กรมชลฯ กำลังจะทำลายมรดกโลก "อุทธยานแห่งชาติปางสีดา และอุทธยานแห่งชาติเขาใหญ่"

on วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552

เรียนพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและสมัชชาคนจนบนเขื่อนราษีไศลและเกษตรกร/ชาวนาในเขตจังหวัดปราจีนบุรีที่เคารพ.
 
            ผมได้นำข้อมูลโครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ของกรมชลประทานซึ่งคณะกรรมการมรดกโลก(ไทย)ยินยอมให้ก่อสร้างได้แล้วคือ
 
โครงการก่อสร้างเขื่อนห้วยโสมง/และอีกเขื่อนคือ โครงการก่อสร้างเขื่อนห้วยใสน้อย - ห้วยใสใหญ่(ยังไม่ไฟเขียว)
 
            กรุณาช่วยกันตรวจสอบข้อมูลด้วยว่า ที่กรมชลฯ อ้างตามแนวพระราชดำรินั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้ก่อสร้างเขื่อนขนาดไหน?กันแน่ครับ เพราะในระยะหลัง พระองค์ท่าน ทรงให้สร้างเขื่อน "เตี้ยๆ"ดังที่ผมได้นำเสนอไปแล้ว.
 
            โดยความเห็นส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยเลยที่จะก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่อุทธยานแห่งชาติดังกล่าว เพราะผมเห็นว่า ประโยชน์ที่อ้างนั้นจะไม่ถึงเกษตรกร/ชาวนาจริง และในทางตรงกันข้ามยังจะทำให้เกิดอุทกภัยมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น เขื่อน ลำปาว และเขื่อน ลำพระเพลิง ได้สร้างความเสียหายและความยากจนให้แก่พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาในพื้นที่ดังกล่าวอย่างมหาศาลและยังไม่มีการแก้ไขเลยครับ เอาแต่สร้างไปเรื่อยๆเพื่อใช้งบประมาณครับ. ผมอยากขอให้คุณอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่เคยกล่าวอยู่เสมอว่า "ประชาชนต้องมาก่อน" นั้นขอให้ท่านได้ชลอการก่อสร้าง
เอาไว้ก่อน จนกว่า กรมชลฯ จะได้ทำการสำรวจความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัยอันเนื่องมาจากเขื่อน ลำปาว และเขื่อน ลำพระเพลิง ให้ชัดเจนเสียก่อนและรีบหาแนวทางแก้ไข รวมทั้งเขื่อนปากมูล เขื่อนราษีไศล และเขื่อน หัวนา ซึ่งก็ยังคารา คาซังกันอยู่ พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาและประชาชนเขาต่อต้านหนัก. (รวมทั้งเขื่อนที่ถูกลืม เช่น เขื่อน ลำนางรอง เขื่อนมูลบน เขื่อนลำแซะและเขื่อน ลำปลายมาศ ถูกปลดออกจากตารางเขื่อนขนาดใหญ่แล้วด้วย)
 
         อนึ่งผมทราบว่า พรรคการเมืองใหม่ จะมีการประชุมเลือกกรรมการบริหารและห้วหน้าพรรค ในเร็ววันนี้ ผมไม่อยากให้รอ อยากให้พรรคการเมืองใหม่ ช่วยค้นหาข้อมูลและนำเสนอแก่ประชาชนด้วย/และช่วยกันต่อต้าน.
 
         งบประมาณรวมกันมากถึง ๑๕,๐๐๐ ล้านบาทเศษ น่าที่จะนำไปแก้ปัญหาเขื่อน ลำปาว และเขื่อน ลำพระเพลิง โดยการก่อสร้างเขื่อนขนาดเล็กลงเหนือเขื่อนทั้งสองให้เก็บน้ำส่วนที่เกินกว่าเขื่อนทั้งสองจะรับได้ เขื่อนเดียวไม่พอ ก็สร้างสองแห่งเหนือขึ้นไปอีก เพื่อเก็บกักน้ำเอาไว้และค่อยๆปล่อยมาใช้ในหน้าแล้ง จะสร้างได้เร็ว และเป็นการแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งซ้ำซาก ให้พื้นที่ ลุ่มน้ำปาว และลุ่มน้ำมูลด้วยครับ. อย่าบอกนะครับว่า เขื่อนลำปาวกำลังปรับปรุงอยู่ และเขื่อน ลำพระเพลิงก็กำลังจะเปิดการประมูล เพราะผมและพี่นร้องเกษตรกร/ชาวนาไม่เชื่อว่าจะแก้ปัญหาอุทกภัยได้ครับ.
         
