ระดมสมอง หาแนวทางผันน้ำโขง บทความจากเดลี่นิวส์ ณ.วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๑

on วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนสันเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
            วันนี้หลังจากไม่มีอะไร?เกิดขึ้น ผมขอนำเสนอ บทความซึ่งผม
 
ได้ทำการบันทึกเอาไว้นานแล้วมานำเสนอให้ได้ทราบกันว่า ยังมีความ
 
พยายามของคนบางกลุ่มที่จะทำการผันน้ำโขงเข้ามาอีกโดยการอ้างว่า เพื่อ
 
แก้ปัญหาภัยแล้งให้พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาในภาคอีสาน ทั้งๆที่ภาคอีสานมิ
 
ได้ขาดน้ำเลยใช่ไม่ใช่ ? ดังที่ผมได้เคยนำเสนอไปแล้ว และพวกเขาเหล่านี้
 
ก็มิได้เคยมองย้อนกลับไปดูเลยว่า แหล่งเก็บกักน้ำที่เคยสร้างเอาไว้นั้น
 
 ปัจจุบันได้เสื่อมโทรมลงจนแทบจะพูดได้ว่า ไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้อีก
 
ต่อไปแล้ว พี่น้องลองอ่านและพิจารณาดูได้ด้วยตนเองครับ บทความ
 
พร้อมข้อมูลซึ่งคนโคราชเคยนำเสนอความคิดเห็นไว้ในท้ายบทความ
 
นั้นแล้วครับ.
 
บทความ "ระดมสมอง หาแนวทางผันน้ำโขง"
 
 
 
          
 

 
 
 
 
 
 
 
 
ภาพแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย.
 
 
ขุดอุโมงค์เข้าพื้นที่ภาคอีสาน แก้ปัญหาแล้ง-ผลิตไฟฟ้าได้
นายประจวบ ไชยสาส์น อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เป็นประธานการสัมมนาชี้แจงแนวทางการผันน้ำโขง ผ่านอุโมงค์ลงลำน้ำสายหลักในภาคอีสาน ณ ห้องประชุมสระหงส์ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

 
เพื่อขานรับนโยบายของรัฐบาลในการฟื้นฟูโครงการโขง ชี มูล แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในภาคอีสาน และแก้ปัญหาความยากจนของราษฎร โดยมีผู้ให้ความสนใจทั้งภาครัฐ และเอกชนจากหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมสัมมนาและแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก ซึ่งต่างบอกว่า หากมีการผันน้ำจากแม่น้ำโขง ผ่านระบบท่อเข้าพื้นที่ภาคอีสาน มาเก็บกักไว้ตามเขื่อน หรืออ่างเก็บน้ำ และแม่น้ำสายหลักในภาคอีสานแล้ว จะเป็นการแก้ปัญหาภัยแล้งได้อย่างยั่งยืน
 
นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ส.ส.ชัยภูมิ เขต 1 อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า โครงการผันน้ำโขง ผ่านอุโมงค์ลงลำน้ำสายหลักในภาคอีสาน เป็นโครงการต่อเนื่องมาจากโครงการโขง ชี มูล โดยจะมีการผันน้ำจากแม่น้ำโขง เข้ามาทาง อ.เชียงคาน จ.เลย ผันน้ำออกเป็น 3 เส้นทาง แบ่งออกเป็นสายแรกผ่านจังหวัดหนองคาย ผ่านพื้นที่การเกษตรออกไปทางจังหวัดหนองคาย ไหลลงสู่แม่น้ำโขง สายที่ 2 ผ่าน จ.หนองบัวลำภู ลงลำน้ำพะเนียง ไปยังเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ซึ่งนอกจากจะได้น้ำเพื่อการเกษตรแล้ว น้ำส่วนหนึ่งยังนำไปผลิตไฟฟ้าได้ด้วย ส่วนน้ำที่ไหลออกจากเขื่อนอุบลรัตน์ จะไหลลงสู่ลำน้ำปาว ผ่านจังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสาน ลงสู่ลำแม่น้ำมูล อีกเส้นหนึ่งจะผันน้ำผ่านจังหวัดชัยภูมิ ลงสู่บึงละหาน ไหลเข้าสู่แม่น้ำชี และผันน้ำจากบึงละหานไปยังลำเชียงไกล จ.นครราชสีมา ไปเก็บไว้ที่เขื่อนลำตะคอง และเขื่อนลำพระเพลิง ซึ่งตลอดเส้นทาง จะมีการสร้างคลองซอย ผันน้ำเข้าสู่พื้นที่การเกษตร โดยจะใช้งบประมาณก่อสร้างประมาณ 7.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มพื้นที่การเกษตรได้ไม่น้อยกว่า 35 ล้านไร่

