ชาวสวนลำใยขาดทุนโค่นต้น เผาถ่านขายแทน.

on วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ชาวสวนลำไยขาดทุนโค่นต้นขาย-เผาถ่านแทน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 สิงหาคม 2552 16:05 น.
น่าน – ชาวสวนลำไยน่านขาดทุนยับ โค่นต้นขายนำไปเผาถ่าน
 
หลังราคาตกต่ำไม่คุ้มทุน พ่อค้าคนกลางเอาเปรียบ
       

       นายเคน ยศจันโท ชาวสวนลำไย หมู่ 8 ต.กองควาย อ.เมือง
 
จ.น่าน เปิดเผยว่า ในปีนี้ขายผลผลิตลำไยทั้งหมดได้เงินประมาณ 8,000
 
บาท ขณะที่ต้นทุนค่าปุ๋ยและค่ายาบำรุงรักษากว่า 3 หมื่นกว่าบาทจึงตัดสินใจตัดต้นลำไยที่มีอยู่ทั้งหมด เพราะปลูกไว้ก็ไม่คุ้มค่ากับเงินที่ลงทุน โดยตัดขายให้กับพ่อค้านำไปเผาถ่านในราคาลำรถปิคอัพละ 1 พันบาท ซึ่งถ้าขายทั้งหมดนี้ก็น่าจะได้ไม่ต่ำกว่า 3-4 หมื่นบาท
       
       อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีชาวสวนลำไยอีกหลายรายในพื้นที่อำเภอเมืองน่าน ที่กำลังจะตัดสินใจตัดโค่นต้นลำไยนำไปเผาเป็นถ่านขายอีกหลายราย เนื่องจากราคาขายผลผลิตไม่คุ้มทุนพร้อมกับวอนให้ภาครัฐช่วยเหลือชาวสวนลำไยอย่างจริงจัง
       
       สำหรับการแก้ปัญหา ภาครัฐควรบริหารจัดการด้านการตลาดภายในประเทศ ด้วยการหาตลาดระบายสินค้าเช่น ส่งลำไยไปขายทั่วประเทศ หรือแลกเปลี่ยนผลไม้ชนิดอื่น เชื่อว่า น่าจะช่วยเหลือชาวสวนได้บ้าง
 
เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
      ผมอ่านข่าวนี้จากหนังสือพิมพ์ เอ.เอส.ที.วี.ผู้จัดการรายวัน
 
ออนไลน์วันนี้วันอังคารที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๒
 
แล้วเกิดความคิดว่า ทำไม? เกษตรกรชาวสวนลำใย จึงไม่น้อมนำพระราช
 
ดำริ เกษตร "ทฤษฎีใหม่" มาปรับใช้เพื่อการดำรงค์ชีพ แบบ"เศรษฐกิจพอ
 
เพียง" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชึ้แนะให้พวกเรา ช่วยตัวเอง/พึ่ง
 
ตนเอง ด้วยการทำการเกษตรดังกล่าวข้างต้น. จึงเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า
 
ทำไม?...ทำไม?....พวกเราจึงไม่ทำกันเล่า? ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชไร่
 
เชิงเดี่ยว เช่น ไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง ไร่ข้าวโพด ไร่ละหุ่ง ฯลฯ สาเหตุน่า
 
จะมาจาก.-
 
    ๑.) ไม่มีความรู้เรื่องการทำการเกษตร "ทฤษฎีใหม่" และปรัชญา
 
"เศรษฐกิจพอเพียง" หรือ
 
    ๒.) ไม่มีเงินในการลงทุนขุดสระเก็บกักน้ำ/หรือไม่แน่ใจว่าสระที่ขุดใน
 
พื้นที่ของตนจะเก็บกักน้ำได้หรือไม่?
 
