ถึงก็ช่าง.. ไม่ถึงก็ช่าง..! (ถึ้งก็ชั่ง..ไม่ถึ้งก็ชั่ง)

on วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
       ผมเพิ่งจะเขียนถึงความหลังเมื่อครั้งได้ใช้บนิการรถไฟสยาม(รุ่นผม
 
เปลี่ยนเป็นรถไฟไทยแล้วนะครับ. ร.ฟ.ท.) พอวันนี้มาพบข่าวเด่นจาก
 
หนังสือพิมพ์ Daily News on line ก็เลยขออนุยาติทางหนังสือพิมพ์เดลี่นิวส์
 
นำมาเสนอให้พี่น้องซึ่งยังชุมนุมอยู่บนสันเขื่อนราษีไษลได้อ่านกันอีกรอบนะ
 
ครับ. สิ่งที่ทำให้ผมมีความรู้สึกว่าผู้ที่เขียนบทความนี้ น่าจะเป็นคนร่วมสมัยกับ
 
ผมก็ตรงการฟังเสียงรถไฟที่กำลังวิ่งด้วยความเร็วเต็มที่คือถึงก็ช่าง.. ไม่ถึงก็
 
ช่าง..! ของท่าน (ถึ้งก็ชั่ง..ไม่ถึ้งก็ชั่งของผม) แต่ความหมายก็คงจะ
 
ไม่แตกต่างกันนักคือเปรียบเปรยว่า รถไฟไทยนั้นวิ่งช้า ความจริงแล้ว
 
นั้นไม่ใช่เลยครับ หัวรถจักรไอน้ำนั้นก็สามารถเร่งความเร็วได้ถึง ๗๖ -
 
๘๐ กม./ชม ครับ ถ้าเราให้เขาลากจูงจำนวนตู้ที่เหมาะสมครับ. โน้นมัน
 
สมัยเมื่อ ๕๐ กว่าปีก่อนครับ.(งบประมาณของประเทศมีน้อย)เสียดาย
 
ว่าผมจำตัวเลขไม่ได้แล้วครับ จึงทำให้มีหัวลากไม่เพียงพอ ผมได้ใช้
 
บริการของ ร.ฟ.ท. ทั้งขึ้นและล่อง จาก กรุงเทพฯ - นครราชสีมา และ
 
ด้วยความสำนึกในบุญคุณที่ ร.ฟ.ท.ทำให้ผมได้มีโอกาศเข้ามาร่ำเรียน
 
ถึงบางกอก (กรุงเทพมหานครฯ)
 
             ผมจึงขออนุญาติเป็นครั้งที่ ๒ แก้ตัวแทน ร.ฟ.ท.ดังนี้ครับ เสียง
 
รถไฟวิ่งด้วยความเร็วสม่ำเสมอนั้นจะฟังเป็นเสียง ตามที่บทความนี้ขึ้นต้นเอาไว้
 
จริงครับ.แต่เป็นเพราะนถไฟกำลังวิ่งด้วยความเร็วสม่ำเสมอต่างหากครับ เลยมี
 
คนนำมาใช้ในทางที่ผิดคือนำมาใช้ในความหมายว่า รถไฟไทยนั้นวิ่งช้า ถึงเมื่อ
 
ไหร่ก็ช่าง ทำนองนี้
 
              นั่นเป็นเหตุหารเมื่อห้าสิบกว่าปีก่อนนะครับ และสาเหตุที่แท้จริง
 
นั้นก็คือ รถไฟไทยมีภาระหน้าที่ต้องหยุดตามรายสถานีที่มีสินค้าต่างๆเพื่อลาก
 
ตู้สินค้าขึ้นมากรุงเทพฯ พร้อมกันด้วย ผมจึงมีความเห็นว่า รถไฟไทยนั้นได้
 
ช่วย เศรษฐกิจไทยมาอย่างนาวนาน บางวันก็มีตู้สินค้ามาก จึงทำให้เสียเวลา
 
ไปบ้างในการตัดต่อตู้สินค้าและต้องวิ่งด้วยความเร็วช้าลงบ้าง โดยเฉพาะขาขึ้น
 
ไปบ้านผม นครราชสีมาซึ่งผูหลักผู้ใหญ่บอกว่า โคราชนั้น อยู่สูงกว่ากรุงเทพฯ
 
ถึง ๕ ลำต้นตาล (คือต้องวิ่งขึ้นเขานั่นเอง) กรุณาเห็นใจกันด้วย.
 
