เขียนโดย
Prachoom
on
วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2552
เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ. ผมเองได้ใช้บริการของ ร.ฟ.ท.ในการเดินทางไปเรียนที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี ๒๔๙๙/หรือปีการศึกษา ๒๔๙๙-๒๕๐๐สมัยรถไฟยังใช้ฟืนต้มน้ำ(รถจักรไอน้ำ)แม้การเดินทางจะล่าช้าและไม่ตรงต่อเวลาไปบ้าง ผมก็รู้สึกภาคภูมิใจที่ ร.ฟ.ท.ได้ชาวยสร้างโอกาศให้พี่น้องชาวอีสานเป็นอย่างมาก ผมเป็นชาวโคราช จะโชคดีกว่าเพื่อน เพราะไม่ต้องมาพักค้างคินที่สถานีรถไฟจังหวัดนครราชสีมา๑คืน และจะเตินทางต่อในวันรุ่งขึ้น ผู้คนจะแน่นมากทุกเที่ยวครับ. สิ่งที่อยากจะเล่าให้ฟังก็คือ ในการเดินทางสมัยนั้น ขบวนรถไฟจะยาวมาก เพราะต้องลากตู้สินค้าไปด้วยมีไม้ซุง และหมู เมื่อถึงสถานีใหญ่เช่น สถานีสีคิ้ว หัวรถไฟก็จะถูกตัดออกเพื่อวิ่งไปเติมไม้ฟีนและน้ำ (เหมือนเติมน้ำมันรถยนต์ในสม้ยนี้) เสร็จแล้วก็วิ่งแยกรางไปลากตู้ไม้ซุง/หรือตู้หมู เพื่อนำไปต่อที่ท้ายขบวน.จึงทำให้เสียเวลาไปบ้าง การเดินทางโดยรถไฟไปบางกอกในครั้งแรกนั้นตื่นเต้นมากครับ เพราะรถไฟจะต้องวื่งผ่าน ป่าเขา ลำเนาไพรของดงพระบาไฟเนื่องจากมีไข้ป่ามาลาเรียชุกชุมมากในสมัยนั้น ต่อมาจึงได้เปลี่ยชื่อป่าดงดิบนี้มาเป็น ป่าดงพระยาเย็น.พอรถไฟมาถึง สถานีชุมทางแก่งคอยก็จะเริ่มมืดค่ำแล้วครับ และพออกจากสถานีชุมทางแก่งคอยได้สักพักก็จะเข้าโค้งซ้ายและเริ่มใต่ขึ้นทางลาดทำให้รถไฟต้องเร่งความเร็วเพื่อให้วิ่งผ่านพันช่วงทางลาดและผ่านโค้งนี้ไปให้ได้ รถไฟจะพ่นสะเก็จถ่านแดงพวยพุ่งออกมาจากปล่องดูสวยงามมาก. อนึ่งสิ่งที่ผมอยากจะเล่าให้ฟังและเกี่ยวข้องกับบทความนี้ก็คือ "การซ่อมบำรุงทางรถไฟ" ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของการป้องกันอุบ้ติเหตุ เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนอีสาน(ส่วนใหญ่)ในสมัยนั้นครับ คือจะมีตำแหน่ง "ส" หมายถึง สารวัตรบำรุงทางนั้นเอง และแบ่งออกเป็น ภาค จังหวัด หมวด และตอน และต่อมากรมทางหลวงฯ ก็ได้ใช้ในการแบ่งหน่วยช่อมและบำรุงทางเช่นเดียวกัน. ผมเคยเห็นรถโยกโดยใช้แรงคน และใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็กในการขับเคลื่อนรถในการตรวจเส้นทางให้มั่นคง และปลอดภัยตลอดเส้นทางและตลอดเวลา และเส้นทางจะสอาด ปราศจากกิ่งไม้ที่จะยื่นเข้ามาถึงตัวรถ ในปัจจุบันหากท่านได้นั่งใช้บริการของ ร.ฟ.ท.เมื่อรถวิ่งผ่านบริเวณสถานีเขื่อนลำตะคอง ก็ให้ระวัง อย่ายื่นหน้าออกมาจากหน้าต่างเป็นอีนขาด กิ่งไม้จะฟาดเข้าใบหน้าของท่านนะครับ.ทั้งนี้ผมไม่อยากจะไปโทษไคร?ต้องโทษรัฐบาลทุกรัฐบาลที่ปล่อยปละละเลยบริการของ ร.ฟ.ท.ขาดการสนับสนุนทั้งกำลังคน กำลังเงินงบประมาณ ในสมัยนั้นมีคนที่ช่างกระแนะกระแหน ร.ฟ.