ข้อมูลการปรับปรุงเขื่อน ลำปาว ที่พอจะหาได้.

on วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
     ผมขอนำเสนอข้อมูลเขื่อนลำปาวจากข่าวอีกด้านหนึ่งจาหหนังสือพิมพฺผู้จัดการรายวันเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๘ ก่อนนะครับ.
 
ข่าวจากผู้จัดการรายวันประมาณเดือนตุลาคม ๒๕๔๘.
 
ชาวบ้านค้านโครงการ3พันล้าน.เขื่อนลำปาว หวั่นน้ำท่วมหนัก-จี้ศึกษา
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม.
 
ศูนย์ข่าวขอนแก่น.- แกนนำเครือข่ายลุ่มน้ำชี แถลงค้านโครงการขยายสันเขื่อนลำปาวแก้ปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วมผลจากมติครม.สัญจร 4ตุลาคม 2548 ชี้งบกว่า 3 พันล้านบาทที่ใช้ขยายสันเขื่อนจะสูญเปล่า ทั้งปัญหาน้ำท่วมจะหนักกว่าเดิม เสนอรัฐชะลอโครงการฯพร้อมศึกษาผลกระทบรอบด้าน.
 
วานนี้ (๑๐ ตุลาคม) สำนักงานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)ภาคอีสาน จ.ขอนแก่น ตัวแทนเครือข่ายลุ่มน้ำชี ได้เปิดแถลงข่าว กรณีย์ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร(ครม.) ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ที่ได้เห็นชอบอนุมัติงบประมาณ ๓,๐๐๐ ล้านบาท. เพื่อก่อสร้างเสริมสันเขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ ขยายให้สูงขึ้นจากเดิมสามารถเก็บกักน้ำได้ ๑,๔๓๐ ล้าน ลบ.ม. เพิ่มเป็น ๑,๙๐๐ ล้าน ลบ.ม.
 
มติดังกล่าว สมาชิกเครือข่ายลุ่มน้ำชีหลายจังหวัด ซึ่งอาศัยอยู่ใต้เขื่อนลำปาวไม่เห็นด้วยเพราะวิตกว่าการขยายสันเขื่อนเพิ่มการกักเก็บน้ำจะยิ่งทำให้ชุมชนที่อยู่เหนือและใต้เขื่อนลำปาว ได้รับผลกระทบน้ำท่วมหนักยื่งขึ้น
 
นายบุญทอง สดวก ผู้ประสานงานสมาชิกเครือข่ายลุ่มน้ำชีกล่าวว่าการเสริมสันเขื่อนลำปาวตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ด้วยงบสูงถึง 3 พันล้านบาทด้วยข้ออ้างต้องการกักเก็บน้ำให้ได้ปริมาณเพิ่มมากขึ้น รองรับการใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคให้กับเกษตรกรได้อย่างเพียงพอ ไม่เกิดปัญหาแล้งอีกต่อไป ได้สร้างความวิตกกังวลต่อเกษตรกรที่อยู่เหนือเขื่อนและใต้เขื่อนลำปาวเป็นอย่างมาก
 
โดยเฉพาะพื้นที่ทำการเกษตรเหนือเขื่อนบริเวณอำเภอหนองหาน กุมภวาปี จ.อุดรธานีและพื้นที่ใต้เขื่อน บริเวณลุ่มน้ำชี ครอบคลุมหลายพื้นที่ ทั้งจังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ยโสธร งเป็นพื้นที่ราบลุ่มและรองรับน้ำอยู่แล้ว ต่างเห็นพ้องกันว่าการเสริมสันเขื่อนลำปาว อาจจะไม่ใช่แนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมและน้ำแล้งอย่างเป็นระบบตามที่กล่าวอ้าง. ขณะเดียวกัน กลับจะเป็นการเพิ่มปัญหาในเรื่องน้ำท่วม ในบริเวณพื้นที่การเกษตรทั้งเหนือเขื่อนและใต้เขื่อนมากขึ้นกว่าเดิม ไม่ต่างจากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลกระทบจากการดำเนินโครงการโขง ชี มูล ได้บทสรุปว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งได้
 
นายบุญทองฯ กล่าวว่า นอกจากนี้ชาวบ้านยังวืตกว่าระหว่างการก่อสร้างเสริมสันเขื่อนลำปาวอาจจะทำให้โครงสร้างของเขื่อนเดิมเกิดชำรุดและเขื่อนอาจพังทะลาย เนื่องจากสภาพเขื่อนปัจจุบันมีรอยร้าวรอยรั่วมากกว่า ๓๐ จุด.
 
ด้านนายสุข เจริญอาจ แกนนำจากกิ่งอำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า หากมีการขยายสันเขื่อนเพิ่มขึ้นอีก เชื่อว่าพื้นที่ด้านใต้เขื่อนลำปาว จะต้องมีปัญหาท่วมหนักยิ่งกว่าเดิมเป็นการเพิ่มปัญหามากกว่าแก้ปัญหาให้ชาวบ้าน ควรจะศึกษากันให้รอบคอบก่อน ไม่อยากให้เกิดปัญหาซ้ำรอยกับโครงการโขง ชี มูล ทุกวันนี้พวกตนอาศัยอยู่ในลุ่มน้ำชี เผชฺญปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากติดต่อกันมา 5 ปีแล้ว เพราะการสร้างเขื่อนกั้นน้ำจากโครงการโขง ชี มูล
 
นายสุขฯ ตั้งข้อสังเกตุว่าก่อนจะมีโครงการโขง ชี มูล ชาวไร่ ชาวนาลุ่มน้ำชีอย่างพวกตน มีวิถีชีวิตที่ไม่เดือดร้อน น้ำไม่เคยท่วม ไม่เคยแล้ง ทำนาได้เป็นปกติทุกปี น้ำชีเป็นอู่ข้าว อู่ปลา ที่หากินกันเท่าไหร่ ก็ไม่หมด แต่พอโครงการโขง ชี มูล วิถีชีวิตพวกตนเปลี่ยนไป ทุกปีในเดือนมิถุนายนจนถึงกันยายนเจอน้ำท่วมไร่นาเสียหายไม่มีข้าวกินต้องไปกู้ยืมเงินมาวื้อข้าวซื้อปลากิน สภาพความเป็นอยู่ลำบาก.
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการเปิดแถลงข่าวไม่เห็นด้วยกับโครงการเสริมสันเขื่อนลำปาวของรัฐบาลของเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีครั้งนี้ ได้ทำจดหมายเปิดผนึก เพื่อเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลใน 3ประเด็น ประกอบด้วย.
 
๑.) ให้รัฐชลอโครงการเสริมสันเขื่อนลำปาวออกไปก่อน เพิ่มตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งบริเวณเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อน โดยให้ชาวบ้านเข้าไปมีส่วนร่วมทุกกระบวนการ
 
๒.) ให้รัฐบาลทบทวนบทเรียนการจัดการน้ำที่ล้มเหลว และสร้างผลกระทบต่อชุมชน เช่น กรณีย์โครงการโขง ชี มูล เพราะภายหลังโครงการระยะที่ ๑ แล้วเสร็จได้ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่เกษตร ทั้งสองฝั่งแม่น้ำชี จนกลายเป็นปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากที่ติดต่อกันมานาน ๒-๓ เดือนต่อปี มีพื้นที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วม ๕ จังหวัดคือ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ดและ ยโสธร.
 
๓.) ให้รัฐตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ปัญหากรณีย์น้ำท่วม โดยให้มีภาคประชาชนและรัฐเข้าไปเป็นคณะทำงานในสัดส่วนที่เท่ากัน.
 
พี่น้องครับ ข่าวที่ผมได้นำเสนอไปเมื่อวานและข่าวที่ผมนำเสนอในวันนี้ มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง. ฉบับแรกไม่มีการวิเคราะห์เจาะลึกเพียงนำเสนอแบบ(กาคาบข่าวมาบอก) คือแหล่งข่าวว่าอย่างไรนำมาบอกต่ออย่างนั้น ไม่มีเหตุผลสนับสนุนเลยว่า ทำไม? ถึงต้องใช้งบประมาณถึง ๓,๐๐๐ ล้านบาท เพียงเพื่อนำมาเสริมสันเขื่อนให้สูงขึ้นอีก ๒ เมตรน้ำจะได้ไม่ไหลลงมาท่วมไร่นาของเกษตรกร/ชาวนา แถมยังบอกด้วยว่า ไม่ต้องเวณคืนที่ดินเพิ่ม เพราะได้เวณคืนไว้แล้ว.
 
ข้อเท็จจริงตรงนี้ก็คือ.-
 
> ดูภาพบนขวามือ เป็นภาพประตูระบายน้ำเดิม มีรายละเอียดดังนี้.-
 
>ระดับน้ำสูงสุด(ปิดประตูระบายทั้ง๓ บาน)อยู่ที่+ ๑๖๕.๗๐ เมตร (ร.ท.ก.)
 
>ปริมาตรเก็บกักสูงสุด                        =   ๒,๕๑๐    ล้าน ลบ.ม.
 
>ต่อมาลดปริมาตรเก็บกักสูงสุดลงเหลือเพียง =   ๒,๔๕๐   ล้าน ลบ.ม.
 
>ระดับน้ำเก็บกักปกติ (ดูภาพข้างล่าวขวามือ) + ๑๖๒.๐๐ เมตร (ร.ท.ก.)
 
