เวทีถกปัญหา”เขื่อนปากมูล” ย้ำเขื่อนทำชุมชนแตกสลาย-วัฒนธรรมคนลุ่มน้ำพังยับ

on วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

 
เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
     ผมได้นำข่าวเวทีถกปัญหา "เขื่อนปากมูน" ย้ำเขื่อนทำชุมชนแตกสลาย-วัฒนธรรมคนลุ่มน้ำพังยับ
 
ผมจึงได้ย้อนนำ จดหมายเปิดผนึกถึงคุณอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และแนวคิดในการแก้ปัญหา
 
เขื่อนปากมูนมาให้ได้อ่านกันอีกครั้ง พร้อมกราฟน้ำพไหลลงเขื่อน ลำปาว ด้วยครับ.
 
                  ด้วยจิตรคารวะ
 
           ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 
 
 
 
 
 
 

จดหมายเปิดผนึกถึงคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี.

on วันพุธ, มิถุนายน 24, 2009


 

                                                                ๔๙๘/๓ ซอยดุสิตคอนโด ถนนพระราม ๕ เขตดุสิต

         

                                                  กรุงเทพมหานคร  ๑๐๓๐๐

 

                                     ๒๔      มิถุนายน   ๒๕๕๒

 

เรื่อง  การแก้ปัญหาน้ำ คือการแก้ปัญหาความยากจน และความทุกข์ยากของพี่น้องเกษตรกร/ชาวนา

 

          ผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างเขื่อนปากมูล  เขื่อนราศีไศล (โครงการโขง ชี มูล)

 

เรียน คุณอภิสิทธิ เวชชาชีวะ   นายกรัฐมนตรี.

 

          เขื่อนปากมูลเริ่มแรกตั้งอยู่ห่างจากปากน้ำ ๔ กม และเลื่อนขึ้นมาอีก ๑.๕ กม เพื่อหนีแก่ง

 

ตะนะในอุทยานแห่งชาติ และเพื่อลดกระแสการต่อต้าน และที่สุดรัฐบาล ฝรั่งเศษ มาช่วยศึกษาผล

 

กระทบ ได้ทำการปรับลดระดับเก็บกักลงเพื่อลดผลกระทบ จากการที่ ต้องย้ายครัวเรือนราษฎร

 

จาก ๔,๐๐๐ ครัวเรือน เหลือเพียง ๔๐๐ ครัวเรือน (รัฐบาลคงมิได้ดำเนินการตามนี้ เพราะยัง

 

มีการต่อต้านอย่างหนักเหมือนเดิม และระดับเก็บกักน้ำยังสูงเกินไป จนต้องก่อสร้างคันดิน

 

(Earth Dike) บนตลิ่งทั้งสองฝั่งของแม่น้ำมูล. ดูระดับน้ำจากภาพนี้แล้ว ทำให้เข้าใจได้ว่า

 

ถ้าเปิดเขื่อนปากมูลตลอดไป ปลาที่ขึ้นมาวางไข่ (ลูกปลา) จะมีน้ำเพียงพอในการเจริญเติบโต

 

หรือไม่ ? เพราะหลังฤดูฝนผ่านไป ประเทศจีนก็จะต้องปิดเขื่อนเพื่อกักน้ำเอาไว้ จึงคาดการณ์

 

ได้เลยว่า ระดับน้ำตรงที่ปากน้ำเขื่อนปากมูล จะกลายเป็นน้ำตกไปในทันทีหลังฤดูฝน และด้วย

 

เหตุดังกล่าวนี้ ผมจึงเห็นว่า การปิดและเปิดเขื่อน ตามผลสรุป ของงานวิจัย ของมหาวิทยาลัย

 

 อุบลราชธานีนั้นถูกต้องแล้ว เพราะจะทำให้เราทราบว่า ผลกระทบต่อปลาที่ขึ้นมาวางไข่นั้น

 

ลูกปลาจะอยู่รอดปลอดภัยหรือไม่? และระดับต่างของระดับน้ำเหนือเขื่อน และท้ายเขื่อนจะ

 

เป็นอย่างไร? โดยเฉพาะในฤดูน้ำหลาก และหลังฤดูน้ำหลาก (ฤดูแล้งมาเยือน) ก็จะทำให้ ครม.

 

มีข้อมูลที่ลึกและถูกต้องในการตัดสินใจว่าจะเอาทุน/หรือจะเอาประชาชน เพราะจะเห็นได้อย่างชัด

 

เจนว่า หากปิดเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างเดียว  จะได้ผลผลิตกระแสไฟฟ้า ถึง ๒๘๐ ล้านหน่วย

 

จริงหรือไม่?  โดยให้ตัวแทนภาคประชาชนเข้าร่วมการตรวจสอบ ถ้าผลออกมาว่า ได้ผลผลิตกระแส

 

ไฟฟ้าน้อยกว่า ช่วงการปิดเขื่อนตามผลการวิจัย (คาดว่าไม่เกิน ๒๕%) ก็จะทำให้ เป้าหมายการผลิต

 

กระแสไฟฟ้าเพื่อ (ทุน) คือเงิน เปลี่ยนมาเป็นการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อพี่น้องเกษตรกร/ชาวนา และ

 

ผลผลิตจากการเกษตร โดยรวม จะมากกว่า อย่างมหาศาลครับ และที่สำคัญจะเป็นการตัดสินใจครั้ง

 

สำคัญเพราะมีข้อมูลครบถ้วนและลึก และที่สุดเป็นการตัดสินใจครั้งแรกเพื่อพี่น้องประชาชน ที่แสนจะลำ

 

บากและยากไร้ครับ

 

                      จึงกราบเรียนมายังท่านนายกอภิสิทธิ เวชชาชีวะ เพื่อได้โปรดพิจารณา.

