เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
เวลาช่างผ่านไปเร็วมาก พี่น้องมาปักหลักอยู่บนเขื่อนราษีไศลถึง ๙๕ วันแล้วนะครับ
พี่น้องครับ ผมขออนุญาติตำหนิส่วนราชการเพราะกว่าจะลงมารับฟังปัญหาทำไม? จึงต้องรอ
ถึง ๙๕ วัน แต่ก็ยังดีกว่าไม่มานะครับ และพวกเราไม่ต้องรอไปจนครบ ๑๙๓ วัน การแก้ปัญ
หาผมคิดว่าไม่ใช่เพียงจ่ายค่าชดเชยที่ดินจนครบแล้วจบ จ่ายแล้วความเดือดร้อนของพี่น้อง
เราจะหมดไปหรือเปล่า ? ก็เปล่าเลยครับปัญหาผลกระทบจากน้ำทะลักเข้าท่วมป่าบุ่ง ป่าทาม
และไร่นาก็จะยังคงอยู่ เราควรที่จะนำการแก้ปัญหาของเขื่อน(อ่าง)ห้วยละห้าตามแนวการต่อ
สู้ของคุณยายไฮฯดีไหม?ครับ สำหรับผมแล้วคิดว่า พี่น้องเราก็จะเดือดร้อนอีกเช่นกันเพราะ
จะไม่มีน้ำใช้เพื่อการเกษตรกรรมและทำนา เราควรจะใช้หลัก เศรษฐกิจพอเพียง/หรือทางสาย
กลาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้คำว่า พอประมาณ และทรงพระราชทานแนวพระราชดำริ
ให้สร้างเขื่อนเตี้ยๆดังที่ผมได้เคยนำเสนอไปแล้ว ยังจำกันได้ไหม?ครับ คือเราเพียง ลดระดับเก็บ
กักน้ำลงให้ลงมาอยู่ที่ระดับที่เหมาะสม โดยทดลองเปิดเขื่อนตามงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยอุบล
ราชธานีคือ ทดลองเปิดประตูระบายน้ำทุกบานเป็นเวลา ๘ เดือน (แทนที่จะกล้าๆกลัวๆ โดยเปิด
เพียง ๔ เดือน)แล่วจึงปิดเป็นเวลา ๔ เดือน เพื่อดูผลกระทบต่างๆ เช่นการขึ้นมาวางไข่ของปลา
และลูกปลาจะมีน้ำเพื่อการเจริญเติบโตได้หรือไม่เป็นต้น ผมเองคิดว่า งานวิจัยนั้นใช้ได้ครอบ
คลุมทุกเขื่อน(ฝาย)ในโครงการ โขง ชี มูน ขึ้นอยู่กับเขื่อนใหญ่/หรือเล็ก ผลกระทบก็จะรุนแรง
แตกต่างกันไปครับ.และเสริมด้วยระบบผันน้ำด้วยท่อ นำน้ำไปเติมให้อ่างเล็ก/หรือสระเก็บน้ำ
ประจำแปลงเกษตร ทฤษฎีใหม่ หากทางราชการรับได้ ก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ครับ.และผล
พลอยได้แก่เกษตรกร/ชาวนาก็คือ ราคาข้าวจะสูงขึ้นตามหลัก เศรษฐศาสตร์ครับ.(พื้นที่ทำนา
จะหายไปถึง ๗๐% แต่เราจะได้คืนมามากกว่าคือ ได้แหล่งน้ำเป็นของเราเอง ๓๐% ได้ป่าปลูก
คินมา ๓๐% และได้ที่อยู่อาศัยแปลงปลุกผักสวนครัว คอกสัตว์ ยุ้งข้าว ๑๐% ที่ได้เกินมาก็คือ
เราจะได้สิ่งแวดล้อมที่ดีค้นมาครับ จากการปลูกป่า ๓ อย่าง ได้ประโยชน์ ๔ อย่างตามแนวพระ
ราชดำริครับ.
