เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ. "
บทความที่น่าสนใจครับ. แต่อีสานบ้านเราจะไม่เหมาะกับการปลูก
ยางพารานะครับ. ถ้าเราพอเพียง ทำเกษตร ทฤษฎีใหม่ก็พอครับ คือแบ่งที่ดิน
มาปลูกไม้ผล(พื้นบ้าน) ไม้ยืนต้น(พื้นบ้าน)และไม้ใช้สอย เราก็จะได้ป่าปลูก
เพิ่มขึ้น ๓๐%แล้วใช่ไหม?ครับ.
ด้วยจิตรคารวะ.
ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
เรื่ อง
/ภาพ : วิ ชิต สุวรรณปรีชาลกสีนํ้าเงินใบนี้
... เปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ของสิ่งมีชีวิตเป็นบ้านที่มีระบบปรับสภาพแวดล้อมให้เกิดสมดุลอัตโนมัติ มีความเหมาะสม ต่อการพำนักพักพิงอาศัย สมาชิกต่างดำรงตนแบบเกื้อกูลซึ่งกันตลอดเสมอมา
มนุษย์ สัตว์ แมลง จุลชีพ ฯลฯ ล้วนแต่เป็นสมาชิกของบ้านหลังนี ้ ที่อยู ่ร่วมกัน ทำหน้าที่ต่างกัน แต่เอื้อซึ่งกันและกัน มาช้านานนับล้านปี อย่างมีความสุข
ต่แล้วด้วยความรุ่งเรืองของอารย รรมมนุษย์ นุษย์กลับเป็นผู้ทำลายบ้านของ นเอง ทีละเล็กละน้อยค่อยเป็นค่อยไปโดยไม่ สึกตัวเพื่อสนองความรุ่งเรืองนั้น จากจุดเล็กๆ ขยายตัวเป็นวงกว้างยิ่งขึ้นตามกาลเวลา ยิ่งปัญหาทวีสะสมเนิ่นนานมากขึ้นเท่าใด ความรุนแรง ความเสียหายยิ่ง ซับซ้อนมากขึ้นเท่านั้น กระทั่งระบบปรับสมดุลสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ไม่สามารถทำงานได้ทันตามที่ควร เป็น
โลกเริ่มส่งสัญญาณให้มนุษย์รับรู้ ด้วยความแปรปรวนของธรรมชาติที่นับวันยิ่งผิดปกติถี่ยิ่งขึ้น
ผลกระทบอย่างใหญ่หลวงที่ก่อเกิดแก่โลกใบนี ้ ดังทราบกันดี คือ
ปัญหาโลกร้อนปัญหาโลกร้อนคงไม่เกิดขึ้น หากผืนโลกมีป่ าไม้มากเพียงพอ และมนุษย์ไม่ปลดปล่อยพลังความร้อน และ ก๊าซเรือนกระจก ในปริมาณมากมายมหาศาล เกินความสามารถเยียวยารักษาความสมดุลทางธรรมชาติไว้ได้
แนวทางหนึ่งที่แก้ปัญหาได้ คือการเร่งฟื้ นฟูป่ าไม้ ขึ้นทดแทนป่ าเดิมในพื้นที่ ที่มนุษย์ได้ทำลายไป
ป่ าไม้ปลูกที่บังเกิดผล ต้องเป็นป่ าไม้เศรษฐกิจที่มนุษย์ได้รับผลประโยชน์ ต่อเนื่องเท่านั้น จึงจะแน่ใจได้ว่าป่ านั้นไม่ถูกทำลายไปอีก
ในบรรดาพืชที่มีศักยภาพเพียงพอตามที่กล่าวมา คงหนีไม่พ้นพืชที่ เรียกว่า
ยางพารา อันเป็นพืชที่ผูกพันอย่างแนบแน่นกับชีวิตประจำวันของ มนุษยชาติแหล่งความร้อนบนพื้นผิวโลกตามธรรมชาติ
ความร้อนบนพื้นผิวโลกที่เกิดตามธรรมชาติ มาจาก
3 แหล่งใหญ่ ได้แก่ รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ พลัง ความร้อนจากกัมมันตภาพรังสีภายในโลกสลายตัว ความร้อนจากภูเขาไฟระเบิด และหินละลายใต้เปลือกโลกที่ แทรกตัวขึ้นมาตามรอยแยกก้นมหาสมุทรความร้อนส่วนหนึ่งกระจายสู่อวกาศ บางส่วนถูกกักเก็บไว้ในชั้นบรรยากาศ ความร้อนในชั้นบรรยากาศ นี้เองที่สะท้อนกลับลงสู่พื ้นผิวโลก ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น
