" มาถึงก็ปั้มลมเข้าถัง เปิดวาล์วแล้วเอาไฟจุดติดในทันที คราวนี้พอ
มาจุดเจ้าอีด้าดวงงามด้วยวิธีนี้ก้อ...ไฟลุกท่วมฝาตะเกียงเลยครับต้องรีบเอาผ้าเปียกมาดับไฟกันยกใหญ่ (โชคดีที่
ออกไปจุดอยู่นอกบ้านนะเนี่ย) และนี่ก็ทำให้ฝาตะเกียงเป็นริ้วรอยกระดำกระด่าง เจ้าอีด้าคนสวยก็เลยกลายเป็น
 "อีด่าง"ไป โฮ โฮ..

ตะเกียง Aida รุ่นเจ้า อีด่างนี้ เป็นรุ่น Aida Express ครับ กล่าวนอกจากการอุ่นน้ำมันตะเกียงด้วยแอลกอฮอล์แล้ว
ยังสามารถอุ่นโดยการเผาด้วยหัวเตาฟู่ที่ติดมากับถังน้ำมันได้ด้วย การจุดวิธีนี้ผมเองก็ยังไม่เคยลอง ยังไงจะไปหา
ท่านผู้รู้มาช่วยบรรยายให้ฟังครับ
ตราสินค้า Aida
ผู้แทนจำหน่ายในเมืองไทยโดย รัตนมาลา ครับ
ตะเกียง Standard
ตะเกียงเยอรมันยี่ห้อนี้อาจเป็นยี่ห้อหนึ่งที่จะพบได้หากแวะไปดูตามร้านขายของเก่าครับ แต่ไม่พบมากเท่ากับ 2
ยี่ห้อแรก ข้อมูล(แม้กระทั่งใน website นักสะสมตะเกียงต่างประเทศ)เกี่ยวกับตะเกียง Standard ก็มีน้อยมาก
และดูเหมือนว่า ตะเกียงเยอรมัน

มีความเป็นไปได้สูงมากที่ตะเกียงยี่ห้อ standard นี้อาจจะ OEM (Original Equipment Manufacturer) โดยผลิต
มาจากโรงงาน Petromax หรือ Aida แต่มาตีตราสินค้าเป็น" Standard" เพื่อมาขายแข่งกับ 2 ยี่ห้อแรกก็เป็นได้ครับ
เจ้าตะเกียง Standard ของผม
ตราสินค้า Standard ณ.เยอรมัน
เยอรมันแท้ จัดจำหน่ายโดย บ. ศรีสง่า จำกัด
ตะเกียง Hasag
เป็นตะเกียงสัญชาติ เมืองเบียร์อีกยี่ห้อหนึ่งที่มาวางจำหน่ายในเมืองไทย มีรูปทรงที่สวยงามและแตกต่างจากพิมพ์
นิยมของ Petromax ครับ
Hasag ก็เป็นอีกยี่ห้อที่โดนใจนักสะสมตะเกียงทั่วโลก แต่ในเมืองไทยไม่ค่อยแพร่หลายอาจเป็นเพราะไม่ได้มีการนำ
เข้ามาจำหน่ายเป็นจำนวนมากเหมือน Petromax หรือ Aida ผมเคยเห็นตะเกียง Hasag วางขายในร้านตะเกียงที่
ตลาดสะพานมัฆวาน แค่ครั้งเดียวครับ
โฉมหน้าตะเกียง Hasag
เจ้าพายุคาวบอย...เจ้าพายุ Coleman / Colemax
เดี๋ยวนี้ถ้าเราพูดถึงตราสินค้า Coleman ทุกคนมักจะนึกถึงกระติกน้ำ หรืออุปกรณ์ outdoor อย่างเต๊นท์ เตาปิคนิก
สนาม แต่หลายท่านอาจไม่ทราบว่า คุณ W.H. Coleman อดีตพนักงานขายเครื่องพิมพ์ดีด ได้เกิดไปเห็นและหลงใหล
ในตะเกียงเจ้าพายุจนเลิกทำธุรกิจขายเครื่องพิมพ์ดีดหันมาก่อตั้งบริษัท Hydro-Carbon Light Co.ในปี 1905 ซึ่ง
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น Coleman Lighting โดยคุณ Coleman ได้ประดิษฐ์ และผลิตตะเกียงเจ้าพายุ ออกวางขาย
มากกว่าหลายล้านดวงไปทั่วโลกไป ถ้าท่านผู้อ่านอยากเจาะลึกถึงประวัติของ Coleman เชิญ Click ที่นี่เลยครับ
(link to ตะเกียง Coleman)