    ๓.) ไม่มีความรู้ในการทำนาไร่ เพียงมีน้ำคอยหล่อเลี้ยง ก็สามารถทำ
 
นาไร่ให้ได้ผลผลิตข้าวเปลือกถึง ๒๕๐ - ๓๕๐ กก/ไร่ ขึ้นอยู่กับเมล็ด
 
พันธุ์ของข้าวไร่ที่เกษตรกรนำมาเพาะปลูก. และจะต้องใช้พื้นที่กี่ไร่ ใน
 
การทำนาไร่จึงจะพอเพียงไว้กินได้ตลอดปี เป็นต้น.
 
    ผมขออนุญาติตอบปัญหาทั้ง ๓ ข้อดังนี้.-
 
    ๑.) เกษตรกร/ชาวนา/ชาวสวน สามารถเข้าไปอ่านแนวพระราชดำริ
 
"ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับน้ำเพื่อการเกษตร" และปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง
 
ได้จากเว็บบล็อก http://msuriyamas.blogspot.com โดยการ
 
คลิกเข้าไปอ่านบทความที่เก่ากว่า/หรือบทความที่ใหม่กว่า/หรือให้ลูก
 
หลานพิมพ์ออกมาให้อ่านก็ได้นะครับ.โดยเฉพาะ ปรัชญา "เศรษฐกิจพอ
 
เพียง" ต้องอ่านหลายๆรอบให้เข้าใจให้ได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
 ทรงสั่งสอนให้เราทำการเกษตรอย่างไร และดำรงค์ชีพอย่างไร? แล้วลง
 
มือปฏิบัติทันทีนะครับ.
 
     ๒.) ไม่มีเงินในการลงทุนขุดสระ ข้อนี้ถ้าพี่น้องเข้าใจในปรัชญา
 
"เศรษฐกิจพอเพียง" ก็จะเข้าใจได้ด้วยตนเองว่า ต้องค่อยๆทำตามกำลัง
 
ของตนเอง เช่นลงมือขุดสระด้วยตัวของเราเอง/หรือ จ้างเขาขุดให้พอ
 
เพียงกับการทำนาไร่เพื่อให้ได้ข้าวพออยู่พอกินเสียก่อน แล้วจึงค่อยขยาย
 
สระในภาบหลัง เช่นที่ผมออกแบบการขุดสระโดยน้มนำพระราชดำริ
 
โครงการแก้มลิงมาประยุกต์ใช้ เพียงแต่ว่า พี่น้องเกษตรกรที่เป็นชาวสวน/
 
ชาวไร่ต้องขุดให้ลึกอย่างน้อย ๔.๐๐ เมตร เช่นจะทำนาไร่ ในพื้นที่ ๓ ไร่ก็
 
ให้ชุดสระให้เก็บกักน้ำให้ได้อย่างน้อย ๓,๐๐๐ - ๓,๕๐๐ ลบ.ม. เพราะ
 
ทำนา ๓ ไร่ก็มีความต้องการน้ำไว่เสริมจำนวน ๓,๐๐๐ ลบ.ม.เกษตรกร/
 
ชาวสวน/ชาวไร่ ก็จะมีข้าวไว้กินประมาณ  ๗๕๐ กก/ปี - ๑,๐๕๐ กก./ปี
 
เพียงแต่พี่น้องต้องวางแผนเผื่อขยายพื้นที่ขุดสระเอาไว้ก่อนเท่านั้น. และ
 
พื้นที่ทำนาไร่น่า/และแปลงปลูกผักสวนครัวควรจะอยู่ใกล้สระน้ำ และเพื่อ
 
ให้เกิดความมั่นใจว่า สระจะสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ได้ ผมขอแนะนำให้ไป
 
ดูสระในวัดใกล้บ้าน ก็จะเข้าใจเองครับ. การขุดดินเล้วเหวี่ยงมากองด้าน
 
หลังแล้วทำการปรับระดับ ค่าขุดจะมีราคาถูก โดยเอื้มให้สุดแล้วค่อยๆถอย
 
ขึ้นมา ความกว้างของสระอย่าให้เกินความยาวสุดเอื้อมของบูม/แขนของ
 
รถขุดดิน ค่าขุดดินจำนวน ๓,๕๐๐ ลบ.ม.ๆละ ๖.-บาทเป็นเงินประมาณ
 
๒๑,๐๐๐.-บาท เท่านั้นเองครับ.
 