ด้วยจิตรคารวะ
ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
การเมือง : คุณภาพชีวิต
รองอ.กรมชลประทาน รับแก้ปัญหาเขื่อนราษีไศล
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
โดยประมาณ 11.00 น. คณะของนายวีระ วงศ์แสงนาค เดินทางมาถึงสันเขื่อนราษีไศล และชาวบ้านได้ทำพิธีผูกข้อต่อแขนต้อนรับ ให้ขวัญกำลังใจแก่คณะผู้มาเยือนตามประเพณีของคนอีสาน
นางผา กองธรรม แกนนำสมัชชาคนจน กล่าวว่า ท่านอยากมาเห็นข้อเท็จจริงของพวกเรา ก็ไม่ได้ตั้งความหวังไว้สูงว่าจะทำให้เกิดการแก้ปัญหาทันที เพราะแนวทางแก้ปัญหาของเรา ทิศทางที่จะทำให้การแก้ปัญหาของเราแล้วเสร็จขึ้นอยู่กับเรา อยู่ที่กระบวนการตามเรื่องของเรา ไม่ใช่กระบวนการที่เขากำหนด หากเตรียมข้อมูลจากพื้นที่พร้อมเมื่อไร ก็จะนำเสนอสู่รัฐบาลตามกระบวนการต่อไป
"ชาวบ้านมาอยู่ที่นี่อยากให้กรมชลประทานและรัฐบาล แก้ไขปัญหาและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบให้สำเร็จลุล่วงในปัญหา 3 ประการ คือ 1.ยังไม่ได้รับค่าชดเชย 2.ที่ดินอยู่นอกอ่างเก็บน้ำ แม้เขื่อนราษีไศลจะเก็บกักน้ำในระดับ 119 ก็ส่งผลกระทบเช่นกัน 3.ผู้ที่ได้รับผลกระทบระยะยาวตั้งแต่การสร้างเขื่อน อยากให้มีแผนการฟื้นฟูวิถีชีวิตและชุมชน ระยะสั้นและระยะยาว ให้พวกเราการหาอยู่หากินให้ยั่งยืนได้อย่างไร นอกจากนี้ชาวบ้านยังอยากฟังแนวทางการแก้ไขปัญหาของกรมชลประทานจะมาทำงานร่วมกับพี่น้อง ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดี มีท่านรองอธิบดีกรมชลประทานมาเยี่ยม" นางผา กล่าว
ด้านนายวีระ วงศ์แสงนาค กล่าวกับผู้ชุมนุมว่า การเดินทางมาวันนี้ ได้ทราบข่าวจากเจ้าหน้าที่กรมชลประทานว่า พี่น้องจำนวนมากมาชุมนุมอยู่ที่สันเขื่อนราศีไศลเป็นเวลา 95 วันแล้ว ก็ติดตามข่าวมาโดยตลอด และอาจารย์ชัยพันธ์ ได้ชวนให้มารับฟังปัญหาของพี่น้องที่นี่ จึงได้มาเยี่ยมเยียนและฟังข้อคิดเห็น
"กรณีโครงการเขื่อนราษีไศล กรมชลประทานเองไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากเป็นปัญหาที่สะสมมานาน ต้องค่อยๆ แกะ ไม่อาจทำได้รวดเร็ว เพราะติดขัดกับการเปลี่ยนรัฐบาลและระเบียบของข้าราชการบ้าง เนื่องจากเกี่ยวข้องกับหน่วยราชการหลายส่วน สำหรับตนเองมีใจที่จะแก้ไขปัญหาให้พี่น้องราษีไศลด้วยใจเต็มร้อย เพราะท่านผู้ได้รับผลกระทบควรได้รับความช่วยเหลือ แม้บางครั้งอาจต้องแก้ต้องรื้อระเบียบก็ต้องยอม จะทำให้จบเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้" นายวีระ ย้ำ
ขณะที่ นายชัยพันธ์ ประภาสะวัต ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน กล่าวว่า"เขื่อนราษีไศลคนที่ทำบาป ทำกรรมคือ กรมพัฒนาที่ส่งเสริมและพลังงาน ตอนนี้กรมชลประทานก็จะมาแก้บาปแก้กรรมให้กับเรา ไม่ใช่เป็นจำเลย ถ้าเราไปนั่งคิดเรื่องกฎหมายมันไปไม่รอด ท่านรองอธิบดีกรมชลประทานเคยแถลงแล้วว่า การสร้างเขื่อนที่ผ่านมามีความผิดพลาดและก่อผลกระทบมากมาย เนื่องจากประชาชนไม่มีส่วนร่วม วันนี้กรมชลฯจะมาสร้างมิติใหม่ โดยการให้ประชาชนมามีส่วนร่วม ในการกำหนดชะตากรรมของท่านเองในการจัดการะบบชลประทาน โดยสร้างพื้นที่นำร่องขึ้นแล้วที่จ.พิจิตร ซึ่งให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการระบบชลประทาน
"การลงพื้นที่จริงแลกเปลี่ยน ร่วมมือกันแก้ปัญหา ก็จะทำให้เห็นความจริงว่า ทำไมชาวบ้านต้องมาอยู่ และอยู่กินกันอย่างไร ทุกข์อย่างไร จึงจะเข้าใจถึงความทุกข์ยากของชาวบ้าน และก็ต้องมาช่วยคนจนก่อน เพราะคนจนไปไหนไม่ได้ ต้องอยู่กับบ้าน อยู่กับนา แต่เมื่อนาไม่มี ที่ดินมันหายไป จะทำอย่างไร แล้ววันนี้เขื่อนต้องอยู่กับชาวบ้าน ทำอย่างไรจึงจะเป็นเขื่อนราษีไศลของประชาชน ไม่ใช่ของกรมชลเท่านั้น นี่เป็นเรื่องที่ควรทำ ก็มีโครงการหลายๆอย่างของกรมชลประทาน ที่สามารถนำไปทำกับพี่น้องได้ ก็พูดคุยหารือกัน โดยให้ประชาชนเป็นคนคิดเอง แล้วกรมชลฯเป็นคนช่วย" ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน กล่าวน
นายชัยพันธ์ ยังระบุด้วยว่า การเจรจาแก้ปัญหา ก็มีได้บ้างเสียบ้าง ไม่มีใครได้อย่างเดียวหมดทุกอย่าง ขอแค่ให้ยุติธรรม พอเหมาะพอควร และพอเพียง ซึ่งมนุษย์ไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่จะพูดคุยหาข้อยุติกันได้ เรื่องเขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนาแม้วันนี้อาจไม่ได้จบเบ็ดเสร็จแต่ต้องมีความก้าวหน้า
จากนั้นสมัชชาคนจนและคณะของนายวีระ วงศ์แสงนาค ได้นำพันธุ์ต้นไม้จากทาม ไปปลูกที่คันดินบริเวณสันเขื่อนราษีไศล ก่อนจะรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน และพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาของเขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนาน ก่อนจะเดินทางกลับเวลาประมาณ 15.00 น.
ทั้งนี้ เขื่อนราษีไศลเป็นเขื่อนในโครงการโขง ชี มูล ที่ก่อสร้างและกักเก็บน้ำมาตั้งแต่ปี 2536 โดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ทำให้พื้นป่าทามและที่ดินทำกินของชาวบ้านกลายเป็นอ่างเก็บน้ำประมาณ 100,000 ไร่ และชาวบ้านประมาณ 7,000 – 10,000 ครอบครัว คือผู้ได้รับผลกระทบที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา ปัจจุบันกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้เข้ามารับผิดชอบการดำเนินการบริหารโครงการ โดยเปลี่ยนชื่อเป็น โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา มูลล่าง
ปัจจุบัน ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากเขื่อนราษีไศล ชุมนุมเรียกร้องให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาคือ การจ่ายค่าชดเชยที่ดินแก่ชาวบ้านที่ยังไม่ได้รับ การตรวจสอบกรณีชาวบ้านที่มีที่ดินอยู่นอกอ่างเก็บน้ำระดับ 119 ม.รทก. เนื่องจากได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน และการเรียกร้องให้มีการศึกษาผลกระทบทางสังคม เพื่อเสนอแนวทางและมาตรการฟื้นฟูวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชนระยะยาวต่อไป
Hotmail: Free, trusted and rich email service. Get it now.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น