FW: น้ำทะลักเขื่อนลำปาว ใกล้วิกฤติ เมื่อ ๙ กันยายน ๒๕๕๐.

on วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552


 

From: msuriyamas@hotmail.com
To: msurrriyamas.water@blogger.com
Subject: น้ำทะลักเขื่อนลำปาว ใกล้วิกฤติ เมื่อ ๙ กันยายน ๒๕๕๐.
Date: Tue, 8 Sep 2009 14:23:26 -0800

 

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนหัวนาที่นับถือ.

 

          กรุณาอย่าตกใจนะครับ เพราะเป็นข่าว "น้ำทะลักเขื่อนลำปาว ใกล้วิกฤติ" เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๐ (2007) เหตุการณ์นี้จะหวนกลับมาอีกในวันนี้ วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๒ อีกครั่งหนึ่งครับ พี่น้องจะได้ระวังกันครับ.

 

          ลองอ่านดูนะครับ และผมได้คัดลอก กราฟน้ำ ณ. วันนี้มาให้ชมกันด้วยครับ. (ถ้าสามารถเข้าไปคัดลอกได้นะครับ) และผมคนโคราชได้แสดงความคิดเห็นลงไว้ครับ.

กร๊าฟน้ำสีแดง ( ๓ กันยายน ๒๕๕๒) จะเหมือนกร๊าฟน้ำสีเขียวในปี ๒๕๕๐ ครับ.

 

                        ด้วยจิตรคารวะ

 

                ประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗

 

 

 

 

 

 

 

โดย ผู้จัดการออนไลน์9 กันยายน 2550 17:08 น.ความคิดเห็น

น้ำทะลักเขื่อนลำปาวใกล้ระดับวิกฤต

กันยายน 9, 2007 โดย ksnphoto

 

 

กาฬสินธุ์ - จังหวัดกาฬสินธุ์ สรุปความเสียหายจากน้ำป่าไหลหลากจากเทือกเขาภูพาน พบเส้นทางคมนาคมเสียหาย 854 สาย สะพานขาด 15 แห่ง พื้นที่ทางการเกษตรเสียหายกว่า 30,000 ไร่ ขณะทางจังหวัดประกาศเตือนประชาชนที่อาศัยติดกับลุ่มน้ำให้ระวังน้ำล้นตลิ่ง เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนลำปาวใกล้ระดับวิกฤตแล้ว

 

จากการติดตามผลกระทบจากน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของพายุฝนที่ตกติดต่อกันปริมาณมาก ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลากด้านอำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดสกลนคร กระแสน้ำป่าจากเทือกเขาภูพานได้ไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรและสร้าง ความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะที่ อ.คำม่วง อ.สามชัย อ.สหัสขันธ์

จากการสำรวจความเสียหายหลังจากที่ทางจังหวัด ได้ประกาศเป็นเขตภัยพิบัติน้ำท่วม 12 อำเภอ จาก 18 อำเภอ พบว่า ความเสียหายจากน้ำป่าไหลหลากจากเทือกเขาภูพาน มีเส้นทางคมนาคม เสียหาย 854 สาย สะพานขาด 15 แห่ง พื้นที่ทางการเกษตรเสียหายกว่า 30,000 ไร่ ส่วนใหญ่จะอยู่ตอนเหนือของทางจังหวัด

ด้าน นายกวี กิตติสถาพร ผวจ.กาฬสินธุ์ ประกาศเตือนประชาชนให้ระวังภัยจากน้ำล้นตลิ่งที่เกิดจากน้ำป่า โดยเฉพาะราษฎรในอำเภอยางตลาด อ.กมลาไสย อ.ร่องคำ อ.ฆ้องชัย ซึ่งอยู่ในเขตลำน้ำปาวและลำน้ำชี เนื่องจากคาดว่าอีกไม่เกิน 7 วัน เขื่อนลำปาวอาจจะมีการะบายน้ำล้นลงทางสปริงเวย์ที่จะส่งผลให้ปริมาณน้ำในลำน ้ำเพิ่มสูง