            ด้วยจิตรคารวะ
 
       ประชุม สุริยามาศ. วย.๗๗๗
 

มรดกโลกไฟเขียวสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง

วันศุกร์ ที่ 04 กันยายน 2552 เวลา 0:00 น

Bookmark and Share

นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน  เปิดเผยว่า  ขณะนี้คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วย  อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ได้พิจารณาอนุญาตให้กรมชลประทานเข้าใช้พื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานประมาณ 1,655 ไร่ และอุทยานแห่งชาติปางสีดาอีกประมาณ 1,072 ไร่ ซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในปี 2553
   
พื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง ตั้งอยู่ในเขตตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี มีความจุในระดับเก็บกัก 295 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นเขื่อนดินสูง 53 เมตร สันเขื่อนกว้าง 9 เมตร ยาว 3,967 เมตร
   
เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ จะช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรี และลุ่มน้ำบาง  ปะกงตอนบน ที่เกิดขึ้นทุกปี และส่งน้ำเพื่อการเกษตรในเขตชลประทานได้ตลอดทั้งปีครอบคลุมพื้นที่กว่า 111,300 ไร่ ในเขตอำเภอนาดี และอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 
   
และเป็นน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างพอเพียง มีน้ำต้นทุนในการรักษาระบบนิเวศ ผลักดันน้ำเค็ม น้ำเน่าเสียในแม่น้ำปราจีนบุรี และแม่น้ำบางปะกง เป็นแหล่งขยายและเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด   เป็นแนวป้องกันการบุกรุกทำลายป่าในพื้นที่มรดกโลก เป็นแหล่งน้ำให้กับสัตว์ป่าและให้ความชุ่ม ชื่นแก่พันธุ์ไม้ต่าง ๆ เป็นแหล่งน้ำสำรองในการดับไฟป่าที่เกิดขึ้นเป็นประจำในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนา อุตสาหกรรมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกและพื้นที่ใกล้เคียงโดยรอบอีกด้วย
   
"โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา จังหวัดปราจีน บุรี และสระแก้ว ตามพระราชดำริ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับ โครงการดังกล่าวถึง 6 ครั้ง นับตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา โดยให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการชลประทานประเภทอ่างเก็บน้ำในลุ่มน้ำพระปรงและลุ่มน้ำห้วยโสมง ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำบางปะกง เนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ และยังสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ อีกด้วย" อธิบดีกรมชลประทาน  กล่าว.
 
 
 
 

รายละเอียดโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง

ที่ตั้งโครงการห้วยโสมง
                   
โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง  มีที่ตั้งหัวงานในเขตบ้านแก่งยาว  ตำบลแก่งดินสอ  อำเภอนาดี  จังหวัดปราจีนบุรี  ณ  เส้นละติจูด  140- 04-49 องศาเหนือ  และเส้นลองติจูด 102-01-49 องศา ตะวันออกหรือพิกัดตามระบบ UTM 48 PSA 793-584 ตามแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1:50,000  ของกรมแผนที่ทหาร ระวาง 5437 III (ดูรูปที่2.1-1 ประกอบ) มีขอบเขตพื้นที่หัวงานโครงการฯและพื้นที่อ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตตำบลแก่งดินสอส่วนพื้นที่ชลประทานอยู่ในเขตตำบลแก่งดินสอ  อำเภอนาดี  ตำบลเมืองเก่า  ตำบลบ่อทองและตำบลบ้านนา
 อำเภอกบินทร์บุรี ครอบคลุมพื้นที่ชลประทาน  111,300 ไร่

ลักษณะโครงการ
                            จากการทบทวนรายงานการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม  โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง  จังหวัดปราจีนบุรี  ของกรมชลประทาน (พฤษภาคม พ.ศ.2538)และรายงานการทบทวนด้านอุทกวิทยาในขั้นการออกแบบรายละเอียด  ของกรมชลประทาน (พ.ศ.2544) พบว่าโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง  ประกอบด้วยงานเขื่อนเก็บกักน้ำและ
อาคารประกอบ  งานระบบชลประทาน  งานระบบระบายน้ำ  และงานจัดสรรที่รองรับอพยพจากเขตอ่างเก็บน้ำ ดังสามารถสรุปองค์ประกอบและลักษณะโครงการดังนี้

 1) สภาพทางอุตุ-อุทกวิทยา
                                -  พื้นที่ลุ่มน้ำเหนือที่ตั้งเขื่อนเก็บกักน้ำ                                                                                    443.00            ตร.กม.
                                -  ความยาวลำน้ำสายหลักจากต้นน้ำ                                                                                          32.00             กิโลเมตร
                                -  ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำรายปีเฉลี่ย                                                                             266.00            ล้าน  ลบ.ม.

