ย้อนรอยเขื่อน ลำนางรอง บ้านฌนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ มาให้อ่านกันอีกครั้งหนึ่งครับ.

on วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

 
เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
        วันนี้ผมขออนุญาตินำข้อมูลเขื่อน "ลำนางรอง" และข้อมูลเขื่อน "ลำนางรอง" เพิ่มเติม มาให้อ่านกันอีกครั้ง พร้อมกราฟน้ำไหลลงเขื่อน เพื่อให้เข้ากับเหตุการ ฝนตกหนักในพื้นที่ ๑๔ จังหวัดในภาคอีสาน และการที่ ชลประทานจังหวัดบุรีรัมย์ได้ออกมาเตือนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาในจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อพี่น้องจะได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารได้ครบถ้วนและรอบด้านครับ.
 
                 ด้วยจิตรคารวะ
 
         ประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗
 
 
 
 
 
 
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ข้อมูลเขื่อน ลำนางรอง เพื่อเป็นข้อมูลแก่พี่น้องเกษตรกร/ชาวนา.

on วันศุกร์, กรกฎาคม 10, 2009
 
เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาที่นับถือ.
 
               ตามที่ผมได้นำเสนอโครงการแก้มลิง ตามแนวพระราชดำริ เพื่อใช้แก้ไขปัญหาน้ำท่วมไร่นา
 
ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมไร่นาอันเกิดจากสภาพเสื่อมโทรมของเขื่อน ลำปาว เขื่อน ลำพระเพลิง ทำให้
 
ไม่สามารถเก็บกักน้ำที่ไหลลงเขื่อนประจำปีได้เท่าที่ควร (และปริมารฝนตก/ปีเปลี่ยนแปลงไปไม่มาก)
 
                ผมได้ติดตามข่าวและพบว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะลงไปตรวจราชการที่
 
จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขื่อน ลำนาวรอง ที่ถูกลืมครับ จึงได้เข้าไปค้นข้อมูล และพบว่า มีลักษณะ
 
คล้ายเขื่อนทั้งสองดังกล่าว น่าจะส่งผลกระทบเช่นเดีนวกัน มีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้ครับ.
 
     ๑.) ประสิทธิภาพของเขื่อน ลำปาว (แก้ไขล่าสุด)     = ๑,๔๓๐x๑๐๐/๒๕๑๐ = ๕๖.๙๗%
 
     ๒.) ประสิทธิภาพเขื่อน ลำพระเพลิง(แก้ไขล่าสุด)    =    ๑๑๐x๑๐๐/๒๔๒   = ๔๕.๔๕%
 
     ๓.) ประสิทธิภาพเขื่อน ลำนางรอง (แก้ไขล่าสุด)     =    ๑๒๑x๑๐๐/๑๘๒   = ๖๖.๔๘%
 
                 เขื่อน ลำนางรองมีปริมาณน้ำต้นปีดังต่อไปนี้.-
 
     ๑.) ปริมาณน้ำต้นปี ๒๕๔๖                            =      ๔๒       ล้าน ลบ.ม.
 
     ๒.) ปริมาณน้ำต้นปี ๒๕๔๗                            =      ๔๔      ล้าน ลบ.ม.
 
     ๓.) ปริมาณน้ำต้นปี ๒๕๔๘                            =      ๖๒       ล้าน ลบ.ม.
 
     ๔.) ปริมาณน้ำต้นปี ๒๕๔๙                            =      ๔๔.๗๗ ล้าน ลบ.ม.
 
     ๕.) ปริมาณน้ำต้นปี ๒๕๕๐                            =      ๔๑.๕๐  ล้าน ลบ.ม.
 
     ๖.) ปริมาณน้ำต้นปี ๒๕๕๑                            =       ๔๕      ล้าน ลบ.ม.
 
     ๗.) ปริมาณน้ำต้นปี ๒๕๕๒                           =        ๗๖      ล้าน ลบ.ม.
 
                          ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำต้นปี           =       ๓๕๔.๒๗/๗  =  ๕๐.๖๑  น ลบ.ม.
 
           เพราะฉะนั้น ประสิทธิภาพการให้บริการน้ำของเขื่อน ลำนางรอง เหลืออยู่เพียง.-
 
                                                              =         ๕๐.๖๑x๑๐๐/๑๘๒  = ๒๗.๘๑% เท่านั้นครับ.
 