ตะเกียงเจ้าพายุของ Coleman ที่ผลิตจำหน่ายในอเมริกาอย่างแพร่หลายนั้นเป็นตะเกียงน้ำมันเบนซินครับ เพราะ
น้ำมันเบนซินได้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในอเมริกา ไม่ใช่ว่าทางยุโรปไม่ใช้น้ำมันเบนซินนะครับ แต่เนื่องจากสภาพ
บ้านเรือนของคนในยุโรปจะมีบ้านเรือนหนาแน่น ทำให้มีการคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยมากกว่าทาง อเมริกา ที่
ในสมัยนั้น (191x-194x) บ้านเรือนผู้คนยังกระจายอยู่ห่างกันไม่หนาแน่นมาก

ด้วยกระแสพิมพ์นิยมของตะเกียง Petromax ทำให้ทาง Coleman ผลิตตะเกียงภายใต้ชื่อ Col-Max ออกมาหน้าตา
เหมือนกับพิมพ์ Petromax ทุกประการ แต่จุดเด่นของตะเกียง Col-Max ที่สังเกตได้ชัดเจนคือหมวกตะเกียงจะเป็น
สีแดงครับ

เจ้าแดง
เจ้าแดงเป็นตะเกียง Cole-Max พิมพ์นิยมของ Petromaxครับ เจ้าแดงย้ายมาอยู่กับผมในคืนวันเสาร์เมื่อหลายปีก่อน
หลายท่านเริ่มสงสัยว่าทำไมผมยังจำได้ว่าเป็นคืนวันเสาร์ ก็เพราะผมไปพบเจ้าแดงวางอยู่บนบนแผงริมฟุตบาทใน
ตลาดคลองถมกลางคืนครับ ตอนแรกก็ไม่ได้อยากจะซื้อหรอกครับเพราะรู้สึกว่าตะเกียงที่สะสมอยู่จะมีแต่ทรงนี้
อีกอย่างก็เข็ดเขี้ยวกับคนขายของเก่าแถวคลองถมกลางคืนบางร้านที่สงสัยแถวนั้นไฟจะมืด มองหน้าหล่อๆของผม
เป็น "เซียมตือ" ไปได้..พอดีร้านนี้คุณพี่คนขายแกจริงใจ(บอกตรงๆว่ามีตำหนิตรงไหน)และสอนการซื้อตะเกียงเก่า
อย่างไม่ปิดบัง... ตกลงคืนนั้นผมก็เลยเดินกลับจากคลองมาพร้อมกับเจ้าแดงครับ
นี่แหล่ะครับ..เจ้าแดง
จุดเด่นของเจ้าแดงหรือตะเกียง Cole-Max คือมีการแก้ไขจุดอ่อนของตะเกียงเจ้าพายุพิมพ์ Petromax ที่ชิ้นส่วน
บางชิ้นของตะเกียงทำด้วยเหล็ก อันได้แก่หัวครอบเหล็กใน และแผ่นจานเหล็กใต้ถ้วยอุ่น ซึ่งเมื่อใช้งานไปนานๆเจ้า
ชิ้นส่วนทั้ง 2 ก็จะเกิดสนิมกัดกิน วิธีการแก้ไขของตะเกียง Cole-Max คือทำการเคลือบชิ้นส่วนทั้ง 2 ด้วยสีทนความ
ร้อนสีขาว(เข้าใจว่าเป็น Porcelain ครับ)