ด้านนายถาวร พรหมมีชัย ผวจ.ชัยภูมิ กล่าวว่า หากโครงการผันน้ำจากแม่น้ำโขงเข้าสู่พื้นที่ภาคอีสานสำเร็จ จะสร้างความสุขให้กับคนภาคอีสานทั้ง 19 จังหวัด รวมทั้งจะช่วยแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เมื่อแม่น้ำสายหลักมีน้ำแล้ว จะช่วยให้มีการทำการเกษตรในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ราษฎรมีงานทำ มีรายได้สูงขึ้น เศรษฐกิจดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี

 
ชาวบ้านจะไม่ทิ้งถิ่นฐานไปหางานยังที่อื่น ปัญหาทางสังคมก็จะลดลง

ขณะที่ นายสุธี มากบุญ ผวจ.นครราชสีมา กล่าวว่า นอกจากมีน้ำทำการเกษตรมากยิ่งขึ้น น้ำส่วนหนึ่งจะผันไปผลิตไฟฟ้า ซึ่งในปัจจุบันผันน้ำจากลำตะคองไปผลิตไฟฟ้าได้วันละ 500 เมกะวัตต์.

 
 
 
 
 
 


ความคิดเห็นที่
1 จากคุณ คนโคราช.  เมื่อ 1/5/2551 18:25:18 ip 58.9.190.93

ผมยังไม่เห็นด้วยที่จะปัดฝุ่นโครงการโขง ชี มูลในขณะนี้ เพราะรัฐบาลยังมิได้ทำการแก้ไขปัญหาจากโครงการโขง ชี มูล เดิมเลย และยังคาราคาซังกันอยู่ เช่น ปัญหาเขื่อนปากมูล เขื่อนราษีไศล ซึ่งส่งผลกระทบทำให้น้ำท่วมพื้นที่การเกษตรและไร่นาของประชาชนเป็นจำนวนมากทุกปี เขื่อน หัวนาที่ถูกต่อต้าน ยังไม่สามารถปิดกั้น ลำน้ำมูลได้ และอีก ๑๐ เขื่อนในโครงการฯก็ส่งผลกระทบเช่นเดียวกัน ฝาย(เขื่อนสุดท้ายดูเหมือนจะเป็น เขื่อน พนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด) ที่สร้างปิดกั้น แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล โดยการใช้ ลำน้ำเป็นอ่างเก็บกักน้ำ จึงต้องสร้างประตูน้ำสูงกว่าตลิ่งมากและสร้างคันดินกั้นทั้งสองฝั่ง จึงส่งผลกระทบแก่ลำน้ำสาขาแม้ว่าจะมีประตูระบายน้ำทางเดียวแต่โอกาศที่น้ำจากแม่น้ำหลักจะทะลักออกไปท่วมไร่นา ป่าบุ่งป่าทามก็มีสูง เพียงมีเศษไม้ไปขัดเท่านั้นน้ำก็จะทะลักแล้ว ผู้ดูแลอย่าไปหวังครับ เพราะเราไปยกระดับสูงเกินไป คันดินจะยาวมาก ครอบคลุม ลำน้ำสาขาหลายสาย(ความโลภนั่นเอง คือมากไปก็ไม่ดี แต่เวลานำเสนอจะฟังดูดีไปหมดครับคือ จะผลิตไฟฟ้าได้เท่านั้นเท่านี้ สถานีสูบก็ไม่ประสพความสำเหร็จเพราะไปมอบให้อบจ. อบต.ดูแล เขาไม่มีทั้งงบประมาณและคนที่จะไปดูแล ทำให้พื้นที่การเกษตรที่คำนวนไว้นั้นไร้ผลและต้องเสียค่าสูบน้ำ เช่นเขื่อนปากมูล กฟผ ปั่นไฟไปขายสบายเฉิบ ทำไม? ไม่ให้ กฟผ รับผิดชอบ สถานีสูบน้ำและบริการเกษตรกร/ชาวนาฟรี เป็นการคืนกำไรให้ท่องถื่นครับ นี่คือข้อผิดพลาด การชดเชยก็ขัดกัน รัฐบาลคุณชวลิตอนุมัติจ่าย เงินชดเชยไม่ถึง ๔,๐๐๐ ล้าน บาท รัฐบาลคุณชวนฯ ครม ยกเลิกมติ นี่มันหมายความว่าอย่างไรครับ? มัวไปกลัวคนโกงไม่กี่คน แต่คนที่ยากจนและเดือดร้อน หมดโอกาศ แถมยังปล่อยสุนัขกัดพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาที่หน้าทำเนียบอีกด้วย คนอิสานฯเขาไม่เอา ปชป.ก็ตรงนี้แหละครับยากที่เขาจะรับได้และยังไม่มีไคร?ไปขอโทษเขาเลย หยิ่งไม่เข้าท่าครับ ต่อมารัฐบาลคุณทักษินฯผมคงไม่ต้องบรรยายนะครับ รัฐบาลประชาธิปไตยแบบเผด็จการรัฐสภาเอาใจทุนคือ ปิด๘เปิด๔สวนกะแสรงานวิจัย ม.