ความร้อนที่เกิดตามธรรมชาติโลกมีกลไกกําจัดด้วยตนเอง ส่วนหนึ่งกระจาย สู่อวกาศ บางส่วนถูกกักเก็บไว้ในชั้นบรรยากาศ และสะท้อนกลับสู่ผิวโลก ช่วยให้ อุณหภูมิโลกอบอุ่นพอเหมาะ
ปัญหาโลกร้อนคงไม่เกิดขึ้น หากพื้นผิวโลกมีป่ าไม้ไว้ดูดซับคาร์บอน พร้อม กับค่อยๆปลดปล่อยความชื้นสู่บรรยากาศ มากเพียงพอ และมนุษย์ไม่ปลดปล่อยพลัง ความร้อน รวมถึงก๊าซเรือนกระจก ในปริมาณมากมายมหาศาล เกินกว่าความสามารถ เยียวยารักษาความสมดุลทางธรรมชาติไว้ได้
ปัญหาโลกร้อนเกิดจากสองสาเหตุหลัก
สาเหตุประการแรกเกิดจากโลกไม่สามารถสะท้อนและปลดปล่อยความร้อนออกไปนอกโลกได้ เนื่องจาก ความหนาแน่นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มนุษย์ปลดปล่อยออกมาปีละมากมาย ลอยมารวมตัวสะสมบนชั้น บรรยากาศ เกิดการกักกันความร้อนเอาไว้ ไม่ให้กระจายสู่อวกาศนอกโลก ปรากฏการณ์นี้เรารู้จักกันในนาม
"ภาวะ เรือนกระจก "สาเหตุอีกประการหนึ่ง เกิดจากชั้นโอโซนของโลกซึ่งทำหน้าที่กรองความร้อน และรังสียูวีถูกทำลายเกิด ช่องโหว่เป็นจำนวนมากด้วยสารซีเอฟซี ทำให้โลกได้รับความร้อนและรังสีอุลตราไวโอเล็ต หรือ ยูวี มากขึ้น
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถือเป็นปัญหาหลัก เพราะถูกปลดปล่อยอยู่ทุกวันเป็นจำนวนมหาศาล จากการใช้ พลังงานของโรงงานอุตสาหกรรม และยานยนต์
สำหรับประเทศไทยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่อากาศปีละกว่า
170 ล้านตัน หรือเพียงร้อยละ 0.6 ของการ ปลดปล่อยทั้งโลก เป็นอันดับหนึ่งของเอเชียอาคเนย์ปัญหาโลกร้อนเกิดจากนํ้ามือมนุษย์
ช่วง
50 ปีย้อนหลัง ประชากรโลกเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จากจำนวนประมาณ 2,900 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2500 เป็นประมาณ 6,700 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2550ประชากรที่ขยายเพิ่มขึ้นย่อมต้องการพื้นที่มากเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย และดำรงชีพ ประจำวัน ด้านเกษตรกรรมต้องบุกรุกป่ า เผาป่ า เพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูก ด้านอุตสาหกรรมต้องการพลังงานเพื่อ เดินเครื่องจักร ผนวกกับการเผาไหม้เชื้อเพลิง เพื่อการคมนาคมและขนส่ง ทั้งหลายทั้งปวงนี้ล้วนเป็นสาเหตุหลักที่ ก่อเกิดความร้อน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน จนสร้างปัญหาความร้อนสะสมในชั้นบรรยากาศ อัน ส่งผลกระทบต่อโลกอย่างรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ อาทิ การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยา ปรากฏการณ์ น้าแข็งขั้วโลกละลาย ธารน้าแข็งละลาย ฝนตกไม่สม่าเสมอ ผิดฤดูกาล น้าทะเลหนุน เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง และอีก สารพัดปลายเหตุ
แนวทางหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหา คือการเร่งฟื้ นฟูป่ าไม้ในพื้นที่มนุษย์ทำลาย ให้ได้ผืนป่ าคืนมา
ป่ ากับการดูดซับคาร์บอน
ประสิทธิภาพการดูดซับคาร์บอนของพื้นที่ต่างๆ | |
ระบบ | ตันคาร์บอนต่อไร่ |
ป่ าสมบูรณ์ | 48.96 |
ป่ าใช้สอย | 14.88 |
สวนยางระบบวนเกษตร (พืชถาวร) | 14.24 |
สวนยางระบบวนเกษตร (พืชหมุนเวียน) | 7.36 |
ปาล์มน้ามัน | 8.64 |
สวนป่ าไม้เยื่อกระดาษ | 5.92 |
พืชไร่ / ทุ่งหญ้า | 0.32 |
ที่มา : Hairiah et al ( 2544 ) |
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ประกอบด้วยคาร์บอนและก๊าซออกซิเจน อัน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต และ สามารถเคลื่อนย้ายแลกเปลี่ยนไปมาระหว่าง ร่างกายของสิ่งมีชีวิตและอากาศ กล่าวอีกนัย หนึ่งคาร์บอนไดออกไซด์เป็นของเสียจากการ หายใจของมนุษย์และสัตว์ แต่กลับเป็นแหล่ง อาหารสำคัญของพืช ดังนั้นพืชจึงเป็นแหล่ง ดูดซับคาร์บอนที่สำคัญนั่นเอง
ยิ่งพื้นที่ใดมีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชมาก ที่นั้นย่อมมีความสามารถในการดูดซับมากขึ้นเท่านั้น
และพื้นที่ที่มีความหลากหลายสูงก็คือพื้นที่ป่ าซึ่งมีต้นไม้ขนาดใหญ่จำนวนมากนั่นเอง ป่ าจึงถือได้ว่าเป็นแอ่งดูดซับ คาร์บอน
( Carbon sink ) แหล่งใหญ่ของโลก หากจะเป็นรองก็เพียงมหาสมุทรซึ่งมีพื้นที่กว้างกว่าเท่านั้นศักยภาพเชิงนิเวศน์ด้านการดูดซับคาร์บอน ขึ้นกับชนิดและองค์ประกอบทางสายพันธุ์พืช ตลอดจนอายุ ของพืช สภาพดิน การรบกวนธรรมชาติ และระบบการจัดการ
สำหรับพื้นที่เกษตรกรรม การทำพืชไร่ให้ผลด้านดูดซับปริมาณคาร์บอน ได้น้อยที่สุด ด้วยมีอายุสั้น และต้นมี ขนาดเล็ก ผิดกับพืชสวนซึ่งมีพืชที่ปลู อายุยาวนาน ขนาดลำต้นใหญ่ จึงเห็น ผลได้ชัดเจน
ในอินโดนีเซียมีรายงาน ปริมาณการดูดซับคาร์บอน ว่า พื้นที่ป่ า สมบูรณ์มีประมาณ ไร่ละ
49 ตัน ป่ าใช้สอยประมาณ 14.88 ตัน สวนยางระบบวนเกษตรแบบถาวร ประมาณ 14.24 ตัน สวนยางระบบวนเกษตรแบบพืชหมุนเวียน ประมาณ 7.36 ตัน ลดลงเกือบครึ่งหนึ่งของสวนยางแบบแรก ขณะที่พื้นที่ปลูกพืชไร่มีเพียงประมาณ 0.32 ตันเท่านั้น ดังแสดงไว้ในตารางยางพารากับการดูดซับคาร์บอน
