เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
วันนี้ผมได้นำภาพ ๔ ภาพคือ ภาพที่กำลังก่อสร้างเขื่อนปาก
มูน ภาพเขื่อนปากมูนที่ได้ก้อสร้างแล้วเสร็จและกำลังเก็บกักน้ำเอาไว้เต็มอ่าง
ภาพนายทองหนัก ศรีคัดเค้าและภรรยา ชาวนาบ้านธนบุรี ต.โพนงาม อ.กมลา
ไสย ที่ต้องเร่งรีบเกี่ยวข้าวจากผืนนาที่ขาดน้ำเพื่อหนีน้ำท่วมประจำปี ๒๕๕๒
ทั้งๆที่เหนือขึ้นไป มีเขื่อนลำปาว อันเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่มีการอ้างตอนที่จะ
ทำการก่อสร้างว่าเขื่อนนี้จะสามารถเก็บกักน้ำไว้ช่วยเกษตรกร/ชาวนาในการ
ทำนาปรัง (การทำนาหลังฤดูฝน)ได้ถึง ๒๕๑๐ ล้าน ลบ.ม.ผมคงไม่จ้อง
อธิบายภาพนะครับว่า ทำไม?ถึงดูผ้นนาแล้วมันขาดน้ำอย่างชัดเจน.
ส่วนการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูนด้วยการเปิดประตูเขื่อนทั้งหมด
ตลอดไปนั้น กรุณาชมภาพเขื่อนปากมูลที่กำลังก่อสร้าง (วิธีการก่อสร้างอาคาร
บังคับน้ำ/เขื่อน/ฝาย ขวางแม่น้ำมูน) ก็จะต้องก่อสร้างคันดินชั่วคราวกั้นแม่น้ำ
มูนทั้งสองด้านคือทั้งด้านเหนือน้ำและด้านใต้น้ำ เพื่อสูบน้ำออก และขุดทางผัน
น้ำชั่วคราว นอกคันดินทั้งสองนี้ ดังนั้นหากการแก้ไขโดยการเปิดประตูน้ำทั้ง
หมดตลอดไป สภาพแม่น้ำมูนก็จะมีลักษณะน้ำแห้งเช่นภาพนี้ครับ ทั้งนี้ก็เป็น
เพราะพื้นที่รับน้ำในประเทศจีนและน้ำที่ถูกปลดปล่อยออกมา จะถูกเขื่อนต่างๆ
ในประเทศจีนเก็บกักไว้หมด และยังจะมีเขื่อนในประเทศ ส.ป.ป.ลาว ซึ่งแม่น้ำ
โขงไหลคดเคี้ยวเข้าไปทั้งหมดเก็บกักน้ำไว้อีกด้วยครับ รวมทั้งพื้นที่รับน้ำ ป่า
ถูกทำลายลงอย่างมากมาย ทำให้ปริมาณน้ำที่จะไหลลงแม่น้ำโขงหมดลงอย่าง
รวอเร็ว หลังสิ้นสุด ฤดูฝน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ปริมาณน้ำใรแม่น้ำโขงตรงปากแม่
น้ำมูลจะแห้งขอด แรมาณน้ำในแม่น้ำมูลก็แทบจะไม่มีเช่นกัน ทั้งนี้เพราะเขื่อน
ขนาดใหญ่ต่างๆทั้งในอีสานเหนือ อีสานกลางและอีสานใต้ไม่สามารถเก็บกัก
น้ำเอาไว้ได้เช่นแต่ก่อนดังที่ผมได้นำเสนอไปแล้ว ตรงนี้เองที่ปลาขึ้นมาวาง
ไข่จะไม่มีน้ำเพื่อการเจริญเติบโตได้ ที่สำคัญเกษตรกร/ชาวนาก็จะไม่มีน้ำทำ
การเกษตร/ทำนาได้อีกต่อไปครับ.การพิสูจน์ปัญหาตรงนี้น่าจะใช้เวลา ๒ ปี
จากนั้นจึงเนิ่มดำเนินการเปืด ๘ และปิด ๔ เดือน ตามผลการวิจัย
ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อค้นหาจุดที่เหมาะสม จุดพอประมาณ
ตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง เราก็จะได้จุดสมดุลย์คือ ได้ระดับเก็บ
กักน้ำในเขื่อนที่เหมาะสม (ระดับเก็บกักน้ำควรจะอยู่ที่ระดับต่ำกว่าริมตลิ่ง
ประมาณ ๒ - ๓ เมตร) ก็จะทำให้ผู้ที่เสยประโยชน์ลดลง รัฐก็ต้องจ่ายค่าชด
เชยความเสียหายที่เกิดขึ้นในอดีตทั้งหมด ปัญหาความขัดแย้งต่างๆก็จะลดลง
และจะหมดไปในที่สุด อย่างไรก็ตาม นัฐก็จะต้องเน่งแก้ไขเขื่อนต่างๆที่เสื่อม
สภาพ/หรือสร้างใหม่เพื่อใช้เก็บกักน้ำไว้ใช้บริการเกษตรกร/ชาวนาในฤดูแล้ง
ให้ได้ ผมขอเรียกี้องให้รัฐบาลที่มีคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรีได้
โปรดหันกลับมาดูพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาผู้ยากไร้และรอการแก้ไขจากท่านอยู่
บนเขื่อนราษีไศลในขนะนี้ และที่สำคัญพวกเขาก็ได้รอคอยท่านนายกมาเป็น
เวลากว่า ๑๐๐ วันแล้วนะครับ กรุณาอย่าโยนปัญหา/หรือชลอเวลาอีกต่อไป
เลยครับ ผมขออนุญาติพี่น้องชาวอีสานขอร้องท่านนายกแทนพวกเขาครับ.
