FW: ๘๐ ปี..ของพ่อผู้ให้ผืนดินสร้างแหล่งทำกิน..อย่างมีความสุขที่พอเพียง. สารประกอบต่างๆที่ให้ธาตุอาหารรองและใช้แก้ดินเปรี้ยวได้ครับ.
เขียนโดย Prachoom on วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552From: msuriyamas@hotmail.com
To: msuriyamas.water@blogspot.com
Subject: ๘๐ ปี..ของพ่อผู้ให้ผืนดินสร้างแหล่งทำกิน..อย่างมีความสุขที่พอเพียง. สารประกอบต่างๆที่ให้ธาตุอาหารรองและใช้แก้ดินเปรี้ยวได้ครับ.
Date: Wed, 26 Aug 2009 18:10:06 -0800
เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนสันเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
ในทุกๆด้านโดยเฉพาะเรื่องที่ดินทำกิน เพราะยังมีราษฎรอยู่เป็นจำนวนมากที่ขาดปัจจัยนี้.
พระองค์พระราชทานที่ดินทรัพย์สืนส่วนพระมหากษัตริย์ และพระราชทานค่าทดแทนที่ดิน
เพื่อนำมาจัดตั้งกองทุนสหกรณ์ โดยให้ผู้เช่าที่ดินอยู่เดิมได้ทำกินในที่ดินผืนนั้นต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน
ตราบที่ยังยึดถืออาชีพเกษตรกรรมอยู่...อันเป็นแนวทางในการปฏิบัติในการปฏิรูปที่ดินเพื่อก่เกษตรกรรม.
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๘ จึงมีพระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม โดยมอบ
หมายให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อก่เกษตรกรรม (ส.ป.ก.) นำไปดำเนินการ ที่ดินพระราชทานมีพื้นที่
ถึง๔๔,๓๕๐ ไน่ ๐ งาน ๕๕.๔๖ ตารางวา จำนวน ๒๕๓ โฉนด อยู่ในท้องที่ ๕ จังหวัด คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา
จังหวัดนครนายก จังหวัดนครปฐม จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา "อันเป็นจุดเริ่มต้น การ
ปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย"
อนึ่งที่ดินในพื้นที่ จังหวัดนครนายก โดยเฉพาะในอำเภอองค์รักษ์ และพื้นที่ในบางส่วน
ของจังหวัดฉะเชิงเทรา และพื้นที่บางสาวนของจังหวัดปทุมธานีมีดินเปรี้ยวจัด จึงทำให้การทำนาได้
ผลผลิตน้อย จนทำให้รัฐต้องยกภาษีที่ดินให้เกษตรกร/ชาวนา จนทำให้ได้ชือว่า จังหวัดนครนายก
คือยกภาษีที่ดินทำนาให้.
พร้อมนี้ผมได้นำเสนอตาราง สารประกอบที่ให้ธาตุอาหารองแก่พืชและเป็นสารประกอบ
อ๊อกไซด์/เมื่อถูกน้ำก็จะแตกตัวเป็น ไฮดร๊อกไซด์ซึ่งมีฤทธืเป็นด้าง เกษตรกรกรจึงสามารถใช้เป็น
สารใส่ในไร่นาที่มีดินเปรี้ยว เพื่อแก้ดินเปรี้ยวได้ครับ ส่วนปริมาณการใช้นั้นไม่ควรเกิน ๒๐๐ กก./ไร่
นะครับ แทนที่จะใช้ปูนมาลย์ (ดินมาลย์) เกษตรกรต้องใช้เป็นปริมาณถึง ๑.๕ - ๒.๕ ตัน/ไร่ ใส่ปีเว้น
ไป ๓ ปี ซึ่งต้องใช้แรงงานมาก (แม้ว่า เกษตรกร/ชาวนาจะได้รับแจกฟรีจากกรมพัฒนาที่ดินก็ตาม)
แต่เกษตรกร/ชาวนาจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการไปขนปูนมาลย์มาจากสำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัด จึง
ทำให้เกษตรกรไม่มีเงินพอที่จะไปขนมาใส่นาของตนเองได้ (รัฐบริการไม่ครบวงจร) ผมจึงแนะนำให้
หันมาช่วยตนเองโดยใช้ปูนซีเมนต์แทนปูนมาลย์ครับ ใช้ไร่ละ ๑๕๐ - ๒๕๐ กก.ผลผลิตที่ได้เพิ่มขึ้น
นั้นคุ้มค่าครับ.
ด้วยจิตรคารวะ
ประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗
Hotmail® is up to 70% faster. Now good news travels really fast. Try it now.
Windows Live: Keep your friends up to date with what you do online. Find out more.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น