FW: สั่งคุมเข้มเตรียมรับมือน้ำท่วมอีสาณใต้.

on วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552


เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนา และสมัชชาคนจน ๗ กลุ่มบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.

 

            พร้อมนี้ผมได้แนบคำเตือนจากสำนักชลประทานที่ ๘ จังหวัด

 

นครราชสีมา จากหน้า ๑๐ เกษตรเดลี่ นิวดังนี้.-

 

            "สั่งคุมเข้มเตรียมรับมือน้ำท่วมอีสานใต้"

 

 นายทรรศนันท์  เถาหมอ ผู้อำนวยการชลประทานที่ ๘ กรมชลประทาน

 

 เปิดเผยถึง สถานการณ์น้ำในพื้นที่ ๔ จังหวัดอีสานใต้ คือจังหวัดนครราชสีมา

 

บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ ว่าขณะนี้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ขนาด

 

กลาง และขนาดเล็ก ในพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยมีปริมาณเฉลี่ย

 

ร้อยละ ๕๐ ของปริมาณความจุที่ระดับเก็บกัก (ปกติ) และตามด้วยข้อมูล.

 

ปริมาณน้ำณ.วันนี้วันพฤหัสบดีที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๒.

 

         เปิดโลกวันนี้ยังขอยืนยันว่า เกษตรกร/ชาวนายังมีความเสี่ยง

 

จากน้ำป่าไหลหลากทำให้น้ำท่วมฉับพลันได้ ดังคำพาดหัวข่าวที่ว่า "สั่งคุม

 

เข้มเตรียมรับมือน้ำท่วมอีสานใต้" เปิดโลกขอเรียนว่า ภาคอีสานตอนกลาง

 

ก็ไม่เว้นนะครับ น้ำป่าไหลหลากจากเขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนลำปาว ก็ต้อง

 

พึงระวังเช่นกัน น้ำจากเขื่อนลำปาวจะทะลักไหลลงมาท่วมประมาณ

 

วันที่ ๑๕ - วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๒ เลยไปจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน

 

 ๒๕๕๒ และจะท่วมหนักขึ้นประมาณวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ ไปจนถึงสิ้น

 

ดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒เพราะจะมีน้ำป่าไหลหลากจากเขื่อนอุบลรัตน์

 

เข้ามาเสริมครับ. ไครทำประมงเลี้ยงปลาในกระชังควรจับขายก่อน

 

วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๒ ถึงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๒ การเก็บเกี่ยวข้าว

 

นาปรังก็เช่นเดียวกันนะครับ. พื้นที่ๆจะได้รับผลกระทบคือพื้นที่ใต้เขื่อนอุบล

 

รัตน์ และใต้เขื่อนลำปาว จ.มหาสารคาม จ.ร้อยเอ็ด และ จ.ศรีสะเกษรวม

 

ทั้ง ๔ จังหวัดดังกล่าวในอีสานใต้ครับ. โดยเฉพาะในพื้นที่ ๘ ตำบลใน ๑๒

 

 ตำบลของอำเภอพิมาย และพื้นที่ใต้เขื่อน ลำพระเพลิงให้ระวังน้ำท่วมฉับ

 

พลันระหว่างต้นเดือนกันยายน - กลางเดือนตุลาคม ๒๕๕๒.เพราะปริมาณ

 

น้ำไหลลงเขื่อนมากมายมหาศาลในช่วงดังกล่าง และเขื่อนจะไม่สามารถรอง

 

รับเอาไว้ได้ ทั้งนี้เพราะยังมิได้มีการปรับปรุงความมั่นคงของสันเขื่อนแต่

 

อย่างไดครับ.

 

           อนึ่งพื้นที่ใต้เขื่อนลำตะคองจะไม่มีปัญหา เขื่อนสามารถรองรับ

 

ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนได้ ส่วนเขื่อนลำมูลบน เขื่อนลำแซะ เขื่อนลำปลายมาศ

 

และเขื่อนลำนางรองนั้น จะไม่ส่งผลกระทบมาก เพราะเขื่อนเหล่านี้เก็บ

 

กักน้ำไว้ได้เป็นปริมาณน้อยมาก (เขื่อนเสื่อมสภาพ) ผลกระทบจะมีไม่มาก

 

และเป็นระยะเวลาไม่นานครับ.