ส ำหรับปริมาณน้ำเขื่อนลำปาวในขณะนี้ล่าสุดมีปริมาณอยู่ที่ 1,346 ล้าน ลบ.ม.จากปริมาณเก็บกักที่ 1,430 ล้าน ลบ.ม.ซึ่งเหลืออยู่อีกประมาณ 100 ล้าน ลบ.ม.ก็จะเกินปริมาณเก็บกักประชาชนในพื้นที่ภัยพิบัติควรระวังเนื่องจากน้ำใ นเขื่อนลำปาวเริ่มเข้าสู่ภาวะวิกฤตแล้ว

 

 

 

บันทึกโพสใน กาฬสินธุ์ | มี 1 ความคิดเห็น

มีการตอบกลับหนึ่งครั้ง to "น้ำทะลักเขื่อนลำปาวใกล้ระดับวิกฤต"

  1. on กุมภาพันธ์ 20, 2008 ที่ 11:48 pm1 คนโคราช

ข้อมูลเขื่อนลำปาว ตั้งอยู่ที่ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
เริ่มก่อสร้างเมื่อปี ๒๕๐๖ แล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๑๑
ระดับน้ำสูงสุด + ๑๖๕.๗๐ เมตร (ร.ท.ก.)
ปริมาตรน้ำที่ระดับสูงสุด ๒
,๕๑๐ ล้าน ลบ.ม.
ระดับน้ำเก็บกักปรกติ + ๑๖๒.๐๐ เมตร (ร.ท.ก.)
ปริมาตรน้ำที่ระดับเก็บกักปกติ ๑
,๔๓๐ ล้าน ลบ.ม.

มติ ครม. สัญจรเมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ปี ๒๕๔๘ ครม.สัญจรอนุมัติเงินงบประมาณถึง ๓,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อใช้ก่อสร้างเสริมสันเขื่อนลำปาวให้สูงขึ้นอีก ๒.๐๐ เมตรเพื่อให้เก็บกักน้ำได้จาก ๑,๔๓๐ ล้าน ลบ.ม.เป็น ๑,๙๓๐ ล้าน ลบ.ม.จากระดับ + ๑๖๒.๐๐ เมตร เป็น ๑๖๔.๐๐ เมตร (ข้อสังเกตุว่าเสริมไปทำไม? ในเมื่อปริมาตรเก็บกักสูงสุดของเขื่อนลำปาวเก็บกักได้ถึง ๒,๕๑๐ ล้าน ลบ.ม.และระดับเก็บกักน้ำสูงสุดอยู่ที่ + ๑๖๕.๗๐ เมตร.)เกษตรกร/ชาวนาที่อาศัยอยู่ใต้เขื่อนลำปาวพบว่า เขื่อนลำปาวมีรอยรั่วซึมถึง ๓๕ แห่ง.
จากข้อมูลที่มี พบว่าเขื่อนลำปาวปล่อยน้ำลงมาท่วมพื้นที่เกษตรกรรม ท้ายเขื่อนลำปาวมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๖
, ๒๕๔๗, ๒๕๔๘ ,๒๕๔๙,
๒๕๕๐. และผมก็ยังเชื่อว่า ปี๒๕๕๑ นี้ ระหว่างต้นเดือน กันยายน - ต้นเดือนธันวาคม ให้ระวังน้ำจะท่วมอีกนะครับ.
ความจริงที่น่าคิด ภาคอิสานขาดน้ำจริงหรือ
?
จริงเป็นบางปีครับที่แล้งนานเท่านั้น ดังข้อมูลเขื่อนลำปาว ครับ มีน้ำครับเพียงแต่การบริหารจัดการน้ำมิได้คำนึงถึงประโยชน์ของเกษตรกร/ชาวนาเท่านั้น เช่น การให้บริการน้ำนั้นกลับไปให้หน่วยงานที่ไม่มีทั้งคนและงบประมาณดูแล ลุ่มน้ำหรือฝายมีน้ำแต่ชาวนาต้องจ่ายค่าสูบน้ำซึ่งสวนกระแสร เพราะชาวนาไทยยากจนอยู่แล้ว (ค่าสูบน้ำ ๘๐ - ๑๐๐.-บาท/ไร่) และสถานีสูบน้ำส่วนใหญ ถ้ามีน้ำ ปั้มน้ำก็มักจะเสีย ชาวนารับกรรมทั้งขึ้นทั้งล่องครับ.
รายชื่อเขื่อนเก็บกักน้ำที่มีปัญหาคล้ายกันมีดังต่อไปนี้.-