      ๓.) ข้อนี้ให้กลับไปอ่านคำตอบในข้อ ๑ ก็จะเข้าใจนะครับ.
 
           อนึ่งลักษณ์พื้นที่ในการทำสวน ทำไร่ ของเกษตรกร จะใช้พื้นที่
 
มาก เช่น ๔๐ - ๖๐ ไร่ ผมขอแนะนำให้นำมาวางแผนทำการเกษตร
 
 "ทฤษฎีใหม่" ซัก ๒๐ ไร่นะครับ เพราะเป็นพื้นที่ ๆไม่มากและไม่น้อย
 
ครอบครัวขนาดใหญ่/หรือเล็กก็จะสามารถพออยู่พอกินได้ครับ.พื้นที่สวน
 
ที่เหลือ อีก ๒๐ - ๔๐ ไร่ จะคงสวนลำใย/หรือแบ่งมาอีกบางส่วนมาทำไร่
 
ข้าวโพด/หรือไร่มันสำปะหลังแบบที่เคยทำก็ยังได้นะครับ แต่ถ้าถามผม
 
ผมก็จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนมาเป็นปลูกหญ้ากินนี่เลี้ยงสัตว์จะดีกว่านะครับ
 
เพราะพี่น้องชาวสวน/ชาวไร่จะได้หลุดพ้นจากการกดขี่ราคาผลผลิตเสียที
 
ไงครับ และจะไม่ต้องนำผลผลิตไปชุมนุมและเททิ้งบนถนนให้คนเข้าต่อว่า
 
อีกต่อไปเลยนะครับ ผมยังจำสุภาษิตโบราณที่ว่า "วัวของไคร ย่อมเข้า
 
คอกของคนนั้น" ได้ดีครับ เพียงเราหยุดคิดสักนิดก็จะพบทางออกของชีวิต
 
ได้เป็นอย่างดี เช่น ไครทำชั่วย่อมได้รับกรรมชั่วกลับมา และเราก็จะไม่ทำ
 
ชั่ว ใช่ไม่ใช่?ครับ ก็ในเมื่อเรามีแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์อยู่แล้ว ถ้าเรานำวัว/
 
ควายมาเลี้ยงโดยใช้วัว/ความพันธุ์พื้นเมือง ก็จะทนทานต่อโรค และเรา
 
เพียงจัดน้ำและ ก้อนแร่ให้เขาเลียกินเท่านั้น เช้าจึ้นเราเปิดคอก เขาก็จะ
 
ออกไปหาหญ้ากินในแปลงที่เราเตรียมไว้ให้ พอตกเย็นเขาก็จะกลับเข้า
 
คอกเขาจะไม่ไปเข้าคอกของคนอื่นเลยครับ และในแต่ละปีเราก็จะได้ลูก
 
เป็นรายได้ประจำปี เลี้ยงมากก็ได้มาก เพียงแต่อย่ามากเกินไป อาหาร/คือ
 
หญ้าในแปลงจะไม่เพียงพอเท่านั้น.นี่เองคือการนำสุภาษิตโบราณมาปรับ
 
ใช้ในการการดำรงค์ชีพแบบพอเพียงไงครับ.ส่วนความรู้ต่างๆเกี่ยวกับการ
 
เกษตรกรรม พี่น้องเข้าไปอ่ายได้จาก "ห้องสมุดความรู้การเกษตร" เพียง
 
พิมพ์คำดังกล่าวในกูเกิลแล้วกดเท่านั้น ก็จะพบ ห้องสมุดความรู้การ
 
เกษตรฯ เลยครับ เข้าไปเลือกอ่านได้ ทั้งการทำนาไร่ การประมง เลี้ยง
 
ปลานิลปลากินพืชเป็นต้นนะครับ.
 
            ด้วยจิตรคารวะ
 
     ประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗
 
 
 
 
 


Windows Live: Keep your friends up to date with what you do online. Find out more.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น