โครงการพัฒนาลุ่มน้ำบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราดำริ.
อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร.
พระราชดำริ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาอาชีพของราษฎร บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร หลายครั้ง คือ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๓๐ มิถุนายน ๕ กรกฎาคม และ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๓๗ สรุปแนวพระราชดำริได้ดังนี้
๑) ให้กรมชลประทานตรวจสภาพพื้นที่ สภาพการถือครองที่ดิน สภาพน้ำท่วมในลำห้วยสายต่าง ๆ ตลอดจนการเพาะปลูกและการทำกินของราษฎร ตำบลกกตูม อำเภอดงหลาง จังหวัดมุกดาหาร เพื่อใช้เป็น ข้อมูลประกอบการพิจารณาศึกษา และก่อสร้างแหล่งน้ำ ช่วยเหลือการเพาะปลูกและการอุปโภคของราษฎร บริเวณดังกล่าวและเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรในท้องถิ่นอย่างถ่องแท้จริง ส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรร่วมกันดำเนินการให้เกิดการจัดการในรูปแบบเดียวกับสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด จังหวัด เพชรบุรี
๒) ควรเร่งดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยพุ อ่างเก็บน้ำห้วยหอย พร้อมระบบส่งน้ำ เพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรบ้านปากช่อง และบ้านนาหินกอง อำเภอกกตูม สำหรับการอุปโภคบริโภคและการเกษตร แล้วให้พิจารณาจัดพื้นที่เพาะปลูกในเขตชลประทานให้เป็นลักษณะโครงการสหกรณ์ สำหรับอ่างเก็บน้ำบ้านสานแว้ อ่างเก็บน้ำห้วยพุง และอ่างเก็บน้ำอื่น ๆ ที่เหลือ ให้ทยอยดำเนินการตามความเหมาะสม รวมทั้งให้ศึกษาความเหมาะสมในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ และพิจารณาเจาะอุโมงค์ลอดเนินเขา ยาวประมาณ ๒ กิโลเมตร เพื่อผันน้ำเพิ่มเติมให้อ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
๓) ควรเปิดโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน ให้มีคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ ในพื้นที่ และควรแบ่งพื้นที่โครงการฯ ออกเป็นเขตให้สอดคล้อง กับโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสม คือ เขตพัฒนาอาชีพเสริม เขตพัฒนาการเกษตร และเขตอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า
๔) ให้พิจารณาวางโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน ในลักษณะการพัฒนาพื้นที่แบบ เบ็ดเสร็จ โดยประสานหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องมาดำเนินงานร่วมกันเร่งรัดการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ การเจาะอุโมงค์ส่งน้ำ การพัฒนาอาชีพของราษฎรตลอดจนการส่งเสริมศิลปาชีพ
ความเป็นมา
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีพื้นที่ประมาณ ๑๐๒,๐๐๐ ไร่ สภาพพื้นที่มีลักษณะเป็นแอ่งในหุบเขาและเทือกเขาล้อมรอบ มีหมู่บ้านตั้งอยู่ในที่ต่ำตามที่ราบเชิงเขาริมลำห้วย ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของห้วยทราย การประกอบอาชีพของราษฎรส่วนใหญ่ ทำการเกษตรโดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก พื้นที่บริเวณที่ลุ่มริมห้วยใช้ทำนา พื้นที่ดอนส่วนใหญ่ปลูกมันสำปะหลัง การเกษตรประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำราษฎรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำบางทราย ตอนบน อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร พระองค์จึงทรงให้พิจารณาจัดทำโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำ ห้วยบางทรายตอนบนในลักษณะการพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จโดยประสานหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องมาดำเนินงานร่วมกัน ด้วยการเร่งรัดการพัฒนาแหล่งน้ำ พัฒนาอาชีพของราษฎรและการส่งเสริมศิลปาชีพ
