พัฒนาเพื่อเกษตรกรจัดรูปที่ดิน "สกัดต่างชาติยึด"...!!!

on วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

 
เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
       ผมอ่านเจอข่าวนี้  เลยขออนุญาติ "ห้ามพี่น้องเกษตรกร/ชาวนา" ขายที่ดินอย่างเด็ดขาดนะครับ หนี้สอนทร์ที่มี ค่อยๆคิดค่อยๆทำตามแนวพระราชดำริ "เศรษฐกิจพอเพียง" และน้อมนำเกษตรกรรม "ทฤษฎีใหม่" มาปรับใช้ ไม่นานครับ พวกเราก็จะสามารถแก้ปัญหาหนี้สอนทร์ได้ครับ ขอเพียง เราสู้ อดทน และอยู่อย่างพอเพียงครับ. พวกเราสามารถเข้าไปเลือกอ่านได้ในเว็บบล็อกนี้ครับ ๑.) ปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" และ ๒.) "ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับน้ำ" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลย์เดช มหาราช ของปวงชนชาวไทย ครับ.
 
                     ด้วยจิตรคารวะ
 
            ประชุม สุริยามาศ.วย.๗๗๗
 
พัฒนาเพื่อเกษตรกรจัดรูปที่ดิน
"คือการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกในระดับไร่น่า โดยเน้นเรื่องน้ำเป็นประการสำคัญ เพื่อให้ทุกแปลงที่เพาะปลูกได้รับน้ำชลประทานโดยทั่วถึง และมีทางลำเลียง หรือถนนเข้าถึงทุกแปลง ปรับปรุงพื้นที่เพาะปลูกเพื่อให้ใช้น้ำทำประโยชน์ได้สูงสุด โดย การจัดรูปร่าง หรือโยกย้ายแปลงเพาะปลูกเดิมเสียใหม่"
   
นี่เป็นหลักของการ "จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม"
   
และล่าสุดก็กำลังมีการขยายพื้นที่การดำเนินการ...
   
เมื่อเร็ว ๆ นี้ทีม "สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์" ร่วมคณะสื่อมวลชนสัญจรไปดูกิจกรรม "รอยยิ้มเกษตรกรไทย ในพื้นที่จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม" ของสำนักงานจัดรูปที่ดินกลาง กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มี การดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
   
ทั้งนี้ จรัญ ภูขาว ผู้อำนวยการสำนักงานจัดรูปที่ดินกลาง ระบุว่า... "การจัดรูปที่ดิน" นั้น เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 โดยแนวทางมาจากประเทศญี่ปุ่น และไต้หวัน ซึ่งเป็นประเทศแนวหน้าเรื่องการจัดรูปที่ดิน
   
สำหรับในประเทศไทย จากพื้นที่ชลประทานทั่วประเทศกว่า 24 ล้านไร่ ได้มีการจัดรูปที่ดินไปแล้ว 1.856 ล้านไร่ ใน 27 จังหวัด ซึ่งแบ่งเป็นประเภท พัฒนาสมบูรณ์แบบ (Intensive model) 587,500 ไร่ หรือ 31.65% คือการพัฒนาโดยการจัดรูปแปลงใหม่ เนื่องจากรูปแปลงเดิมไม่เหมาะสม และไม่เป็นระเบียบ
   
ประเภทนี้ก็จะจัดให้มีคูส่งน้ำ คูระบายน้ำ ถนน หรือทางลำเลียงมีลักษณะเป็นแนวทางตรงผ่านทุกแปลง รวมถึงอาจจะมีการปรับระดับดินให้เกษตรกรใหม่ ตามที่จำเป็น
   
อีกประเภทคือ พัฒนาบางส่วน (Extensive model) จำนวน 1,268,500 ไร่ หรือ 68.35% คือการพัฒนาโดยการก่อสร้างคูส่งน้ำ ถนน หรือทางลำเลียงลัดเลาะไปตามแนวขอบเขตแปลงเดิมโดยไม่มีการจัดรูปแปลงใหม่ เนื่องจากรูปแปลงเดิมมีความเหมาะสม เป็นระเบียบดีอยู่แล้ว และไม่มีการปรับระดับดิน
   
