ข่าวการเมือง ประปาโคราชวิกฤติ ศาลระงับโครงการ 2ล้านคนเดือดร้อน

on วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เรียนพี่น้องชาวเมืองนครราชสีมาทุกๆท่านที่นับถือ.
 
        อย่าไปตกใจกับข่าวข้างล่างนี้เป็นอันขาดนะครับ การปรปาโคราชบ้าน
 
เราจะไม่มีวันวิกฤติหนักตามข่าวนี้อย่างเด็ดขาดครับ ผมขอยืนยัน.กรุณาดูกราฟน้ำไหลลงเขื่อน ลำตะคอง และกราฟน้ำไหลลงเขื่อนลำแซะตามที่ผมได้นำเสนอข้างบนนี้ครับ. และกรุณาเข้าไปอ่านข้อมูลและเหตุผลสนับสนุนความเห็นของผมได้ใน.
 
         http://www.msuriyamas.blogspot.com
 
         เขื่อนลำตะคองยังมีศักญ์ภาพ(ประสิทธิ์ภาพในการกักเก็บน้ำ) เหนือกว่าเขื่อน ลำแซะ อยู่มากครับ ยังแข็งแรงกว่า มีเพียงบางปีเท่านั้นที่โคราชบ้านเราแล้งนาน เช่นปี ๒๕๔๘ แล้งยาวนานถึง ๑๐ เดือน. ซึ่งเป็นธรรมดา และหากมีการดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำไหลลงเขื่อนน้อย และน้ำจากลำตะคองช่วงระหว่างต้นน้ำบนเขาใหญ่ ไม่ถูกเอกชนแย่งไปมากเกินความจำเป็นแล้วละก็ ปริมาณน้ำที่จะใช้ในการอุปโภค บริโภค การพานิชย์ และการเกษตรกรรม ยังมีพอเพียงครับ.
 
          เพียงพวกเรารักษ์ลำตะคองเท่านั้น คือช่วยกันดูแลและอนุรักษ์ลำตะคองตั้งแต่เขื่อนลำตะคอง จนผ่านถึงต้วเองโคราช ช่วยกันรักษาทางน้ำอย่าให้ต้นเขินและมีการรุกล้ำและช่วยกันป้องกันน้ำเสียอย่าให้ไหลลงลำตะคองอย่างเด็ดขาด พี่น้องก็จะยังคงมีน้ำใช้ในการอุปโภค บริโภค การพานิชย์ และการเกษตรกรรมอย่างพอเพียงไปอีกนานครับ.
 
           ช้างนี้การเมืองเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น พี่น้องประชาชนค้นหาความจริงได้มากขึ้น และผมเองก็กำลังรณณรงให้คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้กล้าตัดสินใจแกไขปัญหาเขื่อนปากมูน เขื่อนราษีไศล เขื่อนหัวน่ และอีก ๑๒ เขื่อนในโครงการโขง ชี มูน อยู่และผมยังเชื่อมั่นว่า ท่านนายกจะเชื่อข้อมูลจากพี่น้องประชาชนและดำเนินการแก้ปัญหาเขื่อนต่างๆได้ครับ.
 
           อนึ่งการผันน้ำจากน้ำตกเหวนรกมาลงต้นน้ำลำตะคองที่น้ำตกเหวสุว้จนั้นไม่ยากเลยครับ เจาะอุโมงผันน้ำจะแพงหน่อยแต่คุ้ม/หรือจะวางท่อผันน้ำลัดเลาะใหล่เขาอ้อมมาลงน้ำตกเหวสุวัจก็ย้อมได้และราคาไม่แพงครับ อีกทั้งยังไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วยครับ.
 
             ด้วยจิตรคารวะ
 
     ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 
 

ข่าวการเมือง
ข่าวการเมือง
ประปาโคราชวิกฤติ ศาลระงับโครงการ 2ล้านคนเดือดร้อน

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ที่ห้องประชุมหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา นางสุบงกช วงศ์วิทยาภรณ์ ประธานหอการค้าจังหวัดฯ ได้เป็นประธานการประชุมร่วมหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกรณีโครงการประปาของเทศบาลนครนครราชสีมาที่กำลังเดินหน้าก่อสร้างไปแล้ว และได้มีกลุ่มชาวบ้าน โดยอ้างตัวเองเป็นกลุ่มรักลำแชะ อ.ครบุรีฯ จำนวน 91 คน ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุด และศาลปกครองสูงสุดสั่งให้ระงับการดำเนินการก่อสร้างไว้ชั่วคราวตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 ต.ค.ที่ผ่านมา