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้นโดยการพิจารณาส่งเสริมอาชีพให้กับราษฎรทั้งใน ด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ประมงและหัตถอุตสาหกรรม
๒. พัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้สมบูรณ์มากขึ้น
การดำเนินงานในส่วนสหกรณ์
ในปีงบประมาณ ๒๕๓๘ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดมุกดาหาร ได้รับงบประมาณจากคณะกรรมการ พิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) จำนวน ๗๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๑ โครงการ แยกเป็น ๒ กิจกรรม ดังนี้
๑. กิจกรรมจัดตั้งสหกรณ์ ๑ สหกรณ์ งบประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท
๒. กิจกรรมฝึกอบรมผู้นำกลุ่ม จำนวน ๒ รุ่น ๆ ละ ๕๐ คน งบประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดมุกดาหาร ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้ดำเนิน การจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรห้วยบางทราย จำกัด มีสมาชิกแรกตั้งจำนวน ๑๕๕ คน ได้รับการจดทะเบียน เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๘ ซึ่งกรมฯ ได้ส่งเสริมให้สหกรณ์ดำเนินธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจรับฝากเงิน ธุรกิจรวมกันซื้อ โดยจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเกษตร และเครื่องอุปโภคบริโภคมาจำหน่าย ธุรกิจรวมกันขาย โดยรวบรวมผลผลิตของสมาชิกเพื่อจัดจำหน่ายให้ได้ราคาดี ปัจจุบัน (ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๓๙) มีทุนดำเนินงานจำนวน ๖๘,๗๗๒.๓๔ บาท จำนวนสมาชิก ๔๕๔ คน
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
เกี่ยวกับ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่กรมชลประทานได้ก่อสร้างเขื่อนเก็บกัก น้ำขนาดความจุ 3.5ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมอาคารประกอบเสร็จ และในปี 2539 จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างระบบส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะ ปลูก ประมาณ 2,500 ไร่ ดังนี้
1) ควรพิจารณาก่อสร้างขยายพื้นที่ส่งน้ำ พร้อมทั้งขุดสระเก็บน้ำประจำไร่นา สำหรับน้ำเพิ่มเติม จากระบบท่อส่งน้ำดังกล่าวตามแนวทฤษฎีใหม่ เพื่อให้สามารถขยายพื้นที่รับน้ำชลประทาน ช่วยเหลือการเพาะปลูกของราษฎรหมู่บ้านต่าง ๆ ในเขตตำบลคุ้มเก่าและตำบล สงเปลือยรวมทั้งพื้นที่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งปัจจุบันมีสภาพแห้งแล้งขาดแคลนน้ำทำการเกษตรและอุปโภคบริโภคเป็นอย่างมาก
2) ควรพิจารณาก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร พร้อมกับก่อสร้างระบบผันน้ำเพิ่มเติมให้แก่อ่างเก็บน้ำ
ลำพะยังตอนบน ซึ่งมีปริมาณน้ำต้นทุนจำกัด แต่มีพื้นที่เพาะปลูกที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำทำการเกษตร เป็น จำนวนมาก เมื่อดำเนินการแล้วจะสามารถมี น้ำส่งช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกของโครงการอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบนได้เพิ่มมากขึ้น
3) ควรพิจารณาขุดลอกลำห้วยต่าง ๆ พร้อมทั้งก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำห้วย เพื่อเก็บน้ำนอนคลองไว้ให้ราษฎรบริเวณริมสองฝั่ง ใช้ประโยชน์ได้ตลอดปี และสามารถรับน้ำเพิ่มเติมจากระบบท่อส่งน้ำ
จากอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบนได้ตามความเหมาะสม
4) ควรพิจารณาก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำพะยังเป็นช่วง ๆ ในลักษณะขั้นบันไดตามความเหมาะสม เพื่อเก็บกักน้ำให้ราษฎรบริเวณ ริมสองฝั่งใช้ทำการเกษตรและอุปโภค - บริโภคได้ตลอดปี โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้งที่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำเป็นอย่างมาก ต่อมาเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้อธิบดีกรมชลประทานและ เลขา
ธิการ กปร. นำคณะเจ้าหน้าที่กรมชลประทานและกปร. เข้าเฝ้าทูลละอองทุลีพระบาทกราบบังคมทูลถวายรายงานความก้าวหน้าโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทาน ในภาคตะ
วันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน อันเนื่องมาจาก พระราชดำริ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้กรมชลประทานดำเนินการดังนี้ คือ
1) ให้ก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร มาส่งให้กับพื้นที่เพาะปลูก ในเขตอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยให้เกิดผลกระบทต่อพื้นที่ของ
กรมป่าไม้น้อยที่สุดและหากการก่อสร้างไปทำให้พื้นที่ของกรมป่าไม้เสียหาย ให้ทำการ ปลูกป่าทดแทนให้กรมป่าไม้ด้วย
2) ระบบส่งน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วย ไผ่ ที่จะส่งน้ำด้วยระบบท่อส่งน้ำให้กับพื้นที่ด้านท้ยอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ให้พิจารณารูปแบบใหม่ที่ ประหยัดกว่านี้ เนื่องจากส่งน้ำให้พื้นที่ได้เป็นพื้นที่แคบ ๆ ขนานไปกับลำห้วยไผ่เท่านั้น เช่นทำเป็นฝายทดน้ำแบบถูกๆ เป็นช่วงๆ ในลำห้วย ไผ่และปล่อยน้ำริน ๆ จากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ลงมาเติมหน้าฝายแทน
3) ให้ยกระดับเก็บกักของอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เก็บน้ำได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากในบริเวณนี้ ไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่อยู่เลย มื่อยกระดับเก็บกักขึ้น
แล้วเหากปริมาณน้ำไม่เต็มอ่างฯ ให้พิจารณาต่อท่อผันน้ำจากอุโมงค์ผันน้ำจาก อ่างเก็บน้ำห้วยไผ่มาเติมให้เต็ม ถ้ามารถต่อท่อมาได้
การดำเนินงานในส่วนของกรมชลประทาน
อ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน มีอาคารหัวงานเป็นลักษณะทำนบดิน (พิกัด 48 QVD 121-418 ตามแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ระวาง 5842 III ) สูง 16 เมตร ยาว 725 เมตร เริ่มก่อสร้างปี 2537 เสร็จเรียบร้อย และสามารถเก็บกักน้ำได้ในปี 2538 เต็มตามความจุ ของอ่างฯ 3.50 ลูกบาศก์เมตร ก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้ายยาว 5 กิโลเมตร ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2540 แ ละก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา
ยาว 2.75 กิโลเมตร พร้อมท่อส่งน้ำสายซอยจำนวน 4 สาย ความยาวประมาณ 7.00 กิโลเมตร ดำเนินการแล้วเสร็จ ในปี 2541
(ในเขตพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน4,600 ไร่ )ขุดสระเก็บน้ำประจำไร่นา ความจุประมาณ 5,000 ลูกบาศก์เมตร
โดยเริ่มดำเนินการในปี 2539 จำนวน 5 สระปี 2540 จำนวน 13 สระ ปี 2541จำนวน 40 สระ ปี 2542 จำนวน 42 สระ
( ในเขตพื้นที่โครงการ พัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน 11,600 ไร่)
งานที่ดำเนินการก่อสร้างในปี 2543
1) ขุดสระเก็บน้ำประจำไร่นา ความจุประมาณ 5,000 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 9 สระ เสร็จเรียบร้อยแล้ว