 

                                                  ขอแสดงความนับถือ.

 

                                             ประชุม สุริยามาศ  วย.๗๗๗

 

ปล. ได้แนบไฟล์บทความและภาพแสดงระดับน้ำและบันไดปลาโจนในหน้าแล้ง.

 

 

 
 
 
 

FW: จดหมายเปิดผนึกถึง คุณอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี.



 

From: msuriyamas@hotmail.com
To: msuriyamas@hotmail.com
Subject: จดหมายเปิดผนึกถึง คุณอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี.
Date: Tue, 23 Jun 2009 18:08:20 -0800

 
เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนา ที่เคารพ
 
               ผมขออนุญาติพี่น้อง เพื่อส่งจดหมายเปิดผนึกถึงคุณอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
 
พร้อมได้แนบข้อมูลจากบทความ ภาพ พร้อมคำวิเคราะห์อันน้อยนิด ในการสนับสนุน ผลงานการวิจับ
 
เพื่อการตัดสินใจในการเปิดเขื่อนปากมูล เป็นเวลา ๘ เดือน และปิดเขื่อนปากมูลเป็นเวลา ๔ เดือน ซึ่ง
 
มีข้อมูลทางลึกสนับสนุน หากได้รับการพิจารณา ผมคิดว่า ปัญหาเขื่อนปากมูลอันลือลั่น และได้สร้าง
 
ความเสียหายให้แก่พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาที่อาศัยอยู่บนรืมฝั่งลุ่มน้ำมูลอย่างมหาศาล จะได้สื้นสุดลง
 
เสียที และผมยังหวังไปอีกว่า ปัญหาเขื่อน ราษีไศล เขื่อนหัวนา และเขื่อน(ฝาย) ต่างๆในโครงการ
 
โขง ชี.มูล อันลือลั่น ก็จะพลอยได้รับการแก้ไขปัญหาไปด้วย.
 
                ไนโอกาศต่อไปผมก็จะได้นำเสนอเป็นจดหมายเปิดผนึกในรูปแบบจากประชาชน
 
ถึงท่านนายกอีกต่อไป ในเรื่องผลกระทบจากเขื่อน ลำปาว เขื่อน ลำพระเพิลง ซึ่งไม่สามารถเก็บ
 
กักน้ำปริมาณมหาศาลได้อีกต่อไปแล้ว ดังเป็นที่ทราบกันดีว่า เขื่อนทั้งสอง ได้ปล่อยน้ำทิ้งในแต่ละปีเป็น
 
ปริมาณมหาศาล ให้ไหลลงมาท่วมไร่นาของพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใต้เขื่อน และเลย
 
ไปท่วมถึงพื้นที่ราบอันเป็นอู่ข้าวอู่น้ำอันอุดมสมบูรณ์ในอดีตอีกด้วย เช่น พื้นที่ ๙ ตำบลใน ๑๒ ตำบล
 
ของอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พื้นที่รอยต่อระหว่างอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ และ อำเภอ
 
ธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ดมานานแสนนานแล้ว และไม่มีไครเข้าไปแก้ไขปัญหาหรือว่าไม่มีไครรู้เหตุแห่ง
 
ปัญหา/หรือปกปิดปัญหาเอาไว้กันแน่ดังที่เป็นข่าวว่า เมื่อเดือนตุลาคม ปี ๒๕๔๘ มี ครม.สัญจรไปที่
 
โรงแรมริมปาว เพราะทนข้อเรียกร้องและความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาไม่ไหว.และได้
 
อนุมัติเงินงบประมาณถึง ๓,๐๐๐ ล้านบาท แต่มีข่าวบางกระแสบอกว่า อนุมัติเงินงบประมาณถึง
 
๓,๕๐๐ ล้านบาท เพื่องเพื่อต้องการ สยบการเรียกร้องลงเท่าน้น คือจะให้เรสริมสันเขื่อน ลำปาวขึ้นอีก
 
๒.๐๐ เมตร (ซึ่งไม่จริง)เพื่อให้เขื่อน ลำปาวเก็บกักน้ำได้เพิ่มมากขึ้นอีกเพียง ๕๐๐ ล้าน ลบ.ม.
 
