บทสรุปเขื่อนปากมูล "ข อ ง แ ท้"จากคณะกรรมการเขื่อนโลก

on วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

 
 
 
 
 

บทสรุปเขื่อนปากมูล "ข อ ง แ ท้"
จากคณะกรรมการเขื่อนโลก
วันดี สันติวุฒิเมธี : รายงาน
บทสรุปเขื่อนปากมูล (คลิกดูภาพใหญ่)
    หลังจากถกเถียงกันอยู่นานว่า รายงานสรุปของคณะกรรมการเขื่อนโลก กรณีเขื่อนปากมูล ที่ทั้งฝ่ายสมัชชาคนจน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ต่างหยิบยกมาอ้างถึงเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนแก่ฝ่ายตนนั้น ฉบับไหนเป็นฉบับจริง ฉบับไหนเป็นฉบับร่าง ล่าสุด ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ตัวแทนจากคณะกรรมการเขื่อนโลก (World Commission on Dams-WCD) ได้ออกมาสรุปรายงานดังกล่าวด้วยตนเองแล้วว่า เขื่อนปากมูลประสบความล้มเหลวในแทบทุกด้าน ด้วยเหตุนี้ข้อมูลของสมัชชาคนจน ซึ่งเคยเปิดเผยทางสื่อมวลชนมาก่อนหน้านี้ จึงได้รับการยอมรับว่าสอดคล้องกับข้อมูลฉบับจริง ของคณะกรรมการเขื่อนโลก
   นายเจมส์ เวิร์กแมน โฆษกคณะกรรมการเขื่อนโลก กล่าวถึงความน่าเชื่อถือของรายงานฉบับนี้ว่า 
   "เขื่อนปากมูลเป็นหนึ่งในเจ็ดเขื่อนทั่วโลก ที่คณะกรรมการฯ ทำการศึกษา โดยมีการประเมินตรวจสอบผลกระทบ ทั้งในทางเศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม สังคม กระบวนการการตัดสินใจ และโครงสร้างอำนาจที่ผลักดันโครงการ ถือเป็นความพยายามที่จะหาข้อสรุปร่วม ในสนามรบของการพัฒนาทรัพยากร ที่ดำเนินไปอย่างดุเดือด" 
   ความล้มเหลวของเขื่อนปากมูลในด้านต่าง ๆ ปรากฏชัดอยู่ในรายงานฉบับดังกล่าว โดยในแง่ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ในรายงานระบุว่า กำลังไฟฟ้าที่เขื่อนปากมูลผลิตได้จริงน้อยกว่าที่ทาง กฟผ. คาดการณ์ไว้ตอนแรกหลายเท่า คือ จาก ๑๕๐ เมกกะวัตต์ เหลือเพียง ๒๐.๘๑ เมกะวัตต์ (คำนวณจากกระแสไฟที่จ่ายออกมารายวัน ระหว่างระหว่างปี ๒๕๓๘ - ๒๕๔๑) เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนสร้างเขื่อน ที่เพิ่มสูงขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้ตอนแรกกว่าหนึ่งเท่าตัว คือ จาก ๓,๘๘๐ เป็นกว่า ๘ พันล้านบาท (รวมต้นทุนก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นเกือบ ๓ พันล้านบาท และต้นทุนทางสังคมอีกกว่า ๑ พันล้านบาท) เขื่อนแห่งนี้จึงไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ดังที่คาดการณ์ไว้ตอนแรก

 
 
 ประเด็นต่อมาคือผลกระทบด้านอาชีพประมง ทางคณะกรรมการเขื่อนโลกสรุปว่า การสร้างเขื่อนทำให้จำนวนพันธุ์ปลาในเขตต้นน้ำมูล-ชี ซึ่งเคยสำรวจก่อน ๒๕๓๗ จำนวน ๒๖๕ ชนิดลดลงเหลือเพียง ๙๖ ชนิด ทำให้ปริมาณปลาที่ชาวบ้านจับได้ลดลงกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์ สำหรับบันไดปลาโจนมูลค่า ๒ ล้านบาทที่กฟผ. พยายามสร้างขึ้นเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านอาชีพประมง คณะกรรมการฯ สรุปว่า ประสบล้มเหลว เนื่องจากไม่สามารถช่วยให้ปลาขึ้นไปวางไข่เหนือน้ำได้เหมือนเดิม
 
 


