เขียนโดย
Prachoom
on
วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552
เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
ผมไม่ขอวิจารย์ครับ เพราะข้อมูลจากบทความนั้นมีครบถ้วนแล้ว
อย่างไรก็ตามผมขอเป็นกำลังใจให้นายสมศักดิ์ ทองบุญมา สู้ต่อไปนะครับ
อย่าไปยอมแพ้นะครับ ผมขออนุญาติแนะนำให้คุณสมศักดิ์ ฯลองศึกษา
ปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" โดยปรับเปลี่ยนแปลงปลูกยางที่ไถทิ้ง
นำมาทำเป็นแปลงเกษตร "ทฤษฎีใหม่" ครับ และข้อมูลต่างๆผมจะพยายามหา
ทางส่งมาให้นะครับในเร็ววันนี้.
ด้วยจิตรคารวะ
ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
ชาวนาแฉกล้ายางล้านไร่ รัฐบาลแม้วต้ม-ไถทิ้งทำนาต่อ |
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน | 28 กันยายน 2552 00:02 น. |
|
ปลูก 3 ปีต้นโตแค่นี้ สภาพต้นยางพาราจากโครงการยางพารา 1 ล้านไร่ ต้นเล็กมาก เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ถึง 3 นิ้ว | |
| | คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น | | | | | ศูนย์ข่าวขอนแก่น-โครงการปลูกยางล้านไร่ส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งไปทั่วประเทศ "ชาวนาโนนสัง" หนองบัวลำภูสุดช้ำ แฉโดน "รัฐบาลแม้ว" ต้มจนเปื่อย แถมกล้ายางพาราที่นำไปให้ก็ไร้คุณภาพ เผยเข้าร่วมโครงการฯ ปลูกยาง 14 ไร่ แค่ปีเศษก็เจอดี ต้นยางออกดอกถึงร้อยละ 90 จึงตัดสินใจไถทิ้งหันมาปลูกข้าวตามเดิม ครวญเสียทั้งเงิน-เวลา-ความรู้สึก จี้ต่อมสำนึกภาครัฐหากจะส่งเสริมต้องจริงใจ ตั้งข้อสังเกตโครงการนี้ทุจริตหรือไม่ โครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ตามนโยบายสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (พ.ศ.2547-2549) แบ่งพื้นที่ปลูกในภาคอีสาน 700,000 ไร่ และภาคเหนือ 300,000 ไร่ โดยมีบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ "ซีพี" เป็นผู้รับผิดชอบผลิตกล้ายางพาราให้กับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) นำไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ สำหรับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับความสนใจจากเกษตรกรอีสานสูงมาก เนื่องจากราคายางพาราที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์มากกว่ากิโลกรัมละ 90 บาท ในช่วงที่เริ่มเกิดโครงการนั้น เป็นแรงกระตุ้นและดึงดูดให้เกษตรกรสมัครเข้าร่วมจนล้นโครงการ พื้นที่ปลูกยางพาราคาน่าจะสูงกว่า 1 ล้านไร่ **แฉยางพารา 1 ล้านไร่ไร้ผล นายสมศักดิ์ ทองบุญมา อายุ 34 ปี และนางกัลยาณี ทองบุญมา อายุ 33 ปี สองสามีภรรยาชาวบ้านโนนสว่าง ต.