รถเก๋งไดฮัดสุ ลากหางพ่วง ๔ ล้อเพลานอก บรรทุกข้าวสารจาก จ.นครราชสีมา ไปขายถึง กรุงเทพมหานครฯ
เขียนโดย Prachoom on วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
ผมขอนำเสนอข่าวบ้านใกล้เรือนเคียง เช่นประเทศอินเดีย และประเทศปากีสถาน
เจอวิกฤติราคาน้ำตาลอันนื่องมาจากฝนแล้ง ทำให้ผลผลิตอ้อยเสียหาย และราคาน้ำตาล
ถีบตัวขึ้นถึง ๒ เท่า แต่พี่น้องครับ อย่าไปตกใจและไปตื่นเต้นกับราคาที่สูงขึ้นนะครับ
เพราะราคาน้ำตาลจากอินเดียและปากีสถานนั้น กว่าจะมาถึงมือเกษตรไทยผู้ปลูกอ้อย
และทอนมาเป็นราคาอ้อย ก็จะไม่เหลืออะไร? เลยครับ ก็เป็นเช่นเดียวกันกับราคาข้าว
หอมมะลิที่กระโดดสูงขึ้นในกรุงเทพฯ แต่ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิในภาคอีสานเราก็
ขยับราคาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นนะครับ.อย่าไปสนใจเลยครับ สู้ก้มหน้าก้มตาปรับเปลี่ยน
จากการทำนาเพียงอย่างเดียว มาเป็นเกษตร "ทฤษฎีใหม่" และดำเนินชีวิตตามแนวพระ
ราชดำริ "เศรษฐกิจพอเพียง" กันดีกว่า คือเราต้องมีความเพียร ความขยัน ความอดทน
และ ประหยัด แล้วเราก็จะได้เห็นแสงสว่างเกิดขึ้นเองกับครอบครัวของพวกเรา เพราะ
เกษตร "ทฤษฎีใหม่" ช่วยแก้ปัญหาน้ำคือภัยแล้ง และฝนทิ้งช่วง และเป็นการช่วยตน
เองอย่างสมบูรณ์แบบ(ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน) โดยการใช้ธรรมชาติมาช่วยธรรมชาติ
(ที่ผมพูดว่าอีสานมิได้ขาดน้ำและเรามีสระเก็บกักน้ำไว้ใช้ในปริมาณที่พอเพียง)
และเราก็ปรับปรุงการใช้ชีวิตตามแนว"เศรษฐกิจพอเพียง" เราก็จะอยู่ได้อย่าง
มีความสุขแล้วนะครับ.
ทีนี้เรากลับมาดูกันว่า ทำไม? ผมจึงนำรถเล็กอย่างไดฮัดสุ มาลากรถพ่วง
๔ ล้อเพลานอกมาใช้ในการขนส่งข้าวสารไปขายถึงกรุงเทพฯ จุดใหญ่คือราคา สมเหตุผล
เพราะได้เปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นโตโยต้าหัวฉีดขนาด ๑,๓๐๐ ซี.ซี.และได้ติดตั้งระบบก๊าซ
LPG เรียบร้อยแล้ว จะทำให้ประหยัดค่าเชื้อเพลิงลงได้มาก และถ้าขนส่งในระยะทางไม่ไกล
เช่นจากตำบล เข้า อำเภอ/หรือเข้าจังหวัด ไม่ไกลมาก หางพ่วงยังสามารถบรรทุกน้ำหนัก
ได้เพิ่มขึ้นถึง ๒,๐๐๐ - ๒.๕๐๐ กก และตัวรถเก๋ง บรรทุกได้ ๗๕๐ กก. เครื่องขนาด
๑,๓๐๐ ซี.ซี.ยังลากไหว. ถ้าเราใช้บรรทุกน้ำหนักรวม ๓.๒๕๐ กก./เที่ยว ค่าขนส่ง/กก.
จะลดลงเหลือเพียง เท่ากับ ๑.๙๘๓/ ๓,๒๕๐ = ๐.๖๑ บาท/กก. เท่านั้นครับ.
พร้อมนี้ยังมีตัวอย่างการใช้เครื่องสีข้าวประสิทธิภาพสูง ค่าเดินเครื่องถูก
ค่าไฟฟ้าตก ชม.ละ ๓.-ยาทเท่านั้น. ผมบวกกำไรไว้แล้วถึง ๓๐% มากเกินพอแล้วนะครับ.
ทีนี้รามาดูราคารับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิเมื่อครั้งที่ผมทำการคำนวณราคาขายจาก
เกษตรกร/ชาวนาเพียง กก.ละ ๗.๕๐ บาท ซึ่งในปัจจุบันซื้อไม่ได้ครับ เราจะเพิ่มราคารับ
ซื้อข้าวเปลือกให้เกษตรกร/ชาวนาเป็นพิเศษอีก กก.ละ ๗.๕๐ บาท เป็นราคารับซื้อถึง
กก.ละ ๑๕.- บาท/หรือจะแบ่งมาก่อตั้งเป็นกองทุน/หรือธนาคารข้าวไว้เป็นสวัสดิการก็ได้
คือ แบ่งมา กก.ละ ๑.๕๐ บาท แปรรูปข้าวเดินละ ๒๐ เกวียน ก็จะได้เงินเข้ากองทุนถึงเดือน
เท่ากับ ๒๐,๐๐๐ กก.นละ ๒.-บาท เป็นเงิน ๔๐,๐๐๐.- บาท/เดือน.ที่เรามาบวกราคารับ
ซื้อข้าวเปลือกให้เกษตรกร/ชาวนาในภายหล้ง ก็เพื่อให้ราคาขายปลีกถ฿งผู้บริโภคไม่สูงจน
เกินไป ดังเช่นราคาน้ำมันชนิดต่างๆของ ปตท. บวกแล้วบวกอีกจนทำให้ราคาสูงขึ้นจากราคา
หน้าโรงกลั่นถึงเกือบ ๑๐๐% ครับ. ผมมีตัวเลขเก่าๆอยู่ วันข้างหน้าจะนำมาขึ้นเว็บบล็อก
ให้ดูกันนะครับ พร้อมคำวิจารย์.
ราคาขายส่ง/ขายปลีกที่กลุ่มแปรรูป (หน้าโรงสีชุมชน.) = ๑๔.๕๐ บาท/กก.
บวกราคารับซื้อข้าวเปลือกพิเศษให้เกษตรกร/ชาวนาอีก กก.ละ ๗.๕๐ บาท.
= ๑.๔๔๙ กก.@๗.๕๐ บาท = ๑๐.๘๗ บาท/กก.
ราคาขายชั้นต้นที่ตลาดกรุงเทพฯ = ๒๕.๓๗ บาท/กก.
บวกค่าการขายและกำไรผูขาย กก.ละ = ๔.๖๓ บาท./กก.
รวมเป็นราคาขายปลีกที่ตลาดกรุงเทพฯ = ๓๐.- บาท/กก.
น่าจะเป็นราคาที่เหมาะสมกับราคาที่ตลาดกรุงเทพมหานครฯ
ด้วยจิตรคารวะ
ประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗
Windows Live: Make it easier for your friends to see what you're up to on Facebook. Find out more.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น