 

            ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้ นายธึระ วงศ์สมุทร

 

อดีตอธิบดีกรมชลประทาน ซึ่งปัจจุบันดำรงค์ตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่า

 

การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงหันมาปรับแผนพัฒนาแหล่งน้ำ

 

 เน้นชลประทานขนาดเล็กซึ่งผมคิดว่าถูกต้องและได้นำเสนอบทความ

 

ไปแล้ว เพราะจะสามารถก่อสร้างได้เร็ว ส่งผลกระทบไม่มาก ที่สำคัญ

 

ประสิทธิภาพการบริหารจัดการจะสูงกว่า ระบบชลประทานแบบดั้งเดิม

 

 (ชลประทานขนาดใหญ่) ไม่น้อยกว่า ๕ - ๖ เท่า อีกประการก็คือจะกระ

 

จายอยู่ทั่วพื้นที่การเกษตรกรรมและทำนาตามข้อมูลซึ่งผมได้นำเสนอ

 

ไปแล้วนั้น กรมชลประทานมีงบประมาณถึง ๓๒,๐๐๐ ล้านบาท เมื่อรวมกับ

 

งบประมาณปกติแล้ว จะเป็นงบประมาณถึง ๗๐,๐๐๐ ล้านบาทผมขอเรียน

 

ให้ท่านรัฐมนตรีได้กรุณายกเลิกโครงการก่อสร้างเขื่อนในพื้นที่อุทยาน

 

แห่งชาติทับลานและเขาใหญ่ จำนวน ๒ เขื่อนขนาดใหญ่คือ เขื่อน ห้วยโสมง

 

และเขื่อนห้วยใสน้อย - ใสใหญ่ ซึ่งมีงบประมาณค่าก่อสร้างรวมกันอยู่ถึงอีก

 

 ประมาณ ๑๖,๐๐๐ ล้านบาทนะครับ ประชาชนเขาไม่ต้องการเขื่อนขนาดใหญ่

 

เพราะเขาเข้าไม่ถึง และมีค่าใช้จ่ายสูงในการนำน้ำมาใช้เพื่อทำการเกษตรอีก

 

ด้วยครับ.ผมขอฝากแก้ปัญหาผลกระทบน้ำท่วมจากโครงการโขง ชี มูล เพราะ

 

ไปตั้งระดับเก็บกักน้ำไว้สูงเกินไป จึงทำให้น้ำทะลักเข้าไปท่วมป่าบุง ป่าทาม

 

สร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่ามหาศาล และเป็นเวลายาวนานร่วม ๒๐ ปีมาแล้ว

 

และยังไม่มีไคร? และรัฐบาลไหนกล้าเข้าไปตัดสินใจแก้ไขปัญหานี้ และขณะนี้

 

พี่น้องสมัชชาคนจน ๗ กลุ่มก็กำลังชุมนุมอยูบนสันเขื่อน ราษีไศลอยู่ในขณะนี้.

 

          สุดท้ายผมในฐานะเป็นคนโคราช (อีสานใต้) ขอฝากแนวคิดการ

 

ปรับปรุงเขื่อนลำแซะเอาไว้แต่เนิ่นๆครับ หาไม่แล้วจะเกิดศึกแย่งน้ำกัน

 

ระหว่างเกษตรกร และบริษัทผูกขาดขายน้ำเข่นเดียวกันกับ บริษัทผูกขาด

 

ขายน้ำภาคตะวันออกเมื่อ ๔ ปีก่อน จนบัดนี้แก้ปัญหาได้ลุล่วงไปหรือยัง

 

ทั้งนี้เพราะในทัศนะของผมนั้น เขื่อนลำแซะ มีประสิทธิภาพในการเก็บกักน้ำ

 

เหลืออยู่จริงเพียง = ?

 

ปริมาตรน้ำที่ระดับเก็บกักสูงสุด         =        ๓๒๕    ล้าน ลบ.ม.

 

ปริมาตรน้ำที่ระดับเก็บกักปกติ          =        ๒๗๕    ล้าน ลบ.ม.

