การปลูกข้าวไร่ โดยเฉพาะในพื้นที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน.

on วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
           ผมขออนุญาตินำ มะพร้าว มาขายสวนอีกซักครั้งนะครับ คือการน้ำเสนอการทำนาไร่ครับ ทั้งนี้เพื่อน้องๆเกษตรกรรุ่นใหม่/หรือเกษตรกรรุ่นเก่าจะนำไปปรับใช้ ก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างไดครับ
 
           พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาที่ทำไร่มัน หรือไร่ข้าวโพด มักจะมีคำถามเสมอว่า พื้นที่ไร่ แต่อยากปรับมาทำเกษตร ทฤษฎีใหม่ ไม่สามารถทำนาปลูกข้าวได้ ทำได้ครับคือ ใช้การทำนาไร่มาทดแทน นาดำไงครับ อีกอย่างก็สระเก็บกักน้ำ ก็ขุดได้ครับ ผมเคยน้อมนำภาพอางเก็บน้ำที่บริเวณชายเนินตามแนวพระราชดำริบนเขาใหญ่มาให้ดูแล้วนะครับ. เกษตรกร/ชาวนาจะต้องยึดหลัก เศรษฐกิจพอเพียง นะครับ ส่วนใหญ่พี่น้องชาวไร่ (การปลูกพืชเชิงเดี่ยว) จะมีพื้นที่ปลูกพืชไนมากเช่น ๕๐ - ๑๐๐ ไร่เป็นต้น
 
           วิธีการก็คือ เราแบ่งพื้นที่มาทำแปลงเกษตร ทฤษฎีใหม่ซัก ๑๕ - ๒๐ ไร่ และเลือกพื้นที่ๆมีความลาดชันน้อย มาขุดสระเก็บกักน้ำอ้อทชาบเนิน
 
๓๐% ก็คือ คิดเป็นพื้นที่ ๔.๕ - ๖ ไร่.ขุดลึก ๔.๐๐ เมตร นำหน้าดิน (Topsoil) มาปรับพื้นที่ข้างสระให้ได้ระดับเพื่อใช้ทำนา ๓๐% ก็คือ ๔.๕ - ๖ ไร่ (กรณีย์ที่สามารถทำได้ ลงทุนมากหน่อย) เพื่อทำนาดำ ถ้าทำไม่ได้ก็เปลี่ยนมาทำนาไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่ำสุด ๒๕๐ กก./ไร่. จะได้ข้าวเปลือก จำนวน ๑,๑๒๕ กก./ปี - ๑,๕๐๐ กก./ปี ก็จะพอกินสำหรับครอบครัว ๕ - ๖ คน. ที่ดินที่เหลือ ๓๕ - ๘๐ ไร่ จะคงปลูกพืชไร่ต่อไป/หรือจะปรับเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ก็ได้ครับ ทั้งนี้ก็เพื่อใช้ผลผลิตจากแปลงเกษตร ทฤษฎีใหม่ เป็นหลักประกันว่า ครอบครัวจะพออยู่พอกินและมีงานทำตลอดปี หากว่า สระเก็บกักน้ำได้ดี เกษตรกรยังสามารถทำนาปลูกข้าวรอบที่สองได้อีกด้วยครับ. แนวคิดนี้ผมว่า เหมาะที่สุดสำหรับเกษตรกรที่ปลูกมัน สำปะหลัง และถูกกดราคามาอย่างยาวนาน พื้นที่ๆเหลือจะยังคงปลูกมันก็ทำได้ครับแต่ต้องเลิกใช้ปุ๋ยเคมีเพราะราคาแพง หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตราขวัญดิน/หรือปุ๋บคอก ปุ๋ยหมักผลิตเองก็จะช่วยลดต้นทุรลงได้มากครับ. และถ้านำมาใช้เป็นอาหารหมูป่าก็จะดีครับ เปลี่ยนเป็นขายหมูป่าแทน จะได้ไม่ถูกกดขี่จากโรงมันอีกต่อไปครับ.
 
                ด้วยจิตรคารวะ
 
        ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 
 
 

การปลูกข้าวไร่

แลกเปลี่ยนความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากชุมชนต่าง ๆ

ผู้ดูแลฟอรั่ม: kob, Mr.O, sorave, puttachart

โพสต์ตอบกระทู้

ส่วนบนของฟอร์ม

ส่วนล่างของฟอร์ม

4 โพสต์ หน้า 1 จากทั้งหมด 1

การปลูกข้าวไร่

โพสต์โดย montriwong เมื่อ จ. เม.ย. 28, 2008 12:16 pm

เห็นว่าไม่มีใคร Add เลย ก็ขอ Add เข้ามาพรางๆ ประเดิมไว้ก่อน ระหว่างรอคนอื่น Add

สำหรับเนื้อหานี้ออกจะเป็นบทความมากไปสักนิด และอาจจะต้องกลั่นกรองเพิ่มเติม ยังงัยก็ขออภัยล่วงหน้าครับ เพราะไม่ได้เตรียมมา

ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแม้จะมีพื้นที่ประมาณ 12
,681.259 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,925,812.5 ไร่ ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 3 ของภาคเหนือ และเป็นอันดับ 7 ของประเทศ แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นทิวเขาสูงสลับซับซ้อน และยังคงเป็นป่าไม้ตามธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ โดยมีพื้นที่ป่าไม้ที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ประมาณ 6,976,650 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 88.02 ที่อุดมสมบูรณ์ สรุปง่ายๆ คือมีที่ราบเพียงแค่ประมาณ 11-12 % เท่านั้น ซึ่งในจำนวนนี้ยังแบ่งออกเป็นที่อยู่อาศัยอีก เพราะฉะนั้นจึงมีพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกข้าวแบบการปลูกข้าวนาดำ และการปลูกข้าวนาหว่านเพียงแค่นิดเดียว เพราะฉะนั้นประชาชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงมีการปลูกข้าวอีกแบบ คือ การปลูกข้าวไร่

การปลูกข้าวไร่ หมายถึง การปลูกข้าวบนที่ดอนและไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก ชนิดของข้าวที่ปลูก เรียกว่า ข้าวไร่ พื้นที่ดอนส่วนมาก เช่น เชิงภูเขามักจะไม่มีระดับ คือ สูง ๆ ต่ำ ๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดินและปรับระดับได้ง่าย ๆ เหมือนกับพื้นที่ราบ เพราะฉะนั้น ชาวนามักจะปลูกแบบหยอด โดยขั้นแรกทำการตัดหญ้าและต้นไม้เล็กออก ทำความสะอาดพื้นที่ที่จะปลูก แล้วใช้หลักไม้ปลายแหลมเจาะดินเป็นหลุมเล็กๆ ลึกประมาณ ๓-๔ เซนติเมตร ปากหลุมมีขนาดกว้างพอที่จะหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวลงไปได้ ๕-๑๐ เมล็ด หลุมนี้มีระยะห่างกันประมาณ ๒๕ เซนติเมตร จะต้องหยอดเมล็ดพันธุ์ทันทีหลังจากที่ได้เจาะหลุม หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์แล้วจะใช้เท้ากลบดินปากหลุม เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดได้รับความชื้นก็จะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว เนื่องจากที่ดอนไม่มีน้ำขังและไม่มีการชลประทาน การปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว พื้นดินที่ปลูกข้าวไร่จะแห้งและขาดน้ำทันทีเมื่อสิ้นฤดูฝน ดังนั้น การปลูกข้าวไร่จะต้องใช้พันธุ์ที่มีอายุเบา โดยปลูกในต้นฤดูฝน และแก่เก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน การปลูกข้าวไร่ชาวนาจะต้องหมั่นกำจัดวัชพืช เพราะที่ดอนมักจะมีวัชพืชมากกว่าที่ลุ่ม เนื้อที่ที่ใช้ปลูกข้าวไร่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อยและมีปลูกมากในภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางปลูกข้าวไร่น้อยมาก

โดยในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจะมีแบ่งออกเป็นหลายชนเผ่า ทั้งไทยใหญ่ กะเหรี่ยง มูเซอ ลีซอ ลัวะ แม้วหรือม้ง กะเหรี่ยง ปาดองหรือกะเหรี่ยงคอยาว และจีนฮ่อ ในที่นี้จะขอกล่าวถึง กะเหรี่ยงบนเขตพื้นที่สูงตำบลห้วยปูลิง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนประมาณ 30 กม. แต่อาจจะต้องใช้เวลาในการเดินทาง 6-8 ชั่วโมงในหน้าฝน ซึ่งชาวกะเหรี่ยงมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่สอดคล้องกับธรรมชาติอย่างลงตัว น้ำก็ใช้น้ำจากภูเขา ฟืนต่างๆ ก็หาได้จากกิ่งไม้ที่ร่วงหล่นในป่า การเพาะปลูกก็เป็นการเพาะปลูกเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน การหาของป่าต่างๆ ก็หาเพียงเพื่อดำรงชีวิตประจำวันเท่านั้น อีกทั้งคำสอนต่างๆ ก็ยังอ้างอิงกับสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น ห้ามตัดไม้ต้นน้ำ มิฉะนั้นผีป่าจะโกรธ จะบันดาลให้หมู่บ้านเจอกับภัยพิบัติ อนึ่ง คำสอนต่างๆ จะอ้างผีป่า ใช้คำว่าผีป่า มิใช่ว่าเป็นความเชื่องมงาย แต่ในความเป็นจริงแล้วชาวบ้านในหมู่บ้านมีความเข้าใจเป็นอย่างดีว่าหากตัดไม้ที่ต้นน้ำ หรือต้นแม่น้ำลำธารซึ่งเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดแม่น้ำลำธารเป็นจำนวนมากๆ จะเป็นการทำลายต้นน้ำลำธาร ซึ่งทำให้ต่อไปไม่มีต้นน้ำลำธารนั้นนั่นเอง นอกจากนี้เวลาที่ฝนตกหนักก็จะไม่มีต้นไม้ที่ช่วยดูดซับน้ำฝนที่ตกลงมา และไม่มีต้นไม้ที่จะช่วยชะลอความเร็วยามน้ำหลาก ซึ่งจะทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และเกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การห้ามจับสัตว์ต่างๆ ในแต่ละช่วง มิฉะนั้นผีป่าจะโกรธ โดยสัตว์แต่ละชนิดก็จะมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันออกไป นั่นก็คือเป็นการห้ามไม่ให้จับสัตว์ในช่วงที่มีการวางไข่ มิฉะนั้นสัตว์นั้นๆ อาจจะสูญพันธ์ได้นั่นเอง นอกจากนี้การหาของป่าก็หาเพียงแค่พอประทังชีวิต อาทิเช่น การหาหน่อไม้ หากในกอไผ่นั้นมีหน่อไม้อยู่ 4 หน่อ ก็ให้เอาไปเพียง 1-2 หน่อ การเก็บผักกูด ก็ให้เก็บเพียงแค่ 1-2 กำเท่านั้น เพื่อที่ว่าชาวบ้านคนอื่นๆ ที่หาของป่าเช่นเดียวกันจะได้มีอาหารกินเช่นเดียวกัน เพราะหากคนแรกพบแล้วเอาไปหมด คนอื่นๆ ก็จะหาอาหารไม่ได้ นอกจากนี้คนแรกที่เอาอาหารไปมากๆ หากกินไม่หมดก็ต้องทิ้ง ทำให้สูญเสียทรัพยากรโดยใช่เหตุ นี่คือคำสอนที่ถ่ายทอดสืบต่อมาจากรุ่นปู่ย่าตาทวด ลงมาจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน

คำสอนต่างๆ ที่ใช้ในการสอนลูกหลานก็จะใช้คำสอนเดิมๆ ที่มีมาตั้งแต่โบราณกาล ตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายาย มิได้เปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัย โดยที่คนในชุมชนนั้นก็รู้กันเองว่าคำสอนนั้นคืออะไร ผีป่าคืออะไร ซึ่งมิใช่เรื่องงมงายในเรื่องภูตผีปีศาจแต่อย่างใด คนภายนอกซะอีกที่เวลาเข้าป่ากลับกลัวภูตผีปีศาจ กลัวผีป่าโดยใช่เหตุ

ออกนอกเรื่องไปซะนาน กลับมาเข้าเรื่องการปลูกข้าวไร่กันต่อดีกว่า ในการปลูกข้าวไร่ของชาวกะเหรี่ยงจะมีการปลูกแบบผสมผสาน คือภายในไร่ หรือไร่ข้าวนั้นจะมีการปลูกผืชพักอื่นๆ แซมเพื่อเป็นการคลุมดินไม่ให้ดินแห้ง ให้มีความชุ่มชื่นอยู่เสมอ นอกจากนี้เป็นกุศโลบายให้เจ้าของไร่ไปไร่เพื่อไปนำพืชผักกลับมารับประทานอยู่เสมอ ทั้งนี้นอกจากจะได้พืชผักกลับมาเป็นอาหารแล้วยังเป็นการดูแลไร่ข้าวไปในตัวด้วย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการถอนวัช การดูแลความเรียบร้อยต่างๆ ภายในไร่ข้าว

นอกจากนี้ในการปลูกข้าวของชาวกะเหรี่ยงจะมีลักษณะของการย้ายที่ปลูก แต่ในการย้ายที่ปลูกมิใช่ว่าจะย้ายแบบย้ายไปเรื่อย หรือไปรุกล้ำเขตพื้นที่ป่านะครับ ชาวกะเหรี่ยงจะมีไร่ที่สำหรับผลัดเปลี่ยน โดยอาจจะมีไร่อยู่ 4 ไร่ ซึ่งใน 4 ไร่จะมีการแบ่งออกเป็น 2 ไร่ 4 ปีแรกปลูกที่หนึ่ง อีก 4 ปีถัดไปปลูกอีกที่หนึ่ง เมื่อครบก็ย้ายกลับมาที่เดิม ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาดินให้มีการเหมาะสมกับการเพาะปลูกอยู่เสมอ
เป็นอย่างไรครับวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงในเขตพื้นที่สูงตำบลห้วยปูลิง ไม่ใช่ว่ากะเหรี่ยงเหมือนกัน วิถีชีวิตจะเหมือนกันนะครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละแห่งครับ ไว้วันหลังจะมาอธิบายเพิ่มเติมนะครับ

 


Hotmail: Trusted email with Microsoft's powerful SPAM protection. Sign up now.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น