                            2) ลักษณะอ่างเก็บน้ำ
                                -  ระดับเก็บกักน้ำต่ำสุด                                                                                                              +32.200            เมตร (รทก.)
                                -  ระดับเก็บกักน้ำปกติ                                                                                                                +48.000            เมตร (รทก.)
                                -  ระดับน้ำสูงสุด                                                                                                                         +49.400            เมตร (รทก.)
                                -  ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับเก็บกักต่ำสุด                                                                                    +19.500            ล้าน ลบ.ม.
                                -  ความจุอ่างน้ำที่ระดับเก็บกักปกติ                                                                                            295.00              ล้าน ลบ.ม.
                                -  ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับน้ำสูงสุด                                                                                          340.00              ล้าน ลบ.ม.
                                -  ปริมาณตะกอนสะสมในอ่างเก็บน้ำ   (รอบ  500  ปี)                                                               18.15                ล้าน ลบ.ม.
                                -  พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับเก็บกักต่ำสุดประมาณ (6.00 ตร.กม.)                                                          3,750                   ไร่
                                -  พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับเก็บกักปกติประมาณ (26.00 ตร.กม.)                                                        16,250                   ไร่
                                -  พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับน้ำสูงสุดประมาณ (27.12 ตร.กม.)                                                            16,948                   ไร่

3) อาคารหัวงาน
                               
โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง  มีอาคารหัวงานเป็นเขื่อนดินแบบแบ่งโซน (Zone type dam) 
                                ประกอบด้วย  ลักษณะงานส่วนสำคัญดังนี้
                                -  ระดับสันเขื่อน                                                                                                                       +
53.000                เมตร (รทก.)
                                -  ความกว้างสันเขื่อนดิน                                                                                                              9.00                   เมตร
                                -  ความยาวสันเขื่อนดิน                                                                                                            3,967.51                เมตร
                                -  ความสูงเขื่อนจากท้องน้ำประมาณ                                                                                            32.75                 เมตร
                                -  ลาดเขื่อนดิน
                                        ด้านเหนือน้ำ                                                                                                                            1:3            
                                        ด้านท้ายน้ำ                                                                                                                             1:2.5
                                -  ส่วนกว้างที่สุดของฐานเขื่อนประมาณ                                                                                    207.00                เมตร
                                -  ปริมาตรตัวเขื่อน                                                                                                                    7,200,000             ลบ.ม.

 4) อาคารประกอบหัวงาน
                              
  อาคารระบายน้ำล้น  มีที่ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของเขื่อนหลัก
                                        ก)  ชนิดบานระบายโค้งขนาด 7.00 x 6.00 เมตร รัศมี 8.00  เมตร จำนวน 3 บาน
                                        ข)  ระดับสันธรณีประตู +42.980 เมตร (รทก.)
                                        ค)  ระดับเก็บกักน้ำปกติ (ร.น.ก.) +48.00 เมตร (รทก.)
                                        ง)  ระดับสูงสุด (ร.น.ส.)+49.400 เมตร (รทก.)
                                        จ)  ระดับสันตอม่อ +53.000 เมตร (รทก.)
                                        ฉ)  สามารถระบายน้ำผ่านสูงสุด 630.57 ลบ.ม./วินาที ที่ระดับน้ำสูงสุด +49.400  เมตร 
                                              (รทก.) (Return period ของน้ำหลากรอบปีการเกิดซ้ำ 1,000 ปี)

                          
5) พื้นที่ชลประทาน
                               
5.1 พื้นที่ชลประทานฝั่งซ้ายจำนวน 94,800 ไร่
                                5.2  พื้นที่ชลประทานฝั่งขวาจำนวน 16,500 ไร่

                          
  6) ระบบชลประทาน
                               
6.1 ความยาวของคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย  34.25  กม.
                                6.2 ความยาวของคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา  11.00  กม.
                                6.3 ความยาวของคลองซอยฝั่งซ้าย (54 สาย)  178.81  กม.
                                6.4 ความยาวของคลองซอยฝั่งขวา  (17 สาย)  35.27  กม.

                           
7) งบประมาณ 
                               
งบประมาณโครงการทั้งสิ้น  6,036.520 ล้านบาท 
 
 
 
 
 
 

รายละเอียดโครงการอ่างเก็บน้ำใสน้อย-ใสใหญ่

ลักษณะโครงการ
       
โครงการอ่างเก็บน้ำใสน้อย-ใสใหญ่ ต.สะพานหิน  อ.นาดี  จ.ปราจีนบุรี  เป็นโครงการชลประทานขนาดใหญ่ งบประมาณในการก่อสร้าง 9,694.81 ล้านบาท
สามารถสรุปลักษณะของโครงการได้ดังนี้
ลักษณะโครงการ
        สรุปลักษณะโครงการอ่างเก็บน้ำใสใหญ่ตอนล่าง
            ที่ตั้ง                                                                                                            อ.นาดี        จ.ปราจีนบุรี
            แผนที่มาตราส่วน                                                                                      1:50,000 ระวาง 5337 II , 5337 III
            พิกัดที่                                                                                                        1,566,290N 794,620E
            ประเภทโครงการ                                                                                       เก็บกักน้ำ
            พื้นที่รับน้ำเหนือหัวงาน                                                                                        615                    ตร.กม.
            ฝนเฉลี่ยทั้งปีประมาณ                                                                                        2,000                    มม.
            ปริมาณน้ำไหลผ่านหัวงานในเกณฑ์เฉลี่ยประมาณ                                             531                      ล้าน ลบ.ม.
            อัตราน้ำหลากในรอบ 10,000 ปี                                                                          1,709                    ลบ.ม./วินาที