อุบลฯ อนึ่งมีแต่คนเก่งคิดใหม่ทำใหม่ ไม่มีไครหันหลังไปดูของเก่าเลยว่า ยังมีประสิทธิภาพเหลืออยู่เท่าไหร่? เช่น เขื่อน ลำปาว จากเคยเก็บกักน้ำได้ถึง ๒๕๑๐ ล้าน ลบ.ม. ในปัจจุบันเก็บได้ไม่ถึง ๑,๓๕๐ ล้าน ลบ.ม. ดูได้จาก ครมสัญจรปี ๒๕๔๘ กรมชลปล่อยน้ำไหลลงมาท่วมไร่นาเกษตรกร/ชาวนาท้ายเขื่อน ลำปาว และบริเวณปากน้ำปาวเชื่อมแม่น้ำมูล สร้างความเสียหายเป็นมูลค่าล้าน ล้าน บาท/ปี.ประสิทธิภาพเขื่อน ลำปาวเหลืออยู่เพียง = ๑,๓๕๐x๑๐๐/๒๕๑๐ = ๕๔% เท่านั้น ในเมื่อ ประชาชนเขาทนกับผลกระทบน้ำท่วมหนัก และเขื่อนก็ไม่สามารถเก็บกักน้ำเพิ่มได้ แล้วทำไม? ยังมีแต่ข่าวการผันน้ำโขง ทั้ง กรมทรัพยากรน้ำ ก็จะผันน้ำโขงมาเติมอ่างกุมภะวาปี และต่อมาลงเขื่อน ลำปาว (ผมว่าวิบัติไปแล้วครับ) เร็วๆนี้ สำนักชลประทานจังหวัดกาฬสินธุ์กำลังจะดำเนินโครงการปรับปรุงเขื่อน ลำปาวให้เก็บกักน้ำได้เพิ่มมากขึ้น แต่ทำไม? ต้องไปสร้างประตูระบายน้ำเพิ่มขึ้นอีก ๑ แห่ง หรือว่าที่ผ่านมาระบายน้ำลงไปท่วมไร่นาเกษตรกร/ชาวนาได้ไม่มากพอ หรือว่ากลัวเขื่อนพังทลายกันแน่ครับ. ปัญหาอยู่ที่ผู้ที่ดูแลรับผิดชอบบริหารงานไม่โปร่งใส เขื่อน ลำปาวจะใช้งบปรับปรุงเขื่อนและสร้างประตูระบายน้ำเป็นเงิน ๑,๘๒๐ ล้านบาท แต่ถ้าผมจำไม่ผิด ครม.สัญจรเคย(หลับตา)อนุมัติงบเสริมเขื่อนลำปาวเมื่อปี ๒๕๔๘ เป็นเงินงบประมาณถึง ๓,๐๐๐ ล้านบาท เอาตัวอย่างอีกแห่งที่ส่งผลกระทบอย่าวกว้างขวางก็คือ เขื่อน ลำพระเพลิง อำเภอปักธงชัย ปล่อยน้ำทิ้งไหลไปท่วมถึง ๙ ตำบลใน ๑๒ ตำบลของอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งผมเองได้พยายามนำข้อมูลเรียนเสนอท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาคือคุณสุธี มากบุญ อยู่ขณะนี้ ซึ้งสำนักชลประทาฯ จังหวัดนครราชสีมากำลังดำเนินโครงการปรับปรุงเขื่อน ลำพระเพลิงเช้นเดียวกันกับเขื่อน ลำปาว ด้วยงบประมาณถึง ๑,๒๐๐ ล้าน บาท ผมยังรอการตอบสนองจากท่านผู้ว่าราชการอยู่ว่า ท่านจะเข้าไปตรวจสอบเขื่อน ลำพระเพลิงหรือไม่อย่างไร?ครับ ผมจะขออนุญาตอนำเสนอโครงการปัดฝุ่น โขง ชี มูล ในคราวต่อไปว่าควรทำอย้างไร? เราทำผิดมาตลอดครับ ภาคอิสาน ไม่ใช่ เทือเขาสะโนวี่ครับ ลักษณะภูมิประเทศและปริมาณน้ำฝนก็ต่างกันอย่างกับหน้ามือเป็นขอโทษครับกับหลังเท้าครับ โครงการตัวอย่างก็มีแต่นักการเมืองไม่เคยสนใจ เราต้องผสมผสานครับ ใจผมเขื่อนและอ่างเก็ยน้ำขนาดใหญ่ให่ระงับไว้ก่อนทั้งหมด เช่น เขื่อนห้วยสะโมง และเขื่อนห้วยน้ำใส จ.ปราจีนบัรีเป็นต้น สองเขื่อนนี้ งบประมาณ เกือบ ๑๖,๐๐๐ล้านบาท ให้นำมาทำโครงการแบบที่อำเภอเขาวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อช่วยแก้ปัญหาภัยแลงให้ถังประชาชนก่อนจะดีกว่าครับ.เขื่อนลำพระเพลิงเล็กว่าเขื่อน ลำปาวถึง ๑๐ เท่า แต่ได้สร้างความเสียหายให้พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาใต้เขื่อน และเกษตรกร/ชาวนาในอำเภอพิมายอย่างมหาศาลครับ.