เจ้าพายุอีกยี่ห้อที่เมดอินยูเอสเอ และผลิตออกจำหน่ายไปทั่วโลก ก็คือ AGM (American Gas Machine) แต่ผม
ไม่เคยมีโอกาสเห็นกะตาตัวเองครับ ได้ดูแต่รูปจาก web นักสะสมครับ
เจ้าพายุยี่ห้อ AGM รุ่น Readylite
ตะเกียงจากแดนไวกิ้ง
แน่นอนครับว่า Optimus และ Primus เจ้าพ่อเตาน้ำมันสนาม ก็ย่อมมีสุดยอดผลิตภัณฑ์ตะเกียงเจ้าพายุเช่นกันครับ
พราะหลักการสันดาปเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพของตะเกียงเจ้าพายุกับเตาน้ำมันสนามนั้นก็เป็นหลักการเดียวกัน
และเตาน้ำมันสนาม Optimus และ Primus ก็ยังมีวางขายล่อน้ำลายผมอยู่ไม่น้อย อย่างไรก็ตามผมยังไม่เคยพบ
เจ้าพายุแดนไวกิ้งวางขายที่ร้านขายของเก่าเลยครับ
ยอดตะเกียงแดนไวกิ้งนาม Optimus
ตะเกียงเจ้าพายุคุณภาพสวีเดนของ Optimus Primus และ Radius แน่นอนว่าเป็นของอันทรงคุณค่าของนักสะสม
เจ้าพายุทั่วโลกครับ
ตะเกียงค่ายสิงห์โตคำราม Tilley
ตะเกียงเจ้าพายุ Tilley
ถ้าพูดถึงตะเกียงเจ้าพายุแล้วไม่พูดถึง Tilley ก็เหมือนคุยเรื่องรถแล้วไม่พูดถึงรถยี่ห้อ Jaguar อย่างไรอย่างนั้นครับ
และถ้านับถึงความเก่าแก่ของบริษัทแล้ว Tilley ก็กินขาดด้วยอายุอานามเกือบ 200 ปี!!!!  และท่านผู้อ่านอยากเจาะ
ลึกถึงประวัติของ Tilley เชิญ Click ที่นี่เลยครับ (link to Tilley)

ตะเกียง Tilley เป็นตะเกียงขวัญใจของนักสะสม ด้วยรูปร่างที่สวยงามและแปลกตาแตกต่างจากตะเกียง Petromax
หรือ Coleman แม้กระทั่งหลักการในการทำงาน

หนูเลยังไม่มีโอกาสมีครอบครองสักดวง อาจเป็นเพราะจำนวนของตะเกียง Tilley ที่เข้ามาขายในเมืองไทยน้อย
กว่าพิมพ์นิยม Petromax / Aida มาก ที่เคยเจอสภาพดีๆ ก็แพงมาก! ที่สำคัญอะไหล่ก็หาไม่ง่ายเลยครับ

ปัจจุบัน Tilley ก็ยังผลิตตะเกียง Stormlight ออกจำหน่ายอยู่ ถ้าอยากจะหามาชื่นชม ก็เลือกชมสินค้าได้ที่
www.tilleylamp.co.uk นะครับ

ตะเกียงเจ้าพายุจากเอเซีย
เจ้าพายุอีกค่ายหนึ่งที่เข้ามาจำหน่ายในเมืองไทยได้แก่เจ้าพายุที่ผลิตในแถบบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นเจ้าพายุสัญชาติ
ฮ่องกงอันได้แก่ ตรารถไฟ, หรือตรา Solar ผลิตโดยบริษัท Union Metal Works Ltd. (HK) หรือเจ้าพายุ made in
China ซึ่งได้แก่ ตราสมอ และตราหัวใจ (Red Heart) และที่มิอาจไม่กล่าวถึงนั่นคือเจ้าพายุตราผีเสื้อ Butterfly
แห่งแดนลอดช่อง Singapore นั่นเอง