 

ประสิทธิภาพเขื่อน =๒๗๕x๑๐๐/๓๒๕ =         ๘๕     %

 

ปริมาตรน้ำไหลลงเขื่อนเฉลี่ย/ปี        =        ๒๙๒.๙๗ ล้าน ลบ.ม./ปี

 

ปริมาตรน้ำไหลลงเขื่อน/ปี ๒๕๕๑     =        ๑๙๓ .๐๐ ล้าน ลบ.ม./ปี

 

ปริมาตรน้ำในเขื่อนต้นปี ๒๕๔๖       =         ๑๗๖ .๐๐ ล้าน ลบ.ม.

ปริมาตรน้ำในเขื่อนต้นปี ๒๕๔๗       =         ๑๑๖ .๐๐ ล้าน ลบ.ม.

ปริมาตรน้ำในเขื่อนต้นปี ๒๕๔๘       =         ๑๐๒.๐๐ ล้าน ลบ.ม.

ปริมาตรน้ำในเขื่อนต้นปี ๒๕๔๙       =         ๑๓๐ .๐๐ ล้าน ลบ.ม.

ปริมาตรน้ำในเขื่อนต้นปี ๒๕๕๐       =         ๒๓๕.๐๐ ล้าน ลบ.ม.

ปริมาตรน้ำในเขื่อนต้นปี ๒๕๕๑       =         ๑๘๙.๐๐ ล้าน ลบ.ม.

ปริมาตรน้ำในเขื่อนต้นปี ๒๕๕๒       =         ๒๖๕.๐๐ ล้าน ลบ.ม.

ปริมาตรน้ำในเขื่อนต้นปีเฉลี่ย=๑,๒๑๓/๗   =   ๑๗๓.๒๘ ล้าน ลบ.ม.

 

เพราะฉะนั้นประสิทธิภาพจริงของเขื่อน =        ๑๗๓.๒๘x๑๐๐/๓๒๕

 

                                        =         ๕๓.๓๒ % เท่านั้นเอง.

 

เขื่อนลำตะคอง.-

 

ปริมาตรน้ำที่ระดับเก็บกักสูงสุด        =          ๓๖๗    ล้าน ลบ.ม.

 

ปริมาตรน้ำที่ระดับเก็บกักปกติ         =          ๓๒๔    ล้าน ลบ.ม.

 

ประสิทธิภาพเขื่อน= ๓๒๔x๑๐๐/๓๖๗=          ๘๘      %

 

ปริมาตรน้ำไหลลงเขื่อนเฉลี่ย/ปี       =          ๒๖๐.๖๐ ล้าน ลบ.ม./ปี

 

ปริมาตรน้ำไหลลงเขื่อน/ปี๒๕๕๑     =          ๒๗๐.๐๐ ล้าน ลบ.ม./ปี

 

ปริมาตรน้ำในเขื่อนต้นปี ๒๕๔๖       =          ๒๕๑.๐๐ ล้าน ลบ.ม.

ปริมาตรน้ำในเขื่อนต้นปี ๒๕๔๗      =           ๑๙๐.๐๐ ล้าน ลบ.ม.

ปริมาตรน้ำในเขื่อนต้นปี ๒๕๔๘      =            ๖๕.๐๐ ล้าน ลบ.ม.

ปริมาตรน้ำในเขื่อนต้นปี ๒๕๔๙      =           ๑๙๕.๐๐ล้าน ลบ.ม.

ปริมาตรน้ำในเขื่อนต้นปั ๒๕๕๐      =           ๒๐๕.๐๐ ล้าน ลบ.ม.

ปริมาตรน้ำในเขื่อนต้นปี ๒๕๕๑      =           ๑๘๐ .๐๐ล้าน ลบ.ม.

 

ปริมาตรน้ำในเขื่อนต้นปีเฉลี่ย=๑,๐๘๖x๑๐๐/๗= ๑๕๕.๑๔ล้าน ลบ.ม.