 
 
 
 
 
 
 

ความคิดเห็นที่ 2 จากคุณ คนโคราช.  เมื่อ 10/6/2551 12:45:09 ip 58.9.191.154

เรียนท่านผู้ว่า ฯ สุธี มากบุญ
นอกจากจะทำให้มีน้ำทำการเกษตรมากขึ้น และนำไปผลิตไฟฟ้ กรุณาแก้ปัญหาน้ำจากเขื่อน ลำพระเพลิง ปล่อยทิ้งไหลลงมาท่วมไร่นาเก๋ตรกร/ชาวนาใต้เขื่อน ลำพระเพลิง และเลยไปท่วมไร่นาใน ๙ ตำบลของทั้งหมด ๑๒ ตำบล ของอำเภอพิมายด้วยนะครับ พี่น้องเขาเดือดร้อน ไม่สามารถทำนาได้พอกินมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ แล้วครับ พวกเขาเคยร้องเรียนท่านผู้ว่าคนก่อนก็ยังมิได้รับการแก้ไขเลยครับ.

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนสันเขื่อนราษีไศล ได้กรุณาอ่านบทความข้างบนนี้ด้วยสตินะครับ เพราะทุกท่านบอกแต่ว่าจะแก้ปญหาความยากจนได้และดีไปหมดครับ ทั้งๆที่พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนสันเขื่อนราษีไศล ก็ยังคงต้องชุมนุมกันอยู่ เพราะอะไร?ครับ ก็เพราะพวกเราถูกผลกระทบจากน้ำท่วมอย่างรุนแรงอยู่ในขนะนี้โดยเฉพาะท่านอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดนครราชสีมา ได้กลาบเป็นอดีตไปเรียบร้อยแล้ว ผมอยากถามพี่น้องว่า อะไร? ทำไม? จึงทำให้ผู้บริหารระดับสูงสุดของจังหวัดทั้งสอง จึงได้ไร้เดียงสา เพราะไม่เคยรับรู้ปัญหาของผู้คนในจังหวัดที่ตนเองเข้าไปรับผิดชอบเลยครับโดยเฉพาะปัญหาเขื่อนลำพระเพลิง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา และปัญหาเขื่อนปากมูลของโครงการ โขง ชี มูลซึ่งโด่งดังมากและเป็นปัญหามาอย่างยาวนานและผ่านรัฐบาลต่างๆมาแล้วกว่า ๑๐ รัฐบาลแล้ว ท่านทั้งสองมิได้รับทราบข้อมูลข่าวสารของปัญหาน้ำเหล่านี้เลยหรือครับ?