นางสุบงกช วงศ์วิทยาภรณ์ ประธานหอการค้าจังหวัดฯ กล่าวว่า โครงการประปาได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วเกือบครึ่งแล้ว เรื่องที่เกิดขึ้นก็อยากให้มีการพูดคุยกันในการแก้ไขปัญหา ตนยืนยันว่าการหารือตรงนี้คงไม่ได้ว่าเป็นการสนับสนุนหรือคัดค้าน แต่เพื่อหาข้อเท็จจริงให้กับนักธุรกิจที่รู้ถึงปัญหานี้และค่อนข้างจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอนในอนาคต ตนเรียนว่าองค์กรเราไม่ได้ไปอิงการเมือง ไม่เข้าใคร แต่โครงการนี้ตนคิดว่าน่าจะดำเนินต่อไปให้เสร็จสมบูรณ์ โดยเฉพาะปัจจุบันความก้าวหน้าและการขยายตัวของธุรกิจเติบโตสูงมากพี่น้องประชาชนในตัวเมืองและที่อยู่เขตติดต่อมีความต้องการใช้น้ำสูงมาก แหล่งน้ำเดียวจากเขื่อนลำตะคองในอนาคตอาจจะไม่พอแน่นอน

ด้านนายพงษ์เลิศ สุภัทรวณิชย์ รองนายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา ดูแลการประปา กล่าวว่า โครงการประปาเดิมมีวงเงิน 3,700 ล้าน แต่ประมูลแล้วลดลงเหลือ 3,060 ล้านบาท ประหยัดงบประมาณลงไปได้หลายร้อยล้านบาท และขณะนี้จ่ายเงินไปแล้วเกือบ 2 พันล้านบาทแล้ว ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีประชากรผู้ใช้น้ำกว่า 3 แสนคน ในเขตเทศบาล 77 ชุมชน ยังไม่รวมประชากรแฝงอีก และนักเรียน นักศึกษาที่พักอยู่ตามหอพัก โรงแรม โรงพยาบาล บ้านพักข้าราชการ อาพาร์ทเม้นต่างๆกว่า 1 แสน 6 หมื่นคน ซึ่งรวมแล้วน่าจะอยู่ประมาณกว่า 1 ล้าน 6 แสนคน

"อย่างไรก็ตามหลังจากที่เราได้รับเอกสารแล้วโดยสิทธิก็มีขั้นตอนในการขออุทธรณ์ภายใน 30 วัน และคงจะต้องมีการขอการคุ้มครองชั่วคราว เพื่อให้ปัญหานี้ทุเลา ปัจจุบันการดำเนินการก่อสร้างเสร็จไปแล้วประมาณ 2 ใน 3 ส่วน หรือประมาณ 66 - 67 % ผมยืนยันว่าขั้นตอนการประมูลหรือดำเนินการเป็นไปด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติ ผมเรียนว่า โครงการนี้มีความจำเป็นมาก เพราะเมืองโคราชมีการขยายตัวตลอดเวลา โดยเฉพาะในห้วง 10 - 20 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่แหล่งน้ำมีเพียงแหล่งเดียวคือ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง และน้ำดิบทางการไฟฟ้าสูบกลับก็ต้องสูบขึ้นไปผลิตกระแสไฟฟ้าอีก 10 ล้าน ลบ.ม. ถ้าหากเกิดวิกฤติเหมือนปี 2535 หรือ ปี 2548 เราจะมีปัญหามาก เรียกว่าวิกฤติการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงหนักมาก เราจึงหาวิธีลดความเสี่ยงและเพิ่มความมั่นใจว่า ในอนาคตยังมีน้ำที่จะไว้สำหรับอุปโภค บริโภคได้อีกระยะยาว และเขตเทศบาลฯมีอัตราการเจริญเติบโตปีละ 3 - 5 % โครงการนี้เราเชื่อว่าสามารรองรับได้ " นายพงษ์เลิศฯกล่าวในที่สุด