โนนเมือง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู ซึ่งเป็นเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ เปิดเผยว่า โครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ สร้างความหวังให้คนอีสานสูงมากว่า จะสามารถพลิกฟื้นชีวิตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการเมื่อปี 2549 นำโฉนดที่ดินทำกินไปยื่นกับเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอโนนสัง จ.หนองบัวลำภู แจ้งว่า จะปลูกยางพาราทั้งสิ้น 14 ไร่ ทั้งที่ความรู้การปลูกยางพารา ไม่มีอยู่เลย แต่กระแสความนิยมในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ของคนอีสานที่จะนำพาคนอีสานให้อยู่ดีกินดี และราคายางขณะนั้นสูงมาก เป็นตัวชี้วัดได้ว่า การตัดสินใจเปลี่ยนมาปลูกยางพารา น่าจะประสบผลสำเร็จ การตัดสินใจมาปลูกยางพาราตามกระแสนิยมในครั้งนั้น ทางครอบครัวของตนได้ตัดสินใจนำเงินที่เก็บจากการไปทำงานในต่างประเทศ มาลงทุนเป็นค่าใช้จ่าย ปรับหน้าดินจากที่นาปลูกข้าวที่กำลังประสบปัญหาข้าวราคาตกต่ำ เปลี่ยนหน้าดินมาปลูกยางพาราทั้งหมด รวมถึงค่าปุ๋ยบำรุงดิน ค่าจ้างแรงงาน ค่าทำรั้ว รวมเบ็ดเสร็จค่าใช้จ่ายเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนต้นกล้ายางพาราจากรัฐบาลขณะนั้นก็ตาม "วันที่เดินทางไปรับต้นกล้ายางพาราจาก สกย.ที่ อ.หนองวัวซอ จ.หนองบัวลำภู มีเกษตรกรขับรถไปรับกล้ายางพาราจำนวนมาก ไม่สามารถเลือกต้นกล้าได้ เพราะเจ้าหน้าที่ได้มัดต้นกล้าวางไว้แล้ว พวกเราต้องขนต้นกล้ายางพาราขึ้นรถเท่านั้น จึงไม่รู้ว่าได้ต้นกล้ายางพาราที่สมบูรณ์หรือไม่ แต่ที่น่าตกใจมากก็คือหลังจากที่ปลูกกล้ายางพาราไปได้ประมาณ 2 ปี ต้นยางพาราจำนวนมากกว่าร้อยละ 90 ที่ปลูกต่างออกดอกสีขาวคล้ายดอกสะเดา และติดผลสีเขียว ทั้งที่ต้นยางยังเล็กอยู่" นายสมศักดิ์ กล่าว **เชื่อคนอีสานโดนหลอกทั้งภาค นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า หลังเกิดปัญหาดังกล่าว ตนได้สอบถามไปยังญาติของตนที่ จ.เลย ที่ปลูกยางพาราประสบผลสำเร็จ ซึ่งได้รับให้คำแนะนำมาว่า ต้นกล้ายางพาราที่ตนปลูกนั้นไม่สมบูรณ์ เป็นต้นกล้าที่ติดตาจากต้นยางแก่ หรือยางตาสอย หากปล่อยไว้จะไม่ให้ผลผลิตน้ำยาง ต้นยางจะไม่เติบโตเท่าที่ควร ไม่คุ้มจะดูแลรักษาต่อไป ตนจึงตัดสินใจไถต้นยางพารากว่า 12 ไร่ทิ้งเมื่อปี 2551 ที่ผ่านมาเหลือไว้แค่ 2 ไร่เพื่อดูว่าต้นยางเหล่านี้จะเติบโตมากน้อยแค่ไหน แต่ท้ายที่สุดตนก็ต้องกลับมาปลูกข้าวเช่นเดิม "ผมมีความเชื่อมั่นว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ และไปรับต้นกล้ายางพาราในวันเดียวกันกับผมนั้น น่าจะประสบปัญหาได้รับต้นกล้ายางไม่สมบูรณ์เช่นเดียวกันกับผม เพราะส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรอยู่ในพื้นที่ อ.โนนสัง อ.ศรีบุญเรือง อ.หนองวัวซอ จ.หนองบัวลำภู รวมถึงหลายอำเภอใน จ.