ศึกแย่งน้ำกำลังจะเกิดขึ้นจริง(ระหว่างเกษตรกร/ชาวนา อ.เสิงสาง และกลุ่มทุนในเมืองโคราช.) ความจริงจะค่อยๆปรากฏ (เด็กๆกำลังดิ้นเพื่อนักการเมือง.......)

on วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลและเกษตรกร/ชาวนาอำเภอครบุรี,อำเภอเสิงสาง/พี่น้องผู้รักษ์ลำแซะที่นับถือ.
 
        ผมขออนุญาตินำของเก่ามาฉายใหม่ครับ ข้างล่างคือเว็บแสดงกราฟน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่(เขื่อนที่เก็บกักน้ำได้เกิน ๑๐๐ ล้าน ลบ.ม.ขึ้นไป.)
ซึ่งจะแสดงกราฟน้ำไหลลงเขื่อนที่เป็นปัจจุบันนะครับ(๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ ช้าไป ๓ วัน.)
 
http://msuriyamas.blogspot.com/2009/09/blog-post_6738.html
 
กราฟน้ำในเขื่อนลำตะคอง ณ.วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ จากมุมบนของกราฟ
 
แสดงว่า มีปริมาณน้ำในเขื่อนลำตะคอง ๖๓% ของปริมาตรเก็บกักปกติ
 
๓๒๔ ล้าน ลบ.ม./หรือติดเป็นปริมาตร = ๐.๖๓x๓๒๔ = ๒๐๔.๑๒ ล้าน
 
ลบ.ม.อัตราการใช้น้ำในการอุปโภค,บริโภค,การเกษตรกรรม,และพานิชย์
 
กรรม (ไม่รวมเขตอุตสาหกรรมสุระนารีซึ่งใช้น้ำบาดาล) รวมเฉลี่ยเดือนละ
 
๒๒.๕ ล้าน ลบ.ม.
 
        การแก้ปัญหาควรหาแนวทางในการผันน้ำจากน้ำตกเหวนรกมาเดิมก็จะ
 
มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้นอีกถึงปีละ ๑๐๐ - ๑๒๐ ล้าน ลบ.ม.และ
 
เขื่อนลำตะคองก็ยังมีความแข็งแรงและยังสามารถรองรับปริมาณน้ำที่ผันมา
 
เพิ่มนี้ได้ ( ปริมาณน้ำเก็บกักสูงสุก ๔๔๕ ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำเก็บกักปกติ
 
๓๒๔ ล้าน ลบ.ม.)
 
กราฟน้ำในเขื่อนลำแซะ ณ.วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒จากมุมบนของกราฟ
 
แสดงว่า มีปริมาณน้ำในเขื่อน ๘๐%ของปริมาตรน้ำเก็บกักปกติ ๒๗๕ ล้าน
 
ลบ.ม./หรือ = ๐.๘๐x๒๗๕ = ๒๒๐ ล้าน ลบ.ม. หากมองอย่างผิวเผินก็จะ
 
เห็นว่า เขื่อนลำแซะมีปริมาณน้ำใช้สอยมากกว่าเขื่อนลำตะคองคือมากกว่าถึง
= ๒๒๐ - ๒๐๔.๑๒ = ๑๕.๘๘ ล้าน ลบ.ม.แต่ถ้าเราหันกลับมาดูอัตราการ
 
ใช้น้ำ/เดือน คือ ๒๑.๕ ล้าน ลบ.ม./เดือน ก็จะพบว่าปริมาณน้ำจะไม่พอใช้
 
อย่างแน่นอนครับ เพราะอัตราการใช้น้ำของเขื่อนลำแซะนี้ ใช้ไปในการ
 
อุปโภค,บริโภค,การพานิชย์กรรม,และการเกษตรกรรมเท่านั้น
 
ยังมิได้รวมน้ำบริโภคในต้วเมืองนครราชสีมา และเขตอุตสาหกรรมสุระนารีซึ่ง
 
มีแผนที่จะนำไปใช้อีกด้วยครับ.
 
            ถามว่า เมื่ออัตราการใช้น้ำ/เดือนใกล้เคียงกันแล้วทำไม? จึงจะ
 
เกิดศึกแย่งน้ำกัน?
 