จากปรืมาตรเก็บกักปรกติ (โปรดส้งเกตูคำว่าปริมาตรเก็บกักปรกติ) ที่ ๑,๔๓๐ ล้าน ลบ.ม.เป็น
 
 ๑,๙๓๐ ล้าน ลบ.ม. ทั้งๆที่ในอดีตเขื่อน ลำปาวสามารถเก็บกักน้ำได้เป็นจำนวนถึง ๒๕๑๐ ล้าน
 
ลบ.ม.ครับ และได้ปรับลงครั้งแรกเหลือ ๒,๔๕๐ ล้าน ลบ.ม. จึงได้ม้คำถามตามมาว่า
 
"แล้วทำไม?...ทำไม?... จึงต้องใช้เงินงบประมาณสูงถึง ๓,๐๐๐ - ๓,๕๐๐ล้านบาท เพื่อนำมาใช้
 
ก่อสร้าง เสริมสันเขื่อนอีกเล่า"
 
                   ความคิดเห็นของผม เงินจำนวนนี้ น่าที่จะนำไปก่อสร้างเขื่อน ขนาดเก็บกักน้ำได้ซัก
 
๒๕๐ - ๓๐๐ ล้าน ลบ.ม. จำนวน ๓ แห่ง ในพื้นที่เหนือเขื่อน ลำปาวขึ้นไปจะดีกว่า จะเป็นการกระจาย
 
น้ำให้ถึงไร่นาของเกษตรกร/ชาวนาได้ดีขึ้นมากกว่าครับและยังจะสามารถเก็บกักน้ำไว้ได้จริงอีกด้วย.
 
                     จากข้อมูลข้างต้นนี้ ผมจึงมีความเห็นว่า ภาคอีสานมิได้ขาดน้ำเลยครับ  แล้วเรา
 
จะผันน้ำเข้ามาอีกทำไม? และน้ำที่จะผันเข้ามาจะนำไปเก็บกักไว้ที่ไหน? ครับ (เขื่อนต่างๆในอีสานเหนือ
 
 ได้เสื่อมสภาพลงมากแล้วครับ) แต่ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนในแต่ละปียังเปลี่ยนแปลงไปไมกเลยครับ,
 
                     จึงขอเพิ่มจากคุณอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี อีกข้อคือ ขอให้ท่านพิจจารณา
 
โครงการผันน้ำเข้าอีสานเหนือ สู่อีสานใต้ ให้รอบคอบด้วยครับ ผมไม่อยากให้ท่านตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆ
 
จากข้อมูลเพียงด้านเดียงวโดยเฉพาะข้อมูลจากทุน (จากนักการเมืองรอบข้างที่มาจากทุน) ครับ ดังเช่นการ
 
ตัดสินใจปิดเขื่อนปากมูลของอดีตนายกรัฐมนตรีหลายท่านในอดีต ที่ขาดความรับผิดชอบ จนทำให้ปัญหา
 
เขื่อนปากมูลยังคงอยู่ และยังสร้างความเสียหายจนตราบเท่าทุกวันนี้.
 
                      จึงกราบเรียนมาเพื่อให้พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาได้ทราบกันครับ.
 
                              ขอแสดงความนับถือ.
 
                           ประชุม สุริยามาศ.วย.๗๗๗
 

 
 
 
 

FW: ภาพกร๊ฟท์น้ำไหลลงเขื่อน ลำปาว.และบทความ ยุทธการหว่านวันแม่ - เกี่ยว วันพ่อ.

on วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 18, 2009


ผมได้แนบไฟล์เพิ่มเติมมาให้ครับ/ประชุม.


กร๊าฟน้ำในเขื่อน ลำปาวครับ./ประชุม.


Subject: ภาพกร๊ฟท์น้ำไหลลงเขื่อน ลำปาว.
Date: Sun, 10 May 2009 06:37:09 -0800

เรียนคุณอัญชลี ฯ

ภาพ ๑๔๘ ผมทำไว้เพื่อแนะนำเกษตรกร/ชาวนา ที่อยู่ในพื้นที่
น้ำท่วมเป็นระยะเวลาไม่ยาวนานนักครับ

โดยใช้ยุทธการ หว่านวันแม่ - เกี่ยววันพ่อ แต่เนื่องจาก หน้าแล้ว
และฝนทิ้งช่วงในแต่ละปีไม่ตรงกัน และเปลี่ยนแปลงไปมาก

จึงใช้วิธีดูจากกร๊าฟท์น้ำไหลลงเขื่อนครับและหาช่วงที่เหมาะสมดังกล่าว.

ภาพ ๑๔๙ ผมใช้แนบ บทความ ยุทธการหว่านวันแม่ - เกี่ยววันพ่อครับ.

จากทั้งสองภาพจะพบว่า ปี ๒๕๔๘ น้ำจะท่วมมาก
หากเขื่อนไม่เปิดน้ำทิ้ง และสันเขื่อนมีความแข็งแรงและ

ปลอดภัย จะสามารถเก็บกักน้ไว้ได้ ถึง ประมาณ ๒,๒๓๐ ล้าน ลบ.ม.
ก็จะทำให้มีปริมาณน้ำต้นปี ๒๕๔๙ ถึงประมาณ

๑,๘๕๐ - ๑.๙๐๐ ล้าน ลบ.ม.
ปริมาณน้ำมหาศาลนี้ก็จะสามารถปล่อยให้เกษตรกร/ชาวนา
ทำนาปรังได้ทุกปีครับ.