            เกิดอะไร? ขึ้นกับเขื่อน ลำนางรองนี้ครับ หรือว่า เขาถูกลืมไปแล้ว เพราะยังมีข้อมูลน้ำฝนเฉลี่ยบริเวณพื้นที่
 
            จังหวัดขอนแก่นปี ๒๕๔๖                         =        ๑,๔๖๗.๔๐ มม.
 
                             ปี ๒๕๔๗                        =        ๑,๒๒๑.๘๐  มม.
 
            จังหวัดร้อยเอ็ด  ปี ๒๕๔๖                        =        ๑,๔๑๗.๖๐  มม.
 
                              ปี ๒๕๔๗                       =        ๑,๔๕๕.๘๐ มม.
 
             จังหวัดสุรินทร์   ปี ๒๕๔๖                       =        ๑.๖๒๘.๒๐  มม.
 
                               ปี ๒๕๔๗                      =        ๑,๕๔๔.๕๐ มม.
 
             จังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๔๖                    =          ๙๓๓.๐๐  มม.
 
                                  ปี ๒๕๔๗                   =          ๙๘๐.๐๐  มม.
 
             ดูจากปริมาณน้ำฝนปี ๒๕๔๖, และปี ๒๕๔๗ แล้ว เหตุที่เขื่อนมีปริมาณน้ำต้นปีน้อนฃยนั้น ไม่น่าจะเกิดจาก
 
             ปริมาณน้ำฝน  แล้วถ้าเป็นเช่นนั้น แล้วเกิดจากอะไร? ครับ ? สภาพเขื่อน. การบริหารจัดการน้ำ.
 
                                   จึงเรียนมาเพื่อพี่น้องจะได้นำเรียน คุณอภิสิทธิ์ ฯ นายกรัฐมนตรีเพื่อทราบด้วยครับ.
 
                                                     นับถือ.
 
                                              ประชุม สุริยามาศ.
 
 
 
 
 

ข้อมูลเพิ่มเติม เขื่อน ลำนางรอง ตามแนวพระราชดำริ.

on วันเสาร์, กรกฎาคม 11, 2009

เรื่อง การแก้ปัญหาน้ำคือการแก้ปัญหาความยากจนฃองพี่น้องเกษตรกร/
 
      ชาวนาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศต่อ.
 
เรียนคุณอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี.
 
      ตามที่ผมในนามประชาชนคนหนึ่งของภาคอีสานตอนใต้ ได้นำเสนอ
 
ข้อมูลที่น่าสนใจของเขื่อน ลำนางรองไปแล้วนั้น ผมขออนุญาตินำเสนอเพิ่ม
 
เติมประวัติ และแนวพระราชดำริในการก่อส้รางเขื่อน ลำนางรองเพื่อมเติม
 
พร้อมข้อมูล จำเพาะดังต่อไปนี้ครับ.-
 
    
 

โครงการเขื่อนลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
 

พิมพ์ อีเมล
ที่ตั้ง  ตำบลโนนดินแดง  อำเภอโนนดินแดง  จังหวัดบุรีรัมย์  หน่วยงานที่
 
รับผิดชอบ  คือ  โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำนางรอง  สำนักชล
 
ประทานที่  8

ประวัติ
 
             ตั้งแต่พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา บริเวณพื้นที่อำเภอโนนดินแดง
 
อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ผกค. ได้ขัดขวางการพัฒนาทุกรูป
 
แบบ มีการต่อสู้ที่รุนแรงในพื้นที่มีการปล้นสะดมตามแนวชายแดนไทย
 
กัมพูชา ราษฎรไม่สามารถออกไปทำกินนอกหมู่บ้านได้ ความรุนแรงของ
 
สถานการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุให้ ราษฎรที่กระจายกันทำกินอยู่ทั่วพื้นที่
 
อพยพเข้ามาอยู่ในบ้านโนนดินแดง ตำบลโนนดินแดง ก่อให้เกิดปัญหา
 
ความแออัดอดอยากทุกข์ยากแสนสาหัส ความได้ทรงทราบถึงพระบาท
 
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เมื่อวันที่ 11 และ 31 ตุลาคม 2521 ได้มีพระบรม
 
