พร้อมนี้ผมได้แนบกราฟน้ำไหลลงเขื่อนลำปาว ณ.วันอาทิตย์ที่ ๑๖
สิงหาคม ๒๕๕๒ ถ้าพี่น้องได้อ่านข่าว
"เตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันหลังระดับน้ำเขื่อนลำปาวเพิ่มพรวด"
แล้วจะพบว่าปริมาณน้ำในเขื่อนลำปาว ณ.วันอาทิตย์ที่ ๑๖ สิงหาคม
๒๕๕๒ (เสนกราฟสีแดง) บนมุมขวาของกราฟเป็น จำนวน ๕๕%
ของปริมาตรเก็บกักปกติ/หรือ ๑,๔๓๐ ล้าน ลบ.ม. = ๗๘๖ ล้าน ลบ.
ม.เท่านั้น (กราฟอาจแสดงถึงประมาณวันที่ ๑๐ สิงหาคมเท่านั้น) ตาม
ข่าวบอกว่า มี ปริมาณน้ำถึง ๕๖%/หรือ ๘๐๒ ล้าน ลบ.ม.
ให้กลับไปดูกราฟน้ำไหลลงเขื่อน (เส้นกราฟสีเขียว) ปี
๒๕๕๐ จากวันนี้ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ ถึง วันที่ ๓๑ สิหาคม ๒๕๕๒
การาฟแสดงปริมาณน้ำไหลลงเขื่อน จะชันมากครับ หมายความว่า
ปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่รับน้ำเหนือเขื่อนขึ้นไปจะมีปริมาณมาก
จึงเป็นเหตุให้มีการพร่องน้ำ (ปล่อยน้ำทิ้งไปถึงวันละ ๑๙ ล้าน ลบ.ม.)
และภายในไม่เกินวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๒ ปริมาณน้ำในเขื่อนจะ
มากเกินปริมาตรเก็บกักปกติ ๑,๔๓๐ ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำก็จะถูก
ปล่อยทิ้งเป็นปริมาณมากยิ่งขึ้นรวมกับปริมาณน้ำฝนที่ยังตกอยู่ก็จะ
ยิ่งเพิ่มปริมาณน้ำปล่อยทิ้งมากยิ่งขึ้นครับ.
พื้นที่นาลุ่มก็จะถูกน้ำท่วมสูงตั้งแต่ กลางเดือนกันยายน
๒๕๕๒ ไปจนถึง ปลายเดือนพฤษจิกายน ๒๕๕๒ และจะเริ่มลดระดับ
ลงตั้งแต่ต้นเดือน ธันวาคม ๒๕๕๒ ซึ่งตรงช่วงนี้เองครับ ที่กรม
วิชาการเกษตร ได้คิดค้นทำโครงการที่เรียกว่า "ยุทธการหว่าน/ปัก
ดำวันแม่ - เก็บเกี่ยววันพ่อ ไงครับ. (หมายถึงพื้นที่ห่างไกลเขื่อนซึ่ง
จะไม่ถูกผลกระทบจากน้ำท่วมนะครับ) ความหมายก็คือ ฤดูฝนได้
เลื่อนไปแล้วนั่นเองครับ.และในแต่ละปีก็จะไม่ตรงกัน พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงค้นคิด "ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับน้ำเพื่อการเกษตร"
ก็เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาความไม่แน่นอนของฤดูฝนนั่นเองครับ.คือ
เกษตรกรจะสามารถใช้น้ำที่เก็บกักไว้ในสระมาชอเชยเพื่อไม่ให้เกิด
ความเสียหายแก่ต้นข้าวนั่นเองครับ.
อนึ่งพื้นที่ทำนาของไครที่ถูกน้ำท่วมสูงไม่มากนัก ระหว่าง
๑.๒๐ - ๑.๕๐ เมตรจากระดับดินเดิม ก็ยังสามารถน้อมนำเอา
โครงการแก้มลิงมาปรับใช้ในการขุดสระเก็บกักน้ำได้นะครับ กลับ
ไปย้อนดูแบบแก้มลิงและวิธีการขุดได้นะครับ.
ด้วยจิตรคารวะ
ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
Windows Live: Keep your friends up to date with what you do online. Find out more.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น