กรุณานำเรียท่านนายกด้วยนะครับ./ประชุม.

FW: แนวคิดในการแก้ปัญหาน้ำ(ปัญหาความยากจนของเกษตรกร/ชาวนา ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศนั่นเอง.)

คำเกริ่นนำ.

          ผู้เขียนบทความเชิงวิเคราะห์นี้ เพื่อที่จะให้ผู้ที่มีอำนาจในการแก้ไขปัญหา น้ำท่วม น้ำแล้ง ได้กรุณาใช้วิจารณ

ยาญในการพิจจารณา เพื่อให้เกิดประโยชน์แก้พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาเป็นหลัก ถ้าพบว่ามีข้อมูลที่ไม่เป็นจริง/หรือไม่ถูก

ต้อง หรือมิได้บอกกล่าว  ขอได้โปรดชี้แนะด้วยนะครับ.

          ด้วยจิตรคารวะ

   ประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗


From: msuriyamas@hotmail.com
To: sasukmsu@gmail.com
Subject: FW: แนวคิดในการแก้ปัญหาน้ำ(ปัญหาความยากจนของเกษตรกร/ชาวนา ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศนั่นเอง.)
Date: Wed, 17 Jun 2009 08:54:58 -0800

เรียนคุณบอน ฯ

         กรุณาใช้ข้อมูลน้ำปี ๒๕๔๘ จากภาพ ๓๕๐ ครับ และข้อมูลร้ำปี ๒๕๔๙ จากภาพ ๓๔๙ ครับ

และค่าระดับน้ำในแม่น้ำโขง เป็น + ๑๖๐ ม. (ร.ท.ก.) ครับ.

         เราจะพบว่า ปริมาณน้ำต้นปี (มกราคม ๒๕๔๘) ปริมาตรน้ำในเขื่อนเหลือรวม ๑,๓๑๙ ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น  ๒๒%

ของปรืมาตรเก็บกักสูงสุดรวม  ๕,๘๖๗ ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำต้นปี (มกราคม ๒๕๔๙) ปริมาตรน้ำในเขื่อนเหลือรวม

๒,๐๓๐ ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น ๓๕% ของปริมาตรเก็บกักสูงสุดรวม. ๕,๘๖๗ ล้าน ลบ.ม.

          สำหรับคำพูดที่ว่า อีสาณมิได้ขาดน้ำเลย นั้น ให้กลับไปดูที่ กร๊าฟน้ำไหลลงเขื่อนต่างๆ จะพบว่าช่วงทีฝนกำลังตก

ชุกนั้น เขื่อนได้เปิดน้ำทิ้งเป็นปริมาณมาก หากเก็บกักเอาไว้ ปริมาตรน้ำในเขื่อน ต้นปี (มกราคม) จะทีปริมาณมากและใกล้

เคียงกับปริมาตรเก็บกักสูงสุดเกือบจะทุกปี.

                นับถือ.

         ประชุม สุริยามาศ.


From: msuriyamas@hotmail.com
To: sasukmsu@gmail.com
Subject: RE: แนวคิดในการแก้ปัญหาน้ำ(ปัญหาความยากจนของเกษตรกร/ชาวนา ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศนั่นเอง.)
Date: Wed, 17 Jun 2009 02:07:10 -0800

>เรียนคุณบอนที่นับถือ.

> >ก้อนอื่นผมต้องขอบคุณมากที่คุณบอน ฯ ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยผม ซึ่งก็จะเหมือนคุณบอนได้ช่วยพี่น้องเกษตรกร/ชาวนา

>นั่นเองครับ ผมเป็นวิศวกรโยธา ฯ แต่ได้เปลี่ยนมาค้นหาเหตุแห่งทุกข์ของพี่น้องเกษตรกร/ชาวนา โดยเฉพาะในพื้นที่

>ภาคอีสาณมานานแล้วครับ ที่สำคัญผมได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่ จ.ขอนแก่น เป็นเวลานานพอสมควร และได้ตระเวณไปทั่ว

>ภาคอีสาณครับ. จึงได้รับทราบถึงปัญหาน้ำท่วม และฝนแล้งได้เป็นอย่างดีครับ. โดยเฉพาะหลังการก้อสร้างเขื่อนปากมูล

>ที่อำเภอโขงเจียม จ.อุบลราชธานี. ซึ่งเป็นเขื่อนแรก ในโครงการ โขง. ชี.มูล. ทำให้พี่น้องที่อยู่อาศัยทำกินตลอดริมฝั่ง

>ทั้งสองของแม่น้ำมูล.