ราชโองการโปรดเกล้าให้อธิบดีกรมชลประทานเข้าเฝ้าเพื่อรับพระราช
 
ดำริเกี่ยวกับการพัฒนาลุ่มน้ำลำนางรองโดยทรงให้พิจารณาสร้าง เขื่อนลำ
 
นางรอง อ่างฯ คลองมะนาว อ่างฯ ลำปะเทีย อ่างฯ ลำจังหัน พร้อมสร้าง
 
ระบบส่งน้ำ อาคารประกอบ
 
วัตถุประสงค์

             เพื่อการเกษตรและอุปโภค-บริโภค

สภาพทั่วไป 

          สร้างปิดกั้นลำนางรองที่บ้านโนนดินแดง ตำบลโนนดินแดง อำเภอ
 
โนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ลักษณะเป็นเขื่อนดินสูง 23 เมตร ยาว 1,500
 
 เมตร สันเขื่อนกว้าง 8 เมตร กักเก็บน้ำได้ 121.414 ล้านลูกบาศก์เมตร
 
 พร้อมด้วยอาคารประกอบทางระบายน้ำล้นและท่อระบายน้ำปากคลองส่ง
 
น้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย และฝั่งขวา

ระบบส่งน้ำ ประกอบด้วยคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้ายและฝั่งขวา เป็น

 
คลองดาดคอนกรีต จำนวน 2 สาย รวมความยาว 90.431 กิโลเมตร
 
พร้อมด้วยคลองส่งน้ำสายซอยและแยกซอยเป็นคลองดาดคอนกรีต
 
จำนวน 22 สาย ความยาวรวม 74.359 กิโลเมตร และอาคารประกอบรวม
 
179 แห่ง นอกจากนี้แล้วยังมีพื้นที่ที่จัดรูปที่ดินสมบูรณ์แบบแล้ว จำนวน
 
 446 ไร่ มีคูส่งน้ำจำนวน 20 สาย ความยาวรวม 7.428 กิโลเมตร คูระบาย
 
น้ำจำนวน 25 สาย ความยาวรวม 8.110 กิโลเมตร และอาคารประกอบ
 
รวม 917 แห่ง และยังมีพื้นที่คันคูน้ำจำนวน 54,254 ไร่ ประกอบด้วยคูส่ง
 
น้ำ 266 สาย ความยาวรวม 361.775 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 48 หมู่
 
บ้าน 8 ตำบล 5 อำเภอ คือ อำเภอโนนดินแดง ละหานทราย ปะคำ
 
นางรอง และเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 68,410 ไร่ ครัวเรือนรับประโยชน์
 
 7,471 ครัวเรือน
 
ระยะเวลาดำเนินการ

ก่อสร้างตัวเขื่อนและอาคารประกอบระหว่าง พ.ศ. 2523 - 2525

ก่อสร้างระบบส่งน้ำระหว่าง พ.ศ. 2528 - 2534 ราคาค่าก่อสร้าง 107.000
 
 ล้านบาท
 
ประโยชน์ที่ได้รับ

ความจุน้ำเก็บกัก 121 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ชลประทาน 68,410 ไร่
 
ผลการดำเนินงาน

พื้นที่รับน้ำฝนเหนือที่ตั้งเขื่อน  450  ตารางกิโลเมตร

ปริมาณฝนเฉลี่ยปีละ 1,200 มม.
 
ระดับท้องน้ำหัวงาน +220.40 ม.(รทก.)

ปริมาณน้ำไหลในลำน้ำบริเวณที่ตั้งเขื่อน ลบ.ม./วินาที
 
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเฉลี่ยปีละ 41.077 ล้าน ลบ.ม.
 
พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับสูงสุด 25,700,000 ตารางเมตร

พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับเก็บกัก 21,100,000 ตารางเมตร
 
พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับต่ำสุด 1,900,000 ตารางเมตร

ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับน้ำสูงสุด 196.67 ล้าน ลบ.ม.
 
ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับน้ำเก็บกัก 121.414 ล้าน ลบ.ม
.
ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับน้ำต่ำสุด 3.452 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำใช้งาน

 
117.962 ล้าน ลบ.ม.
 
อายุการใช้งานของเขื่อน 100 ปี
 
ความจุของตะกอน 3.452 ล้าน ลบ.ม.
 