อุดรธานีด้วย" นายสมศักดิ์ กล่าวพร้อมกับเปิดเผยอีกว่า สำหรับญาติของตนที่ปลูกยางพาราประสบผลสำเร็จนั้น เขาไม่ได้เข้าร่วมโครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ แต่เป็นเกษตรกรรุ่นแรกที่เข้าร่วมโครงการขยายพื้นที่ปลูกยางพารากับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ซึ่งได้ให้คำแนะนำมาว่า ควรลงทุนซื้อกล้ายางพันธุ์ดีจากทางภาคใต้มาปลูกเองน่าจะดีกว่า แต่ตนต้องการลดต้นทุนค่าพันธุ์ยางจึงเข้าร่วมโครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่ แต่ในที่สุดก็ประสบปัญหาขึ้นดังกล่าว **ชี้ถูกรัฐบาลทักษิณหลอก เสียทั้งเงิน/เวลา/ความรู้สึก นางกัลยาณี เปิดเผยความรู้สึกว่า เมื่อรู้ว่าต้นยางพาราที่ปลูกไว้จะไม่ให้ผลผลิตน้ำยาง พวกเราก็รู้ทันทีว่าถูกหลอกแน่ ซึ่งทำให้ตนเสียความรู้สึกมากที่โครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นเช่นนี้ ตนอยากถามว่าทำไมต้องมาหลอกลวงประชาชนคนจนด้วย ซึ่งการตัดสินใจปลูกยางพาราของตนนั้นเป็นความหวังสูงสุดตามที่รัฐบาลระบุว่า รายได้จากน้ำยางเมื่ออายุครบกรีดจะเป็นรายได้หลัก และตนก็ตั้งใจไว้ว่าจะนำรายได้จากยางพาราดังกล่าวเป็นเงินทุนสำหรับส่งให้ลูกทั้ง 2 คนของตนได้เรียนให้จบปริญญาตรี "รู้สึกเสียใจมาก ที่ครอบครัวทุ่มเทแรงกายแรงใจไปกับยางพาราตามนโยบายของรัฐบาล แต่ก็ต้องสูญเปล่า เสียดายเวลา และเงินทุนที่เก็บหอมรอมริบไว้ต้องสูญหายไปกับยางพารา และเสียความรู้สึกมาก เพราะตลอดระยะเวลาที่ปลูกยางพารา เราประคบประหงมดูแลอย่างดี แต่ก็กลับไม่มีอะไรคืนมาเลย มีแต่เสียกับเสีย ทำให้ชีวิตครอบครัวต้องมาเริ่มต้นใหม่ ความฝันที่วาดหวังไว้ว่ายางพาราจะชุบชีวิตให้อยู่ดีกินดี ก็ต้องมาล่มสลายในพริบตา" นางกัลยาณี ถ่ายทอดความรู้สึก **จี้ต่อมสำนึกรัฐบาลจริงใจ ปชช. นางกัลยาณี กล่าวต่ออีกว่า ความรู้สึกส่วนตัวเชื่อมั่นในตัว พ.ต.ท.ทักษิณและการบริหารงานของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ แต่โครงการฯนี้ได้ทำลายความเชื่อมั่นของตนลงไปหมดสิ้น โครงการฯนี้เป็นบทเรียนสำคัญที่ผู้บริหารประเทศหรือภาครัฐ จะต้องตระหนักในแผนงาน และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั้งประเทศ ต้องจริงใจ มีแผนติดตาม และประเมินผล แก้ปัญหาทันท่วงที อย่าให้เหมือนโครงการปลูกยาง 1 ไร่ให้การส่งเสริมแล้วเงียบหายทันที ท้ายสุด นางกัลยาณี ตั้งข้อสังเกตว่า โครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่และการแจกจ่ายต้นกล้ายางพารา 90 ล้านต้นนั้นมีการทุจริตหรือไม่ เพราะเกษตรกรอีสานหลายๆ ราย แม้ว่าจะเพิ่งปลูกยางพาราช่วงเริ่มต้น แต่เกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.เลย ล้วนประสบผลสำเร็จ สามารถกรีดยางและเกิดรายได้อย่างเป็นรูปธรรม | | | | | | |
Hotmail® has ever-growing storage! Don't worry about storage limits.
Check it out.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น