> >ผมจะนำเสนอความจริงว่า   อีสาณมิได้ขาดน้ำเลยครับ ?และจะพยายามนำเสนอให้รัฐบาลต้องเปิดเขื่อน

>ปากมูลเป็นเวลา ๘ เดือน และปิดเขื่อนปากมูลเป็นเวลา ๔ เดือน จนกว่าจะไดhข้อยุติว่า จะเปิด หรือจะปิดเขื่อนปากมูล

>ตลอดไปกันแน่? ครับ. ผมได้ขอข้อมูลไปที่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อที่จะได้รู้ว่า ทางอาจารย์ คณะที่ทำการวิจัยนั้น

>ได้กำหนดช่วงเวลาเปิดเขื่อนเป็นเวลา ๘ เดือนนั้น เริ่มจากเดือนไหน? ถึงเดือนไหน? และช่วงปิดเขื่อน ๔ เดือนนั้นเริ่มปิด

>จากเดือนไหน? ถึง เดือนไหน? ถ้าเราสามารถหาข้อมูลให้ได้ว่าปลาขึ้นมาวางไข่ได้จริง และเขื่อนก็ยังสามารถผลิตกระ

>แสรไฟฟ้าได้ไม่ต่างอะไร?มากนัก กับการปิดเขื่อน ๘ เดือน และเปิดเขื่อนเพียง ๔ เดือน. ปัญหาของพี่น้องเกษตรกร/

>ชาวนา ก็จะได้รับการแก้ไข.

> > สำหรับความคิดเห็นของผมนั้น ผมคิดว่า ถ้าผลออกมาว่า เปิดเขื่อน ๘ เดือน และปิดเขื่อน ๔ เดือน ตามผลการวิจัย

>ของ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สามารถแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม คือปลา จะสามารถขึ้นมาวางไข่และสามารถเจริญเติบโต

>ได้ก็ตาม  แต่ก็จะยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาผลกระทบจากน้ำทะลักเข้าไปท่วมไร่นา ป่าบุ่งป่าทาม ซึ่งได้สร้างความสูญ

>เสียอย่างมหาศาลได้เลยครับ ทั้งนี้ก็เพราะข้อมูลการเก็บกักน้ำในเขื่อนต่างๆทั้งในพื้นที่อีส่ณเหนือ อีสาณกลาง และ

>อีสาณใต้ ได้ลดลงอย่างน่าใจหายครับ คือสามารถเก็บกักได้ไม่เกิน ๔๐% ของปริมาตรเก็บกักสูงสุดครับ ด้วยเหตุนี้

>ขเอนปากมูลกำลังเปิดประตูน้ำทั้ง ๘ บาน จากวันจันทร์ที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๒ เป็นเวลา ๔ เดือน ก็จะไปปิดเอาโน่น

>ครับวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๒ ฝนก็จะหมดแล้วครับ ปัญหาปลาขึ้นมาวางไข่ได้ แต่โรงไฟฟ้าเขื่อนปากมูลจะ

>ไม่มีน้ำมาผลิตกระแสรไฟฟ้าครับ. เพราะน้ำต้นปีก็จะเหลือไม่เกิน ๔๐% ของปริมาตรน้ำเก็บกักสูงสุด และยังต้องหัก

>ปริมาณน้ำคงเหลือกันอ่าง (Dead Stock) อีกต่างหากครับ  ดังนั้นโรงไฟฟ้าเขื่อนปากมูลจะมีน้ำเพื่อใช้ผลิตกระ

>แสรไฟฟ้าได้ไม่เกิน ๒๕% ของกำลังการผลิตรวม/ปี (๒๘๐ ล้านหน่วย/ปี) เขื่อนปล่อยน้ำทิ้งช่วงหน้าฝนเฉลี่ยถึง

>๔,๐๐๐ - ๔,๕๐๐ ล้าน ลบ.ม.ครับ.ตรงนี้เองครับที่จะเป็นข้อมูลที่ยืนยันว่า ภาคอีสาณนั้น มิได้ขาดน้ำเลยครับ.?

>แล้วเราจะไปผันน้ำเข้ามาอีกทำไม?ครับ. เราควรปรับปรุงโครงการ โขง.ชี.มูล. โดยการลดระดับเก็บกักลงมา๔๐% ถึง

>๕๐% /หรือลดระดับเก็บกักน้ำในแม่น้ำมูล, แม่น้ำชี, และแม่น้ำปาวลง ๕.๕๐ - ๗.๕๐ เมตร ปัญหาทุกๆปัญหาก็จะ

>ได้รับการแก้ไขโดยอัตโนมัติครับ. เขื่อนใหญ่จำนวน ๕ เขื่อนที่วิกฤต (วิบัติ) ถึงกับต้องร้อและทำการก่อสร้างใหม่ก็ต้อง

>ทำครับ เพื่อที่จะทำให้เราสามารถเก็บกักน้ำได้มากขึ้นถึงปีละ ๔,๐๐๐ - ๔,๕๐๐ ล้าน ลบ.ม./ปี และปรับเปลี่ยนเป้า

>หมายการผลิตกระแสรไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าเขื่อนปากมูลเพิ้อการค้า เปลี่ยนมาเป็นการผลิตกระแสรไฟฟ้าเพื่อการเกษตร

>เพียงอย่างเดียวเท่านั้นครับ. กระแสรไฟฟ้าที่หดหายไป ให้ไปใช้ เขื่อนจำนวน ๕ เขื่อนที่ทำการก้อสร้างใหม่ผลิตแทน

>เขื่อนลำปาว,เขื่อนน้ำอูน,เขื่อนลำตะคอง ,เขื่อนลำพระเพลิง, เขื่อนลำมูลบน,และเขื่อนลำแซะ. และเขื่อนที่แข็งแรงดีก็

>คือ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ, และเขื่อนขุนด่านปราการชล (เขื่อนคลองบ้านท่าด่าน)ครับ.