"การจัดรูปที่ดินเป็นการปูพื้นฐานชีวิตให้กับเกษตรกร โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะได้ระบบคูส่งน้ำ ระบบชลประทานที่รับ-ระบายน้ำในแปลงเพาะปลูกตามที่ต้องการ ซึ่งหมายถึงปลูกพืช ในฤดูแล้งได้ รวมไปถึงถนนที่สามารถลำเลียงวัสดุการเกษตร และขนส่งผลผลิตจากแปลงออกสู่ตลาดได้อย่างสะดวก ซึ่งสามารถลดต้นทุนของเกษตรกร ที่สำคัญคือทำให้ที่ดินมีคุณค่า เพราะมีระบบชลประทาน และระบบคมนาคม" ...ผู้อำนวยการสำนักงานจัดรูปที่ดินกลางระบุ
   
พร้อมทั้งบอกต่อไปว่า... ทางสำนักงานฯ กำลังพยายามจะขยายงานจัดรูปที่ดินให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะเป็นอีกงานของ การบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้ระบบชลประทานมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดรูปที่ดินนี้ "เป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นทาง ในเรื่องการขายที่ดินให้นายทุน หรือการกว้านซื้อที่ดินของนายทุน"
   
เพราะพื้นที่เกษตรกรรมที่มีระบบชลประทานและมีระบบขนส่งที่ดี ที่ดินก็จะมีราคา ซึ่งเจ้าของที่ดินจะหวงแหน เพราะทำมาหากินได้ดี และเหตุผลอีกประการหนึ่งคือเกษตรกรที่เข้าสู่ระบบการจัดรูปที่ดินแล้ว หากมีการซื้อขายที่ดินให้กับนายทุน หรือมีนายทุนกว้าน ซื้อที่ดิน ก็สามารถจะตรวจสอบที่ต้นทางได้ทันที ก่อนที่จะมีการโอนกัน โดยปัจจุบันนี้สำหรับพื้นที่ที่มีการจัดรูปที่ดินยังไม่พบการขายให้นายทุนหรือถูกนายทุนกว้านซื้อ
   
สำหรับเงื่อนไขของเกษตรกรที่จะเข้าร่วมการจัดรูปที่ดินนั้น ผอ.จรัญแจกแจงว่า... ต้องสละที่ดินส่วนหนึ่ง เพื่อใช้ในการก่อสร้าง ถนน คูส่งน้ำ คูระบายน้ำ แต่ก็ไม่เกิน 7% ของที่ดินเดิมก่อนจัดรูปที่ดิน, ต้องช่วยกันออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างถนน คูส่งน้ำ คูระบาย น้ำ แต่ก็ไม่เกิน 20% ของราคาค่าก่อสร้าง, ต้องร่วมกันรับภาระในการ ซ่อมแซม และบำรุงรักษาคูส่งน้ำ คูระบายน้ำ และถนนที่สร้างขึ้น แต่ ก็จะได้ประโยชน์ที่ยั่งยืน
   
"การจัดรูปที่ดิน" เพื่อเกษตรกรรม เป็นการพัฒนาที่ดินไร่นาที่เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สามารถทำการ เพาะปลูกได้สะดวกมากขึ้น และมีประสิทธิภาพในการผลิตมากขึ้น
   
ในขณะที่ "การปฏิรูปที่ดิน" จะเป็นอีกรูปแบบ คือต้องการกระจายสิทธิการถือครองที่ดินให้เหมาะสม โดยแบ่งจากผู้ที่ไม่ใช้ที่ดิน ทำการเกษตรด้วยตนเอง หรือจากผู้มีที่ดินเกินความจำเป็น ไปให้ เกษตรกรผู้เช่า ผู้ไร้ที่ทำกิน หรือมีที่ดินน้อยไม่เพียงพอแก่การทำกิน เพื่อให้เกษตรกรมีที่ดินเป็นของตนเอง หรือเป็นของกลุ่มสหกรณ์ หรือ กลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ แต่ถ้าที่ดินดังกล่าวนั้นยังมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะ ทำการเพาะปลูกได้ดีเท่าที่ควร ก็สามารถดำเนินการปรับปรุงหรือพัฒนา ให้ดีขึ้นได้ตามความเหมาะสม
   
"การจัดรูปที่ดินนี้ ดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 ซึ่งจะมีการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ที่สนับสนุนเกษตรกรในโครงการด้วย อาทิ ด้านการเกษตร การสหกรณ์".... ผอ.จรัญ ระบุ
"จัดรูปที่ดิน" ช่วยเกษตรกร-สกัดต่างชาติฮุบที่ดินไทย
   
เป็นอีกการดำเนินการทางภาคเกษตรของไทยที่สำคัญ
   
หากมีการทำทั่วถึงทุกพื้นที่ทางการเกษตร...ก็คงจะดี !!.
 



Hotmail® has ever-growing storage! Don't worry about storage limits. Check it out.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น