ขณะที่ นายสวัสดิ์ มังกรวิวัฒน์ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดฯ กล่าวว่า เรามีประชากรที่ต้องการใช้น้ำในเขตเทศบาลฯและใกล้เคียงประมาณ 1 ล้าน 6 แสนคนโดยประมาณ และเมื่อปี 2548 เกิดวิกฤติขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง และมาปีนี้ก็เกือบ 5 ปีแล้ว ณ ปัจจุบันการเจริญเติบโตของธุรกิจไม่ว่าภาคท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรม ต่างๆขยายขึ้นมามากมายมหาศาลทุกหนทุกแห่งทั่วเมือง ขณะเดียวกันแหล่งน้ำของเรามีจำกัด ฉะนั้นภาคธุรกิจต่างให้ความสำคัญเรื่องน้ำ ถ้าน้ำขาด ไม่มีน้ำใช้ ธุรกิจทั้งจังหวัดจะต้องหยุดชะงักไปทั้งหมด

"ผมขอเรียนว่าทุกโรงแรมจะต้องมีที่กักเก็บน้ำกักตุนตัวเองไว้ โดยเป็นถังน้ำสำรองของโรงแรม เผื่อเกิดปัญหาน้ำไม่ไหล 2 - 3 วัน เหมือนที่เคยปรากฏมาแล้ว เราสามารถกักตุนน้ำไว้ใช้เพียงแค่ 3 - 4 วันเท่านั้นเอง ถ้าน้ำขาดมากกว่าสัปดาห์จะเกิดปัญหาตามมาอย่างใหญ่หลวง และปัญหาตรงนี้ผู้ประกอบการจะไม่สามารถควบคุมได้ และจะเป็นปัญหารุนแรง และส่งผลสะท้อนกับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวบ้านเราแน่นอน และปัญหาการแย่งน้ำของพี่น้องประชาชน ภาคธุรกิจแห่งแห่งก็จะเกิดขึ้นลามเป็นลูกโซ่ เพราะทุกคนต้องมีการกักตุน และชาวบ้านนั่นแหละที่จะเดือดร้อนจริงๆ" นายสวัสดิ์ กล่าวในที่สุด
วันที่ 24/10/2009

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ที่ห้องประชุมหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา นางสุบงกช วงศ์วิทยาภรณ์ ประธานหอการค้าจังหวัดฯ ได้เป็นประธานการประชุมร่วมหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกรณีโครงการประปาของเทศบาลนครนครราชสีมาที่กำลังเดินหน้าก่อสร้างไปแล้ว และได้มีกลุ่มชาวบ้าน โดยอ้างตัวเองเป็นกลุ่มรักลำแชะ อ.ครบุรีฯ จำนวน 91 คน ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุด และศาลปกครองสูงสุดสั่งให้ระงับการดำเนินการก่อสร้างไว้ชั่วคราวตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 ต.ค.ที่ผ่านมา

นางสุบงกช วงศ์วิทยาภรณ์ ประธานหอการค้าจังหวัดฯ กล่าวว่า โครงการประปาได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วเกือบครึ่งแล้ว เรื่องที่เกิดขึ้นก็อยากให้มีการพูดคุยกันในการแก้ไขปัญหา ตนยืนยันว่าการหารือตรงนี้คงไม่ได้ว่าเป็นการสนับสนุนหรือคัดค้าน แต่เพื่อหาข้อเท็จจริงให้กับนักธุรกิจที่รู้ถึงปัญหานี้และค่อนข้างจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอนในอนาคต ตนเรียนว่าองค์กรเราไม่ได้ไปอิงการเมือง ไม่เข้าใคร แต่โครงการนี้ตนคิดว่าน่าจะดำเนินต่อไปให้เสร็จสมบูรณ์ โดยเฉพาะปัจจุบันความก้าวหน้าและการขยายตัวของธุรกิจเติบโตสูงมากพี่น้องประชาชนในตัวเมืองและที่อยู่เขตติดต่อมีความต้องการใช้น้ำสูงมาก แหล่งน้ำเดียวจากเขื่อนลำตะคองในอนาคตอาจจะไม่พอแน่นอน

ด้านนายพงษ์เลิศ สุภัทรวณิชย์ รองนายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา ดูแลการประปา กล่าวว่า โครงการประปาเดิมมีวงเงิน 3,700 ล้าน แต่ประมูลแล้วลดลงเหลือ 3,060 ล้านบาท ประหยัดงบประมาณลงไปได้หลายร้อยล้านบาท และขณะนี้จ่ายเงินไปแล้วเกือบ 2 พันล้านบาทแล้ว ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีประชากรผู้ใช้น้ำกว่า 3 แสนคน ในเขตเทศบาล 77 ชุมชน ยังไม่รวมประชากรแฝงอีก และนักเรียน นักศึกษาที่พักอยู่ตามหอพัก โรงแรม โรงพยาบาล บ้านพักข้าราชการ อาพาร์ทเม้นต่างๆกว่า 1 แสน 6 หมื่นคน ซึ่งรวมแล้วน่าจะอยู่ประมาณกว่า 1 ล้าน 6 แสนคน