ยางพาราเป็นพืชหนึ่งที่สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ไม่น้อยกว่าไม้ป่ าเขตร้อน โดยเฉพาะ สวนยางที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินระหว่างแถวยางเต็มพื้นที่ ด้วยการปลูกพืชแซม พืชร่วม และพืชคลุมดินตระกูลถั่ว ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง
กล่าวคือในการเจริญเติบโตของต้นยางพารา จำเป็นต้องอาศัย ขบวนการสังเคราะห์แสง ที่มีการนำคาร์บอนไดออกไซด์จาก บรรยากาศมาใช้ เพื่อสร้างส่วนประกอบต่างๆของลำต้น เช่น เนื้อไม้ ใบ ราก ซึ่งรวมเรียกว่า
" มวลชีวภาพ " ในอัตราปีละ 5.68 ตัน ต่อไร่ และทิ้งมวลชีวภาพ ในรูปใบแห้ง กิ่งแห้ง หมุนเวียนอยู่ในพื้นที่ ปี ละไม่น้อยกว่า 1.12 ตันต่อไร่ความสามารถสร้างมวลชีวภาพของยางพาราแต่ละพันธุ์ แต่ละ อายุ ก็มีความแตกต่างกันไป ดังเช่น ยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม
600อายุ 25 ปี ให้มวลชีวภาพทั้งลำต้นได้ถึงไร่ละ 49 ตัน และเก็บสารคาร์บอนได้ ไร่ละ 22-23 ตันสวนยางระบบวนเกษตรในอินโดนีเซีย
สวนยางระบบวนเกษตรในอินโดนีเซีย
ความสามารถสร้างมวลชีวภาพของยางพาราพันธุ์อาร์ อาร์ ไอ เอ็ม 600 อายุ 25 ปี | ||
องค์ประกอบพืช | นํ้าหนักแห้ง (เมตริกตันต่อไร่) | การเก็บสารคาร์บอน (เมตริกตันต่อไร่) |
ใบ | 0.3 | 0.2 |
กิ่งเล็ก | 6.1 | 2.7 |
ลำต้นและกิ่งใหญ่ | 36.7 | 16.5 |
รากแก้ว | 4.5 | 2.1 |
รากแขนง | 1.3 | 0.6 |
รากฝอย | 0.2 | 0.1 |
รวม | 49.1 | 22.2 |
ที่มา : อารักษ์ จันทุมา ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา 2546 |
การเก็บสารคาร์บอนของยางพาราพันธุ์อาร์ อาร์ ไอ เอ็ม 600 อายุ 25 ปี | |
ส่วนที่เก็บคาร์บอน | ปริมาณคาร์บอนที่เก็บ (เมตริกตันต่อไร่) |
มวลชีวภาพลำต้น | 22.2 |
การทิ้งกิ่งก้านและใบ | 8.0 |
ผลผลิตเนื้อยางแห้ง | 4.6 |
อินทรีย์วัตถุในดินบน | 7.9 |
รวม | 42.7 |
ที่มา : อารักษ์ จันทุมา ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา 2546 |
แต่หากรวมมวลชีวภาพ ทั้งหมดแล้ว ยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม
600 อายุ 25 ปี จะสามารถเก็บสารคาร์บอน ได้ไร่ละ 42.7 ตัน แบ่งได้เป็น มวล ชีวภาพลำต้น 22.2 ตัน การทิ้งกิ่งก้าน และใบ 8 ตัน ผลผลิตเนื้อยางแห้ง 4.6 ตัน และอินทรีย์วัตถุบนดิน 7.9 ตัน
การเก็บสารคาร์บอนของยางพาราพันธุ์อาร์ อาร์ ไอ เอ็ม 600 อายุ ต่างๆ | |
อายุ ( ปี ) | ปริมาณคาร์บอนที่เก็บ (เมตริกตันต่อไร่) |
9 | 8.3 |
12 | 10.9 |
18 | 15.2 |
38 | 22.2 |
ที่มา : อารักษ์ จันทุมา ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา 2546 |
การปลูกยางพาราในประเทศ ไทยจำนวนพื้นที่ประมาณ