        อาคารหัวงานอ่างเก็บน้ำ :
            อ่างเก็บน้ำ

            -  ระดับเก็บกักปกติ                                                                                                +65                   ม.รทก.
            -  ระดับน้ำต่ำสุด                                                                                                    +22                     ม.รทก.
            -  ระดับน้ำนองสูงสุด                                                                                         +66.7                      ม.รทก.
            -  ความจุอ่างฯ ที่ระดับเก็บกักปกติ                                                                        334                    ล้าน ลบ.ม.
            -  ความจุอ่างฯ ที่ระดับน้ำต่ำสุด                                                                            5.73                    ล้าน ลบ.ม.
            -  ความจุอ่างฯ ที่ระดับน้ำนองสูงสุด                                                                     361                    ล้าน ลบ.ม.
            -  ความจุอ่างฯ ใช้การ                                                                                            328                    ล้าน ลบ.ม.
            -  พื้นที่ผิวอ่างฯที่ระดับเก็บกักปกติ                                                                    7,858                    ไร่
            -  พื้นที่ผิวอ่างฯที่ระดับน้ำนองสูงสุด                                                                 8,129                     ไร่

            เขื่อน
            -  ชนิด เขื่อนดินชนิดคละแบ่งโซน (Random Zone)
            -  ระดับสันเขื่อน                                                                                                 +70                        ม.รทก.
            ความสูงเขื่อน (สูงสุด)                                                                                           60                        ม.
            -  ความยาวเขื่อน                                                                                               3,130                        ม.
            -  ปริมาตรตัวเขื่อน                                                                                                 21                        ล้าน ลบ.ม.
            -  ความกว้างของสันเขื่อน                                                                                     10                         ม.
            -  ความกว้างของฐานเขื่อน (กว้างที่สุด)                                                              320                         ม.
            -  ความลาดของเขื่อนด้านเหนือน้ำ                                                                   1:2.5            
            -  ความลาดของเขื่อนด้านท้ายน้ำ                                                                      1:2.5
            อาคารระบายน้ำล้น (Spillway)
                    แบบ Gate-Control Chute Spillway
                    ระดับสันอาคาร                                                                                       +59.00                        ม.(รทก.)
                    ความยาวอาคาร                                                                                               62                        ม.
                    ระบายน้ำได้สูงสุด                                                                                    1,667                        ลบ.ม./วินาที

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
        -  ส่งน้ำให้แก่พื้นที่ชลประทานทั้งหมด                                                                                            283,900     ไร่
                    เป็นพื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน            จำนวน                                       249,900      ไร่
                    โดยแยกเป็น   - พื้นที่ชลประทานเปิดใหม่ฝั่งซ้าย            จำนวน                                        3,400         ไร่
                                            - พื้นที่ชลประทานเปิดใหม่ฝั่งขวา            จำนวน                                        19,000       ไร่
                                            - พื้นที่ชลประทานท่าแห                           จำนวน                                        60,000       ไร่
                                            - พื้นที่ชลประทานท่าแหส่วนขยาย           จำนวน                                       25,000       ไร่
                                            - พื้นที่ชลประทานโครงการบางพลวง        จำนวน                                     142,500       ไร่

                    และพื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน จำนวน  34,000  ไร่
                    โดยแยกเป็น    - โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าของ พพ.         จำนวน                                        9,000          ไร่
                                            - โครงการฝายปราจีนบุรี                             จำนวน                                      25,000          ไร่

        -  ส่งน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค และอุตสาหกรรม                                                                                      111           ล้าน ลบ.ม./ปี
        - บรรเทาอุทกภัย อำเภอกบินทร์บุรี                                                                                                       5.32           ล้านบาท/ปี
        - ผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด                                                                                                         1,569           ล้านบาท/ปี
                    ประกอบด้วย
                        - ผลประโยชน์ทางด้านการเกษตร                                                                                       1,103           ล้านบาท/ปี
                        - ผลประโยชน์ทางด้านน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค                                                                  461           ล้านบาท/ปี
                        - ผลประโยชน์ทางด้านบรรเทาอุทกภัย                                                                                 5.32           ล้านบาท/ปี
        -  อัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุน (B/C)                                                                                        1.17            ล้านบาท/ปี
           (ที่อัตราคิดลดร้อยละ 10)
        -  อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR)                                                                                    11.38    %
        -  มูลค่าปัจจุบันตอบแทนสุทธิ (NPV)                                                                                                1,000           ล้านบาท/ปี
            (ที่อัตราคิดลดร้อยละ 10
)