            ผมมองอย่างนี้ครับ (เพราะไม่มีตัวเลขของการใช้น้ำใรตัวเมือง
 
นครราชสีมา) ผมประมาณเอาว่า ครึ่งต่อครึ่งของอัตราการใช้น้ำ/เดือนนำมา
 
ใช้ผลิตเป็นน้ำปีปาครับ/หรือ ประมาณ ๑๑.๒๕ ล้าน ลบ.ม./เดือน ส่วนน้ำ
 
เพื่อการเกษตรกรรมในพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดนครราชสีมานั้นจะมีน้ำเพื่อ
 
การเกษตรกรรม จากเขื่อนต่างๆดังนี้ คือ เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนมูลบน
 
เขื่อนมูลบน เขื่อนลำแซะ และเขื่อนลำปลายมาศเป็นต้น.
 
 
            http://msuriyamas.blogspot.com/2009_08_01_archive.html
 
 
 
   ตามที่ผมได้นำเสนอไปแล้วนั้น ผมขอนำข้อความที่ผมได้โพสท์ลงในเว็บไซด์ผู้จัดการเมื่อประมาณ ปี ๒๕๔๘ ซึ่งเกิด ศึกแย่งน้ำกันระหว่าง บริษัทขายน้ำเอกชนกับกรมที่มีหน้าที่ดูแลน้ำ และพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาในภาคตะวันออก.

    อนึ่งศึกแย่งน้ำนี้กำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้ง ในพื้นที่อำเภอเสิงสาง และอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมาครับ ระหว่าง การประปาโคราช(หรือบริษัทขายน้ำ)กรมที่ดูแลเขื่อน ลำแซะ และพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาในพื้นที่ของทั้ง ๒ อำเภอดังกล่าว ทั้งนี้เพราะ ปริมาณน้ำในเขื่อน ลำแซะนั้นแม้จะใช้สำหรับการเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียวก็ยังไม่พอใช้อยู่แล้ว ยังจะมาถูกแย่งไปผลิตน้ำประปาให้พี่น้องประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา และเขตอุตสาหกรรม สุระนารี อีกด้วยครับ เหตุการณ์จะเหมือนที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกเมื่อปี ๒๕๔๘ และเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นอีกที่อำเภอเสิงสาง อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมาในปีที่การก่อสร้างโรงกรองน้ำแห่งใหม่ก่อสร้างแล้วเสน็จประมาณปี ๒๕๕๔ ครับ พี่น้องคอยดูนะครับ ผมยังไม่เห็นมีไคร?สนใจแก้ไข/หรือทำการป้องกันเลยครับ.ลองอ่านแนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำในพืนที่ภาคตะวันออกดูนะครับ.

 
 

>Mr. Suriyamas,

>I read your idea about water crisis solution, posted on www.manager.co.th

><http://www.manager.co.th/>  and would like to know more in details.

>การแก้ปัญหาภัยแล้ง ของจังหวัดทางภาคตะวันออกชายฝั่งทะเล จาก ชลบุรี พัทยา

>ระยอง โดยเฉพาะที่จังหวัดระยองซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรม

>ต้องใช้น้ำเป็นปริมาณมาก/ปี ซึ่งจากนี้ไปจะเกิดภัยแล้งถี่ขึ้น

>ดังจะเห็นได้จากปริมาณน้ำที่เก็บกักได้ในแต่ละปีค่อยๆลดลงตามลำดับ เช่น ปี

>2547 อ่างและเขื่อนต่างๆในภาคตะวันออกเก็บน้ำได้เพียง.-

>1.) อ่างบางพระ ปกติเก็บกักได้ 110ปี2547เก็บกักได้

>48ปัจจุบัน23ก.ค.2548เก็บกักได้เพียง 17 หน่วยเป็น ล้าน ลบ.ม.

>2.)

>อ่างหนองปลาไหล.ปกติเก็บกักได้164ปี2547เก็บกักได้94ปัจจุบัน23ก.ค.เก็บกักได้เพียง16

>หน่วยเป็น ล้าน ลบ.ม.

>3.) เขื่อนคลองสียัดปกติเก็บกักได้325ปี2547เก็บกักได้142ปัจจุบันถึง 23 ก.ค.

>2548เก็บกักได้เพียง40 หน่วยเป็น ล้าน ลบ.ม

>4.) รวมปกติเก็บกักได้599ปี2547รวมเก็บกักได้284 ปัจจุบันรวมเก็บกักได้เพียง

>73 หน่วยเป็น ล้าน ลบ.ม.หรือเท่ากับ 12%ของความสามารถอ่างเก็บกักได้ปกติ

>สถาณการณ์น้ำในภาคตะวันออกเข้าขั้นวิกฤตแล้วครับ.แหล่งน้ำที่จะสามารถแก้ปัญหาภัยแล้งได้คือแหล่งน้ำตามแนวพระราชดำหริ