"อย่างไรก็ตามหลังจากที่เราได้รับเอกสารแล้วโดยสิทธิก็มีขั้นตอนในการขออุทธรณ์ภายใน 30 วัน และคงจะต้องมีการขอการคุ้มครองชั่วคราว เพื่อให้ปัญหานี้ทุเลา ปัจจุบันการดำเนินการก่อสร้างเสร็จไปแล้วประมาณ 2 ใน 3 ส่วน หรือประมาณ 66 - 67 % ผมยืนยันว่าขั้นตอนการประมูลหรือดำเนินการเป็นไปด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติ ผมเรียนว่า โครงการนี้มีความจำเป็นมาก เพราะเมืองโคราชมีการขยายตัวตลอดเวลา โดยเฉพาะในห้วง 10 - 20 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่แหล่งน้ำมีเพียงแหล่งเดียวคือ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง และน้ำดิบทางการไฟฟ้าสูบกลับก็ต้องสูบขึ้นไปผลิตกระแสไฟฟ้าอีก 10 ล้าน ลบ.ม. ถ้าหากเกิดวิกฤติเหมือนปี 2535 หรือ ปี 2548 เราจะมีปัญหามาก เรียกว่าวิกฤติการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงหนักมาก เราจึงหาวิธีลดความเสี่ยงและเพิ่มความมั่นใจว่า ในอนาคตยังมีน้ำที่จะไว้สำหรับอุปโภค บริโภคได้อีกระยะยาว และเขตเทศบาลฯมีอัตราการเจริญเติบโตปีละ 3 - 5 % โครงการนี้เราเชื่อว่าสามารรองรับได้ " นายพงษ์เลิศฯกล่าวในที่สุด

ขณะที่ นายสวัสดิ์ มังกรวิวัฒน์ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดฯ กล่าวว่า เรามีประชากรที่ต้องการใช้น้ำในเขตเทศบาลฯและใกล้เคียงประมาณ 1 ล้าน 6 แสนคนโดยประมาณ และเมื่อปี 2548 เกิดวิกฤติขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง และมาปีนี้ก็เกือบ 5 ปีแล้ว ณ ปัจจุบันการเจริญเติบโตของธุรกิจไม่ว่าภาคท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรม ต่างๆขยายขึ้นมามากมายมหาศาลทุกหนทุกแห่งทั่วเมือง ขณะเดียวกันแหล่งน้ำของเรามีจำกัด ฉะนั้นภาคธุรกิจต่างให้ความสำคัญเรื่องน้ำ ถ้าน้ำขาด ไม่มีน้ำใช้ ธุรกิจทั้งจังหวัดจะต้องหยุดชะงักไปทั้งหมด

"ผมขอเรียนว่าทุกโรงแรมจะต้องมีที่กักเก็บน้ำกักตุนตัวเองไว้ โดยเป็นถังน้ำสำรองของโรงแรม เผื่อเกิดปัญหาน้ำไม่ไหล 2 - 3 วัน เหมือนที่เคยปรากฏมาแล้ว เราสามารถกักตุนน้ำไว้ใช้เพียงแค่ 3 - 4 วันเท่านั้นเอง ถ้าน้ำขาดมากกว่าสัปดาห์จะเกิดปัญหาตามมาอย่างใหญ่หลวง และปัญหาตรงนี้ผู้ประกอบการจะไม่สามารถควบคุมได้ และจะเป็นปัญหารุนแรง และส่งผลสะท้อนกับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวบ้านเราแน่นอน และปัญหาการแย่งน้ำของพี่น้องประชาชน ภาคธุรกิจแห่งแห่งก็จะเกิดขึ้นลามเป็นลูกโซ่ เพราะทุกคนต้องมีการกักตุน และชาวบ้านนั่นแหละที่จะเดือดร้อนจริงๆ" นายสวัสดิ์ กล่าวในที่สุด
วันที่ 24/10/2009



Windows 7: Simplify your PC. Learn more.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น