 
 
 
 
 


Microsoft brings you a new way to search the web. Try Bing™ now

13 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สร้างก็ดีแล้ว น้ำท่วมทุกปี หน้าแล้งน้ำก็แห้ง คนไม่ได้มาอยู่ที่นี่ไม่รู้หรอกรู้แต่อุดมการณ์ รู้แต่ค้านสุดโต่ง อุดมการณ์มันกินได้ไหม ลองมาถามชาวบ้านเขาสิว่าให้สร้างไหมท่าน

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เรียนคุณไม่ระบุชื่อ

ผมมิได้ค้านอย่างสุดโต่งนะครับ เพียง อยากให้มองย้อนกลับไปแก้ไขปัญหา เขื่อนขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงแก่เกษตรกร/ชาวนาท้ายเขื่อน และเลยไปท่วมทุ่งราบ/หรือบริเวณพื้นที่ปากน้ำอันอุดมสมบูรณ์อีกด้วยครับ เช่นเขื่อน ลำปาว จ.กาฬสินธุ์ และเขื่อน ลำพระเพลิง จ.นครราชสีมาบ้านผมด้วยครับ น้ำท่วมเป็นเวลานาน พอฝนหยุดน้ำในเขื่อนเหลือน้อยมาก ไม่พอจ่ายบริการให้เกษตรกร/ชาวนาในหน้าแล้ง
เกษตรกร/ชาวนาเสียทั้งขึ้นและล่อง คุณอาจไม่ทราบครับ และผมอยากให้สร้างเขื่อน/อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก/หรือขนาดกลาง มากกว่า กระจายไปให้ทั่วพื้นที่ สร้างเสร็จเร็ว ใช้งบประมาณน้อย และเข้าถึงพวกเรามากกว่าถ้าคุณอ่านให้ละเอียดและใจเย็นหน่อยคุณก็จะรู้ว่า ผมไม่ได้ค้านสุดโต่งเลยครับ และอยากจะบอกให้คุณทราบอีกด้วยว่า สมัชชาคนจนเขากำลังคัดค้านกันอยู่บนสันเขื่อนราษีไศลเกือบ ๒ เดือนแล้วนะครับ พวกเขาเป็นเกษตรกร/ชาวนาที่ถูกผลกระทบโดยตรง สมัยก่อน โคราชบ้านผมน้ำก็ท่วมทุกปี ๓ - ๔ วันน้ำก็ลดแล้วและน้ำก็จะพัดพาเอาดินตะกอนอันอุดมสมบูรณ์มาให้เราตามธรรมชาติครับ สระหน้าบ้านผมน้ำเต็มทุกปี เราไม่เคยเดือดร้อย ยกเว้นบางปีที่แล้งนานมากเท่านั้น แต่ก็เป็นช่วงไม่ยาวนัก เราก็ยังสามารถไปนำน้ำจากสระวัดมาใช้ได้ครับ ถ้าคุณเป็นเกษตรกร/ชาวนาผมเข้าใจครับว่า คุณเดือดร้อน จากคำพูดของคุณเองที่ว่า "น้ำท่วมทุกปี หน้าแล้งน้ำก็แห้ง" ผมอยากให้คุณเปิดใจและลองกลับไปย้อนอ่าน โครงการแก้มลิงตามแนวพระราชดำริ มาใช้แทนการขุดสระสำหรับแปลงเกษตร "ทฤษฎีใหม่" ค่าจ้างเหมาก็ไม่แพงครับ ซึ่งผมได้นำขึ้นเว็บบล็อกด้วยแล้วครับ นี้คิอการแก้ปัญหาร้ำท่วม น้ำแล้งด้วยตนเองก่อนไงครับ แล้วนรัฐจึงเข้าไปเสริม สร้างอ่างใหญ่ เพื่อนำน้ำมาเติมอ่างเล็กและสระน้ำประจำไร่นาครับ หากคุณต้องการแบบก่อสร้าง แจ้งผมมาได้นะครับตามอีเมล์ที่คุณบ่นผมมา ผมไม่โกรธคุณหรอกครับ และผมจะมอบหนังสือ "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" และหน้งสือ "ทฤษฎ๊ใหม่เกี่ยวกับน้ำเพื่อการเกษตร" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมชุดความรู้เกษตรอิรทรีย์ ของครูทองเหมาะ แจ่มแจ้ง เกษตรกรดีเด่น สาขาการทำนา ปี ๒๕๔๙ ครบชุดเลยครับ ผมต้องขออภัยที่ต้องพูดอย่างตรงไปตรงมาครับ และหากคุณเป็นข้าราชการกรมชลประทาน ผมก็ยินดีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยนะครับ /ประชุม.

