ข่าวสถานการณ์น้ำในอ่าง/เขื่อนขนาดใหญ่ วันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๒

on วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

 

ข่าวกรมชลประทาน

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ : อ่างฯบางแห่งยังคงมีน้อย เร่งรณรงค์ใช้น้ำอย่างประหยัด

 

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศว่า ปัจจุบัน(10 ก.ย. 52) มีปริมาตรน้ำรวมกันทั้งหมด 46,920 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 68 ของความจุอ่างฯรวมกันทั้งหมด ยังสามารถรับน้ำได้อีกกว่า 22,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆ ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ

สภาพน้ำในเขื่อนที่สำคัญ อาทิ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 6,557 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 49 ของความจุอ่างฯ รองรับน้ำได้อีกกว่า 6,900 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 5,447 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 57 ของความจุอ่างฯ รองรับน้ำได้อีกกว่า 4,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

ส่วนในภาคอีสาน เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี  มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 56 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯ รองรับน้ำได้อีก 62  ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ1,067 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 75 ของความจุอ่างฯ รองรับน้ำได้อีก 362 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 142 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ของความจุอ่างฯ รองรับน้ำได้อีก 172ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 44 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 37 ของความจุอ่างฯ รองรับน้ำได้อีก 76 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี  มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 445 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 46 ของความจุอ่างฯ รองรับน้ำได้อีก 128 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนประแสร์ จ.ระยอง มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 172 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 70 ของความจุอ่างฯ รองรับน้ำได้อีก 75 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์  มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 265  ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 77 ของความจุอ่างฯ รองรับน้ำได้อีก 81 ล้านลูกบาศก์เมตร

                อย่างไรก็ตาม อ่างเก็บน้ำบางแห่งมีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากฝนทิ้งช่วงนานกว่าทุกปี จึงจำเป็นต้องส่งน้ำเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำในภาคกิจกรรมต่างๆ ทาง ด้านท้ายอ่างฯ อย่างต่อเนื่อง  การใช้น้ำในปีนี้จึงอยู่ในเกณฑ์มากกว่าปีที่ผ่านๆมา  ซึ่งกรมชลประทาน ได้รณรงค์ให้เกษตรกรและประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย ให้ใช้น้ำอย่างประหยัด พร้อมทั้งขอให้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้  กรมชลประทาน จะบริหารจัดการน้ำในอ่างฯที่มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย โดยหากมีฝนตกลงมาบริเวณเหนืออ่างเก็บน้ำ จะทำการเก็บกักน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด เพื่อสำรองปริมาณน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งที่ใกล้จะมาถึงอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้

 

*************************            ๑๐ กันยายน ๒๕๕๒

 

 

 

 
เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลที่นับถือ.
 
     วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๒ เป็นวันสบายๆ สะไตล์วันสิ้น
 
สัปดาห์อันสงบกันดีไหมครับ? เรามาช่วยกันวิเคราะห์ข่าวสถานการณ์น้ำใน
 
อ่าง/เขื่อนเก็บน้ำขนาดใหญ่ (ขนาดเก็บกักน้ได้เกิน ๑๐๐ ล้าน ลบ.ม.ขึ้น
 
ไป.) คือ .- 
 
๑.) เขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์
 
     ๑.๑) ระดับเก็บกักสูงสุด              = + ๑๖๕.๗๐ เมตร (ร.ท.ก.)
 
     ๑,๒)ปริมาณน้ำเก็บกักสูงสุดในอดีต = ๒,๕๑๐     ล้าน ลบ.ม.
 
           ปริมาณร้ำเก็บกักสูงสุดในปัจจุบัน=๒,๔๕๐    ล้าน ลบ.ม.
 
     ๑.๓)ระดับเก็บกักปกติในปัจจุบัน    = + ๑๖๒.๐๐  เทตร (ร.ท.ก.)
 
     ๑.๔)ปริมาณน้ำเก็บกักปกติในปัจจุบัน =๑,๔๓๐     ล้าน ลบ.ม.
 
