การแก้ไขปัญหากรณีเขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนา ผ่านมาแล้ว 16 ปี 9 นายกรัฐมนตรี 10 รัฐบาล 2หน่วยงาน แต่ชาวบ้านยังคงเดือดร้อนเหมือนเดิม.

on วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
           นี่คือการเมืองเก่า
 
 การแก้ไขปัญหากรณีเขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนา ผ่านมาแล้ว 16 ปี 9 นายกรัฐมนตรี 10 รัฐบาล 2หน่วยงาน แต่ชาวบ้านยังคงเดือดร้อนเหมือนเดิม.
           โครงการโขง ชี มูล คือโครงการทำลายเกษตรกร/ชาวนาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ.
 
            ด้วยจิตรคารวะ
 
    ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 
 
 
 

ข่าวด่วนธุรกิจ :


การเมือง

วันที่ 9 มิถุนายน 2552 17:58

ยึดเขื่อนราษีไศล ยันอยู่จนกว่าจะแก้ปัญหา

ภาพประกอบข่าว
TOOLS
คอลัมน์อื่นๆ
ชุมนุมเขื่อนราษีไศล-เขื่อนหัวนา ร้องหยุดถมดินเขื่อนหัวนา ส่วนราษีไศลใช้"มติครม.1ก.พ.43" พิสูจน์ที่ดินทำกิน จ่ายไร่ละ32,000บาท รอถก11มิ.ย.
Oneworld AllianceTravel with Around The World Fare Starting Price from THB 92,835www.oneworld.com
Hotel near suvarnabhumi5 min to airport great room get book now Discount 75 %www.thegreatresidence.com
ความคืบหน้าการชุมนุมของสมัชชาคนจน กลุ่มปัญหาเขื่อนราษีไศล-เขื่อนหัวนา ที่บริเวณสันเขื่อนราษีไศล อ.ราษีไศล ศรีสะเกษ ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมได้จัดกิจกรรมบริเวณสันเขื่อนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 6 มิ.ย. เช่น ประเด็น"เขื่อนที่กำลังจะสร้างในแม่น้ำโขง" โดยนางสาวเปรมฤดี ดาวเรือง มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ นางสาวสดใส สร่างโศรก นักวิชาการจากสถาบันวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมกับให้ชาวบ้านนำเสนอข้อมูลปัญหาสะสมจากการสร้างเขื่อนราษีไศล และเขื่อนหัวนา วันต่อมา ได้มีการรณรงค์ทำความเข้าใจในหมู่บ้านรอบๆ เขื่อนราษีไศลและตัวอำเภอราษีไศล
นายสุข จันทร แกนนำชาวบ้านเขื่อนราษีไศล กล่าวว่าการมาชุมนุมที่สันเขื่อนเพราะปัญหาเขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนายังไม่ได้รับการแก้ไข หลายรัฐบาลมาแล้วที่ไม่มีความจริงใจญหา ดังนั้น การชุมนุมครั้งนี้จะดำเนินไปจนกว่าจะได้รับการแก้ปัญหา
ซึ่งนายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้มารับฟังปัญหาของกลุ่มผู้ชุมนุมที่บริเวณสันเขื่อน พร้อมพูดคุยพบปะเยี่ยมเยียนผู้ชุมนุมด้วย
นายสำราญ หอกระโทก แกนนำชาวบ้านเขื่อนหัวนา กล่าวว่า พวกเราได้จัดขบวนรณรงค์ในพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจกับชาวบ้านให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน และติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับเขื่อนหัวนา ซึ่งหากให้มีการดำเนินต่อโดยที่ยังไม่ได้มีการศึกษาผลกระทบด้านต่างๆ ก็จะก่อให้เกิดผลเสียต่อชาวบ้าน เหมือนที่เกิดขึ้นจากเขื่อนราษีไศล ที่การศึกษาผลกระทบและการตรวจสอบทรัพย์สินยังไม่เสร็จแล้ว แต่กลับเก็บกักน้ำก่อน ทำให้ปัญหาหลายอย่างตามมา ปัจจุบันก็ยังไม่ได้ค่าชดเชยจากการสร้างเขื่อนแล้วนำท่วมไร่นา สูญเสียที่ดินทำกิน และป่าสาธารณะไปเป็นจำนวนมาก โดยที่รัฐบาลไม่แก้ไขปัญหาให้เรียบร้อยก่อนที่จะปิดเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำ
ขณะที่ นายแดง คาวี แกนนำชาวบ้านเขื่อนหัวนา อีกคนกล่าวว่า ที่ผ่านมา 6วันก็ยังไม่มีความคืบหน้าอะไร กรมชลประทานพยายามจะเข้ามาแบ่งแยกมวลชน ด้วยการสร้างความสับสนในการตรวจสอบที่ดินทำกินและรายชื่อผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน
อย่างไรก็ตามพวกเรารู้ว่า เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้วเราได้เห็นทิศทางของตัวเอง เมื่อจัดชุมนุมแล้วถ้าไม่บรรลุเป้าหมายการแก้ปัญหา พวกเราก็จะไม่ถอย ซึ่งตอนนี้ก็กำลังเตรียมเจรจากับสำนักงานชลประทานที่ 8 รวมทั้งเตรียมข้อมูล เตรียมเอกสาร เพื่อไปประชุมกับคณะทำงานแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจนของรัฐบาลในวันที่ 11 มิถุนายน" นายแดง ระบุ
พร้อมกันนี้นายประดิษฐ์ โกศล ตัวแทนสมัชชาคนจน ได้อ่านแถลงการณ์ฉบับที่ ๒ "ขอให้กรมชลฯ กลับใจ เพื่อแก้ไขปัญหาชาวบ้าน"  ซึ่งแถลงการณ์ระบุตอนหนึ่งว่า การแก้ไขปัญหากรณีเขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนา ผ่านมาแล้ว 16 ปี 9 นายกรัฐมนตรี 10 รัฐบาล 2หน่วยงาน แต่ชาวบ้านยังคงเดือดร้อนเหมือนเดิม แม้ว่าในปี ๒๕๔๓ คณะรัฐมนตรีมีการตัดสินใจแก้ไขปัญหาทั้งสองเขื่อนก็ตาม 
แถลงการณ์ ยังระบุว่า กรณีเขื่อนหัวนา มีมติให้ระงับการถมลำน้ำมูนเดิม เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และตรวจสอบทรัพย์สินผู้ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากเขื่อนหัวนาก่อน ใช้เวลา 7ปีแต่ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะกรมชลฯหน่วงเหนี่ยว ไม่อยากรับรองสิทธิ์ ล่าสุด มติการประชุม 29 มกราคม 2552 กรมชลประทานบิดเบือนโดยแก้ไขคำสั่งแต่งตั้งกรรมการไม่ให้มีอำนาจรับรองการตรวจสอบทรัพย์สิน
ขณะที่ เขื่อนราษีไศล มีมติให้เปิดประตูน้ำเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการแพร่กระจายของดินเค็ม และผลกระทบทางสังคม ตลอดจนเพื่อพิสูจน์สิทธิในที่ดิน แต่กระทั่งปัจจุบัน รัฐบาลยังไม่สามารถคลี่คลายปัญหาดังกล่าวได้แม้แต่ประเด็นเดียว โดยเฉพาะปัญหาค่าชดเชยที่เหลือ ได้หลักการที่ชัดเจนหมดแล้วว่า ให้ใช้มติคณะรัฐมนตรี 1 กุมภาพันธ์ 2543 ในการพิสูจน์ที่ดินทำกินและจ่ายในราคาไร่ละ 32,000บาท แต่หลังจากนั้นกลไกซึ่งอยู่ในมือกรมชลประทานกลับไม่เดินหน้า มีการเล่นแง่หน่วงเหนี่ยวตลอดเวลา นอกจากนั้นยังมีปัญหาความไม่คืบหน้าของ นานอกเขื่อนและการศึกษาผลกระทบ
แถลงการณ์ ระบุตอนท้ายว่า สมัชชาคนจน เขื่อนหัวนาและเขื่อนราษีไศล ได้ชุมนุมที่สันเขื่อนราษีไศลเป็นเวลา 6 วันแล้ว ขอประกาศว่า การแก้ไขปัญหาที่ยาวนานได้ประจักษ์แล้วว่า การบริหารของรัฐบาลโดยกรมชลประทาน ไม่มีความจริงใจ และตั้งใจเตะถ่วงหน่วงเหนี่ยวยืดเยื้อ ไม่คลี่คลายด้วยดี หากกรมชลประทานกลับตัวกลับใจไม่ตั้งตัวเป็นรัฐอิสระ ยอมดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 และมติคณะรัฐมนตรี 25 กรกฎาคม 2543 โดยไม่มีเงื่อนไข อย่างเคร่งครัด


Hotmail: Trusted email with Microsoft's powerful SPAM protection. Sign up now.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น