            ทีนี้มาพูดถึงปัญหาของการรถไฟไทยดูบ้าง ผมไม่ต้องพูดมากเลย
 
ครับพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจน ปัญหาของรถไฟไทยก็เหมือน
 
ปัญหาของพี่น้องเลยครับ คือนักการเมืองไม่ต้องการให้พวกเราได้ลืมตาอ้าปาก
 
และอยู่ดีกินดี ปัญหาอยู่ตรงไหน? ก็เข้าไปแก้ตรงนั้น ใช่ไม่ใช่ แต่นักการเมือง
 
ที่เข้ามาเป็นรัฐบาลเขาไม่ยอมแก้ต่างหาก รถไฟก็เหมือนกันครับ จนทำให้พี่
 
น้องสหภาพการรถไฟต้องดำเนินการต่อต้านและถูกโยนความผิดมาให้อีกด้วย
 
ครับ มีข้อมูลชัดเจนว่า ความผิดนั้นเกิดขึ้นมาจากการบริหารทั้งสิ้น(ขอพูด กลั่น
 
แกล้งสหภาพนถไฟและการรถไฟในทุกเรื่อง) เพื่อมิให้การรถไฟไทยเจริญ
 
เติบโตเพียงเพื่อจะทำการแปรรูปเท่านั้นครับ.
 
             พี่น้องครับถึงเวลาหรือยังที่พวกเราจะต้องร่วมมือกันต่อสู้กับความ
 
อยุติธรรมของผู้บริหารคือรัฐบาลฯ ขอให้พี่น้องอดทนต่อไปอีกสักนิด ผมเอง
 
ยังมีความเชื่อมั่นในตัวคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี ที่ท่านกำลังจะลง
 
มาจัดการกับปัญหาของการรถไฟไทยครับ และผมก็เชื่อว่า ท่านกำลังคิดหา
 
ทางที่จะลงมาแก้ปัญหาน้ำ/หรือปัญหาความยากจนให้พวกเราอยู่ครับ.เพราะ
 
ข้อมูลต่างๆที่พวกเราพยายามนำเสนอท่านไปนั้นน่าจะเพียงพอในการใช้ตัด
 
สินใจในการแก้ปัญหาเขื่อนทั้งหลายให้พวกเราครับ.
 
             ผมต้องกล่าวคำขออภัยท่านนายกซึ่งในบางครั้งที่ผมทราบว่า
 
การพบปะของท่านได้เลื่อยออกไป/หรือมอบให้คนในสังกัดพนนคอื่นเข้ามา
 
รับทราบปัญหา จึงทำให้ผมพูดจาก้าวร้าวท่านไปบ้างนะครับ แต่ด้วยใจและ
 
เจตนาดีต่อท่านนายกและทั้งพี่น้องเกษตรกร/ชาวนานั่นเองครับ.
 
                       ด้วยจิตรคารวะ.
 
                ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 
 
ข่าวเด่นวันนี้วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒.
 
ถึงก็ช่าง.. ไม่ถึงก็ช่าง..! (ถึ้งก็ชั่ง..ไม่ถึ้งก็ชั่ง)
 
สมัยเป็นเด็กบ้านอยู่ต่างจังหวัด จำได้ว่าครั้งหนึ่งเป็นโรคตาอักเสบ แม่ต้องพามาหาหมอที่กรุงเทพฯ ติด ๆ กันหลายครั้ง กลายเป็นที่อิจฉาริษยาของพี่ ๆ น้อง ๆ  ที่ได้เข้ากรุงเทพฯ บ่อยกว่าทุกคนในบ้าน..!
 