ท. จนทำให้มีคำพูดเลียนเสีงรถไฟวิ่งว่า มีเยงเป็น "ถึงก็ชั่ง ไม่ถึงก็ชั่ง" ซึ่งผมเองก็จำเป็นต้องใช้บริการในทุกเที่ยวที่ต้องเดินทางกลับบ้านที่โคราช และการเดินทางเข้ากรุงเทพฯ และก็ได้ตั้งสติอและตั้งใจฟังเสียงรถไฟที่กำลังวิ่งด้วยความเร็วสม่ำเสมอ ก็จะพบว่า เป็นความจริงครับและตู้รถจะไม่โยนไปโยนมาเหมือนในสมัยนี้ครับ ผมคิดว่า เสียงดังกล่าง เป็นเสียงแห่งคุณภาพและความปลอดภัยในการ๙อมบำรุงทางรถไฟ ของท่านสารว้ตรบำรุงเส้นทางทางรถไฟ และคณะของท่านครับ ผมขอคารวะพวกท่านด้วยใจจริงนะครับ. และผมก็มาใช้บริการรถไฟน้อยลงเมื่อปี ๒๕๐๓ เพราะการก่อสร้างถนนมิตรภาพจาก จังหวัดสระบุรี - จังหวัดนครราชสีมา ได้แล้วเสร็จลงและการเดินทางก็สะดวกและสามารถเลือกเวลาในการเดินทางได้ครับ. เพื่อความเป็นธรรมผมขอสนับสนุนการต่อสู้ของ สหภาพฯ รฟท. ครับ ด้วยจิตรคารวะ ประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗ สหภาพฯ รฟท. ยันอุปกรณ์เสื่อมทำรถไฟตกราง หยุดวิ่งเพราะห่วง ปชช.
|
|
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ | 17 ตุลาคม 2552 02:30 น. |
|
| คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น | | | | | "สาวิทย์" ยันรถไฟตกรางเพราะอุปกรณ์เสื่อม จวก คก.ตรวจสอบมั่วนิ่ม จี้ ผู้ว่าฯ รฟท.รับผิด อย่าโยนบาป ขรก. เผยหยุดวิ่งเพราะห่วงความปลอดภัย ปชช. ด้าน"ธารา"ชี้มีที่ประเทศไทยที่เดียว หน้าฝน คนขับต้องคอยโยกที่ปัดน้ำฝนด้วย ขณะที่"บุรากร"เผยมติครม.ปี 41 ทำกลไกลวน ตัดงบฯหวังแปลรูปรัฐวิสาหกิจ ระบุ รฟท.ไม่พัฒนา เพราะมี เสือหิว เอี่ยวผลประโยชน์ เป็นทุนเลือกตั้งครั้งหน้า รายการ "แอน จินดารัตน์" ทางเอเอสทีวี-ทีวีของประชาชน ช่วงเวลา 20.30-21.30 น.วันที่ 16 ตุลาคม 2552 ดำเนินรายการโดย นางจินดารัตน์ เจริญชัยชนะ ได้รับเกียรติจาก นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การรถไฟแห่งประเทศไทย และนายธารา แสวงธรรม รองประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยนายบุรากร ธรรมาภานนท์ กรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมพูดคุยถึงมูลเหตุที่ทำให้รถไฟหยุดวิ่งและรถไฟตกราง นายสาวิทย์ กล่าวถึงสาเหตุที่หยุดเดินรถไฟ สายหาดใหญ่ เป็นเพราะอุปกรณ์ไม่พร้อมที่จะใช้งาน โดยได้แจ้งให้ประชาชนทราบล่วงหน้าแล้ว ว่ารถไฟจะหยุดวิ่ง ตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค. 2552 ด้วยการติดป้ายไว้ที่ช่องขายตั๋วและออกประกาศทางวิทยุ ทั้งหมดนี้เป็นผลอันเนื่องมาจากมีอุบัติเหตุ รถไฟตกราง ซึ่งตนไม่อยากให้มีเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นอีก ดังนั้นจำเป็นต้องหยุดเดินรถ เพื่อตรวจสอบอุปกรณ์ ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามวันนี้ ประชาชนที่ติดค้างที่สถานี หลายคนหงุดหงิด ทุลักทุเลในการเดินทาง แต่การรถไฟไม่ได้หยุดวิ่งเสียทีเดียว หากขบวนไหนอยู่ในสภาพที่พร้อม เราก็เปิดให้บริการตามปกติ ส่วนที่ประชาชนโวยวาย