 
 เห็นได้จากปริมาณปลาในอ่างเก็บน้ำ ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้หลายเท่า กล่าวคือ กฟผ.คาดการณ์ว่า หากไม่มีการเพาะพันธุ์ปลา ภายในอ่างเก็บน้ำซึ่งมีพื้นที่ ๖๐ ตารางกิโลเมตร จะมีปลาจำนวน ๑๐๐ กิโลกรัม/ ๑ หมื่นตารางเมตร/ ปี และหากมีการเพาะพันธุ์ปลา ปริมาณปลาก็จะเพิ่มขึ้นเป็น ๒๒๐ กิโลกรัม/๑หมื่นตารางกิโลเมตร/ปี แต่จากการสำรวจพบว่า มีปลาในอ่างเก็บน้ำเพียง ๑๐ กิโลกรัม/ ๑ หมื่นตารางเมตร/ ปี เท่านั้น 
 
 


และถึงแม้ว่ากฟผ.จะพยายามเพาะพันธุ์กุ้งลงแม่น้ำมูล เพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน การเพาะพันธุ์กุ้ง ก็ยังไม่สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวประมงอย่างถาวร เนื่องจากกุ้งพันธุ์ดังกล่าว ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ในน้ำจืด หากไม่มีการเพาะพันธุ์กุ้งลงแม่น้ำ ปริมาณกุ้งก็จะลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ และรัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณซื้อพันธุ์กุ้ง ปีละหลายล้านบาท
 

   ในประเด็นสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการสรุปว่า โครงการนี้ไม่เป็นไปตามแนวทางที่ธนาคารโลกกำหนดให้ มีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และหามาตรการแก้ไขผลกระทบอย่างเหมาะสมก่อนดำเนินโครงการ อาทิเช่น โครงการนี้ก่อให้เกิด แก่งธรรมชาติ ซึ่งเคยเป็นที่อยู่อาศัยของปลาหลายชนิดกว่า ๕๐ แก่ง จมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำอย่างถาวร แต่ในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม กลับไม่เคยประเมินความสูญเสียดังกล่าวเลย 

 

 
 นอกจากนี้ รายงานฉบับเดียวกันยังตำหนิการดำเนินการของโครงการเขื่อนปากมูลว่า ไม่เคยมีการหารือกับชาวบ้าน ผู้ได้รับผลกระทบก่อนสร้างเขื่อน และไม่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วม ในกระบวนการตัดสินใจ และกระบวนการแก้ไขผลกระทบ เขื่อนปากมูลจึงเป็นเขื่อนที่ประสบปัญหามากมาย 
   หลังจากข้อมูลดังกล่าว ได้รับการเผยแพร่ทางสื่อมวลชล ผู้บริหารของกฟผ. หลายท่านได้ออกมาแสดงความไม่พอใจรายงานฉบับนี้ว่า มีความลำเอียง เนื่องจากคณะกรรมการฯ ไม่ได้นำข้อมูลของฝ่ายกฟผ.เข้ามาร่วมพิจารณาด้วย แต่กลับนำไปไว้ในภาคผนวกของรายงานเท่านั้น
   นายเจมส์ เวิร์คแมน โฆษกคณะกรรมการเขื่อนโลก จึงออกมาชี้แจงกับสาธารณชนอีกครั้งว่า "รายงานฉบับนี้ผ่านการประมวลผลอย่างรอบด้าน และได้เชิญกฟผ. เข้าร่วมให้ความเห็นก่อนนี้แล้ว เช่นเดียวกับทุกๆ ฝ่าย เราได้รวบรวมความเห็น ที่เราเห็นว่าเป็นข้อเท็จจริง และมีความชัดเจนแม่นยำ ที่สามารถนำมาพิสูจน์ได้อย่างเป็นอิสระ และเป็นกลาง ซึ่งเป็นธรรมดาอยู่แล้วที่ผลของรายงานอิสระเช่นนี้ จะไม่ได้ทำให้ทุกฝ่ายชอบใจ แต่เราก็ยังเชื่อมั่นในรายงานฉบับนี้

 
 
 
 

ความคิดเห็น : เปิดโต๊ะเจรจา สมัชชาคนจน "หัวนา-ราษีไศล" กับ "กรมชลฯ" ได้ข้อตกลงเบื้องต้น