จากบ้านต่างจังหวัดห่างกรุงเทพฯ ร้อยกว่ากิโลเมตร และทั้ง ๆ ที่มีญาติสนิทเป็นเจ้าของรถร่วมฯ บขส.อยู่คันหนึ่ง แต่ทุกครั้งที่เดินทางเข้ากรุงเทพฯ แม่จะต้องพาขึ้นรถไฟ..
ทุกวันนี้ แม้นานทีปีหนจะมีโอกาสเดินทางด้วยม้าเหล็ก แต่มันเหมือนมีความผูกพันเก่า ๆ ลึก ๆ อยู่ในใจ จนเมื่อราว ๆ ปีที่แล้ว มีโอกาสขึ้นรถไฟไปเที่ยวทางเหนือกับเพื่อน ๆ อีกครั้ง บรรยากาศความสนุกสนานยังไม่เปลี่ยนแปลง แม้รถไฟล่าช้าเป็นชั่วโมง จนคุณพี่พนักงานประจำรถต้องเดินมาพูดโทรโข่งบอกผู้โดยสารทุกโบกี้ว่า..
รถไฟใจดี แถมให้ผู้โดยสาร อยากให้อยู่กับเรานาน ๆ ครับ..
คุยกับคุณพี่พนักงานอาวุโสท่านนั้น ช่วยคลี่คลายบรรยากาศเคร่งเครียดลงได้มาก ท่านยังเล่าให้ฟังว่า ปกติขบวนรถขาขึ้นมักจะเสียเวลาเป็นประจำ เพราะหัวรถจักรมีสภาพเก่ามาก ไต่ขึ้นเขาไม่ค่อยไหว ต้องค่อย ๆ คลานทีละคืบ ทีละศอก..
บ่อยครั้งรถขบวนอื่น ๆ รวมถึงแม้กระทั่ง รถด่วนนครพิงค์ ยังต้องจอด รอหลีก ให้รถด่วนพิเศษอย่าง ดีเซลราง สปรินเตอร์ แซงไปก่อน
ช่วงเวลาที่คุยกันสั้น ๆ (เพราะคุณพี่ต้องไปดูแลผู้โดยสารตู้อื่น ๆ ) ก็พอจะทราบข้อมูลอยู่บ้างว่า รถไฟไทย มีปัญหาหมักหมมมากมาย ขณะเดียวกันพนักงานรถไฟตามสถานีต่างจังหวัดบางแห่ง ก็ขึ้นป้ายประท้วงต่อต้านการแปรรูปกันบ้างแล้ว แต่ยังไม่มีวี่แววว่าจะลุกลามถึงขั้นหยุดเดินรถประท้วง..
และครั้งนี้  หลายคนก็นึกไม่ถึงเช่นกันว่า สหภาพรถไฟจะยังไม่เข็ด หลังถูกก่นด่าทั่วประเทศจากการประท้วงครั้งที่แล้ว และเหตุการณ์เพิ่งจะผ่านมาไม่นาน ก็ยังประพฤติเช่นเดิมอีก..
ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่า สหภาพรถไฟสูญเสียแนวร่วมที่มีอยู่เพียงน้อยนิดไปเสียแล้ว..
ความรู้สึกดี ๆ ความผูกพันเก่า ๆ ที่เคยมีต่อกัน ก็สูญสลายไปสิ้น..
ตอนนี้อยากให้สหภาพรถไฟหยุดเดินรถประท้วงไปนาน ๆ .. หยุดไปสัก 1 เดือน หรือ 3 เดือน หรือทั้งปีเลยก็ได้ อยากรู้ว่าจะเอารายได้ที่ไหนมาจ่ายเงินเดือน แล้วอย่ามาแบมือขอเงินงบประมาณจากรัฐบาลนะตัวเอง.
เล่าสู่กันฟัง : มติ ครม.วันที่ 3 มิ.ย.52 เห็นชอบแผนปรับโครงสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยรัฐจะให้งบดูแลและพัฒนาระบบรางทั่วประเทศ และให้ตั้งบริษัทลูก 2 บริษัท คือ บริษัทเดินรถ และบริษัทจัดการทรัพย์สิน โดยการรถไฟถือหุ้น 100% แต่สหภาพฯ คัดค้านทำให้ยังไม่สามารถดำเนินการตามมติ ครม.ได้
          
การรถไฟฯ มีที่ดินทั่วประเทศประมาณ 233,000 ไร่ ในจำนวนนี้เป็นที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในกิจการเดินรถ แต่มีศักยภาพ สามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้ประมาณ 38,600 ไร่ ซึ่งปัจจุบันทำรายได้ให้การรถไฟฯ ปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท.


Windows 7: It helps you do more. Explore Windows 7.

2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เรียนคุณื้แสดงความคิดเห็นข้างบนทราบ

คุณกับผมดูจะหัวอกเดียวกัน เพราะถ้าไม่มีรถไฟผมคงหมดโอกาศ เพราะผมต้องเดินทางผ่านดงพญาไฟ(อุทธยานแห่งชิติเขาใหญ่)

แต่สิ่งที่ผมไม่เนด้วยอย่างยิ่งก็คือการแปรรูปครับ ผมจะไม่พูดอะไนมากเพราะในระบอบประชาธิบไตยนั้นเราเห็รต่างกันได้ใช่ไหม?ครับ ผมดุจากการแปรรูป ปตท.ครับ ประชาชนได้อะไร?ครับ แนวคิดนั้นดี แต่กลายเป็นฃธุรกิจผูกขาดหนักขึ้นไปอีก เงินลงทุนจะเอาเงินภาษีไปลง ส่วนรายได้ บริษัท ฯจะดูแล โดยเฉพาะแหล่งผลประโยชน์คือที่ดิน คุณไม่ต้องไปฟังไครเลย ดูได้จากที่ดินเช่าของ บ.เซ็นทรัลฯ ก็ได้ การรถไฟได้เท่าไหร่?กันครับ คุณบอกว่า กระทรวงการคลังถือหุ้น ๑๐๐% คุณก็คอยดูบอขายหุ้นมันจะไม่ใช่ (กฏหมายหุ้นพวกเรายังไม่รู้ทั้งหมดเลยครับ) ปัจจุบันทุนมันเข้าไปแทรกทุกองค์กรแล้วครับ แม้มหาวิทยาลัยของนฃรัฐฯ อีกหน่อยลูกหลานพวกเราจะเอาเงินที่ไหนไปเรียนครับ.ผมอยากให้คุณเปิดใจไปรับฟังข้อมูลข่าวสารทีกแหล่งอื่นที่คุณไม่อยากฟังบ้างนะครับ คุณจะได้มองภาพได้ชัดและก็กว้างมากขึ้นครับ.

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เพิ่งรู้ว่าไดโนเสาร์ตัวสุดท้ายคือรถไฟไทย(ROYAL STATE RAILWAYS)

แสดงความคิดเห็น