ชลประทานบุรีรัมย์ยันอ่างเก็บน้ำ 23 แห่ง ยังรองรับปริมาณน้ำฝนได้ (จริงหรือ?)

on วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

 

เรียนพี่ร้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
             ผมพูดยังไม่ทันขาดคำ ก็มีคนดูแลการบริหารจัดการน้ำในจังหวัดบุรีรัมย์ออกมาเตือนเรื่องน้ำป่าไหลหลากทันทีเลยใช่ไหม?ครับ ผมได้เขียนในวงเล็บไว้ว่า จริงหรือ?
 
             ผมขอตอบแทนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาในจังหวัดบุรีรัมย์ได้เลยว่า ไม่จริงครับ. พวกเราไม่ต้องไปดูเขื่อนอื่นๆอีก ๒๒ เขื่อนเลยครับ เรามาดูเขื่อน "ลำนางรองที่ถูกลืมไปแล้วก็ได้ครับ"
 
                ข้อมูลจำเพาะของเขื่อน ลำนางรองในอดีต มีดังนี้ครับ.-
 
๑.)เขื่อน ลำนางรอง ตั้งอยู่ที่ ตำบล โนนดินแดงอำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์
 
๒.)เริ่มก่อสร้าง-แล้วเสร็จ ปี พ.ศ        ๒๕๒๓ - ๒๕๒๔.
 
๓.)ปริมาตรน้ำไหลลงอ่าง/เขื่อนรายปีสูงสุด ๕๙.๕ ล้าน ลบ.ม. รายปีเฉลี่ย ๕๕.๐๗ ล้าน ลบ.ม. รายปีต่ำสุด ๓๑.๙ ล้าน ลบ.ม.
 
๔.)ระดับน้ำสูงสุด                + ๒๔๒.๕๐ ม. (ร.ท.ก.)
 
      ปริมาตรน้ำที่ระดับน้ำสูงสุด     ๑๙๖.๖๗ ล้าน ลบ.ม.
 
      ระดับน้ำเก็บกักปกติ        + ๒๔๐.๐๐ ม. (ร.ท.ก.)
 
      ปริมาตรน้ำที่ระดับเก็บกักปกติ ๑๒๑.๔ ล้าน ลบ.ม.
 
      ระดับน้ำเก็บกักต่ำสุด       + ๒๒๙.๐๐ ม. (ร.ท.ก.)
 
       ปริมาตรน้ำที่ระดับต่ำสุด      ๓ ล้าน ลบ.ม.
 
๕.) ต่อมาได้มีการปรับปรุงปริมาตรเก็บกักเป็นดังนี้.-
 
      (จาก บ/ช.อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ความจุ ๑๐๐ ล้าน
 
 ลบ.ม.ขึ้นไป)
 
       ระดับเก็บกักน้ำสูงสุด(ยังคงเดิม)คือ +๒๔๒.๕๐ ม.
 
(ร.ท.ก.)
 
       ปริมาตรน้ำเก็บกักสูงสุดลดลงเหลือเพีบง ๑๘๒ ล้าน
 
ลบ.ม.
     
        ระดับน้ำเก็บกักปกติยังคงเดิม + ๒๔๐.๐๐ ม. (ร.
 
ท.ก.)
 
        ปริมาตรน้ำเก็บกักปกติ        ๑๒๑ ล้าน ลบ.ม.
 
        ระดับน้ำเก็บกักต่ำสุด    + ๒๒๙.๐๐ ม. (ร.ท.ก.)
 
        ปริมาตรน้ำเก็บกักต่ำสุด    ๓  ล้าน ลบ.ม.
 