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เรียนคุณไม่ระบุชื่อ

อยากให้คุณอ่าน ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ให้เข้าใจ และรับรู้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแนะนำให้เกษตรกร/ชาวนา กลับมาทำเกษตร ผสมผสาน ใช่ไหม?ครับ แล้วพระองค์ทรงค้นคิดต่อยอดเป็น เกษตร ทฤษฎีใหม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ พวกเรามีรายได้และมีงานทำตลอดปีและเป็นการพึ่งตนเอง/และสามารถป้องกันภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงได้อีกด้วยครับ สนใจ ส่งข่าวที่ e-mail:msuriyamas@hotmail.com
และเข้าไปดูแบบก่อสร้างสระเก็บกักน้ำโดยน้อมนำโครงการแก้มลิงตามแนวพระราชดำริมาปรับใช้ได้ที่http://msuriyamas.blogspot.com/2009/09/blog-post_27.html คุณจะได้เห็นแปลงนาที่แห้งแล้งเพราะขาดน้ำ แต่กลับมาต้องรีบเก็บเกี่ยวข้าวเพื่อหนีน้ำ นี่คือข้อเท็จจริงครับ/ประชุม.

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอแสดงความคิดเห็นสักนิดนะครับ คือ ผมเองเป็นคนพืนที่ครับ ปัญหาเรื่องความแห้งเริ่มรุนแรงขึ้นทุกปี ถึงช่วงหน้าแล้งสัตร์ป่าบนเขาไม่มีน้ำกิน ซึ่งคนพื้นที่อย่างผมรู้ดี การสร้างอ่างเก็บน้ำผมว่าเป็นเรื่องดี
ในพื้นที่ อ กบินทร์บุรี อ ศรีหมาโพธ์ อ เมืองปราจีนบุรี ถึงหน้าน้ำหลากจะถ่วมทุกปีและรุนแรงขึ้นทุกปี แม้แต่สวนของมก็ท่วม คนในพื้นที่ตำบลแก่งดินสอ ส่วนใหญ่จะทำสวน ปลูกผักขาย หน่อไม้ไผ่ตรง ซึ่งขึ้นชื่อของปราจีน และส่วนใหญ่ผลผลิตต่าง ก็ส่งเข้าไปยังตลาดผักต่างๆ สี่มุมเมือง ตลาดไทย และกระจายไปอีกหลายๆ พื้นที่ ประโยชน์ที่ใด้รับจากอ่างเก็บน้ำนั้นเยอะมากคครับ ถ้าไม่ไช่คนพื้นที่ก็คงไม่รู้หลอกครับ ผม ประชาชนคนแก่งดินสอแท้ๆๆครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

กรุณาเข้าไปอ่าน คำตอบคนไม่ระบุชื่อครับ เขื่อนขนาดใหญ่ จะส่งผลกระทบน้ำม่วมมากขึ้นในช่วงที่ฝนตกชุก เพราะเขื่อนไม่สามารถเก็บกักน้ำที่ไหลลงเขื่อนได้ทั้งหมดครับ.
๑.)เขื่อนห้วยโสมง
ความจุอ่างที่ระดับเก็บกักสูงสุด = ๓๔๐ ล้าน ลบ.ม.
ความจุอ่างที่ระดับเก็บกักปกติ (เก็บกักจริง)= ๒๙๕ ล้าน ลบ.ม.
ปัจจุบันป่าถูกทำลายไปมาก ไม่มีพอเพียงในการชลอน้ำเอาไว้ ช่วงฝนตกชุกสุดก็จะไหลลงมาท่วมไร่นาเกษตรกร/ชาวนาที่อยู่ท้ายเขื่อนรวมกับปริมาณน้ำฝนที่ตกอยู่ ก็จะท่วมหนักมาก ปริมาณน้ำที่เกินอยู่ = ๔๕ ล้าน ลบ.ม./ปี.(ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนรายปี ๒๖๖ ล้าน ลบ.ม. นั้นเป็นค่าเฉลี่ย.) ดูตัวอย่างเขื่อน ลำปาว และเขื่อนลำพระเพลิงได้ครับ.

