เกษตรกรสุรินทร์ จี้ “มาร์ค” ทบทวนอัตราประกันราคาข้าวใหม่

on วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
            ตัวเลขที่น่าสนใจ และความหมายของคำว่า พอประมาณ นี่เป็นข้อ
 
คิดจากลูกหลานนะครับ.
 
            ก่อนอื่นลูกหลานขออนุญาติบอกว่า นโยบายการประกันราคาข้าว
 
ของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีนั้น เป็นนะโยบายที่ดี ที่แตกต่าง
 
และพอประมาณ
 
            ที่บอกว่าเป็นนโยบายที่ดีนั้นก็เพราะเป็นแนวคิดที่จะทำให้ผล ถึงพี่
 
น้องเกษตรกรอย่างแท้จริง คือลงไปควบคุมทั้งตัวเกษตรกร พื้นที่ปลูก และผล
 
ผลิตเฉลี่ย/ไร่  (ความโปร่งใส และความประหยัดงบประมาณจะมีมากขึ้น)
 
            และที่แตกต่างก็คือ การับจำนำนั้น รัฐจะต้องแบกรับภาระทั้งหมด
 
ตามตัวเลขที่หน่วยงานรับผิดชอบได้ทำขึ้น ควบคุมยาก และสวนทางกับความ
 
เป็นจริง เพราะรัฐจะต้องเสียทั้งค่าข้าวในราคาประกันที่ประชานิขมสุดๆ มีการรั่ว
 
ไหลในหลายๆจุด แม้กระทั่งมีการนำข้าวจากลาวเข้ามาจำนำเป็นต้น
 
             และพอประมาณ ความหมายตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอ
 
เพียงก็ตือ พออยู่พอกิน/หรือไม่มากไม่น้อยจนเกินไป มีเหตุมีผล ตัวเลขผล
 
ผลิตข้าวต่อไร่ของท่านนายก ๓๕๙ กก./ไร่ และตัวเลขของพี่น้องเกษตรกร/
 
ชาวนา จังหวัดสุรินทร์ ๔๙๓ กก./ไร่ ลูกหลานยอมรับได้ทั้งสองตัวครับ ก็โดย
 
ใช้หลัก พอประมาณเข้ามาจับไงครับ. ที่รับได้ก็คือ ราคาประกันเท่าที่ลูกหลาน
 
ทราบนั้น ข้าวหอมมะลิ ๑๔.-บาท/กก.(ราคาพอประมาณ ใช้ได้เลย) ส่วนผล
 
ผลิต/ไร่นั้นคงจะเป็นการยากที่จะไปแยกแยะเป็นจังหวัด ต้วเลขที่ท่านนายกให้
 
นั้น ๓๕๙ กก./ไร่ (น่าจะพอประมาณคือเฉลี่ยพื้นที่หลายจังหวัดหน่อย) ผม
 
เชื่อว่าบางพื้นที่ บางจังหวัด ผลผลิต/ไร่จะได้น้อยกว่านี้มากเพราะ เข้าไม่ถึง
 
ระบบชลประทาน/หรือถูกระบบชลประทานทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นต้นและที่
 
สำคัญ ในยางพื้นที่ตามที่เป็นข้าว นาปีก็ทำไม่ได้ พอหันมาทำนาปรังก็หนีน้ำ
 
ท่วมแทบจะไม่ทัน.
 
             ทีนี้ลูกหลานขอนำวิชาคำนวณมาจับดูซิว่า ทำไม? ลูกหลานจึงพูด
 
ได้เต็มปากว่า พอประมาณ.
 
         ๑.)พื้นที่ทำนาเฉลี่ย/ครัวเรือน =   ๑๐ - ๑๕   ไร่/ครัวเรือน
 
         ๒.)ผลผลิตที่ต่างกันอยู่        =  ๔๙๓ - ๓๕๙ = ๑๓๔ กก./ไร่
 
         ๓.)ปริมาณข้าวที่ไม่ได้รับการประกัน/ครัวเรือน = ๑,๓๔๐ -๒,๐๑๐
 
              กก/ครัวเรือน
 
         ๔.)จำนวนคน/ครัวเรือน        =  ๕ - ๗ คน/ครัวเรือน
 
         ๕.) จำต้องเก็บข้าวไว้กินเองในครัวเรือน = ๑,๐๐๐ - ๑,๔๐๐ กก/
 
              ปี.(ตรงนี้เองครับที่ผมคิดว่าพอประมาณ และส่วนที่เกินก็ใช้เลี้ยง
 
              สัตว์)
 
          ๖.)ที่ลูกหลานเป็นห่วงก็คือ ความยั่งยืน พอเปลี่ยนรัฐบาล นโยบายก็
 
              จะเปลี่ยน การประกันราคา และราคาก็จะเปลี่ยน เกษตรกร/
 
              ชาวนาก็จะเข้าไม่ถึงอีก.เหมือนเคย.
 