อ้างสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การรถไฟแห่งประเทศไทย ป่วนหยุดวิ่งอีกแล้ว ตรงนี้เป็นเพราะช่องทางในการแจ้งข่าวสารให้ประชาชนทราบ น้อยไปหน่อย อีกอย่างอาจเป็นเพราะ ถ้าไม่เกิดอุบัติเหตุก่อน ประชาชนมักจะไม่สนใจ วันก่อนมีขบวนรถไฟขบวนที่ 84 ตกราง ที่เขาเต่า ตนไม่อยากให้ น้องมานั่งนับศพ ว่า ในปีหนึ่งๆจะมีผู้เสียชีวิตจากการใช้บริการรถไฟกี่ราย ฉะนั้นอยากให้ประชาชนใส่เรื่องนี้มากขึ้น "สิ่งที่สหภาพการรถไฟแห่งประเทศไทย ทำในวันนี้ไม่ได้ต้องการประท้วงผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย แต่เราต้องปฏิบัติตามระเบียบการรถไฟ ที่วางกฎให้ พนักงานต้องปฏิบัติตาม เมื่อเห็นว่าขบวนรถไฟที่ใช้ ไม่มีความปลอดภัย ก็สามารถหยุดวิ่งได้ เพราะเมื่อรู้ปัญหาแล้วยังออกให้บริการประชาชน หากเกิดปัญหาขึ้น พนักงานจะต้องรับผิดชอบ"นายสาวิทย์ กล่าว นายสาวิทย์ กล่าว่าข้อเรียกร้องที่ทางสหภาพทำไว้ตั้งแต่ปี 2544- 2545 ในข้อที่ 2.เพื่อความปลอดภัย สวัสดิการของพนักงานขอให้จัดสภาพอุปกรณ์ ให้อยู่ในสภาพพร้อมก่อนออกใช้งาน การรถไฟก็ตกลง สิ่งเหล่านี้เป็นเงื่อนไขต่อสภาพการจ้าง ซึ่งผู้บริหารไม่ปฏิบัติมีความผิด ต่อมาปี 2552 การรถไฟบอกจะทำให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ตรงนี้ตน พยายามจะบอกว่าปัญหาทั้งหลายทั้งปวงนี้ เป็นหน้าที่ของนายจ้าง ที่ต้องดูแลจัดให้มีเครื่องไม้เครื่องมือ อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้ เพื่อให้ลูกจ้างได้ใช้อุปกรณ์เหล่านั้น ได้อย่างปลอดภัย ไม่ใช่ให้สหภาพเรียกร้องให้ทำ นายสาวิทย์ กล่าวว่าปกติรถไฟจะมี ระบบเร่งความเร็วที่ทำงานโดยอัตโนมัติ หากมีความเร็วเกิน100 กม./ชม. เครื่องรถไฟจะหยุดทำงานทันที ส่วนอีกระบบเป็นระบบเหยียบคันเร่ง ตรงนี้เป็นการกระตุ้นพนักงานไปในตัวป้องกันไม่ไห้หลับใน หากเหยียบแช่กินกว่า 100 วินาที จะมีเสียงกริ่งดังขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นอีก 8 นาทีระบบไฟจะตัดซึ่งจะทำให้รถหยุดทันที ประเด็นนี้นำมาวิเคราะห์ได้ว่า สาเหตุที่รถไฟตกราง มีการสำรวจความเร็วรอบที่ออกมาสูงถึง 108 กม./ชม. ก็จะเป็นคำถามว่าทำไมระบบอัตโนมัติไม่ตัด ตรงนี้แสดงว่า อุปกรณ์ไม่ทำงาน และจะมาอ้างว่าเป็นอุปกรณ์เสริม ฟังไม่ขึ้น เพราะอุปกรณ์ดังกล่าวก่อนที่จะซื้อรถไฟ ได้ระบุให้ต้องมีอุปกรณ์นี้ติดมาพร้อมกับรถ หลายต่อหลายครั้งขอเปลี่ยนอะไหล่ แต่ไม่มีอะไหล่ให้เปลี่ยน นายบุรากร กล่าวเสริมว่าจริงๆแล้วเรื่องขอเปลี่ยนอะไหล่ไม่ใช่เรื่องยาก แต่มาติดขัดช่วงที่มี มติ ครม. เมื่อปี 2541 ที่ต้องการเอารัฐวิสาหกิจทั้งหมด ไปแปลงเป็นหุ้น พยายามทำให้องค์กรของรัฐด้อยประสิทธิภาพ แล้วใช้เป็นเหตุผลต้องลดพนักงานลง จำกัดเงิน เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบว่าบริการไม่ดี ซึ่งจะนำไปสู่การแปรรูปในที่สุด นายสาวิทย์ กล่าวว่าถ้าเราไม่สู้แล้วใครจะมาทำ ถึงแม้จะเหนื่อยอึดอัด ที่มักถูกมองในภาพลบหากหยุดเดินขบวนรถ แต่ก็มีความสุขที่ได้บริการประชาชน วันก่อนมีรถไฟตกราง ทางผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้โยนความผิดให้พนักงานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับผิดชอบ ตรงนี้ไม่เป็นธรรมกับพนักงาน ทั้งนี้ถ้าหากจะให้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยรับผิดชอบ ผู้ว่าการรถไฟต้องให้อำนาจสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย มีอำนาจในการบริหาร แล้วถ้าเกิดเหตุรถไฟตกรางอีก ตนจะลาออกเพื่อสร้างบรรทัดฐานให้ดู ทั้งนี้หากเกิดอุบัติเหตุรถไฟตกรางในต่างประเทศ ผู้ว่าการรถไฟ เขาลาออกไปแล้ว แต่ในประเทศไทยยังไม่ เพราะไม่มี จริยธรรม สำนึก ในเรื่องนี้ นายสาวิทย์ กล่าวว่าตนมั่นใจว่า ทรัพย์ยากร และกำลังทุนของประเทศ หากจะพัฒนารถไฟให้ทันสมัย ก็สามารถทำได้ เรื่องนี้ตนเคยเสนอรัฐบาลไปหลายครั้ง ทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง การปรับโครงสร้างต้องมีการกระจายอำนาจ ไม่ใช่ถูกรวบไว้ที่ศูนย์กลางหมด การแก้ปัญหาการจราจรแออัดในกรุงเทพ ต้องยกรถออกจากถนน ยกคนออกจากกรุงเทพ ไปตั้งสถานีอยู่ในต่างจังหวัดตามหัวเมืองใหญ่ๆ แล้วขนถ่ายคนเข้า-ออกกรุงเทพฯ ด้วยระยะเวลาสั้นๆ อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ปัญหามีอยู่ว่า ผู้มีอำนาจที่จะเสนอ หรือผู้อนุมัติ มักสร้างเงื่อนไข อันนำไปสู่การคอร์รับชัน นายธารา กล่าวว่ารถไฟเป็นของประชาชน ตนเป็นเพียงผู้ทำหน้าที่รับใช้ประชาชน มีหลายครั้งทั้งที่รู้ว่ารถไฟสภาพไม่สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ด้วยหน้าที่ต้องรับใช้พี่น้อง พยายามประคับประคองออกไป มีอย่างที่ไหนที่ปัดน้ำฝนใช้ไม่ได้ หน้าฝนที คนขับรถไฟต้องขับรถไปด้วย เอามือไปโยกปัดที่น้ำฝนเพื่อมองทางไปด้วย นายสาวิทย์ กล่าวเสริมว่าในฐานะที่ตนอยู่ทัพหน้า บางเรื่องสังคมไม่รับรู้ แต่สหภาพการรถไฟรับรู้ ว่าอะไรจะเกิดอะไรขึ้น เช่นในเดือน กันยายน ที่ผ่านมารถไฟชำรุด 196 ครั้ง พอพยายามจะปริปากบอกประชาชน ก็มักถูกตั้งคำถามตั้งแต่แรกแล้วว่า เป็นพวกชอบปิดถนน ทำให้ประเทศวุ่นวาย ฉะนั้นจะพูดจะทำอะไรก็ไม่มีน้ำหนัก ตรงนี้ยอมรับว่าเหนื่อย แต่ต้องทำหน้าที่ ถ้าคนเราไม่ทำหน้าที่ ท้อแท้สิ้นหวัง แล้วสังคมจะอยู่อย่างไร บางครั้งต้องยอมเจ็บ เช่น ในครั้งนี้ก็โดนคนภายในต่อว่า เป็นการเอาเรื่องภายในมาเปิดเผย เหมือนสาวไส้ให้กากิน นายบุรากร กล่าวว่าการรถไฟไม่พัฒนา ทั้งๆที่มีทรัพย์ยากร ให้เช่าเก็บเกี่ยวดอกผลมากมาย เป็นเพราะการไม่พัฒนาทรัพย์สินของการรถไฟให้มีประสิทธิภาพ ฉะนั้นหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นชั้นผู้ใหญ่ของประเทศไทย มีประสิทธิภาพในการปราบทุจริต ระบบการขนส่งทางรถไฟของประเทศไทยจะไปได้ไกลกว่านี้ ทั้งนี้สาเหตุเป็นเพราะ เจ้าพนักงานบางส่วน เข้าไปมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง อาทิ ที่ของการรถไฟในหลายๆแห่ง ที่เปิดให้เอกชนเช่า เก็บค่าเช่าไม่ได้บ้าง เก็บได้น้อยเกิดการอะลุ่มอล่วย ส่วนต่างทางเปอร์เซ็นต์ตกกับผู้บริหารมาตลอด "ผลสอบของพนักงานสอบสวน เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง ไม่ได้กล่าวถึงอุปกรณ์ ทั้งประตู ซีนยาง เกิดรอยรั่ว จนทำให้เกิดควันพิษรั่วไหลเข้าในห้องคนขับ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้พนักงานหลับทั้งคู่ และระบบเซฟตี้ ที่ควบคุมรอบไม่ให้เกิน 100 กม./ชม." นายบุรากร กล่าว นายบุรากร กล่าวว่าสาเหตุอีกประการของกิจการรถไฟ มาจากการเปลี่ยนผันเปลี่ยนขั้วของรัฐบาล ซึ่งในทุกครั้งที่มีรัฐบาลใหม่ ก็มักจะเปลี่ยนบอร์ดการรถไฟ โดยเอานักการเมืองฝ่ายตนเข้ามาคุม จากนั้นก็บีบสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย ทำให้ดูเหมือนไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน แล้วก็แก้ปัญหาด้วยการเอา ซีอีโอ เข้ามาดูแล ซึ่ง ซีอีโอ ก็ต้องทำตามนโยบายของนักการเมือง แบ่งผลตอบแทนให้นักการเมืองบางกลุ่ม ซึ่งวันนี้การเมืองก็รู้อยู่แล้วว่า เป็นพวกเสือหิว ต้องการกอบโกยทุกทาง เพื่อหาเงินไว้ใช้ในการเลือกตั้งครั้งหน้า นายบุรากร กล่าว่าวันนี้การรถไฟย่ำแย่ ตนได้แต่หวังว่า กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย สตง. จะผ่านวาระ 8 หากจะหวังพึ่งแต่ ป.ป.ช. อย่างเดียว อาจทำให้คดีล่าช้า จนถึงขั้นล้มในที่สุด เพราะคณะกรรมการ ป.ป.ช. อาจเห็นว่าคดีสำคัญ อื่นๆ ยังมีอีกมาก และที่มีสื่อบางประเภท ฟันธง สหภาพแรงงานฯ เป็นพวกเต่าล้านปี ตนได้เข้าไปในงานสัมนาที่ฝ่ายบริหารจัด เกี่ยวกับการจัดบริหารที่ดิน วันนี้สิ่งที่นายทุนต้องการ นอกจากแอร์พอร์ตลิงก์ แล้วยังหวังบริหารกิจการย่านประตูน้ำทั้งหมด น่าตลกคือมีการใช้บริษัทที่ปรึกษา บริษัทเดียวกันสองรอบ เมื่อ 10 ปีที่แล้วประเมินราคาที่ดินตารางเมตรละ แสนสี่ ถึงแสนหก แต่ปัจจุบันมีเครื่องสาธารณูปโภคครบ กลับประเมินราคาตารางเมตรละ 1.2 แสน ตรงนี้ส่อให้เห็นถึงการพยายามจะทำธุรกิจในพื้นที่ย่านประตูน้ำให้ได้ ซึ่งตนก็แย้งไปว่ามาเอาพื้นที่โรงงานทำไม ทำไมถึงไม่เอาพื้นที่ ที่ว่างเปล่าไปพัฒนา ซึ่งตรงนี้มีศึกษาออกมาแล้วว่า หากย้ายโรงงานต้องใช้งบไม่ต่ำกว่า 9 พันล้าน และกว่าจะเคลียร์พื้นที่ได้ไม่ต่ำกว่า 4 ปี นอกจากนี้กว่าเอกชนจะได้สัมปทานแล้วมาก่อสร้างต้องใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า 5 ปี รวมแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี กว่าที่การรถไฟจะเริ่มเก็บผลิตผลได้ ตรงนี้ค่าเงินที่หยุดนึ่ง 9 พันล้าน จะต้องเสียดอกเบี้ยเท่าใด | | | | | |
Hotmail: Trusted email with powerful SPAM protection.
Sign up now.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น