๑.)เขื่อน ลำปาว ทำให้น้ำท่วม ทั้งๆที่มีปริมาณน้ำเพียง ๕๖%ของปริมาตรเก็บกักสูงสุดเท่านั้น.
๒.)เขื่อนราษีไศล ดังที่เป็นข่าวที่ทราบกันดี ก่อสร้างใหญ่เกินจำเป็น จึงต้องสร้างคันดินกั้นทั้งสองฝั่ง ทำให้น้ำไหลลงแม่น้ำขีไม่ได้ เกิดความเสียหาย และไม่มีไครกล้าแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ.
๓.)เขื่อน หัวนา สร้างเสร็จแล้วกว่า ๑๐ ปี ยังไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ เพราะประชาชนต่อต้าน.
๔.)เขื่อนปากมูล ผู้มีอำนาจไม่ยอมฟังเสียงของประชาชน ไปฟังแต่กลุ่มทุนผลิตไฟฟ้า จึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เวลาผ่านมาแล้ว เกือบ ๒๐ ปี.
๕.) เขื่อน พนมไพร สร้างใหญ่เกินไป มีปัญหาเช่นเดียวกัน.
พื้นที่ริมแม่น้ำโขงไม่ขาดน้ำแต่รัฐบาลกลับจะทำโครงการ สูบน้ำสวนกระแสร
๖.) เขื่อนลำพระเพลิง ปล่อยน้ำท่วมทุกปีเช่นกันเพราะเขื่อนเก็บกักน้ำได้เพียง ๔๖%ของปริมาตรเก็บกักสูงสุด ทำให้พื้นที่ท้ายเขื่อนถูกน้ำท่วมเสียหายทุกปี รวมทั้งอู่ข้าวอู่น้ำที่อำเภอพิมาย ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ในอดีต ทั้งที่มี

 

 

 

 

 

ฝายทุ่งสัมฤทธิ์เก็บกักน้ำก็ช่วยป้องกันน้ำท่วมไม่ได้ เกษตรกร/ชาวนา ๙ ตำบลใน ๑๒ ตำบลของอำเภอพิมาย น้ำท่วมไร่นาเสียหายทุกปี.
๗.)เขื่อนลำแซะ จะเกิดศึกแย่งน้ำเหมือนภาคตะวันออก เขื่อนเก็บน้ำได้ประมาณ ๔๘% ของความจุสูงสุด(ประมาณ ๑๐๐ ล้าน ลบ.ม.) ยังจะไปแย่งน้ำจากเกษตรกร/ชาวนามาใช้ผลิตน้ำประปาอีกครับ.
๘.)เขื่อนมูลบน วิบัติไปนานแสนนานแล้วครับ.
๘.)เขื่อน ลำนางรองไม่มีข้อมูลน้ำนานมาแล้วครับ.
๙.)เขื่อน ลำตะคอง ไม่มีไครแก้ไขคือ หาทางผันน้ำมาเติม (ผันจากน้ำตกเหวนรกมาลงลำตะคอง ปริมาณ กว่า ๑๐๐ ล้าน ลบ.ม./ปี.)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กาฬสินธุ์ 21 มี.ค.- นายประชา  จิตสุทธิผล ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ตรวจสอบสถานการณ์น้ำในเขื่อนลำปาว วันนี้ (21 มี.ค.)  หลังจากทุกพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนอกเขตชลประทาน ที่ผ่านมาจังหวัดประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งแล้ว 18 อำเภอ