          ๗.)สุดท่ายแล้วทำอย่างไร? เล่าจึงจะยั่งยืน ลูกหลานคิดว่า ต้องช่วย
 
              ตัวเองครับ คือเปลี่ยนมาทำเกษตร "ทฤษฎีใหม่" ขุดสระเก็บน้ำ
 
              เป็นของตนเองเพื่อนเพิ่มรายได้จากการเลี้ยงปลา และประกัน
 
              ความเสี่ยงน้ำแล้ง น้ำท่วม และเกษตรกรจะได้ผลผลิตข้าวพออยู่
 
              พอกินตลอดทุกปี.โดยการทำนาเพียง ๓ - ๔.๕ ไร่ ( ๓๐%ของ
 
             พื้นที่) ถ้าเราทำได้เราจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนครับ ที่สำคัฯเรายังจะ
 
             ได้ป่าปลูกอีก ๓๐% ของพื้นที่เพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและจะ
 
             ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วยและท้ายของสุดท้าย ผมขอให้
 
             ท่านนายกได้เข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาให้พี่น้องเกษตรกร/ชาวนา
 
             และสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลโดยเร็วด้วยครับเพราะพวกเขา
 
            ได้รอท่านนายกมานานกว่า ๑๑๐ วันแล้วนะครับ.
 
                         ด้วยจิตรคารวะ.
 
                 ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 
 

เกษตรกรสุรินทร์ จี้ "มาร์ค" ทบทวนอัตราประกันราคาข้าวใหม่
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 ตุลาคม 2552 16:00 น.
เครือข่ายเกษตรกรฯสุรินทร์ ตบเท้าเข้าพบนายกฯ ร้องบอกการประกันราคาข้าวหอมมะลิตามโครงการ ประกันรายได้เกษตรกรต่ำกว่า อัตราผลผลิตจริง พร้อมยื่นหนังสือจี้รัฐฯให้ทบทวนดูใหม่อีกรอบ
       

       
       

       
       วันนี้ (28 ต.ค. ) ที่อาคารรัฐสภา เครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิจังหวัดสุรินทร์ นำโดยนายพิรุณ แก้วพินึก พร้อมกลุ่มเกษตรกรกว่า 20 คน ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อร้องขอให้ทางรัฐบาลทบทวนการกำหนดอัตราผลผลิตเฉลี่ยข้าวหอมมะลิของจังหวัดสุรินทร์ที่ประกันไว้ 359 กิโลกรัมต่อไร่ ตามโครงการประกันรายได้เกษตรกร
       
       เนื่องจากการกำหนดดังกล่าวตำกว่ากว่ากว่าความเป็นจริงมาก โดยจากข้อมูลการทำนาของเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์ในปีนี้สภาพภูมิอากาศฝนฟ้าอุดมสมบูรณ์ดี ทำให้ข้าวหอมมะลิเจริญเติบโตงอกงามดีกว่าทุกปีที่ผ่านมา จากการสรุปผลการขึ้นทะเบียนตามแบบรายงานผลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรข้าวนาปี การผลิต 52/53 ของจังหวัดสุรินทร์ ตัดยอดวันที่ 2 ตุลาคม 2552 ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ข้าวนาปี คือ 493 กิโลกรัมต่อไร่
       
       ด้วยเหตุนี้เครือข่ายเกษตรกรฯจึงร้อง ขอให้รัฐบาลได้ทบทวนผลผลิตตามข้อเท็จจริงคือ 493 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดอื่นๆอย่างแท้จริง
       
       ทางด้านนายอภสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับหนังสือจากกลุ่มเกษตร พร้อมกล่าวยืนยันว่าจะนำไปศึกษาเพื่อทำการดำเนินการตามขั้นตอนอีกครั้งหนึ่ง



Windows 7: It helps you do more. Explore Windows 7.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น