>"เขื่อนคลองบ้านท่าด่านครับ" ซึ่งเพิ่งเริ่มเก็บกักน้ำได้ในปี 2548นี้ครับ

>ปริมาณเก็บกักปกติ 224 ล้าน ลบ.ม. ปี 2547 ยังไม่มีการบันทึกข้อมูล

>ปัจจุบันถึง 23 ก.ค. 2548 เก็บกักได้แล้ว 39 ล้าน

>ลบ.ม.เพราะฉะนั้นแหล่งน้ำหลัก" ต้อง"สร้างโรงกรองน้ำที่

>บริเวณเขื่อนคลองบ้านท่าด่าน จังหวัดนครนายก แล้วส่งน้ำไปแจกจ่ายให้ 3

>จังหวัดภาคตะวันออก การประปาต่างๆจะเป็นเพียงสถานีจ่ายน้ำเท่านั้น

>โครงการยักแค่ไหนก็ต้องทำครับ

>เพราะว่าการแก้ปัญหาในปัจจุบันเป็นการแก้เพียงชั่วคราวเท่านั้น

>เช่นการผันน้ำจากบริเวณใกล้เคียงมาใช้ก็เกิดปัญหาแล้ว

>เพราะเจ้าของพี้นที่เขาก็ขาดแคลนน้ำ

>การผันน้ำจากแม่น้ำบางประกงก็มีปัญหาการปิดเขื่อนทำให้ตลิ่งท้ายน้ำพังทลายลง

>และน้ำเค็มจะทลักเข้าไปในเขตเรือกสวนไร่นาของประชาชน

>และการเจาะน้ำบาดาลปีนี้พอมีน้ำ แต่ปีหน้าน้ำจะน้อยลงครับ.ระยะทางประมาณ 140

>กม พร้อมโรงกรองน่าจะสามารถก่อสร้างได้แล้วเสร็จภายใน 30 เดือน

>โดยในปีนี้จะได้น้ำฝน

>และรีบขอพระราชทานฝนหลวงในช่วงหน้าฝนที่บรรยากาศมีความชื้นมากนี้ทำฝนเทียมเพื่อให้ได้น้ำดิบมาประทังไปก่อน

>รวมกับน้ำฝนน่าจะพอถูไถไปได้ถึงปลายฝนหน้าครับ

>และใช้วิธีเดิมคือขอพระราชทานฝนหลวงอีกรอบก้จะสามารถยืดอายุไปได้จนโครงการก่อสร้างโรงกรองใหม่ที่เขื่อนคลองบ้านท่าด่านแล้วเสร็จ

>(หมายเหตู. ถ้าไม่รีบดำเนินการ ท่าน รัฐมนตรี นั่นแหละจะเสร็จครับ.)

>อนึ่งที่ต้องก่อสร้างโรงกรองที่เขื่อนคลองบ้านท่าด่านก็เพราะว่า

>ระดับเก็บกักน้ำสูงสุดของเขื่อนคลองบ้านท่าด่านจะอยู่ที่ประมาณ + 120 M.S.L.

>ถังจ่ายก็จะไม่ตอ้งก่อสร้างสูง หรือต้องใช้แรงดัน. จะสามารถจ่ายน้ำให้ ทั้ง 3

>จังหวัดในภาคตะวันออกได้โดยใช้ระบบแรงโน้มถ่วงครับ. หมายเหตูระบบ

>บริษัทจัดการน้ำบริโภคล้มเหลวหากรัฐบาลไม่แก้ไขจะเจอปัญหาซ้ำซาก

>การประปาส่วนภูมิภาคต้องทำเอง

>ข้าราชการที่ดียังมีอีกมากครับผมเชื่อมั่นพวกเขาจะสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ.กราบเรียนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดระยองฯ

>ระดับเก็บกักน้ำปกติของเขื่อนและอ่างเก็บน้ำในบริเวณภาคตะวันออกจะอยู่ที่ประมาณ

>40, +50, +67. M.S.L. เท่านั้น

>หากต้องการน้ำดิบมาเติมอางเก็ยน้ำต่างๆก็จะสามารถใช้ท่อล่งน้ำร่วมกันได้ถ้าจำเป็นครับ.ต้องกล้านำเสนอท่าน

>รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์

>หรือท่านนายกก็ได้ผมเชื่อครับว่าท่านจะรับฟัง.

>และที่สำคัญปัญหาการแย่งน้ำก็จะไม่มีครับ

 