 

เพราะฉะนั้นประสิทธิภาพจริงของเขื่อน=         ๑๕๕.๑๔x๑๐๐/๓๖๗

 

                                       =              ๕๖.๙๔    %

 

ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนมีพอเพียง แต่ขาดการป้องกันเอกชนมาแย่งน้ำไปใช้(ผมเห็นใจเขาครับ) ทางออกทำไม? กรมชลประทานไม่หาแนวทางผันน้ำมาจากน้ำตกเหวนรก นำมาลงน้ำตกเหวสุวัจ ซึ่งเป็นต้นน้ำลำตะคอง จะได้ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่าปีละ ๑๐๐ ล้าน

ลบ.ม.อีกประการหนึ่งก็ขอพระราชทานฝนเทียม แต่ต้องทำในหน้าฝนนะครับเพื่อเสริมปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนให้เพิ่มมากขึ้น (เข้าหน้าแล้งและทำ ความชึ้นในอากาศไม่พอครับ)  สุดท้ายต้องรนณรงค์ให้ประชาชนปลูกป่าบริเวณต้นน้ำในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ให้เพิ่มมากขึ้นครับ. ต้องเตรียมการเสียแต่เนิ่นๆ เพราะโรงกรองน้ำโคราชแห่งใหม่ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อไหร่ และเริมใช้น้ำจากเขื่อนลำแซะมาผลิตน้ำประปา สงครามแย่งน้ำจะเกิดขึ้นอีกแน่นอนครับ.(ส่วนประสิทธิภาพของตัวเขื่อนนั้นคือ ๘๘ %ครับ)

ยังสามารถรับปริมาณน้ำได้อีก ๓๑.๐๖% /หรือ ๑๑๔.๐๐ ล้าน ลบ.ม.ครับ.

 

                  อนึ่งโครงการปรับปรุงเขื่อนลำพระเพลิง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ด้วยงบประมาณถึง ๑,๒๐๐ ล้านบาทเศษเพื่อให้เก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้นอีกเพียง ๕๐ ล้าน ลบ.ม.นั้น ผมขอเสนอให้ท่านรัฐมนตรีได้โปรดยกเลิกไปด้วย เพราะผมไม่เชื่อว่า จะสามารถปรับปรุงความแข็งแรงของสันเขื่อนเพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำได้เพิ่มมากขึ้นอีกถึง ๕๐ ล้าน ลบ.ม. ขอให้คงไว้เป็นเขื่อนขนาดเก็บกักน้ำสูงสุด ๑๑๐ ล้าน ลบ.ม. นั้นดีอยู่แล้ว เพียงแต่ขอให้นำเงินงบประมาณ ๑,๒๐๐ ล้านบาทเศษนั้นไปก่อสร้างเขื่อนขนาดเล็กเหนือเขื่อน ลำพระเพลิงขึ้นไปให้สามารถเก็บกักน้ำได้ระหว่าง ๗๕ - ๑๐๐ ล้าน ลบ.ม. น่าจะมีประสิทธิภาพในการเก็บกักน้ำได้ดีกว่าไปปรับปรุงเขื่อนลำพระเพลิงเดิมครับ. และการแก้ไขเขื่อนอื่นๆในอีสานใต้เช่นเขื่อนลำมูลบน เขื่อนลำแซะ เชื่อนลำปลายมาศ และเขื่อนลำนางรอง ผมก็เห็นสมควรแก้ไขปรับปรุงไปในทำนองเดียวกันครับ ขอได้โปรดอย่าปล่อยเอาไว้ให้สร้างความเสียหายให้แก่พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาในอีสานใต้ และต้องเสียเงินงบประมาณมาใช้ในการดูแลเขื่อนที่เสื่อมสภาพอยู่อีกต่อไปเลยครับ. ท่านรัฐมนตรีเท่านั้นที่เหมาะสมในการนำเสนอข้อมูลเหล่านี้ให้คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ทราบและตัดสินใจในการแก้ปัญหาน้ำต่อไปครับ.

 

              ด้วยจิตรคารวะ.

 

         ประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗

                                              

 

 
 
 
 
 
 
 
 

 


From: msuriyamas@hotmail.com
To: msuriyamas@hotmail.com
Subject: FW: สั่งคุมเข้มเตรียมรับมือน้ำท่วมอีสาณใต้.
Date: Thu, 6 Aug 2009 11:20:17 -0800


 

From: msuriyamas@hotmail.com
To: msuriyamas@hotmail.com
Subject: สั่งคุมเข้มเตรียมรับมือน้ำท่วมอีสาณใต้.
Date: Wed, 5 Aug 2009 17:42:57 -0800



Windows Live™: Keep your life in sync. Check it out.

Get back to school stuff for them and cashback for you. Try Bing now.

Get free photo software from Windows Live Click here.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น