Comments

@..รากหญ้า บ่โง่

@..รากหญ้า บ่โง่ ดักดาน
ฮู้การ ต่อรอง ป้องผล
รักษา สิทธิ์เสรีชน
บ่ทน เสียเปรียบ มากมาย
@..ให้ข้อย เสียสละ ละถิ่น
ที่อยู่ ที่กิน สูญหาย
อาชีพ ปู่ย่า ตายาย
ต้องตาย หายล่ม จมน้ำ
@..สร้างเขื่อน สร้างฝาย ไล่ที่
อาชีพ เคยมี ตกต่ำ
วิถี ชุมชน ระกำ
จมน้ำ ย่ำแย่ แพ้จน
@..ข้อยจึง รวมตัว เรียกร้อง
ปกป้อง ประโยชน์ โภชผล
ชดเชย ชดใช้ ทุกคน
ให้ผล อยู่รอด ปลอดภัย
@..ข้อยหวัง ว่ารัฐบาลใหม่
จะใช้ ใจแท้ แก้ไข
ให้ผล เป็นที่ พอใจ
ผลได้ ให้ความ เป็นธรรม
@..ข้อยจะชุมนุมต่อไป
บ่ให้เสียเปรียบเหยียบย่ำ
ลูกหลานบ่ตกระกำ
เรื่องน้ำจัดสรรเท่าเทียม

http://msuriyamas.blogspot.com

http://msuriyamas.blogspot.com/
การแก้ปัญหาน้ำ คือการแก้ปัญหาความยากจน และความทุกข์ยากของพี่น้องเกษตรกร/ชาวนา
ผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างเขื่อนปากมูล เขื่อนราษีไศล (โครงการโขง ชี มูล)
ความสูงเขื่อนปากมูล ประมาณ ๑๗.๐๐ เมตร เขื่อนราษีไศล ประมาณ ๑๙.๐๐ เมตร เขื่อนหัวนาผมไม่มีตัวเลขแต่คาดว่า จะสูงใกล้เคียงกัน การที่จะสามารถลดผลกระทบจากน้ำท่วมได้นั้น ก็จะต้อง ลดระดับเก็บกักน้ำสูงสุดลง ระหว่าง ๔.๐๐ - ๖.๐๐ เมตร เพื่อให้ระดับน้ำในแม่น้ำมูล แม่น้ำชี อยู่ต่ำกว่า ระดับริมตลิ่งระหว่าง ๒.๕๐ - ๓.๕๐ เมตร/หรือค้นหาระดับเก็บกักที่พอประมาณให้ได้ ทุกปัญหาก็จะได้รับการแก้ไข. และการที่จะผันน้ำโขงเข้ามานั้นต้องดูว่า จะเอาไปเก็บกักไว้ที่ไหน?
เพราะเขื่อนในภาคอิสานเหนือนั้น ประสิทธิภาพลดลงเหลือไม่ถึง ๕๐%ปริมาณน้ำที่ผันเข้ามาก็จะยิ่งเพิ่มผลกระทบให้มีพื้นที่กว้างมากขิ้น. รัฐต้องกล้าทดลองเปิดเขื่อน ๘ เดือน และปิดเขื่อน ๔ เดือน (สายกลาง) ตามผลสนุปงานวิจัย ของ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และใช้เวลาซัก ๒ ปีก็จะทราบผล พร้อมข้อมูลที่ ครม.จะสามารถใช้ในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องครับ.