       พี่น้องครับผมขออนุญาติทำนายเอาไว้เลยนะครับ ญ วันนี้วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ ในอีกไม่ถึง ๒ ปีข้างหน้าจะเกิดศึกแย่งน้ำขึ้นอย่างแนนอน และรัฐบาลจะใช้วิธีการแก้ไขแบบการแก้ผ้าเอาหน้ารอดครับคือ จะกลับไปใช้น้ำดิบจากเขื่อน ลำตะคองตามเดิม (และยอมสูญเสียเงินงบประมาณค่าก้อสร้างโรงกรองแห่งไหม่ ที่ ตำบลด่านเกวียน ไปถึง ๓,๐๐๐ ล้าน บาทเศษ ) แต่ปัญหาก็จะไม่จบครับเพราะปริมาณน้ำไหลลงเขื่อน ลำตะคองมีไม่พอเพียงและยังถูกสนามกล๊อฟแย่งไปใช้อีกด้วยครับ ผมเคนเตือนความจำแก่ผู้ที่รับผิดชอบโดยน้อมนำโครงการพระราชดำริ คืด โครงการก่อสร้างฝายกั้นน้ำที่ น้ำตกเหวนรกและขุดอุโทงผันน้ำมาลง ต้นน้ำลำตะคองคือที่ น้ำตกเหวสุวัจครับ เมื่อครั้งโคราชแล้งหนักเมื่อประมาณปลายปี ๒๕๔๘ เคยมีรัฐมนตรีคิดที่จะผันน้ำมาเติมให้เขื่อน ลำตะคองแต่คิดจะสูบน้ำขึ้ยเขาจากโครงการโขง ชีมูล ไม่เว้นแม้ ๒ - ๓ รัฐบาลที่ผ่านมาครับ. เวลาผ่านไปร่วมเกือบจะ ๕ ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่มีอะไร?เกิดขึ้นเลยครับ.

 

 

             ด้วยจิตรคารวะ

 

       ปนะชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗

 
 
เอกชนโคราชผวาขาดแคลนน้ำกระทบธุรกิจ-ลงทุน หลังศาลสั่งระงับก่อสร้างประปาฉาว 3 พันล้าน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 ตุลาคม 2552 19:40 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
หอการค้าโคราช เปิดเวทีแสดงความคิดเห็นหาทางออกร่วมกัน กรณีศาลปกครองมีคำสั่งระงับการก่อสร้างโครงการระบบประปาของเทศบาลนครนครราชสีมา ฉาวโฉ่ 3,000 ล้าน ไว้ชั่วคราว วันนี้ (23 ต.ค.)






ศูนย์ข่าวนครราชสีมา- ภาคเอกชนโคราชผวาขาดแคลนน้ำกระทบธุรกิจ-การลงทุนหนัก กรณีศาลปกครองมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างโครงการประปาแย่งชิงน้ำ "เขื่อนลำแชะ" ฉาวโฉ่ 3,000 ล้าน รุดเปิดเวทีให้เทศบาลนครโคราชพร้อมหน่วยงานเกี่ยวข้องชี้แจงข้อเท็จจริงและหาทางออกร่วมกัน ด้านรองนายกเล็กแจงเคารพคำสั่งศาลเตรียมยื่นอุทธรณ์ใน 30 วัน ย้ำมั่นใจในระยะ 3-5 ปี เมืองโคราชมีน้ำประปาใช้เพียงพอ ด้านผู้ว่าฯ เตรียมตั้ง กก.แก้ไขปัญหาร่วมระหว่างชาวบ้านผู้คัดค้านกับเทศบาล
       

       วันนี้ (23 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมชั้น 4 สำนักงานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา ได้มีการจัดเวทีชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงความคิดเห็นเพื่อหาทางออกร่วมกัน กรณีโครงการก่อสร้างระบบประปาเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค ของเทศบาลนครนครราชสีมา โดยนำน้ำดิบมาจากเขื่อนลำแซะ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา มูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท ที่ศาลปกครองมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างไว้ชั่วคราว หลังกลุ่มรักษ์ลำแชะรวม 91 คน ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง และศาลมีคำสั่งเมื่อวันที่ 15 ต.ค.ที่ผ่านมา
       
       โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมชี้แจงและแสดงความคิดเห็นประกอบด้วย นางสุบงกช วงศ์วิชยาภรณ์ ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา, นายพงษ์เลิศ สุภัทรวณิชย์ รองนายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา, นายเชิดชัย โชครัตนชัย อดีตนายกเทศมนตรี ในฐานะผู้อนุมัติดำเนินโครงการ, ตัวแทนสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร, ตัวแทนธุรกิจโรงแรม, โรงพยาบาล, สภาอุตสาหกรรมจังหวัด และผู้ประกอบการร้านค้า จ.นครราชสีมา เข้าร่วมประชุม
       
       นายพงษ์เลิศ สุภัทรวณิชย์ รองนายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา กำกับดูแลสำนักประปาเทศบาลนครนครราชสีมา เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ที่ผ่านมา ศาลปกครองนครราชสีมา มีคำสั่งให้เทศบาลนครนครราชสีมาระงับโครงการก่อสร้างระบบประปาเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค ของเทศบาลนครนครราชสีมาไว้ชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
       