๒.) เขื่อน ห้วยใสน้อย - ใสใหญ่ก็ในทำนองเดียวกันครับ ปริมาณน้ำไหลผ่านหัวงานเฉลี่ย ๕๓๑ ล้าน ลบ.ม. แต่ความจุเขื่อนที่ระดับเก็บกักสูงสุดเพียง ๓๖๑ ล้าน ลบ.ม. และความจุเขื่อนที่ระดับเก็บกักปกติเพียง
๓๓๔ ล้าน ลบ.ม. เท่านั้นครับ.
๓.) ผมเข้าใจในความเดือดร้อนของคุณ เลยไปยึดติดกับรายงานจากกลุ่มคนที่เขาจะสร้างเขื่อนเท่านั้น เขาก๋จะบอกแต่เรื่องดีๆครับ.

งบประมาณค่าก่อสร้าง = ๖,๐๓๖.๕๒ ล้าน บาท.ถ้านำไปก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาด ๑.๕ - ๒ ล้าน ลบ.ม. ก็จะสร้างได้ถึง ๑,๐๐๐ กว่าแห่ง กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ พื้นที่บริการน้ำก็จะได้มากกว่า ๒ เท่าครับ.
หนือ =

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

หรือ = ๑๑๓,๐๐๐x๒ = ๒๒๖,๐๐๐ ไร่และถ้าเสริมด้วย เกษตร "ทฤษฎีใหม่" และถ้าเรา (รัฐบาล) ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับมาทำเกษตร "ทฤฎีใหม่" เพื่อการดำรงค์ชีพตามแนวพระราชดำริ "เศรษฐกิจพอเพียง" ก็จะทำให้การบริหารจัดการน้ำเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นได้ถึง ๖ เท่า นั่นก็คือ พื้นที่ๆจะได้รับการบริการน้ำได้อย่างดีจะมีถึง = ๑๑๓,๐๐๐x๖ = ๖๗๘,๐๐๐ ไร่ทีเดียวครับ.

๔.) เขื่อนห้วยใสน้อย - ใสใหญ่ ก็จะเกิดผลกระทบน้ำท่วมหนักในทำนองเดียวกันครับ คุณลองเข้าไปอ่านข่าวเขื่อนลำปาว เขื่อนลำพระเพลิงได้ครับว่า ส่งผลกระทบน้ำท่วมไร่นาเสียหายเกือบจะทุกปี แล้วไม่มีไคร? เข้าไปแก้ไขเลยครับ.

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

๕.)สงสัยในข้อมูล ผมยินดีรับฟังความคิดเห็นครับ กรุณาส่งมาที่อีเมล์

p2479@hotmail.com ครับ./ขอบคุณครับ.

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

๖.)อยากอ่านข้อมูล ซึ่งผมโพสท์ไว้ในที่ต่างๆได้โดย ก๊อปปี้อีเมล์(p2479@hotmail.com)แล้วไปวางในกูเกิลแล้วคลิกครับ.-

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผมไปค้นข้อมูลมาให้อ่านครับ.-
23 กรกฎาคม
โคราช ผวา! เขื่อนลำพระเพลิงแตก - เร่งระบายน้ำท่วม “ปักธงชัย” อ่วมหนัก
โคราช ผวา! เขื่อนลำพระเพลิงแตก - เร่งระบายน้ำท่วม “ปักธงชัย” อ่วมหนัก
เขื่อนลำพระเพลิงโคราชเร่งระบายน้ำต่อเนื่อง หลังระดับน้ำเพิ่มไม่หยุดมีปริมาณกักเก็บแล้ว 113% ส่งผลให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือน ไร่นาราษฎร เขต อ.ปักธงชัย ที่อยู่ใต้เขื่อนอ่วมหนักกว่า 7 หมู่บ้าน 3 ตำบล และมีพื้นที่เสี่ยงจ่อท่วมอีก 80 หมู่บ้าน ขณะที่ชาวบ้านแห่ขึ้นไปดูปริมาณน้ำในเขื่อน เพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัย ด้านทางอำเภอรุดเข้าช่วยเหลือพร้อมอพยพคน สัตว์เลี้ยงไปอยู่พื้นที่สูง และยืนยันเขื่อนลำพระเพลิงยังแข็งแรง ไม่แตกร้าวพังทลายแน่นอน

วันนี้ (11 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ได้มีประชาชนชาวปักธงชัยหลายหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใต้เขื่อนลำพระเพลิง ทยอยเดินทางขึ้นไปดูปริมาณน้ำที่บริเวณสันเขื่อนอย่างต่อเนื่อง หลังจากทราบว่าเขื่อนลำพระเพลิงมีปริมาณน้ำเกินกว่าระดับการกักเก็บ

โดยชาวบ้านส่วนใหญ่ที่เดินทางมา ต่างบอกว่า ต้องการขึ้นมาดูระดับน้ำด้วยตาของตัวเอง เพราะไม่มั่นใจว่าเขื่อนจะมีปัญหารองรับน้ำปริมาณมากได้มากน้อยเพียงใด และจะทำการระบายน้ำ หรือเกิดเหตุการณ์เขื่อนแตกร้าวทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนไร่นาของตนเองหรือไม่ ที่สำคัญคือ อยากให้มั่นใจว่าเขื่อนยังมีความแข็งแรง ไม่แตกร้าว จึงได้พากันขับรถยนต์ขึ้นมาดูให้แน่ใจ