เรียนพี่น้องสมัชชาคนจนที่นับถือ

เรียนพี่น้องสมัชชาคนจนที่นับถือ.
คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะไปตรวจราชการที่ จังหวัดบุรีรัมย์ ทำไม? พวกเรา ต้องไปนำเสนอให้ท่านนายก ไปชม เขื่อนที่ใกล้ที่สุดคือ เขื่อนลำนางรอง. ซึ่งมีสภาพทรุดโทรมมาก เก็บกักน้ำได้จริงประมาณ ๔๐% ของปริมาตรเก็บกักสูงสุด.ถ้าเป็นได้ขอให้ท่านนายกปลีกเวลาไปดูด้วยตนเอง ใช้เวลาซัก ๑ ชม.ก็พอครับ.
ข้อมูลน้ำในเขื่อนลำนางรอง ณะวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒.-
จากกราฟน้ำไหลลงเขื่อน ปริมาตรน้ำ = ๕๐% ของปริมาตรเก็บกักปรกติ ๑๒๑ ล้าน ลบ.ม.
= ๖๐.๕๐ ล้าน ลบ.ม.
เทียบกับปริมาตรเก็บกักสูงสุด ๑๘๒ ล้าน ลบ.ม. = ๖๐.๕๐x๑๐๐/๑๘๒ = ๓๓.๒๔%
เทียบกับปริมาตรเก็บกักสูงสุดเมื่อเริ่มก่อสร้าง (ปี ๒๕๒๔) = ๑๙๖.๖๗ ล้าน ลบ.ม. = ๖๐.๕๐x๑๐๐/๑๙๖.๖๗
= ๓๐.๖๗%
ก็แสดงว่า น้ำต้นปีมีเหลือไม่มาก ต่ำว่าปริมาตร วิกฤติ < ๓๐% ของปริมาตรเก็บกักสูงสุด.
จะไปโทษฝนตกบริเวณพื้นที่รับน้ำน้อยก็ไม่น่าจะเป็นจริง เพราะมีข้อมูลน้ำฝนเฉลี่ย/ปี ในปี ๒๕๔๖ และ ปี ๒๕๔๗ ดังนี้.-
จังหวัดขอนแก่น ปี ๒๕๔๖ ปริมาณฝนตก เป็น มม. = ๑,๔๖๗.๔๐ ปี ๒๕๔๗ ๑.๒๒๑.๘๐ มม.
จังหวัดร้อยเอ็ด ปี ๒๕๔๖ ปริมาณฝนตก เป็น มม. = ๑,๔๑๗.๖๐ ปั ๒๕๔๗ ๑,๔๕๖.๘๐ มม.
จังหวัดสุรินทร์ ปี ๒๕๔๖ ปริมาณฝยตก เป็น มม. = ๑,๖๒๘.๒๐ ปี ๒๕๔๗ ๑,๕๔๔.๕๐ มม.
จังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๔๖ ปรอมาณฝนตกเป็น มม. = ๙๓๓.๐๐ ปี ๒๕๔๗ ๙๘๐.๐๐ มม.
จะเห็นได้ว่า ปริมาณฝนตกไม่เปลี่ยนแปลงมาก สาเหตุที่เขื่อนมีปริมาณน้ำต้นปีน้อยนั้น จะต้องมีการปล่อยน้ำทิ้ง
เป็นปริมาณมาก ซึ่งปริมาณน้ำนี้รวมกับปริมาณฯฝนที่กำลังตกอยู่ ก็จะส่งผลกระทบไหลลงมาท่วมไร่นาของเกษตรกร/
ชาวนาเช่นเดียวกันกับเขื่อน ลำปาว และเขื่อน ลำพระเพลิงที่มีข้อมูลชัดเจน และเมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะทำให้เขื่อนเหลือน้ำต้นปี
ไม่มากพอที่จะให้บริการแก่เกษตรกร/ชาวนาในหน้าแล้งได้ ทำไม? จึงไม่มีการแก้ไขปัญหานี้.
สมัชชาคนจนกรุณานำเรียนให้ท่านนายกทราบด้วยเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำ/คือปัญหาความยากจนและ
ทุกข์ยากของพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาต่อไปครับ.