๖.)  สภาพเขื่อน ลำนางรองในปัจจุบัน ไม่เคยเก็บกักน้ำ
 
ได้เกิน ๗๖ ล้าน ลบ.ม.เลยครับ
 
๗.) ถ้าเขื่อน ลำนางรองยังมีสภาพดีเหมือนเมื่อเริ่มก๋สร้าง
 
ก็จะสามารถเก็บกักน้ำได้อีกเป็นปริมาณถึง = ๑๙๖.๖๗ -
 
๗๖ = ๑๒๐.๖๗ ล้าน ลบ.ม. แต่ปัจจุบันรับน้ำดังกล่าวไม่
 
ได้อีกต่อไปแล้วครับ
 
๘.) เพราะฉะนั้นที่ผู้ดูแลน้ำบอกว่า เขื่อนทั้ง ๒๓ แห่งใน
 
จังหวัดยังสามารถเก็บกักน้ำ(ตมข่าวข้างล่าง)ได้อีกถึง
 
๑๖๕ ล้าน ลบ.ม. นั้นคงจะไม่จริงครับ เขื่อนเล็กเขื่อนน้อย
 
ที่เหลืออีก ๒๒ แห่ง คงจะเก็บกักน้ำได้อีกเพียง
 
= ๑๖๕ - ๑๒๐.๖๗ = ๔๔.๓๓ ล้าน ลบ.ม. เท่านั้นครับ
 
และวันนี้ก็มีข่าวฝนตกหนักในพื้นที่ ๑๔ จังหวัดในภาค
 
อีสาน ผมคิดว่า ปริมาณน้ำคงจะล้นเขื่อนไปแล้วนะครับ
 
พี่น้องต้องระวังและป้องกันความเสียหายทันที ที่ได้อ่าน
 
เว็บนี้ระครับคือรีบจับปลา และรีบเก็บเกี่ยวผลผลิตทาง
 
การเกษตรทันทีครับ. กรุณาดูได้จากกราฟน้ำไหลลง
 
เขื่อนข้างล่างครับ.
 
ก.)เขื่อน ลำพระเพลิง เก็บน้ำไม่ได้อีกต่อไปแล้ว
 
เพราะพอมีน้ำไหลลงเขื่อนไม่ถึง ๓๐% ก็ปล่อยน้ำ
 
ทิ้งแล้วครับ.
 
๘.)เขื่อน ลำนาวรองที่ถูกทอดทิ้ง ผมเคยนำเสนอ
 
มานานแล้วว่า เป็นเขื่อนที่ถูกลืม จนถึงมีคนแสดง
 
ความเสียใจที่เขาเคยภูมิใจและเคยไปพักผ่อนนาน
 
มาแล้ว และไม่รู้เลยว่า เขื่อนที่เขาเคยประทับใจนั้น
 
ได้ถูกลืมไปนานแสนนานแล้ว และเขาได้ขอให้
 
คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้โปรดเลย
 
ไปตรวจสอบ และทำการปรับปรุงด้วย แต่ดูเหมือนว่า
 
ท่านนายกไม่มีเวลาพอที่จะไปดูข้อเท็จจริงหรอกครับ.
 
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วไคร? เล่าครับที่จะสามารถแก้ปัญหาอัน
 
สลับซับซ้อนของเขื่อนขนาดใหญ่นี้ได้เล่าครับ.
 
                  ด้วยจิตรคารวะ
 
         ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 
 
 
 
 
 
 

 
 
 
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ชลประทานบุรีรัมย์ยันอ่างเก็บน้ำ 23 แห่ง ยังรองรับปริมาณน้ำฝนได้

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 กันยายน 2552 09:34 น.
       นายยงศักดิ์ ประภาพันธศักดิ์ หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม โครงการชลประทานบุรีรัมย์ กล่าวว่า ภายหลังมีฝนตกอย่างต่อเนื่องจนถึงขณะนี้ อ่างเก็บน้ำทั้ง 23 แห่งในจังหวัดมีปริมาณน้ำในอ่างทั้งหมด 165 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 55 เปอร์เซ็นต์ ของความจุอ่างทั้งหมด 298.82 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งปริมาณน้ำในอ่างน้อยกว่าปีที่ผ่านมา หากเปรียบเทียบในช่วงเดียวกัน และมั่นใจว่าจะสามารถรับมือกับพายุฝนที่ตกลงมาได้จนถึงเดือนตุลาคม โดยไม่ต้องเกรงว่าจะเกิดปัญหาน้ำล้นอ่าง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในปีนี้น้ำในอ่างเก็บน้ำจะมีน้ำไปผลิตประปาเพื่อให้ประชาชนอุปโภคบริโภคได้อย่างเพียงพอ โดยในปีนี้ทางจังหวัดไม่มีโครงการที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชฤดูแล้งที่ใช้น้ำมาก เพราะเกรงว่าจะเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค



Insert movie times and more without leaving Hotmail®. See how.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น