เจ้าผีเสื้อ
เจ้าผีเสื้อของผม
เจ้าผีเสื้อตัวนี้ถือเป็นตะเกียงครูของผม ที่ทั้งสอนให้มุมานะ(ด้วยการประจานให้หน้าแตกไปพร้อมกับแก้วครอบ)
เอาชนะความไม่รู้และไร้ประสบการณ์ของผม  และทุกวันนี้ก็กลายเป็นตะเกียงที่หิ้วไปใช้งาน จนโดนตาเกิ้น
ค่อนแคะว่าไม่ยอมเอาตะเกียงเก่าสวยๆดวงอื่นมาออกงาน แหมก็ต้องขนขึ้นรถลงเรือกันแบบนี้ผมก็กลัวบุบของ
ผมบ้างซิครับ

ผีเสื้อตัวนี้เป็นตะเกียงเหล็กครับ ดังนั้นอายุขัยมันก็คงจะไม่ยืนยาวเท่ากับตะเกียงทองเหลือง  เมื่อก่อนนี้เจ้าพายุ
butterfly ก็เป็นตะเกียงทองเหลืองชุบโครมครับ แต่น่าเสียดายว่าเดี๋ยวนี้บริษัทลดต้นทุนไม่ผลิตตะเกียงทองเหลือง
อีกต่อไปแล้ว

ทุกวันนี้บริษัท Buttery ก็ยังคงผลิตเตาน้ำมันสนามและตะเกียงเจ้าพายุจำหน่ายอยู่ครับ

เจ้าพายุเมดอินไทยแลนด์ "ตรากระต่ายคู่"

ไม่ทราบที่มาจริงๆครับว่าโรงงานไหนเป็นผู้ผลิต แต่ที่แน่ๆคือเป็นตะเกียงที่มีการขึ้นรูปนูนตรากระต่ายพร้อมอักษร
ภาษาไทยบนตัวถังน้ำมัน ข้อมูลที่ผมได้มาพร้อมกับตะเกียงจากเฮียที่ร้านเชียงเฮงเส็ง ก็คือตะเกียงตรากระต่ายคู่นี้
เป็นพิมพ์ Petromax ผลิตในเมืองไทย และก็เป็นที่ชื่นชอบของนักสะสมตะเกียงที่เดินทางมาเที่ยวเมืองไทยเนื่อง
จาก(อาจจะ)เป็นตะเกียงไทยทำเพียงยี่ห้อเดียวครับ
สัญลักษณ์ตรากระต่ายคู่
ตะเกียงไทยตรากระต่าย
ตะเกียงใหม
ถ้าผู้อ่านกระเป๋าหนักและอยากได้เจ้าพายุใหม่
Coleman whitegas ตัวนี้ก็แจ๋วครับ ใส้ตะเกียงคู่
รับรองสว่างทั่ว campground แน่ ส่วน whitegas
มีขายที่ปั้ม shell สวนมะลิ

ถ้าท่านผู้อ่านอยากจะซื้อตะเกียงเจ้าพายุไว้ใช้งาน แต่ต้องการตะเกียงใหม่ไม่อยากจะซื้อตะเกียงเก่าเพราะกลัวว่า
จะมีใครมาทวงคืนตอนจุดใช้งานแล้วละก้อ เจ้าพายุตราผีเสื้อวางจำหน่ายในร้านขายอะไหล่ตะเกียงหรือร้านวัสดุภัณฑ์
ตามต่างจังหวัด และตะเกียงจากจีนแดงที่มีขายในห้างโลตัส อาจเป็นตัวเลือกที่พอจะหามาใช้งานได้ ตะเกียงเหล่านี้
เป็นพิมพ์ Petromax กล่าวคือลอกแบบตะเกียง petromax มาทุกประการ ทำให้มีความสะดวกในการใช้อะไหล่แทนกันได้