( ในเขตพื้นที่ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน 11,600 ไร่ รวมขุดสระตั้งแต่ปี 2539 - 2543 เสร็จไปแล้วจำนวน 109 สระ)
2) ดำเนินการยกระดับเก็บกักของอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ขึ้นอีก 0.80 เมตร ทำให้
เก็บกักน้ำได้เพิ่มอีก0.50 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมอ่างเก็บน้ำแห่งนี้สามารถเก็บกักน้ำได้ทั้งหมดประมาณ 4.00 ล้านลูกบาศก์เมตร
(16 มิถุนายน 2543)ของบจาก กปร. มาดำเนินการ คาดว่าจะดำเนินการเสร็จในปีงบประมาณ 2543
3) เตรียมงานเบื้องต้นพื่อทำการก่อสร้างอุโทงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ จังหวัดมุกดาหาร มาลงพื้นที่โครงการพัฒนา
ลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่การก่อสร้างถนน เพื่อเข้าทำการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำฯ ทั้งจากฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์มา
เชื่อมกับปลายอุโมงค์และจากฝั่งจังหวัดมุกดาหาร มาเชื่อมกับปากทางเข้าอุโมงค์
งานที่อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเพื่อการก่อสร้าง
1) อุโมงค์ผันน้ำพร้อมระบบท่อผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พิกัด 48Q VD 146 - 445 ตาม แผนที่
มาตราส่วน1:50,000 ระวาง 5842 III ความจุ 10.50 ล้านลูกบาศก์เมตร) อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร เพื่อส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่
เพาะปลูกในเขต อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ดังนี้
* อุโมงค์ผันน้ำ งบประมาณ 125 ล้านบาท ประกอบด้วย.
- ร่องชักน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ถึงปากท่อผันน้ำ ยาว 750 เมตร
- อุโมงค์ผันน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.00 เมตร ยาว 710 เมตร
- ท่อผันน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.00 เมตร ยาว 1,020 เมตร
- ถังพักน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เมตร
- สถานภาพโครงการฯ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขอใช้พื้นที่ป่าอนุรักษ์ จากกรมป่าไม้เพื่อดำเนินการก่อสร้าง หากได้รับอนุญาตจะสามารถ
ดำเนินการก่อสร้างได้ทันที
* ระบบท่อส่งน้ำให้พื้นที่โครงการที่รับน้ำจากอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ประกอบด้วยท่อส่งน้ำสายใหญ่ ฝั่งซ้ายความยาว 8.600 กิโลเมตร และท่อส่งน้ำสายซอย จำนวน 11 สาย ความยาว 27.500 กิโลเมตร ในพื้นที่โครงการประมาณ 7,000 ไร่ งบประมาณ 230-ล้านบาท
* ขุดสระเก็บน้ำประจำไร่นาตามแนวทฤษฎีใหม่ ตามความต้องการของราษฎร ความจุประมาณ 5,000 ลูกบาศก์เมตร ที่เหลือประมาณ 700 สระ งบประมาณ 52.5 ล้านบาท
2) ก่อสร้างฝายทดน้ำในลำห้วยไผ่แทนการส่งน้ำด้วยระบบท่อส่งน้ำ และชี้แจ้งให้ราษฎรเข้าใจในรูปแบบการส่งน้ำใหม่
พร้อมทั้งพิจารณานำหินที่ได้จากการระเบิดอุโมงค์ และร่องชักน้ำมาทำการก่อสร้างฝาย
3) พิจารณาก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำพะยังและลำน้ำสาขา พร้อมงานขุดลอกลำน้ำประมาณ 30 กิโลเมตร ตามความเหมาะสม
ระยะเวลาก่อสร้าง
เนื่องจากมีปัญหาในการขอใช้พื้นที่ในการก่อสร้าง จึงจำเป็นต้องขยายระบบเวลาดำเนินการของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน อันเนื่องมาจากพระราช
ดำริ จาก 8 ปี เป็น 13 ปี นับตั้งแต่ปี 2537 จะแล้วเสร็จในปี 2549 ใช้งบประมาณทั้งหมดประมาณ 660 ล้านบาท
การจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำและกิจกรรมต่อเนื่อง