ผมได้พบเห็นพี่น้องสมัชชาคนจนไ

ผมได้พบเห็นพี่น้องสมัชชาคนจนได้มาที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นข้อเรียกร้อง ให้ทางรัฐบาลได้ชดเชยค่าเสียหายจากผลกระทบจากเขื่อนปากมูล เขื่อนราษีไศล เขื่อนหัวนา(ที่ยังไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ เพราะพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาได้ขัดขวางการการปิดแม่น้ำมูลเดิม) และตั้งแต่เริ่มจะทำการก่อสร้าง สมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ มาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันไม่เคยมีรัฐบาลไหน กล้าตัดสินใจเพื่อประชาชน(พี่น้องสมัชชาคนจน)เลยครับ เพราะรัฐบาลทุกรัฐบาล ไม่เว้นแม้รัฐบาลที่มาจาก คมช.ที่ไปฟังแต่ข้อมูลจาก กฟผ.ที่รายงานแต่ด้านบวก เช่น เขื่อนปากมูล ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง ๒๘๐ ล้านหน่วย/ปี
คิดเป็นตัวเงินตกประมาณ ๗๐๐ - ๘๐๐ ล้านบาท/ปีเท่านั้นเอง และได้ปล่อยพันธุ์ปลา พันธุ์กุ้งเป็นจำนวนมาก และได้มอบให้ องการบริหารส่วนจังหวัดรับผิดชอบ สถานีสูบน้ำมห้แก่เกษตรกร/ชาวนา (แต่ชาวนาต้องเสียเงิน) คือแทนที่ กฟผ.ซึ่งมีคนเครื่องมือ และพลังงานพร้อมมูล กลับไม่ดูแลและรับผิดชอบเอง ส่วนข้อเท็จจริงนั้น ไม่มีไครรายงานให้รัฐบาลทราบเลยว่า ข้อเท็จจริงนั้น กฟผ.ผลิตไฟฟ้าได้ตามเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร? แล้วสถานีสูบน้ำทำไม? กฟผ.ซึ่งจึงไม่บริการไฟฟ้าฟรี แก่พี่น้องเกษตรกร/ชาวนา เพราะมาใช้พลังน้ำในท้องถิ่น ผลผลิต จากปลากุ้ง ก็ไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน เขื่อนปากมูลเปิดมาร่วม ๑๕ ปีแล้ว ปัญหาก็ยังไม่มีไครกล้าเข้ามาแก้ไข แถมยังจะทำโครงการผันน้ำโขงเข้ามาเพิ่มความเสียหายให้เกษตรกร/ชาวนาอีกด้วย เราจะหารัฐบาลที่ทำเพื่อพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและประชาชนได้ที่ไหน?กันครับ.ถึงเวลาหรือยังครับที่พวกเราจะต้องมีรัฐบาลที่เป็นของพี่น้องประชาชนกันเสียทีครับ. การแก้ไขปัญหาจากผลกระทบน้ำท่วมเนื่องมาจากเขื่อนต่างๆในโครงการ โขง ชี มูล วิธีแก้ไข ผมขออนุญาติน้อมนำ พระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวแก่กรมฃลประทาน ในการก่อส้รางอาคารบังคบน้ำ (ฝาย/หรือเขื่อนกั้นแม่น้ำนั่นเองครับ) น้ำก่ำตอนล่าง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม.ที่ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเร็วๆนี้ พระราชดำรัสในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๒ ดังนี้ครับ
"...ให้กรมชลประทานพิจารณาก่อส้รางอาคารบังคับน้ำในลำน้ำก่ำตอนล่างเพียงเตี้ยๆ เพื่อให้ท่วมพื้นที่เพียงเล็กน้อยก่อน เนื่องจากขณะนี้ยังมีปัญหาที่ดินที่จะถูกน้ำท่วม ราษฎรเรียกร้องค่าตอบแทนสูง แต่ถ้าไม่พิจารณาก่อส้รางก็เสียดาย เพราะถ้าสร้างอาคารบังคับน้ำในลำน้ำก่ำตอนล่างนี้ได้แล้ว จะช่วยพื้นที่บริเวณริมน้ำโขงได้อย่างมาก อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาก่อสร้างอาคารบังคับน้ำตอนล่างเพียงเตี้ยๆได้แล้ว ต่อไปถ้าสามารถเจรจาปัญหาที่ดินที่ถูกน้ำท่วมได้ในราคาที่เหมาะสมแล้ว จึงพิจารณาก่อสร้างอาคารบังคับน้ำให้เก็บกักน้ำได้มากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับโครงการ ห้วยตาแปด จังหวัดเพชรบุรีที่ทำสำเหร็จมาแล้ว สำหรับการสูบน้ำจากลำน้ำก่ำตอนล่างขึ้นไปใช้ประโยชน์นั้น สมควรให้ราษฎรทั้งสองฝั่งสูบน้ำขึ้นไปใช้กันเอง..."