ตะเกียงเหล่านี้มีคุณภาพสมราคาครับ ข้อเสียคือวัสดุตะเกียงทั้งตัวถังน้ำมันหรือฝาตะเกียงเป็นเหล็กชุบโครเมียม
เพราะฉะนั้น เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว โปรดนำมาเก็บรักษาให้ห่างจากละอองฝนหรือน้ำค้างให้ดีนะครับ ไม่งั้นน้องหนิม
(สนิม)จะเข้ามาตีสนิทกับตะเกียงของท่าน

ส่วนท่านผู้อ่านที่ต้องการของใหม่ Highend แล้วละก้อ Coleman และ Tilley ก็ยังคงผลิตเจ้าพายุขายอยู่ครับ
เทคโนโลยีที่ยังไม่ตาย
เจ้าพายุยังคงเป็นเจ้าแห่งแสงสว่างในตลาด
 outdoor อยู่โดยเปลี่ยนเชื้อเพลิงจากน้ำมัน
ก๊าดมาเป็นแก๊สกระป๋องอย่างเช่นเจ้า Kovea
ตัวนี้

หรือถ้าชอบรถชอบสาวสวีเดนแล้วล่ะก้อ จะลอง primus
ตัวนี้ก็ไม่เลวครับ

ตะเกียงเจ้าพายุน้ำมันก๊าดที่เป็น State of the Arts ในต้นศตวรรษที่ 20 (ปีค.ศ.190x) และเป็นสินค้าประจำบ้าน
เรือนไทยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นได้เริ่มล้มหายตายจากไปพร้อมกับการแพร่หลายของหลอดไฟฟ้าของ
ท่านโทมัส เอดิสัน เมื่อราว 30-40 ปีที่แล้ว เมื่อสายไฟและหลอดไฟฟ้าเข้ามาในบ้านใดตะเกียงเจ้าพายุก็ถูกย้าย
สำมะโนครัวไปอยู่ในห้องเก็บของหรือถูกขายทิ้งเป็นเศษโลหะไป เป็นที่น่าเสียดายที่เห็นตะเกียงเจ้าพายุเป็นจำนวน
มากถูกดัดแปลงเอาหลอดไฟมาใส่แทนไส้ตะเกียงเพื่อตั้งโชว์ตามร้านอาหาร และก็มีเจ้าพายุสภาพดีจำนวนมาก
ได้ถูกส่งออกไปขายในตลาดของเก่าในประเทศอื่นๆ

อย่างไรก็ตามเทคโนโลยี "Incandescent Mantle Pressured Lamp" ก็ยังไม่ตายในตลาดงานสนามที่ที่ไม่มีไฟฟ้า
หรือเป็น backup solution ของแหล่งกำเนิดแสงโดยไม่ใช้ไฟฟ้า... ไม่ว่าตะเกียงแก๊สกระป๋องแดนโสมดวงน้อยยี่ห้อ
kovea ที่อยู่ในลังมหัศจรรย์ของผมหรือตะเกียงแก๊สดวงใหญ่ที่ใช้กับถังปิกนิคอันเป็นที่นิยมของชาวแคมป์คาร์คณะ
ใหญ่ๆนั้นต่างก็เป็นลูกหลานของตะเกียงเจ้าพายุทั้งสิ้นครับ

เฮ้อ...เขียนกันซะยืดยาว...ขอปิดฉากเจ้าพายุไว้แค่นี้นะครับ
Lanternshop02
ร้านขายตะเกียง-เตา
หนูเล
ธ.ค. 46

หากท่านผู้อ่านเป็นผู้ love love เจ้าพายุเหมือนหนูเล หรืออยากจะได้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือ อ้างอิง เชิญ Click ที่นี่เลยครับ
(link to ข้อมูลเรื่องตะเกียง
)



Microsoft brings you a new way to search the web. Try Bing™ now

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น