โดยนายฤาชัย  จำปานิล หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม รักษาการผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว รายงานว่า ปริมาณน้ำที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ล่าสุดเหลือเพียงร้อยละ 39 หรือ 568 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณเก็บกัก 1,430 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะส่งผลถึงความเสี่ยงกับเกษตรกรในพื้นที่ชลประทานด้วย เนื่องจากปีนี้ข้าวมีราคาดี เกษตรกรจึงลงทุนปลูกข้าวนาปรังเพิ่มอีก 60,000 ไร่ เป็น 260,000 ไร่ จากเดิมทุกปีเพาะปลูกเพียง 200,000 ไร่ นอกจากนี้ เขื่อนยังต้องส่งน้ำให้กับเกษตรกรที่ปลูกพืชไร่และพืชส่วน รวมถึงบ่อปลาและบ่อกุ้งอีกเกือบ 10,000 ไร่ ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหารุนแรงขึ้น เกษตรกรควรงดการปลูกข้าวนาปรังเพิ่มและให้ทุกฝ่ายช่วยกันประหยัดการใช้น้ำ.-สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-03-21 10:57:44

 

 

 

 

 

 

 

หมายเหตุ จังหวัดประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งแล้ว 18 อำเภอ ผมแปลให้นะครับคือประสพภัยแล้งทั้งจังหวัดนั่นเอง เพราะ จังหวัดกาฬสินธุ์มีจำนวนอำเภอทั้งสิ้น ๑๘ อำเภอเท่านั้นครับ.

ปริมาณน้ำที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ล่าสุดเหลือเพียงร้อยละ 39 หรือ 568 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณเก็บกัก 1,430 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะส่งผลถึงความเสี่ยงกับเกษตรกรในพื้นที่ชลประทานด้วย เนื่องจากปีนี้ข้าวมี

ข่าวนี้ควรจะเป็นปริมาณน้ำที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ล่าสุดเหลือเพียงร้อยละ 39 หรือ 568 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณเก็บกัก (ปกติ)1,430 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะส่งผลถึงความเสี่ยงกับเกษตรกรในพื้นที่ชลประทานด้วย เนื่องจากปีนี้ข้าวมีราคาดี เกษตรกรจึงลงทุนปลูกข้าวนาปรังเพิ่มอีก 60,000 ไร่ เป็น 260,000 ไร่ จากเดิมทุกปีเพาะปลูกเพียง 200,000 ไร่ นอกจากนี้ เขื่อนยังต้องส่งน้ำให้กับเกษตรกรที่ปลูกพืชไร่และพืชส่วน รวมถึงบ่อปลาและบ่อกุ้งอีกเกือบ 10,000 ไร่ ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหารุนแรงขึ้น เกษตรกรควรงดการปลูกข้าวนาปรังเพิ่มและให้ทุกฝ่ายช่วยกันประหยัดการใช้น้ำ.-สำนักข่าวไทย

 

 

 

 

 

คำว่า น้ำในเขื่อน มีปริมาตรวิกฤตินั้นคือ ปริมาตรน้ในเขื่อนเหลือน้อยกว่า ๓๐% ของ ปริมาตรเก็บกักสูงสุด = ๕๖๘x๑๐๐/๒๕๑๐ = ๒๒.๖๓% เท่านั้น แสดงว่าปริมาตรน้ำวิกฤติแล้วครับ จึงไม่มีน้ำที่จะจ่ายให้แก่เกษตรกร/ชาวนาได้ คือไม่มีน้ำนั่นเอง และที่ว่า

เกษตรกรจึงลงทุนปลูกข้าวนาปรังเพิ่มอีก 60,000 ไร่ เป็น260,000 ไร่ จากเดิมทุกปีเพาะปลูกเพียง 200,000 ไร่ ตัวเลขพื้นที่ปลูกข้าวนารังเพิ่มขึ้นอีก ๖๐.๐๐๐ ไร่นั้น เป็นพื้นที่อยู่ในภาคไหน? ผมคิดว่า เกษตรกร/ชาวนาอิสานคงจะไม่ฉลาดน้อยที่จะไปเพิ่มพื้นที่ทำนาปรังหรอกครับ พื้นที่ทำนาปรังที่เพิ่มขึ้นนั้น น่าจะอยู่ในภาคกลางมากกว่า ทั้งนี้ เพราะพื้นที่ทำการเกษตรที่เข้าถึงระบบชลประทานของรัฐ ๒๒% นั่นจะเป็นพื้นที่ในเขตชลประทานภาคกลางเสียเป็นส่วนใหญ่ครับ ผมยังไม่สามารถค้นหาตัวเลขพื้นที่เข้าถึงระบบชลประทานของรัฐว่ามีจำนวนเท่าไดในพื้นที่ภาคอิสานครับ. ผมคิดว่าน่าที่จะมีการทำวิจัยในมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคอิสาน ว่า เขื่อนต่างๆในภาคอิสานนั้น สามารถเก็บกักน้ำได้รวมเป็นจำนวนเท่าได/ปี และสามารถบริการน้ำให้แก้ไร่นาเกษตรกร/ชาวนาได้จริง