> > ขอขอบคุณมากๆเลยนะครับคุณบอน ณ. กาฬวินธุ์

           ประชุม สุริยามาศ วย,๗๗๗.
 
กราฟน้ำไหลลงเขื่อน ลำปาว ณ. วันศุกรที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ ครับ.

 
 
 
 
 

 
 
 
 
 
 
 

เวทีถกปัญหา"เขื่อนปากมูล" ย้ำเขื่อนทำชุมชนแตกสลาย-วัฒนธรรมคนลุ่มน้ำพังยับ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 ตุลาคม 2552 12:45 น.


คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น




ายสมเกียรติ พ้นภัย แกนนำชาวบ้านปากมูล

อุบลราชธานี - นักวิชาการ-เอ็นจีโอเปิดวงเสวนาถกกรณีปัญหาเขื่อนปากมูล ย้ำหลังสร้างเขื่อนได้ไม่คุ้มเสีย ซ้ำความเดือดร้อนชาวบ้านลุ่มน้ำถูกรับบาลเมิน "นพ.นิรันดร์" แนะปรับยุทธศาสตร์ต่อสู้ใหม่ชูประเด็นสิทธิชุมชน ชาวลุ่มน้ำยันต้องเปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูลถาวร และรัฐต้องชดเชยการสูญเสียหลังสร้างเขื่อน ย้ำเขื่อนปากมูลทำให้ครอบครัวล้มละลาย ชุมชนแตกสลาย วัฒนธรรมคนลุ่มน้ำถูกทำลายยับ
       

       ปัญหาการสร้างเขื่อนปากมูล ซึ่งได้รับการอนุมัติหลังการรัฐประหารในปี 2534 เป็นบทเรียนที่ล่าสุดเมื่อเร็วๆนี้ ชาวบ้านสมัชชาคนจนกรณีปัญหาเขื่อนปากมูล ได้นำเข้าวงสนทนา เพื่อวิเคราะห์แนวทางการต่อสู้กระบวนการของการเมืองภาคประชาชนกับรัฐ ซึ่งนับวันขบวนการของชาวบ้านจะอ่อนแอลง เพราะถูกแทรกแซงจากอำนาจรัฐที่มีอำนาจต่อรองเหนือกว่าทุกด้าน และส่วนหนึ่งเกิดจากความเบื่อหน่ายท้อแท้ของชาวบ้านที่มองไม่เห็นแสงสว่างแห่งชัยชนะ
       
       ในวงสนทนา ประกอบด้วยชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ นักวิชาการที่ติดตามปัญหาเขื่อนปากมูล และกรรมการสิทธิมนุษยชน ต่างมีความเห็นตรงกันในเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้น "การสร้างเขื่อนปากมูลได้ไม่คุ้มเสีย"
       
       จากผลการวิจัยของกรรมการเขื่อนโลก ซึ่งเข้ามาศึกษาความหลากหลายและความซับซ้อนในระบบนิเวศวิทยาแม่น้ำมูลตอนปลายพบว่า ก่อนการสร้างเขื่อนปากมูลมีพันธุ์ปลาอาศัยอยู่ในลุ่มน้ำมูลรวม 265 ชนิด แต่หลังจากนั้นปริมาณพันธุ์ปลาลดลงเหลือเพียง 170 กว่าชนิด เหตุเพราะเขื่อนปากมูลสร้างปิดปากแม่น้ำ ส่งผลให้ปิดกั้นการเดินทางขึ้นมาวางไข่ได้ตามธรรมชาติของพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาจากแม่น้ำโขง
       
       แม้เมื่อปี 2543 กลุ่มสมัชชาคนเข้ายึดเขื่อนปากมูล กดดันให้รัฐบาลเปิดประตูระบายน้ำคืนธรรมชาติให้สิ่งแวดล้อม พร้อมเปิดทางให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เข้าศึกษาวิจัยผลกระทบตามลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบ กระทั่งได้ผลสรุปเสนอให้รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สั่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดประตูระบายน้ำเขื่อนอย่างถาวร จึงสามารถแก้ผลกระทบที่เกิดกับวิถีชีวิตคนลุ่มน้ำและระบบนิเวศวิทยาที่เสียหายไปหลังการสร้างเขื่อนแห่งนี้
       
       แต่ข้อเสนอของนักวิจัยที่เสนอต่อรัฐบาล ทำได้เพียงยืดปัญหาให้ทอดยาวออกไปอีก โดยรัฐบาลมีมติ ครม.ในปี 2545 ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูลทั้ง 8 บานในช่วงน้ำหลากทุกปีๆละ 4 เดือน เมื่อปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข การต่อสู้ของกลุ่มสมัชชาคนจน กรณีปัญหาเขื่อนปากมูล จึงยังดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการถูกแทรกแซงจากกลไกจัดตั้งมวลชนในพื้นที่เข้ามาต่อสู้ชิงไหวชิงพริบในแต่ละปี
       