       ทั้งนี้ สืบเนื่องจากกลุ่มรักษ์ลำแชะ นำโดย นายธีรพล รัตนประยูร กับพวกรวม 91 คน ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องในข้อที่ขอให้ยกเลิกโครงการก่อสร้างดังกล่าวของศาลปกครองนครราชสีมาต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้รับฟ้อง ต่อมาวันที่ 31 ก.ค.2552 ศาลปกครองนครราชสีมามีคำสั่งรับฟ้องไว้พิจารณาตามคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด และล่าสุดศาลปกครองนครราชสีมามีคำสั่งให้เทศบาลนครนครราชสีมา ระงับการก่อสร้างที่อยู่ระหว่างดำเนินการในขณะนี้ไว้ชั่วคราว ดังกล่าว
       
       นายพงษ์เลิศ กล่าวว่า การดำเนินการของเทศบาลนครราชสีมาต่อปัญหาที่เกิดขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เรื่องกระบวนการยุติ ขณะนี้เทศบาลกำลังรอเอกสารคำสั่งศาลปกครอง จากอัยการจังหวัดนครราชสีมา คาดว่า ในสัปดาห์หน้าน่าจะได้รับ ซึ่งเราต้องเคารพการตัดสินของศาลและดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าว โดยจะขอให้อัยการจังหวัดฯ ทำการยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ซึ่งกฎหมายกำหนดให้สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วันภายหลังศาลมีคำสั่ง
       
       ส่วนที่ 2 คือ การสร้างความมั่นใจให้ประชาชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาได้เข้าใจและมั่นใจว่า ในช่วง 3-5 ปี นี้ประชาชนในเขตเทศบาลนครฯ จะไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาอย่างแน่นอน เพราะน้ำประปาที่ใช้แหล่งน้ำดิบจากเขื่อนลำตะคอง ในปัจจุบัน และโครงการอื่นๆ ที่เทศบาลนครฯ จะดำเนินการ รวมทั้งโครงการแก้มลิง จะสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
       
       สำหรับการก่อสร้างโครงการระบบประปาดังกล่าว ผู้รับเหมา กิจการร่วมค้าเอส เอ (บริษัท ซิโนไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท อาควาไทย จำกัด) ได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปแล้วกว่า 67% เบิกงบประมาณไปแล้วกว่า 2,000 ล้านบาท หลังมีคำสั่งศาล ผู้รับเหมาได้หยุดการก่อสร้างไว้ชั่วคราวมีเพียงการคืนผิวจราจรที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร ส่วนการขุดหรือวางท่อรวมถึงการก่อสร้างอื่นๆ ได้หยุดดำเนินการไว้ทั้งหมดแล้ว
       
       "ผมยืนยันว่า ขั้นตอนการประมูลหรือดำเนินการเป็นไปด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติ ขอย้ำว่า โครงการนี้มีความจำเป็นมาก เพราะเมืองโคราชมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่แหล่งน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคของชาวโคราชมีเพียงแหล่งเดียว คือ จากอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ซึ่งต้องแบ่งน้ำบางส่วนให้กับโครงการลำตะคองแบบสูบกลับ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำนวน 10 ล้านลบ.ม. และหากเกิดวิกฤติภัยแล้งเหมือนเช่นปี 2535 หรือ ปี 2548 จะเกิดปัญหาขึ้นอย่างมาก ฉะนั้น โครงการนี้จึงเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำในอนาคต และรองรับการเจริญเติบโตของเมืองเทศบาลนครฯ ด้วย" นายพงษ์เลิศ กล่าว
       
       ด้าน นางสุบงกช วงศ์วิชยาภรณ์ ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า การเปิดเวทีชี้แจงขึ้นในครั้งนี้ ทางหอการค้าจังหวัดต้องการเป็นตัวกลางในการหาทางออกเรื่องดังกล่าวร่วมกัน และต้องการทราบข้อเท็จจริงจากเทศบาลนครนครราชสีมาในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักธุรกิจที่ประกอบการอยู่ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาให้มั่นใจ เวทีนี้ไม่ใช่การคัดค้าน หรือสนับสนุน
       
       "องค์กรเราไม่ได้อิงการเมือง ไม่เข้าข้างใคร ส่วนตัวมองว่าโครงการนี้น่าจะดำเนินการต่อไปให้เสร็จสิ้นเพราะงบประมาณทุกอย่างมีอยู่แล้ว การก่อสร้างก็เดินหน้าไปกว่า 60% แล้ว การขยายตัวของจังหวัดนครราชสีมาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจำนวนประชากร และสถานประกอบการธุรกิจต่างๆ ซึ่งล้วนจะต้องใช้น้ำทั้งนั้น" นางสุบงกช กล่าว
       