และเทียบกับที่ออกแบบไว้เป็นจำนวนเท่าได? และคิดเป็น % ได้เท่าได? งบประมาณที่ลงทุนไปแล้วเป็นจำนวนกี่แสนล้าน คุ้มทุนหรือไม่? อย่างไร? สมควรที่จะรวมหน่วยงานที่ดูแลน้ำมาไว้รามกันได้หรือยัง ไม่ใช่ต่างคนต่างทำเพื่อดึงเงินงบประมาณไปลงทุนโดยไม่คุ้มค่าอีกต่อไปครับ.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




Windows Live: Keep your friends up to date with what you do online. Find out more.

Windows Live: Keep your friends up to date with what you do online. Find out more.

2 ความคิดเห็น:

โจ้ kkn กล่าวว่า...

น่ากลัวจริงไ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จากผู้เขียน.
เรียนคุณโจ้ kkn.ที่นับถือ.อะไร?ที่เราไม่เคยรู้/หรือไม่เคยเห็น เราก็จะไม่กลัว ใชไม่ใช่? เช่นเหตุการณ์ ทสึนามิ เป็นต้น.ทั้งสองเขื่อนซึ่งมีขนาดต่างกันเกือบ ๑๐ เท่า คือเขื่อน ลำปาว (ปริมาตรเก็บกักสูงสุด ๒๕๑๐ ล้าน ลบ.ม.)อยู่ในเขตอำเภอสหัสขันธ์, อำเภอคำม่วง, อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ส่งผลกระทบน้ำท่วมลงไปถึง อำเภอฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ อำเภอธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด และในอีกหลายอำเภอที่อยู่บนริมฝั่งแม่น้ำชี. และเขื่อน ลำพระเพลิง (ปริมาตรเก็บกักสูงสุด ๒๑๕ ล้าน ลบ.ม.)อยู่ในเขตอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา นอกจากส่งผลกระทบน้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรมใต้เขื่อนแล้งยังไหลเลยลงไปท่วมถึง พื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำใน ๙ เขตตำบล ใน เขต ๑๒ ตำบลของอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาอีกด้วยครับ. และที่น่ากลัวยิ่งกว่าก็คือการออกแบบปรับปรุงสันเขื่อน(ด้วยความโลภ) เขื่อนทั้งสองจะสามารถเก็บกักน้ำได้ตามี่ออกแบบไว้หรือไม่?และที่ผมทำนายไว้นั้นให้ย้อนกลับไปดูกราฟที่ผมนำขึ้นไว้เมื่อวันอังคารที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๒ (กันยายน.1,2009 กราฟจะลิ้งเว็บและเป็นปัจจุบันตลอด มุมขวาบนอสดงปริมาตรน้ำในเขื่อนลำปาว ๗๓% เป็นปริมาณน้ำ ๑,๐๔๔ ล้าน ลบ.ม. เขื่อนจะยังเก็บกักน้ำได้อีกเพียง = ๑,๓๖๐ - ๑,๐๔๔ = ๓๑๖ ล้าน ลบ.ม.และดูกราฟน้ำสีเขียว ปี ๒๕๕๐ ระยะเวลาเพียง ๑๐ - ๑๕ วันจะมีน้ำไหลลงเขื่อนถึง = ๑,๗๐๐-๑,๓๒๐ = ๓๘๐ ล้าน ลบ.ม.คุณจะเห็นได้ว่า คำทำนายของผมจะเป็นจริง ครับ.ส่วนค่าเสรยหายมหาศาลนั้นผมไม้สามารถประมาณการได้ครับ./From:msuriyamas@hotmail.com

แสดงความคิดเห็น