       ยันต้องเปิดประตูเขื่อนถาวร-จ่ายค่าชดเชย
       
       ผศ.ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์ ผอ.ศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวถึงการแก้ปัญหาของรัฐที่ไม่มีความชัดเจนในกรณีดังกล่าวว่า เช่น กรณีตั้งคณะทำงานวางแผนฟื้นฟูชีวิตคนลุ่มน้ำที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูล ตามผลการวิจัยแบบสอบถามจากชาวบ้านที่ระบุว่า ราษฎรจำนวน 6,865 คน ต้องการให้เปิดเขื่อนถาวร 3,930 คน ต้องการให้รัฐบาลจ่ายค่าชดเชยเป็นที่ดินจำนวน 15 ไร่ แทนการประกอบอาชีพหาปลาในแม่น้ำมูล
       

       ขณะที่ 1,343 คน มีความเห็นหากรัฐปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูล ต้องจ่ายค่าชดเชยผลกระทบให้ครอบครัวละ 500 บาทต่อวัน หรือให้ทุนเพื่อประกอบอาชีพครอบครัวละ 525,000 ตามมติ ครม.ปี 2540
       
       แต่การตั้งคณะทำงานเป็นเพียงการพูดคุยในคณะทำงานชุดใหญ่ที่กระทรวงหมาดไทยตั้งขึ้น แต่ไม่มีขอบเขตอำนาจ รวมทั้งงบประมาณดำเนินงาน แนวทางและยุทธศาสตร์การทำงานของคณะทำงาน จึงไม่เป็นรูปธรรมชัดเจน และยังไม่มีการหารือกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบอย่างจริงจัง แม้เวลาได้ผ่านเลยมาเป็นเวลานาน ซึ่งปัญหาอาจมาจากกลไกการทำงานไม่ได้รับการสนับสนุนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
       
       สำหรับส่วนราชการก็ทราบว่ามีภาระหน้าที่มาก สัดส่วนของนักวิชาการและชาวบ้านที่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการมีจำนวนน้อย ทำให้เกิดความไม่ลงตัวของคณะทำงาน เพราะจุดประสงค์ของแผนการฟื้นฟูคือ ทำอย่างไรชาวบ้านจะเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด ดังนั้นคณะกรรมการร่างแผนฟื้นฟูที่กล่าวถึง จึงไม่สามารถขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดประโยชน์กับชุมชนได้ในทางปฏิบัติ เพราะไม่มีความชัดเจนดังกล่าว
       
       จากผลงานการแก้ปัญหาที่ไม่ได้เดินหน้าไปไหน ทำให้ห้วงระยะ 2 ปีที่ผ่านมา กลุ่มสมัชชาคนจนได้ออกมาทวงถามความคืบหน้าเป็นระยะ ควบคู่ไปกับการอ่อนแรงลงของกระบวนการต่อสู้ของภาคประชาชน จึงได้มีการระดมความคิดกำหนดรูปแบบการต่อสู้ให้สอดคล้องในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
       
       ยุทธศาสตร์ต่อสู้ใหม่ชู "สิทธิชุมชน"
       

       นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนกล่าวถึงการต่อสู้ในอนาคตของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบว่า การต่อสู้ของเขื่อนปากมูลในรอบ 20 ปี สังคมได้เห็นทุนของการต่อสู้ ทั้งขบวนการต่อสู้ของภาคประชาชน ที่ลุกขึ้นสู้ในเรื่องของสิทธิชุมชนในการจัดการลุ่มน้ำ ขบวนการของนักวิชาการที่เข้ามาศึกษาองค์ความรู้ จึงถือเป็นหลักสำคัญทำให้มีแนวร่วมเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทั่งในไปสู่ขบวนการสร้างเขื่อนใหม่ ต้องมาคิดถึงเรื่องผลกระทบของชุมชน
       
       แต่การต่อสู้ของเขื่อนปากมูลที่ยาวนานมีปัญหาเชิงโครงสร้าง ด้านแนวคิดนโยบายการจัดการลุ่มน้ำของชุมชน จึงต้องสรุปบทเรียนใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อน โดยการขับเคลื่อนเขื่อนปากมูลต้องมียุทธศาสตร์หลักคือ "การขับเคลื่อนเรื่องสิทธิของชุมชน"
       
       ทั้งนี้ เพราะประเทศเรามีลุ่มน้ำมากมาย เช่นอีสาน มีแม่น้ำโขง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล มีชุมชนได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาต่างๆจำนวนมาก จึงต้องทำให้ทุกฝ่ายเห็นว่า สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญที่ชาวปากมูลต่อสู้ด้วยจิตสำนึกของการเป็นพลเมืองมาถึง 20 ปี สามารถยกระดับไปถึงการจัดระเบียบอำนาจใหม่ในสังคม เพื่อทำให้เห็นว่าการต่อสู้ทางการเมืองของภาคพลเมืองด้านสิทธิมนุษยชนสามารถเป็นอำนาจใหม่ไปถ่วงดุลอำนาจทางการเมือง เพราะปัจจุบันอำนาจขององค์กรอิสระไม่สามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาได้
       