       ขณะที่ นายสวัสดิ์ มังกรวิวัฒน์ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ภาคธุรกิจต่างให้ความสำคัญกับเรื่องน้ำ การเข้ามาลงทุน หรือประกอบธุรกิจจะต้องมองที่ระบบสาธารณูปโภคเป็นหลัก น้ำจึงมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจ หากขาดน้ำ ไม่มีน้ำใช้ ธุรกิจทั้งจังหวัดจะต้องหยุดชะงักไปทั้งหมด นักธุรกิจก็ไม่สนใจเข้ามาลงทุนเพิ่ม และผู้ประกอบการเดิมที่มีอยู่ก็ได้รับความเดือดร้อน
       
       ฉะนั้น การหาแหล่งน้ำเข้ามาเพิ่มเติมสิ่งที่มีอยู่เป็นเรื่องที่ดี แต่เรื่องที่เกิดขึ้นกับเทศบาลนคนครราชสีมา ก็เห็นใจทุกภาคส่วน ทั้งภาคเกษตรกรรรมที่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อทำการเกษตรเหมือนกัน และในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาก็มีความจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ฉะนั้น การทำความเข้าใจกันน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
       
       ที่ผ่านมา ในปี 2548 จังหวัดนครราชสีมา ประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก ส่งผลกระทบต่อธุรกิจต่างๆ มากมาย สถานประกอบการแต่ละแห่งรวมถึงโรงแรมต่างกักตุนน้ำเพื่อสำรองไว้ให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ แต่เก็บสำรองไว้ได้ไม่เกิน 3-4 วันก็หมด
       
       "หากยังขาดน้ำอีกทุกอย่างก็พังหมด นักท่องเที่ยวหนีไปใช้บริการภูมิภาคอื่น จังหวัดอื่น สุดท้ายผู้ประกอบการต่างๆ ก็อยู่กันไม่ได้ ฉะนั้น น้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเร่งดำเนินการแก้ไขไม่ให้เกิดปัญหาการขาดน้ำขึ้น" นายสวัสดิ์ กล่าว
       
       ขณะที่ นายประจักษ์ สุวรรณภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นกับโครงการก่อสร้างระบบประปา ของเทศบาลนครราชสีมา นั้น เรื่องนี้ทุกฝ่ายต้องมาหารือร่วมกันเพื่อหาข้ออธิบายให้ได้ข้อยุติร่วมกัน และหาแนวทางเตรียมการแก้ไขกัน โดยเฉพาะจังหวัดเราได้รับอนุมัติโครงการมามาก และได้งบประมาณมาค่อนข้างมากซึ่งเป็นเรื่องปกติ เพราะโคราชเป็นจังหวัดใหญ่รองจากกรุงเทพฯ มีประชากรกว่า 2 .5 ล้านคน ยังไม่รวมประชากรแฝงอีกจำนวนมาก
       
       ตนอยากให้ทุกคนเดินไปข้างหน้า แต่อย่าอยู่ด้วยความแตกแยก อย่าอยู่ด้วยความสงสัยซึ่งกันและกัน บ้านเมืองมันจะเดินหน้าไม่ได้ เรื่องนี้เราต้องพูดคุยทำความเข้าใจกัน เพราะเราไม่ได้อยู่คนละประเทศ เราเป็นคนไทยด้วยกันอยู่จังหวัดเดียวกัน ฉะนั้นทุกอย่างสามารถพูดกันได้ด้วยเหตุด้วยผล แต่สำคัญว่าพูดกันให้เข้าใจ ให้เขาเห็นข้อเท็จจริงจริงๆ ตนเชื่อว่า อยู่ในวิสัยที่พูดคุยกันได้
       
       "การดำเนินการก่อสร้างโครงการนี้เริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2538 และมีการประมูลเมื่อปี 2550 และลงมือดำเนินการเดินหน้าไปแล้วกว่า 60% ตนว่าเราอย่าไปคิดในแง่ร้าย ฉะนั้น เราต้องช่วยกันทำ ซึ่งจังหวัดเองอาจจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งที่จะมาพูดคุยกันทั้งสองฝ่ายทั้งประชาชนที่คัดค้านโครงการและเทศบาล ได้หันหน้าเข้าหากัน" นายประจักษ์ กล่าว

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ร้อนตัว! มรดกบาปประปาฉาว 3 พันล. เด็ก "สุวัจน์" เปิดเวทีอ้างผวาขาดน้ำ - ลั่นล่าชื่อกดดันศาล
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 ตุลาคม 2552 18:54 น.

ชมรมร้านอาหารและสมาคมประธานชุมชุนเขตเทศบาลนครโคราช กลุ่ม "เด็ก สุวัจน์" เปิดเวทีถกปัญหาวิกฤติน้ำ หลังศาลปกครองสั่งระงับก่อสร้างชั่วคราวโครงการประปาฉาวโฉ่ 3 พันล้าน วันนี้ ( 26 ต.ค.)