>ปริมาตรเก็บกักปกติ                         =    ๑,๔๓๐   ล้าน ลบ.ม.
 
>ระดับสันฝายประตูระบายน้ำเดิม             + ๑๕๗.๐๐ เมตร (ร.ท.ก.)
 
>ดูภาพล่างลงมาเป็นอาคารระบายน้ำลันเดิม  จำนวน ๓ บาน อัตราการ
 
  ระบายน้ำสูงสุด ๑,๔๐๐ ลบ.ม./วินาฑี
 
>ดูภาพบนซ้ายมือเป็นภาพประตูระบายน้ำใหม่ มีรายละเอียดดังนี้.-
 
>ระดับเก็บกักสูงสุด (สูบลมเต็มเขื่อนยาง)  + ๑๖๕.๗๐ เมตร (ร.ท.ก.)
 
>ปริมาตรเก็บกักสูงสุดตามมติ ครม.ปี ๒๕๔๘ = ๑,๙๐๐ ล้าน ลบ.ม.
 
  เพิ่มระดับน้ำจากระดับเก็บกักปกติเดิม + ๒.๐๐ เมตร ระดับจะอยู่ที่ประมาณ
 
+๑๖๔.๐๐ เมตร (ร.ท.ก.)
 
  แต่ตามข่าวซึ่งผู้ว่าฯ กาฬสืนธุ์ บอกว่า เพิ่มขึ้นอีก ๓.๐๐ เมตรเป็นอยู่ที่ระดับ
 
 +๑๖๕.๐๐ เมตร (ร.ท.ก.) ซึ่งเกือบเท่ากับระดับเก็บกักน้ำสูงสุดเมื่อเริ่มสร้าง
 
  เสร็จใหม่ๆ ไม่น่าจะเป็นไปได้ครับ.(เขื่อนจะพัง) เพิ่มความแข็งแรงของตัว
 
  เขื่อนดินโดยเสริมความกว้างอีก ๖.๐๐ เมตรเท่านั้น และเขื่อนดินเดิมก็มีรอย
 
  รั่วซึมถึง ๓๐ จุดตามข่าว.
 
>ดูภาพล่างสุด จะเป็นอาคารระบายน้ำใหม่ มีประตูระบายจำนวน ๔ บาน
 
  อัตราระบายร้ำน่าจะเพิ่มมากขึ้นเป็นประมาณ ๑,๘๖๐ ลบ.ม./วินาฑี.
 
>ปริมาตรน้ำไหลลงเขื่อนเฉลี่ย/ปีตามข่าว = ๒,๐๐๐ ล้าน ลบ.ม./ปี
 
>ดูจากกราฟน้ำต่ำสุดปริมาณน้ำที่เหลือในเขื่อนเฉลี่ย ๔๐๐ ล้าน ลบ.ม.
 
>ปร้มาณน้ำรวมไหลลงเขื่อนก็จะยังคงสูงกว่าที่เขื่อนจะสามารถเก็บกักได้
 
  อยู่ถึง = ๒,๔๐๐ -  ๒,๒๐๐ = ๒๐๐ ล้าน ลบ.ม. ซึ่งก็จะต้องปล่อยทิ้งให้
 
 ไหลลงมาท่วมไร่นาเกษตรกร/ชาวนาอยู่ดีครับ.
 
          สถานะการณ์จะเป็นอย่างไร? คงจะต้องคอยดูกันเมื่อการปรับปรุง
 
เขื่อนก่อสร้างแล้วเสร็จนั่นแหละครับ.
 
                        ด้วยจิตรคารวะ
 
                  ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 
หมายเหตุ ผมเคยนำเสนอไปแล้วว่า การแก้ไขปัญหาเขื่อนรั่วซึมนี้ น่าที่จะขึ้นไปหาพื้นที่เหนือเขื่อนลำปาวขึ้นไปสัก ๒ เขื่อน และก่อสร้างเขื่อนขนาดเก็บกักน้ำให้ได้ประมาณเขื่อนละ ๔๐๐ - ๕๐๐ ล้าน ลบ.ม. ก็จะสามารถเก็บกักน้ำส่วนเกินไว้ได้ รวม ๘๐๐ - ๑,๐๐๐ ล้าน ลบม.อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าซ่อมเขื่อนเดิมให้แข็งแรง. ด้วยงบประมาณ ๓,๐๐๐ ล้านบาท/หรือขาดก็ไม่มากแต่เราจะแน่ใจได้ว่าจะกักเก็บน้ำไว้ได้จริงและยังเป็นการกระจายบริการน้ำได้อย่างกว้างขวางขึ้นอีกด้วยครับ.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


Hotmail® has ever-growing storage! Don't worry about storage limits. Check it out.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น