       ตราบใดที่ชาวบ้านไม่สามารถสถาปนาอำนาจเรื่องสิทธิชุมชนทั้งเรื่องลุ่มน้ำ ที่ดิน ป่า และชาติพันธุ์ ให้เกิดเป็นอำนาจใหม่ที่จะถ่วงดุลอำนาจการเมือง และทุนในกระแสโลกาภิวัฒน์ที่ไม่ชอบธรรม ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะไม่ได้รับการแก้ไข ยุทธศาสตร์หลักในการต่อสู้ของชาวบ้านเขื่อนปากมูล จึงถือเป็นเรื่องสำคัญในการขับเคลื่อนขบวนการต่อสู้ต่อไป
       
       จากยุทธศาสตร์หลักที่ทำให้กลุ่มสมัชชาคนจน มีอำนาจนำไปต่อสู้ทวงถามความเป็นธรรมจากผลกระทบที่เกิดขึ้นของคนลุ่มน้ำมูลแล้ว ยังมียุทธศาสตร์รองคือ การวางระบบการทำงานในพื้นที่ ให้เกิดความชัดเจนของศักยภาพการทำงาน การวางระบบกฎหมายเพื่อประชาชน เพราะเมื่อชุมชนมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญใครละเมิดสิทธิทั้งรัฐและทุน ตุลาการภิวัฒน์ต้องเข้ามามีบทบาท
       
       ประการต่อมาคือการทำงานเชิงนโยบาย เพราะ 6 ปีที่ผ่านมา ครม.มีนโยบายเปิดประตูเขื่อน 4 เดือนและปิด 8 เดือน แต่ไม่ได้แก้ไขปัญหา จึงต้องทบทวนนโยบายการแก้ปัญหาเขื่อนปากมูลให้เป็นไปตามความต้องการของชุมชน ประการสุดท้ายคือการสื่อสารสาธารณะ เพื่อใช้บอกกับสังคมว่าตลอด 20 ปีที่ผ่านมาของเขื่อนปากมูลยังไม่ได้รับการแก้ปัญหา ให้สังคมเข้าใจว่าสิ่งดังกล่าวคือรากฐานของปัญหาความยากจน ความเลื่อมล้ำในระบบเศรษฐกิจ แทนจะมองประชาชนที่เรียกร้องต้องการเงินอย่างเดียว เพราะถ้าสังคมไม่เข้าใจก็จะต่อต้านและทำให้แตกแยกทางความคิด
       
       ด้านนายสมเกียรติ พ้นภัย แกนนำชาวบ้านปากมูลได้ให้มุมมองความเห็นของข้อเรียกร้องไว้ว่า ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ 20 ปีที่ผ่านมา มองการแก้ปัญหาของรัฐเหมือนไม่มีความจริงใจรับผิดชอบผลกระทบที่เกิดขึ้น "หลายครั้งที่ชาวบ้านเดินไปบอกถึงทำเนียบรัฐบาลในหลายรัฐบาล แต่ไม่มีแนวทางใช้แก้ปัญหาให้เห็นเป็นรูปธรรม สายตาของชาวบ้านเลยมองว่ารัฐไม่จริงใจ เพราะถ้ารัฐบาลมีความจริงใจปัญหาของชาวบ้านปากมูลแก้ไม่ยาก
       
       ทั้งนี้ เพราะทุกเรื่องมีผลการศึกษาวิจัยจากหลายสถาบันสรุปให้เห็นปัญหา คณะกรรมการเขื่อนโลกก็ยังสรุปว่า เขื่อนปากมูลไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจน่าจะยกเลิกใช้งานได้แล้ว สำหรับงานวิจัยของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ก็สรุปชัดเจนไม่มีแนวทางอื่นแก้ไขปัญหาดีกว่าการเปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูลทั้ง 8 บานตลอดทั้งปี
       
       ส่วนข้อเรียกร้องของกลุ่มสมัชชาคนจน ก็ยังเดินตามแนวทางเดิมคือ การเปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูลถาวร และรัฐต้องชดเชยการสูญเสียหลังจากการสร้างเขื่อน เพราะเขื่อนปากมูลทำให้ครอบครัวล้มละลาย ชุมชนแตกสลาย วัฒนธรรมคนลุ่มน้ำถูกทำลายจนหมดไป นายสมเกียรติกล่าวให้ความเห็น
       
       กระบวนการต่อสู้ของชาวบ้านปากมูลกับรัฐคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คงไม่บอกว่าใครผิดหรือถูก เพราะขณะนี้เขื่อนปากมูลได้สร้างขึ้นมาสมดังประสงค์ตามนโยบาย และชาวบ้านก็ต้องเดินหน้าสู้ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดกับปากท้องของคนลุ่มน้ำที่มากับเขื่อนแห่งนี้ เพียงผู้กุมนโยบายรัฐเข้าใจปัญหา การเดินขบวนเรียกร้องก็ไม่เกิดขึ้น เมื่อทุกฝ่ายมีที่ยืนเหลือให้แก่กันบ้าง



Hotmail: Free, trusted and rich email service. Get it now.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น