เขื่อน

เขื่อนประเภท เขื่อนดิน
 
ความสูงของเขื่อน 23 เมตร

ความยาวของเขื่อน 1,500 เมตร

ความกว้างสันเขื่อน 8.00 เมตร

ความกว้างฐานเขื่อนที่ระดับท้องน้ำ 162 เมตร

ลาดหน้าเขื่อน 1:3
 
ลาดท้ายเขื่อน 1:2.5

ระดับสันเขื่อน +244.00 ม.(รทก.)

ระดับน้ำสูงสุด +242.50 ม.(รทก.)

ระดับน้ำเก็บกัก +240.00 ม.(รทก.)

ระดับน้ำเก็บกักต่ำสุด +229.00 ม.(รทก.)

ปริมาตรวัสดุถมตัวเขื่อน ล้าน ลบ.ม.

Return Period 100 ปี
 
ความจุน้ำเก็บกัก 121 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ชลประทาน 68,410 ไร่
 
 ผมมีข้อสังเกตุดังนี้ .-
 
          ประสนิทธิภาพของเขื่อนลำนางรองนั้นในปัจจุบันเหลืออยู่เท่าไ
 
         คลองส่งน้ำหลักดาดคอนกรีต ทั้งฝั่งขวาและฝั่งซ้ายรวม ๙๐ กม.
 
เศษนั้นเหลือ ใช้งานได้อยู่กี่ %
 
         คลองซอยและคลองย่อยดาดคอนกรีต. รวมความยาว ๗๐ กม.
 
 เศษนั้น เหลือใช้งานได้อยู่กี่%
 
         และถ้าคลองหลัก คลองซอยและคลองย่อยยังดีอยู่ แล้ว จะไป
 
 เอาน้ำต้นทุนที่ไหนมาส่งให้แก่พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาในพื้นที่ถึง
 
๖๘,๐๐๐ ไร่ เศษ ทั้งนี้เพราะมีข้อมูลว่า ปริมาณน้ำต้นปีในเขื่อนลำ
 
นางรองนั้นมีปริมาณเฉลี่ยอยู่เพียง ๕๐ ล้าน ลบ.ม.เศษ เท่านั้นเอง
 
ซึ่งก็เป็นเช่นนี้มาตั้งนานกว่า ๗ ปีแล้วนะครับ.
 
           จึงเรียนมาเพื่อได้โปรดทราบและดำเนินการ.
 
                         ขอแสดงความนับถือ.
 
                    ประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗.
 
 
 
 
 



Insert movie times and more without leaving Hotmail®. See how.

3 ความคิดเห็น:

วิชุดา กล่าวว่า...
http://www.isarngointer.org/webboard/showthread.php?t=367

เคยมีความทรงจำดีๆที่เขื่อนลำนางรองเมื่อหลายปีก่อน
ไม่นึกว่าเขื่อนจะไร้การเหลียวแลเช่นนี้

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ
ทางรัฐบาลน่าจะสนใจข้อมูลนี้บ้างนะคะ
ประชุม สุริยามาศ กล่าวว่า...
เรียนคุณวิชชุดา ฯทราบ

ผมได้ชมรายการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกรายการ เพื่อค้นหาพื้นที่ ทำเป็นแก้มลิงเพื่อป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ผมประทับใจมากครับ จึงได้น้อมนำแนวพระราชดำริโครงการแก้มลิงไปประยุกต์ใช้ในการขุดเป็นสระเก็บกับน้ำ สำหรับแปลงนาที่ถูกผลกระทบน้ำท่วมสูง ๑.๒๐ เมตร และท่วมเป็นเวลานานจนไม่สามารถทำกินได้ ครอบครัวเกษตรกรมีกัน ๓ คนมีที่นาทำกินเพียง ๕ ไร่เศษ ลองเข้าไปชมนะครับ
เผื่อว่า เกษตรกร/ชาวนาที่อยู่ใต้เขื่อนลำนางรองถูกน้ำท่วมเช่นเดียวกัน จะได้นำไปปรับใช้ครับ. เว็บที่

http://msuriyamas.blogspot.com/2009/06/fw_20.html?showComment=1245580067464#c97905123407556063
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...
ให้กำลังใจลุงในการทำงานนะครับ


Bing™ brings you maps, menus, and reviews organized in one place. Try it now.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น