 

 

ด้วยจิตรคารวะ
 
ประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗
 
วันจันทร์ที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๒
 
หมายเหตุ ผู้ที่มีความรู้ดีและมีข้อมูลครบถ้วยในปัจุบันคือ พณฯรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ครับคือคุณ
 
 
นายธีระ วงศ์สมุทร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คนปัจุบันและอดีตอธิบดีกรมชลประทานซึ่งผมเห็นด้วยกับท่านที่จะปรับเปลั่ยนมาทำโครงการก่อสร้างเขื่อน/อ่างเก็บน้ำขนาดเล็กครับ ด้วยงบประมาณที่มีอยู่ถึง ๖๒,๔๐๐ กว่าล้านบาท.และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านจะมีคนนำจดหมายเปิดผนึกจากผมส่งถึงท่าน ๑ ฉบับเมื่อไม่นานมานี้เพื่อขอให้ท่านยกเลิกเขื่อนขนาดใหญ่จำนวน ๒ แห่งคือ เขื่อนห้วยสะโมง และเขื่อนห้วยใสน้อย - ใสใหญ่ ด้วยงบประมาณรวมถึง ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท.และได้โปรดกรุณานำเสนอข้อผิพลาดของโครงการ โขล ชี มูล ว่าก่อสร้างใหญ่ และสูงเกินจริงจึงส่งผลกระทบน้ำท่วมไปทั่วและนี่เองคือต้นเหตุแห่งความยากจนของพวกเรา ขอให้ท่านได้โปรดกรุณานำเสนอให้คุณอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้รับทราบด้วยเพื่อดำเนินการแก้ไขปัฯหาความยากจนซึ่งพี่น้องก็กำลังชุมนุมกันอยู่บนสันเขื่อนราษีไศล.โดยเร็วเพราะกำลังอยู่ระหว่างช่วงเปิดเขื่อน ๔ เดือนตามมติ ครม.ล่าสุดอยู่แล้วครับ.
 
 
 


Windows Live: Keep your friends up to date with what you do online. Find out more.

2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อยู่อำเภอบ้านสร้าง เดี๋ยวนี้นำเค็มขึ้นมาจนถึงตัวจังหวัดปราจีน ได้รับความลำบาก ไม่ว่าเรื่องนำอาบนำใช้ นำที่จะใช้ทำนาปลูกพืชต่างๆนำเค็มเข้ามาทำอะไรไม่ได้เลย มีเขื่อนห้วยสะโมงน่าจะทำให้ปัญหาเรื่องนำหมดไป เป็นคนที่คอยใช้ แต่ก็เข้าใจคนคัดค้าน ถ้ามองถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแล้ว ก็รีบตัดสินใจทำสักอย่างนะ ช่วยกันหาทางออกจะดีกว่าค้านอย่างเดียวครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

msuriyamas@hotmail.com
เรียนคุณคนอำเภอบ้านสร้าง จ.ฉะเฉิงเทรา.ผมเห็นใจคุณนะครับ แต่ผมไม้เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ และที่คุณพูดว่า น้ำเค็มหนุนนั้นมิได้เกิดจากการไม่สร้างหรือการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ แต่จะขึ้นอยู่กับที่ตั้งและสถานที่ก่อสร้างครับ ที่ดืนของคุณนั้นผมเข้าใจว่าคุณถูกผลกระทบจากการสร้างเขื่อนบางปะกงมากกว่านะครับ ผมค่อนข้างมั่นใจ ทั้งนี้เพราะไปก่อสร้างลึกเข้าไปในแผ่นดินมากเกินไปครับ เวลาปิดประตูน้ำจึงทำให้น้ำทะเลนุกเข้าไปถึงเรือกสวนไร่นาของพี่น้องประชาชนและยังทำให้ตลิ่งพังทะลายอีกด้วยครับ.ผมอยากให้คุณลองเข้าไปอ่านบทความนี้ดูนะครับ.
http://www.thethainews.com/misc/journal/jn150245_11.htm อนึ่งผมยินดีรับฟังความคิดเห็นจากทุกๆคนและทุกๆฝ่ายครับ./ประชุม.

แสดงความคิดเห็น