     ๑.๕)ดูจากกราฟน้ำวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๒ มุมขวาบนจะพบว่า
 
           เขื่อนลำปาวมีปริมาณน้ำในเขื่อนคิดเป็นร้อยละ ๘๐ ของปริมาณ
 
           น้ำเก็บกักปกติ = ๑,๔๓๐x๐.๘๐ = ๑,๑๔๔ ล้าน ลบ.ม. น้ำเริ่ม
 
           ทะลักเขื่อนแล้ว.(เขื่อนเริ่มปล่อยน้ำทิ้งช่วงที่ ๓) ตั้งแต่วันที่ ๗
 
           กันยายน ๒๕๕๒
 
      ๑.๖) หากบริหารจัดการน้ำด้วยความตระหนกตกใจ ก็จะทำให้ปริมาณ
 
            น้ำปลายปี ๒๕๕๒ มีเหลืออยู่เพียง ๑,๐๘๐ ล้าน ลบ.ม./หรือ
 
            น้อยกว่านี้ก็ได้.นั่นก็แสดงว่าปริมาณน้ำต้นปี ๒๕๕๓ ก็จะเหลือ
 
            น้อยตามไปด้วยคือ ๑,๐๘๐ ล้าน ลบ.ม.และวงจรข่าว
 
            สถานการณ์น้ำข้างต้นก็จะหวลกลับมาอีกโดยไร้การแก้ไข.คือ
 
            เขื่อนมีปริมาณน้ำน้อยไม่เพียงพอต่อการบริการทำนาปรังของ
 
            พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาเช่นทุกๆปีที่ผ่านมาครับ.
 
       ๑.๖) ปริมาณน้ำที่เขื่อลำปาวจะรับได้อีกเพียง =  ๑,๓๒๐ - ๑,๑๔๔
 
             = ๑๗๖ ล้าน ลบ.ม. เท่านั้น ทั้งนี้นับจากวันที่ ๑๘ กันยายน
 
             ๒๕๕๒ นะครับ.
 
๒.) เขื่อลำพระเพลิง จังหวัดนครราชสีมา.
 
        ๒.๑)ระดับเก็บกักสูงสุด         =  + ๒๗๓.๐๐ เมตร (ร.ท.ก.)
 
        ๒.๒)ปริมาณน้ำเก็บกักสูงสุด         =     ๒๔๒   ล้าน ลบ.ม.
 
        ๒.๓)ระดับน้ำเก็บกักปกติในปัจจุบัน  =     ๑๑๐    ล้าน ลบ.ม.
 
        ๒.๔)ประสิทธิภาพเขื่อนลำพระเพลิง = ๑๑๐x๑๐๐/๒๔๒
 
                                              = ๔๕.๔๕%
 
        ๒.๕) ดูจากกราฟน้ำวันที่๑๘ กันยายน ๒๕๕๒ มุมขวาบนจะพบว่า
 
               เขื่อนลำพระเพลิงมีปริมาณน้ำในเขื่อนคิดเป็นร้อลละ ๒๘
 
               ของปริมารน้ำเก็บกักปกติ = ๑๑๐x๐.๒๘ = ๒๘ ล้าน ลบ.ม.
 
               เท่านั้น เพราะเขื่อนเร่งปล่อยน้ำทิ้งไปตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน
 
               ๒๕๕๒ เช่นเดียวกับเขื่อน ลำปาว.
 
         ๒.๖) ถามว่า แล้วปริมาณน้ำต้นปี ๒๕๕๓ จะมีปริมาณเท่าได?
 
                ยังตอบไม่ได้ในขนะนี้ เพียงขอเตือนเกษตรกรที่ฝันว่าจะทำ
 
                นาปรังนั้นขอให้เลิกฝันได้เลยนะครับ.
 
๓.)เขื่อนลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
 
                ผมไม่สามารถเข้าไปดูกราฟน้ำได้ในขนะนี้ครับ แต่คาดว่า
 
     จะมีสภาพไม่ต่างไปจากเขื่อนลำพระเพลืงครับ.
 
                ด้วยจิตรคารวะ
 
        ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 
          ๒๐ กันยายน ๒๕๕๒
 
 
 
 
 
 
 


Your E-mail and More On-the-Go. Get Windows Live Hotmail Free. Sign up now.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น