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
นายเชิดชัย โชครัตนชัย อดีตนายกเทศมนตรีฯ ผู้อนุมัติดำเนินโครงการประปา 3 พันล้าน






นายจีระศักดิ์ คาระวิวัฒน์ ปธ.ชรมชมผู้ประกอบการร้านอาหารจ.นครราชสีมา

ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - ชมรมร้านอาหารและสมาคมประธานชุมชุนเขตเทศบาลนครโคราช กลุ่ม "เด็กสุวัจน์" เปิดเวทีถกปัญหาวิกฤตน้ำ หลังศาลปกครองสั่งระงับชั่วคราวโครงการก่อสร้างประปาฉาวโฉ่ 3 พันล้าน อ้างผวาขาดแคลนน้ำกระทบธุรกิจร้านอาหารกว่า 2,000 แห่ง ระบุ น้ำประปาโคราชปัจจุบันไม่พอใช้ คุณภาพแย่ เผย ไม่หวั่นหมิ่นศาลเตรียมล่ารายชื่อ ปชช.ผู้ใช้น้ำขอความเป็นธรรมต่อศาล พร้อมเรียกร้องผู้ว่าฯ-ส.ส.ช่วยเหลือให้โครงการเดินหน้าต่อจนแล้ว
       
       ผู้สื่อข่าวความคืบหน้ากรณีที่ ศาลปกครองนครราชสีมา ได้มีคำสั่งให้เทศบาลนครนครราชสีมาระงับการก่อสร้างชั่วคราวโครงการระบบประปาเพื่อแก้ไขปัญหาอุปโภคบริโภคมูลค่า 3,154 ล้านบาท โดยวางท่อนำน้ำดิบมาจากเขื่อนลำแชะ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา จนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค.ที่ผ่านมา หลังดำเนินการก่อสร้างไปกว่า 67% เบิกจ่ายงบประมาณแล้วเกือบ 2,000 ล้านบาท นั้น
       
       ล่าสุด เมื่อเวลา 12.30 น.วันนี้ (26 ต.ค.) ที่ร้านอาหารสเต็กจิ้มกะแจ๋ว ถ.สืบศิริ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารจังหวัดนครราชสีมา นำโดย นายจีระศักดิ์ คาระวิวัฒน์ ประธานชมรม และสมาคมประธานชุมชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา 83 ชุมชน นำโดย พ.อ.พีระยุทธ์ ไพบูลย์วิริยะวิช นายกสมาคม ได้จัดเวทีเสวนารับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากประชาชนผู้ใช้น้ำและผู้ประกอบการร้านอาหารในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา
       
       โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนากว่า 50 คน ซึ่งล้วนเป็นอดีตผู้นำชุมชนในช่วงการบริหารเทศบาลนครนครราชสีมา ของทีม นายเชิดชัย โชครัตนชัย อดีตนายกเทศมนตรี ในนาม "กลุ่มโคราชชาติพัฒนา" ที่มี นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ให้การสนับสนุน และ การจัดเวทีเสวนาครั้งนี้ นายเชิดชัย โชครัตนชัย อดีตนายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา ในฐานะผู้อนุมัติดำเนินโครงการก่อสร้างระบบประปา 3,154 ล้านบาท ดังกล่าว ตามการผลักดันงบประมาณของ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ในช่วงรัฐบาลพรรคไทยรักไทย (ทรท.) ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ได้เดินทางมาร่วมให้ข้อมูลและเสนอความคิดเห็นด้วย
       
       นายจีระศักดิ์ คาระวิวัฒน์ ประธานรมชมผู้ประกอบการร้านอาหารจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ผู้ประกอบการร้านอาหารในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ที่มีเกือบ 2,000 แห่ง และประชาชนในชุมชนต่างๆ รู้สึกไม่สบายใจต่อข่าวการระงับการก่อสร้างโครงการประปา เนื่องจากเป็นห่วงว่าจะไม่มีน้ำใช้ และคิดว่าการให้ระงับการก่อสร้างโครงการก็ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร เพราะขณะนี้การก่อสร้างดำเนินการไปเกือบจะเสร็จแล้ว ชาวบ้านและผู้ประกอบจึงได้จัดเวทีเสวนาในครั้งนี้ขึ้น
       
       นายจีระศักดิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนใหญ่ในที่ประชุมเห็นว่า ปัญหาวิกฤตน้ำจะต้องเกิดขึ้นกับประชาชนในเขตเทศบาลอย่างแน่นอน หากเรายังพึ่งพาแหล่งน้ำเพียงแห่งเดียว คือ จากอ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ.สีคิ้ว เนื่องจากเมืองมีการขยายตัวมากขึ้น ประชาชนเข้ามาอาศัยมากขึ้น ที่สำคัญผู้ประกอบการร้านค้าและร้านอาหารหากไม่มีน้ำใช้จะต้องได้รับผลกระทบอย่างหนัก ซึ่งจะเป็นผลทำให้นักท่องเที่ยวไม่อยากเข้ามาใช้บริการ และปัจจุบันนี้ ประชาชนและร้านอาหารที่อยู่ตามตะเข็บเขตเทศบาลนครนครราชสีมาก็ประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำอยู่แล้ว เนื่องจากน้ำไม่ค่อยไหล หรือไหลเบา บางคนต้องตื่นนอนตี 3 ตี 4 เพื่อมารองน้ำไว้ใช้ ไว้อาบที่ ซ้ำร้ายน้ำประปาของเทศบาล ก็ขุ่นมีตะกอนมาก และมีกลิ่นเหม็นด้วย
       
       ฉะนั้น ในวันนี้ผู้ประกอบการและประชาชนในชุมชน 83 ชุมชุน ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาจึงมีความเห็นตรงกันว่าอยากให้โครงการดังกล่าวเดินหน้าต่อไปจนจบ
       
       ส่วนการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่ อ.ครบุรี ที่อยู่ในพื้นที่เขื่อนลำแชะ ที่เป็นแหล่งน้ำดิบที่ทางเทศบาลนคร จะนำมาผลิตประปานั้น ก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องเข้าไปแก้ไขปัญหาให้พวกเขา แต่โครงการก่อสร้างนี้ต้องเดินหน้าเพราะไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องไปหยุดการก่อสร้างเลย
       
       "จากนี้ไปประชาชนผู้ใช้น้ำรวมถึงผู้ประกอบการร้านอาหารในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาจะร่วมกันลงชื่อเพื่อขอความเป็นธรรมจากศาลว่าคนจำนวนมากเดือดร้อน หากเขตเทศบาลนคร ไม่มีน้ำใช้ส่งผลให้เศรษฐกิจเสียหาย และขอให้ชาวครบุรี เห็นใจสงสารประชาชนในเขตเทศบาลนครด้วย" นายจีระศักดิ์ กล่าว
       
       ด้าน พ.อ.พีระยุทธ์ ไพบูลย์วิริยะวิช นายกสมาคมประธานชุมชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา 83 ชุมชน กล่าวว่า อยากขอความเป็นธรรมให้พี่น้องประชาชนในเขตเทศบาลนครด้วย และปัญหาขาดแคลนน้ำประปะทำให้ทุกคนเดือดร้อนมาก หากโครงการนี้ไม่เดินหน้าก่อสร้างให้แล้วเสร็จ ประชาชนในชุมชนก็เกิดความวิตกกังวลว่าอนาคตจะไม่มีน้ำใช้ เพราะทุกวันนี้เริ่มมีปัญหาน้ำไม่ไหลแล้ว และหน้าแล้งมาถึงทุกปีประชาชนในเขตเทศบาลนครฯต้องเตรียมหาภาชนะมารองน้ำไว้ใช้หรือต้องตื่นแต่เช้าเพื่อมารองน้ำไว้อาบไม่เช่นนั้น ก็จะไม่มีน้ำใช้ตลอดทั้งวัน
       
       พ.อ.พีระยุทธ์ กล่าวอีกว่า หลังจากทราบข่าวว่าเทศบาลนครนครราชสีมามีโครงการก่อสร้างประปาเพื่อนำน้ำจากลำแชะมาเพิ่มเติมจากแหล่งที่มีอยู่ชาวบ้านก็รู้สึกดีใจว่าจะมีน้ำใช้ไปอีกนาน แต่ในที่สุดมาทราบข่าวว่าให้ระงับโครงการก่อสร้างไว้ก่อน ก็รู้สึกใจหายและเป็นกังวล กลัวว่าจะไม่มีน้ำใช้ ทางสมาชิกในชุมชนทั้ง 83 แห่ง จึงเห็นร่วมกันว่าจะช่วยกันล่ารายชื่อประชาชนที่เดือดร้อน ไปยื่นขอความเป็นธรรมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการดำเนินการสร้างระบบประปาให้แล้วเสร็จ
       
       "โดยจะนำรายชื่อไปยื่นให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา, นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตอ.เมือง นครราชสีมา เพื่อขอความเห็นใจให้ช่วยเหลือ ให้การก่อสร้างเดินหน้าต่อไปให้แล้วเสร็จ" พ.อ.พีระยุทธ์ กล่าว


Windows 7: Simplify your PC. Learn more.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น