เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
ต่อไปนี้ผมขออนุญาติ นำมะพร้ามมาขายสวน ตามคำพังเพยโบราณนะครับ
เพราะผมเห็นว่า น่าจะเป็นประโยชน์แก่พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาทุกๆท่าน ชาวนาที่อำเภอนาแก
มีความสามารถทำนาน้ำฝนและได้ผลผลิตชนะเลิศที่ ๑ ผลผลืตสูงสุดถึง ๘๒๐ กก/ไร่.โดยยัง
รักษาวิธีการทำนาแบบดั้งเดิมเอาไว้ได้อย่างชัดเจน ดังคำอธิบายการทำนาที่ว่า " วิธีการทำนา
ให้ได้ข้าวคุณภาพดี จนชนะเลสที่ ๑ นั้น ผู้ใหญ่ชูกัน กุลวงษาเล่าว่า ก่อนฝนมาเล็กน้อย ชาวบ้าน
จะนำมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก ลงไปหว่านในนาข้าวของตนเอง ตรงนี้สังเกตุได้ว่า แต่ละหลังคาเรือน
จะมีเกษตรกรทำปุ๋ยหมักทุกครัวเรือน ปุ๋ยคอกในส่วนคนที่มีสัตว์เลี้ยงก็กองไว้ใช้ประโยชน์
เมื่อฝยลงเกษตรกรเริ่มไถกลบ ส่วนใหญ่ใช้เครื่องทุ่นแรงแทนแรงงานสัตว์ แต่ผู้ใหญ่บอกว่า
ยังมีการใช้แรงงานสัตว์อยู่บ้าง เมื่อฝนลงสม่ำเสมอก็ตกกล้า ต้รกล้าของข้าวที่มีอายุ ๒๕ - ๓๐ วัน
เหมาะมากต่อการปักดำ ชาวนาจะไถอีกครั้งหนึ่ง แล้วคราดให้ผืนนามีความสม่ำเสมอ แล้วจึง
ปักดำ แต่ละกอข่าว ใช้ต้นกล้า ๓ - ๔ ต้น. ระยะระหว่างต้น ระหว่างแถว อยู่ที่ความอุดม
สมบูรณ์ของดิน "หากดินดีเกษตรกรปลูกถี่นิดนึง โอ ไม่ใช่ ดินดีเกษตรกรปลูกห่าง แต่ดินไม่ดี
ต่างหากที่เกษตรกรปลูกถี่ ระยะระหว่างต้นและระยะระหว่างแถว อญู่ที่ ๒๕ - ๓๐ เซ็นติเมตร
ช่วงที่ปักดำใหม่ต้องรักษาระดับน้ำให้คงอยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้น. แต่มีการเสริมปุ๋ยเคมีบ้าง
(เพราะมีการแข่งขัน.) ได้ผลผลิต ๘๒๐ กก./ไร่ และเปอร์เซ็นข้าวที่ได้ถึง ๖๕%
พี่น้องครับ พื้นที่ในภาคอีสานเรา ยังมีฝนแล้งและฝนทิ้งช่วง ผมจึงขอแนะนำให้พี่
น้องเกษตรกร/ชาวนา หันกลับมาทำเกษตร "ทฤษฎีใหม่" กันนะครับ คือแบ่งพื้นที่มาทำนาเพียง
๓๐% ของพื้นที่ทั้งหมด และนำมาขุดสระเก็บกักน้ำไว้ป้องกันฝนแล้งและฝนทิ้งช่วงอีก ๓๐%
ของพื้นที่ทั้งหมด และต้องขุดลึก ๔.๐๐ เมตรเพื่อให้เก็บกักน้ำได้นานที่สุด/หรือ ฝน ชน ฝนนะครับ.
เพราะว่า ถ้าพี่น้องเกษตรกร/ชาวนามีน้ำสำรองเอาไว้ ก็จะสามารถเริ่มทำนาได้เลยเมื่อเริ่มเข้าหน้าฝน
และมีฝนตก เช่นเริ่มทำนาได้ตั้งแต่กลางเดือน พฤษภาคม และเราก็จะสามารถทำนาในรอบที่ ๒ ได้
คือทำนาข้าวล้มตอซัง ดังรายละเอียดในบทความที่ผมได้แนบมาครับ ผลผลิตสูง และมีตันทุนต่ำอีก
ด้วยครับ ซึ่งผมคิดว่าเหมาะที่สุดสำหรับผู้ที่มีที่นาไม่มากเช่น ๕ - ๑๐ ไร่ และทำนาในพื้นที่ ๓๐%
คือ ๑.๕๐ ไร่,และ ๓ ไร่ สำหรับครอบครัวใหญ่ อาจได้ข้าวไม่พอกินได้ตลอดปี ก็จะสามารถทำนา
ข้าวล้มตอซังได้ในรอบที่ ๒ ครับ ก็จะมีข้าวพอเพียงเลี้ยงครอบครัวได้ตลอดปีครับ.
ตามความคิดเห็นของผม ถ้าเราดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริ " เศรษฐกิจพอเพียง"
เพื่อสุขภาพของเราเองด้วย ก็ไม่ควรใช้ปุ๋ยเคมีเลยนะครับ อีกทั้งยังสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้อีกด้วย
ส่วนปริมาณผลผลืตนั้น ผมว่า เราทำน้อยสามารถดูแลนาข้าวได้ดี ผลผลิตก็จะไม่ต่างกันมาก อีกอย่าง
เมื่อเราทำนาไม่มาก ก็ไม่ควรใช้เครื่องจักรมาแทนแรงงานสัตว์เลยครับ และยังเป็นการอนุรักษ์ พันธุ์วัว,
พันธุ์ควายไทย ไว้ได้อีกด้วยนะครับ.
ด้วยจิตรคารวะ
ประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗
With Windows Live, you can organize, edit, and share your photos. Click here.
การทำนาดำของชางนา อำภเอนาแก ชนะเลิศที่ ๑ และการทำนาแบบล้มตอซังของชาวนา เมือง ๔ แคว.
เขียนโดย Prachoom on วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น