ถ้าหากไม่มีการแก้ไข สภาพเขื่อนปากมูล/และเขื่อนอื่นๆก็จะมี
สภาพน้ำล้นฝั่งดังภาพที่ ๒ ผลกระทบต่างๆก็จะไม่ได้รับการแก้ไขครับ.
และภาพต่อมาคือคุณทองหนัก ศรีคัดเค้า ที่เป็นชาวนาและ
ครอบครัวของเขาก็จะหนีความยากจนไปไม่พ้นครับ ดูภาพ ผมคงไม่ต้อง
อธิบายนะครับ.
ภาพต่อมาเป็นภาพกราฟน้ำไนเขื่อนลำปาวแสดงว่ามีปริมาณ
น้ำในเขื่อนตรงมุมบน ๙๑%ของปริมาณน้ำเก็บกักปกติ/หรือคิดเป็นจำนวน
= ๑,๔๓๐x๐.๙๑ = ๑,๓๐๑.๓๐ ล้าน ลบ.ม. เขื่อนจะยังรองรับปริมาณน้ำได้
อีกถึง = ๑,๔๓๐ - ๑๓๐๑.๓๐ = ๑๒๘.๗๐ ล้าน ลบ.ม./หรือเทียบได้กับ
ปริมาณน้ำล้นเขื่อนลำพระเพลิงเลยครับ และถ้ากลีบไปดูข้อมูลในการเขียน
กราฟจากตารางสรุปปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ในภาพต่อมาจะพบว่า
ปริมาณน้ำในเขื่อนลำปาว ณ.วันนี้ (๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๒) มีปริมาณน้ำในเขื่อน
ลำปาวเพีบง ๘๔% แสดงว่าเขื่อนยังปล่อยน้ำทิ้งอยู่ตลอดเวลา (ถามว่าทำไม?
ไม่เก็บกักน้ำเอาไว้เพราะปลายฝนแล้ว?)/หรือคิดเป็นปริมาณน้ำ =
๑,๔๓๐x๐.๘๔ = ๑.๒๐๑.๒๐ ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำถูกปล่อยทั้งไปอย่างน่า
เสียดายถึง = ๑,๓๐๑.๓๐ - ๑,๒๐๑.๒๐ = ๑๐๐.๑๐ ล้าน ลบ.ม.และก็มีแนว
โน้มว่าเขื่อนจะปล่อยน้ำทิ้งเป็นปริมาณ/วันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆครับ.ตรงจุดนี้เองที่จะ
ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนลำปาว ต้นปี มีน้ำไม่พอให้บริการแก่เกษตรกร/ชาวนา
ในช่วงเวลาทำนาปรังครับ และที่สำคัญที่สุดก็คือ หากมีการปล่อยน้ำเป็น
ปริมาณมากไปเรื่อยๆ ระดับน้ำท่วมก็จะไม่ลดลงเร็ว และจะทำให้คุณทองหนัก
ศรีคัดเค้า มีช่วงทำนาปีได้ไม่ทันช่วงน้ำท่วมเช่นปีก่อนๆครับ.
พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาครับ กรุณาตัดสินใจช่วยตัวเองเถอะครับ และเริ่มทำเกษตร "ทฤษฎีใหม่" และดำรงค์ชีพตามแนวพระราชดำริ "เศรษฐกิจพอเพียง" ทันทีครับ. จะน้อมนำโครงการแก้มลิงมาปรับใช้ในการขุดสระเก็บกักน้ำราคาถูกสำหรับพื้นที่ๆถูกน้ำท่วมสูง/หรือ ผู้ที่ถูกน้ำท่วมไม่นานแต่สร้างความเสียหายให้นาข้าว ก็ยังสามารถแบ่งพื้นที่ขุดสระตามกำลังเงินของเรา โดยเริ่มจากพอเพียงในการทำนาให้มีข้าวไว้กินตลอดปีก่อนและปีต่อๆไปค่อยขุดเพิ่มเติมก็ได้ครับไม่จำเป็นก็อย่าไปกู้เงินจากธนาคาร(ดอกเบี้ยแพงครับ แม้เป็นธนาคารของรัฐฯ)
ด้วยจืตรคารวะ
ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
Windows 7: I wanted more reliable, now it's more reliable. Wow!
ปัญหาเขื่อนปากมูน,เขื่อนราษีไศล,เขื่อนหัวนา.และสิ่งที่เกี่ยวข้อง.
เขียนโดย Prachoom on วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น