กรมชลประทาน ได้รณรงค์ให้เกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทานของโครงการ จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่บ้านนาวี บ้านดอนฮูฮา บ้านดอนจะหราบ ตำบลสงเปลือย
และบ้านโนนสูงตำบลคุ้มเก่า จำนวน 862 ครัวเรือน ได้เกิดความรักความหวงอ่างเก็บน้ำ ระบบท่อส่งน้ำต่างๆ โดยปัจจุบัน ได้จัดเตรียมเมล็ดพันธุ์ กำหนดพื้นที่เพาะปลูก และจัดประชุมสัมมนา ส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกในฤดูแล้ง สามารถ จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเสร็จในเดือนเมษายน 2542
รายละเอียดข้อมูล โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
เรื่องเดิม
โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2535 ทรงไปนมัสการพระราชนิโรธรังสี
คัมภีรปัญญาวิศิษฎ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) เจ้าอาวาสวัดหินหมากเป้ง บ้านไทยเจริญ ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย และเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพพื้นที่บริเวณแม่น้ำ
ห้วยทอนตอนบนในเขตอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย และ ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนครได้พระราชทานพระราชดำริ ให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการ
และก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัด มุกดาหาร เพื่อช่วยเหลือราษฎรในเขตโครงการ ตลอดจนการผันน้ำไปช่วยเหลืออ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบนและ หมู่บ้านใกล้เคียง ให้มีน้ำ ทำ
การเกษตรและอุปโภค-บริโภค
สถานที่ก่อสร้างโครงการ
หัวงานโครงการตั้งอยู่ที่ บ้านแก่งนาง ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร พิกัด 48 QVD 146 - 445 ระวาง 5842 III ในแผนที่ 1:50,000 ของกรมแผนที่ทหาร
การดำเนินการการก่อสร้าง
การดำเนินการก่อสร้างโครงการ เป็นงานที่กรมชลประทานดำเนินการเอง ก่อสร้างและควบคุมงานโดยฝ่ายก่อสร้างชลประทานขนาดเล็กที่ 5 เริ่มดำเนินการก่อสร้างในปีงบประมาณ 2539แล้วเสร็จและเก็บกัก
น้ำได้ในปีงบประมาณ 2540
ลักษณะโครงการ
พื้นที่รับน้ำฝนเหนือจุดที่ตั้งโครงการ 16.70 ตารางกิโลเมตร
ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,614.00 มิลลิเมตร
ปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงสู่อ่างฯ 7,897,430.00 ลบ.ม./ปี
ปริมารน้ำสูงสุดที่ผ่านอาคารทางระบายน้ำล้น 50.10 ลบ.ม./วินาที
ความจุอ่างเก็บน้ำความจุที่ระดับเก็บกัก 10.50 ล้าน ลบ.ม.
ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับต่ำสุด 0.60 ล้าน ลบ.ม.
เขื่อนดินสูง 18.00 เมตร
เขื่อนดินยาว 970.00 เมตร
ระดับสันเขื่อน +301.000 เมตร (รสม.)
ระดับน้ำสูงสุดในอ่างเก็บน้ำ +299.000 เมตร(รสม.)
ระดับน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำ +298.000 เมตร(รสม.)
ระดับน้ำต่ำสุดในอ่างเก็บน้ำ +290.000 เมตร(รสม.)
พื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำที่ระดับเก็บกัก 1,535.00 ไร่
ประโยชน์ที่ได้รับ
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการฯ เพื่อการอุปโภค-บริโภค เสริมการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ ประมาณ 2,500 ไร่ ราษฎร 3 หมู่บ้าน รวมประมาณ 140 ครัวเรือน
ผลการดำเนินงาน
ปี 2539 - ปี 2540 เริ่มดำเนินการก่อสร้างทำนบดินหัวงานและอาคารประกอบ แล้วเสร็จ 100% สามารถเก็บกักน้ำได้ตามเป้าหมาย
ด้วยจิตรคารวะ
ประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗
Get back to school stuff for them and cashback for you. Try Bing? now.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น