จากพระราชดำรัสดังกล่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นคำว่า ให้ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำเพียงเตี้ยๆ ถึง สองครั้ง นี่เองคือพระราชดำรัสเพื่อประชาชนของพระองค์ท่านอย่างแท้จริงครับ ทีนี้ลองมาดูภาพของเขื่อนปากมูลว่า ทำไม? จึงส่งผลกระทบทำให้น้ำท่วมไร่นาป่าบุ่งป่าทามอย่างมากมาย และได้สร้างความเสียหายในแต่ละปีอย่างมหาศาล หลัการง่ายๆที่จะทำให้ฝาย/เขื่อนเก็บกัน้ำได้มากๆก็คือ ต้องก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ (ฝาย/เขื่อน) ให้สูงกว่าตลิ่งให้มากที่สุดเท่านี่จะทำได้ เนื่องจากในลำน้ำนั้นมีพื้นที่จำกัด จึงต้องก่อสร้างคันดิน (Earth Dike) จากทางเหนือเขื่อนขึ้นไป เขื่อนปากมูล สูงจากท้องน้ำประมาณ ๑๗ เมตร ความลึดของลำน้ำประมาณ ๑๒.๕๐ เมตร เศษ จึงได้ออกแบบเพื่อก่อส้รางคันดิน ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำมูลสูงจากระดับดินเดิมริมตลิ่งประมาณ ๕.๐๐ เมตร และความสูงของคัยดินจะลดลงเรื่อยๆตามระยะทางที่ใกลเขื่อนออกไปหลายกิโลเมตร และตลอดแม่น้ำมูลเหนือเขื่อนขึ้นไปก็จะมีลำน้ำสาขามากมาย แทนที่ จะก่อสร้างคันดินบนตลิ่งของลำน้ำสาขา แต่ไปออกแบบเป็นประตูน้ำให้น้ำไหลผ่านได้ทางเดียว และลักษณะของแม่น้ำมูลนั้นมีความลาดชัน ประกอบกับปริมาณน้ำฝนที่ตกเหนือพื้นที่รับน้ำไกลขึ้นไปนั้นจะไหลลงมารวมในแม่น้ำมูนอย่างรวดเร็ว (เพราะป่าไม้ถูกทำลาย) ระดับน้ำเหนือเขื่อนจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หากประตูกั้นน้ำมีเศษไม้ไปขัดเอาไว้เพียงเล็กน้อย น้ำก็จะทะลักขึ้นไปท่วมไร่นาป่าบุ่งป่าทามได้ครับ และถ้าประตูกั้นน้ำสามารถทำงานได้ปกติ ปริมาณน้ำในลำน้ำสาขานั่นเองก็จะเพิ่มระดับขึ้นอย่างรวดเร็ว และก็จะทะลักขึ้นไปท่วมไร่นาป่าบุ่งป่าทามอยู่ดีครับ ผมคิดว่า ความเสียหายจากน้ำท่วมจะเป็นจำนวนเงินมหาศาลแต่ยังไม่มีไครทำการสำรวจอย่างแท้จริง น้ำท่สมทีก็จะมีรายงานเพียงว่า พื้นที่ถูกน้ำม่วม ไม่กี่พันไร่ ความจริงอาจจะเป็นจำนวนหลายหมื่นไร่ ในแต่ละปี และผลผลิตกระแสรไฟฟ้าสำหรับผมคากว่า ไม่น่าจะถึง ๑ ใน ๔ ของ ๒๘๐ ล้านหน่วย เพราะฤดูฝนในปัจจุบันจะตกกระชั้นในช่วงเดือนกรกฎาคม - เดือนสิงหาคม เป็นเวลา ประมาณ ๓ เดือนเท่านั้น จะทำให้ระดับน้ำหน้าเขื่อนขึ้นสูงสุด แต่ระดับน้ำท้ายเขื่อนก็จะขึ้นสูงสุดตามไปด้วย ทำให้ระดับต่างกันไม่มากเท่าที่ควร จากตรงนี้ผมจึงคำนวณได้ว่า ผลผลิตกระแสไฟฟ้าไม่น่าจะเกิน ๑ ใน ๔ ของ ๒๘๐ ล้านหน่วย ทีนี้เมื่อฝนหยุด ระดับน้ำในแม่น้ำโขงก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะจีนก็จะปิดเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำ แต่แทนที่ระดับน้ำหน้าเขื่อนจะยังมีระดับสูงอยู่ ในปัจจุบัน ไม่ใช่แล้ว ทั้งนี้เพราะเขื่อนต่างๆในภาคอีสานเหนือ กลาง และเขื่อนต่างต่างในภาคอีสานใต้ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้เช่นแต่ก่อนและยังต่องออมน้ำไว้ให้แก่เกษตรกร/ชาวนาอีกด้วย เราจึงได้ยินแต่ข้าว น้ำท่วม และน้ำแล้ง สลับกันไปไงครับ ดูได้จากข้อมูลเขื่อน ลำนางรองย้อนหลังไปถึง ๗ ปี ปริมาณน้ำต้นปีเหลืออยู่เพียง ๒๗.๘๐%ของปริมาตรน้ำเก็บกักสูงสุดเท่านั้นซึ่งต่ำมากถือว่า เข้าขั้นวิกฤติแล้วครับ. ดังนั้นเมื่อเข้าหน้าแล้วเต็มรูปแบบ น้ำหน้าเขื่อนก็จะไม่มีเช่นกันครับ แล้วจะไปเอาน้ำที่ไหนมาผลิตกระแสไฟฟ้าเล่าครับ. จะมีเพียงช่วงสั้นๆเท่านั้นที่ระดับต่างของน้ำหน้าเขื่อนและท้ายเขื่อนที่ต่างกันพอที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกครับแต่ไม่มีไครรู้ว่าจะเป็นช่วงใหน? รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องเปิดและปิดเขื่อนตามผลการวิจัยของ มหาวิทยาลัยอุบลราชธ่นี ครับเพื่อที่จะได้ข้อเท็จจริงว่า เขื่อนจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตริง/ปีเป็นจำนวนเท่าได้ และช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะเปิดเขื่อนเป็นเวลา แปดเดือนและปิดเขื่อนเป็นเวลาสี่เดือนนั้นควรจะเป็นช่วงไหน?จึงจะเป็นเวลาที่เหมาะสมครับ ในเวลาเดียวกันก็จะได้สำรวจผลกระทบจากน้ำท่วมไร่นาป่าบุ่งป่าทามให้ได้พื้นที่ๆชัดเจน รวมทั้งการที่ปลาขึ้นมาวางไข่นั้น ลูกปลาจะมีน้ำพอเพียงในการเจริญเติบโตหรือไม่อย่างไร?ครับ ผมคิดว่า ใช้เวลาดำเนินการซัก ๒ ปี ทำการเปิดเขื่อนปากมูลตลอดปี และใช้เวลาอีก ๒ ปี ทำการเปิดเขื่อนเป็นเวลา แปดเดือน และปิดเขื่อนเป็นเวลาสี่เดือนเพื่อเปรียบเทียบผลได้และผลเสียให้ชัดเจนว่า จะเอาอย่างไร?จึงจะพอดี (สมดุลย์) แล้วการตัดสินใจ ดังพระราชดำรัสข้างตันนั้น ก็จะเป็นประโยชน์แก่พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและประชาชนทั้งมวลครับ.
 
เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศล.
 
     วันนี้ผมได้นำบทความของคณะกรรมการ เขื่อน โลก และความคิดเห็นของผมที่ได้นำเสนอในสื่อประชาไทยมีข้อมูลผลผลิตรวมรกะแสรไฟฟ้าที่เขื่อนปากมูลผลิตได้จริงที่ใกล้เคียงกันนะครับ มีรายละเอียดดังนี้ครับ.
 
ประมาณการจากผลผลิตจริงพลังงานไฟฟ้าของเขื่อนปากมูนระหว่างปี ๒๕๓๘ - ๒๕๔๑ เป็นจำนวนกำลังไฟฟ้าที่เขื่อนปากมูลผลิตได้จริงน้อยกว่าที่ทาง กฟผ. คาดการณ์ไว้ตอนแรกหลายเท่า คือ จาก ๑๕๐ เมกกะวัตต์ เหลือเพียง ๒๐.๘๑ เมกะวัตต์ หรือคิดเป็น % = ๒๐.๘๑x๑๐๐/๑๕๐ = ๑๓.๘๗% เท่านั้น.
 
ประมาณการที่ผมได้แสดงความคิดเห็นไว้นั้นผลผลิตกระแสไฟฟ้าไม่น่าจะเกิน ๑ ใน ๔ ของ ๒๘๐ ล้านหน่วย /หรือ = ๒๕% ซึ่งสูงกวาคณะกรรมการเขื่อนโลกเกือบเท่าตัว.
 
            ความไม่คุ้มค่าตรงนี้เองครับที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เคยนำเสนอ(ปกปิด)จึงทำให้ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาไม่ทราบข้อเท็จจริง จึงมีการตัดสินใจที่ผิดพลาด มาอย่างยาวนาน ดังจะเห็นได้จากการลุกขึ้นมาต่อสู้ของพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลมาจะถึงวันนี้(๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๒)ครับ.
 
                  ด้วยจิตรคารวะ
 
       ประชุม สุริยามาศ.  วย.๗๗๗
 
 
 



Windows 7: I wanted more reliable, now it's more reliable. Wow!

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น