14 ล้านไร่ จึงช่วยดูดซับคาร์บอนได้มากถึง 600 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าการปลดปล่อย หลายเท่าตัวเสียอีกพื ้นที่สวนยางพาราจึงเป็น เครดิตอย่างดีให้กับไทย ในส่วนของ การลดภาวะเรือนกระจก ทั้งยังสามารถ นำเครดิตไปขายให้กับประเทศอุตสาหกรรม นำเงินตราเข้าประเทศได้อีกด้วยซึ่งจะนำรายได้มาสู่เกษตรกรผู้ปลูก ด้วยเช่นกัน
ระบบปลูกและแปรรูปผลผลิตขั้นต้นใช้พลังงานน้อย
นอกจากยางพาราเป็นพืชที่ดูดซับคาร์บอนได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นพืชที่ใช้พลังงานในการปลูก บำรุงรักษา และ การแปรรูป ในปริมาณน้อยอีกด้วย เมื่อเทียบกับพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น อาทิ มีการไถพรวนเฉพาะ ช่วงเตรียมพื้นที่ปลูกใช้ปุ ๋ ยเพียงปีละ
15 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่พืชไร่ต้องใช้ปุ ๋ ยรวมถึง32-36 กิโลกรัมต่อไร่หรือ แม้แต่การกรีดยางเอาผลผลิตก็อาศัยพลังแสงสว่างเพียงน้อยนิดจากแสงตะเกียงหรือแบตเตอรี่ส่วนการแปรรูปยางดิบขั้นต้น หากใช้โรงอบยางพลังแสงอาทิตย์ ก็เป็น การอนุรักษ์พลังงาน และการปลดปล่อยความร้อนสู่บรรยากาศได้
สวนยางพาราเสริมสร้างสิ่งแวดล้อม
ยิ่งไปกว่านั้นสวนยางพารายังช่วยเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมอีกหลายๆด้าน อาทิ การปลูกยางพาราบนขั้นบันไดในพื้นที่ลาดเท นอกจากช่วยให้เก็บผลผลิตได้สะดวกแล้ว ขั้นบันไดยังช่วยชะลอความแรงของน้าฝนที่ไหลบ่าจากที่สูง เป็นการอนุรักษ์ดินและน้า
การปลูกพืชคลุมดินระหว่างแถวยาง เป็นการช่วยกักเก็บความชื้นไว้ในดินให นานที่สุด พร้อมกับดึงไนโตรเจนในอากาศมาเก็บไว้ในปมราก เพิ่มความ สมบูรณ์ให้กับดินโดยไม่ต้องลงทุน
การปลูกพืชร่วม พืชแซมระหว่างแถวยาง นอกจากเสริมรายได้ ให้กับชาวสวนยางแล้ว ยังเป็นการเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรมพืช ให้แก่พื้นที่นั้น อันจะมีผลต่อความหลากหลายทางพันธุกรรมสัตว์ตามมา
การผลิตยางแผ่นดิบใช้กรดอินทรีย์ ของเสียที่เกิดขึ้นใน ขบวนการผลิตจึงมีปริมาณน้อยกว่าของเสียที่เหลือทิ้งจากครัวเรือน เมื่อนำมา เปรียบเทียบกัน
การปลูกสร้างสวนยางพารา จึงก่อประโยชน์แก่ประเทศมากมายหลายด้าน ทั้งด้านเสริมสร้างสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ ดินและนํ้า อนุรักษ์พลังงาน กักเก็บคาร์บอนไว้ในส่วนต่างๆ ซึ่งล้วนมีผลต่อเนื่องไปถึงการบรรเทาสภาวะ โลกร้อน
สวนยางพาราจึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยให้ประเทศไทย บรรลุสัตยาบันในพิธีสารเกียวโตที่ลงนามไปเมื่อ ปี พ
.ศ.2537 กับภารกิจสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้Windows 7: Simplify your PC. Learn more.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น