ทั้งนี้ เขื่อนลำพระเพลิง เป็น 1 ใน 5 เขื่อนของประเทศในขณะนี้ที่ประสบปัญหามีปริมาณน้ำเกินกว่าระดับกักเก็บ โดยล่าสุดวันนี้ ปริมาณน้ำในเขื่อนลำพระเพลิง มีจำนวน 125 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็น 113% ของความจุที่ระดับการกับเก็บ 110 ล้าน ลบ.ม.ทำให้น้ำล้นปากปล่องระบายน้ำไหลลงลำธารสาธารณะจำนวนมาก

ขณะเดียวกัน ทางเขื่อนได้เร่งระบายน้ำออกจำนวน 100 ลบ.ม./วินาที และยังมีน้ำไหลเข้าเขื่อนอย่างต่อเนื่องจำนวน 139 ลบ.ม./วินาที เนื่องจากยังมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในพื้นที่เหนือเขื่อน ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมบ้านเรือนและไร่นาประชาชนอย่างหนักในพื้นที่ใต้เขื่อนเขต อ.ปักธงชัย จำนวนหลายตำบล

โดยเฉพาะราษฎรในตำบลตูม อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา กว่า 140 ครอบครัว ต่างขนทรัพย์สินสิ่งของขึ้นที่สูง เพื่อหนีน้ำกันอย่างอลหม่าน หลังจากเขื่อนลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย ได้เร่งระบายน้ำออกจากเขื่อนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้น้ำเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่ทางการเกษตร ทั้งนาข้าว และพืชไร่ ได้รับผลกระทบจนใต้น้ำเป็นบริเวณกว้างรวมกว่า 3,400 ไร่ แล้ว

ต่อมาเมื่อเวลา 14.30 น.วันเดียวกันนี้ (11 ต.ค.) นายชัยยงค์ ฮมภิรมย์ นายอำเภอปักธงชัย พร้อมด้วยกิ่งกาชาด อ.ปักธงชัย ได้นำถุงยังชีพ ข้าวสารอาหารแห้งเข้าไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วมหนักในพื้นที่ 3 ตำบล คือ ต.บ่อปลาทอง, ตูม และ ต.สุขเกษม เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนในเบื้องต้น

นายชัยยงค์ ฮมภิรมย์ นายอำเภอปักธงชัย เปิดเผยว่า จากรายงานสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุดของ อ.ปักธงชัย พบว่า ราษฎรใน 7 หมู่บ้าน 3 ตำบล คือ ต.บ่อปลาทอง, ตูม และ ต.สุขเกษม กว่า 150 ครอบครัว ประสบกับภาวะน้ำท่วมสูง นาข้าวถูกน้ำท่วมขังแล้วมากกว่า 3,000 ไร่ พืชสวน 373 ไร่ บ่อปลา 103 บ่อ, สะพานไม้ชำรุด 1 แห่ง, ถนน 1 แห่ง และพืชผักถูกน้ำท่วม 100 ไร่ และขณะนี้น้ำที่ระบายจากเขื่อนลำพระเพลิงยังคงเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่ไร่นา ขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ อ.ปักธงชัย มีพื้นที่เสี่ยงภัยที่เป็นที่ลุ่มและอยู่ใต้เขื่อนลำพระเพลิงจำนวน 80 หมู่บ้าน 13 ตำบล ขณะนี้ทางอำเภอได้ออกประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวเร่งเก็บข้าวของขึ้นไว้ที่สูง และอพยพผู้คน สัตว์เลี้ยงพร้อมเคลื่อนย้ายอาหารสัตว์มาไว้ที่สูงแล้ว คาดว่า น้ำจะเอ่อเข้าพื้นที่ดังกล่าวท่วมในเร็วๆ นี้

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ส่วนการสำรวจความเสียหายได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งทำการสำรวจและรายงานให้ทราบโดยด่วน พร้อมทั้งนำเครื่องอุปโภคบริโภคหรือถุงยังชีพเข้าไปแจกจ่ายให้แก่ราษฎรที่ประสบภัยเพื่อเป็นการช่วยเหลือในเบื้องต้นไว้ก่อน

สำหรับความวิตกของประชาชน เกรงว่า เขื่อนลำพระเพลิงจะไม่มีความปลอดภัย นั้น นายชัยยงค์ กล่าวว่า ทางหัวหน้าโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำพระเพลิง ยืนยันว่า ตัวเขื่อนมีความแข็งแรง ไม่มีอันตราย หรือเกิดการแตกร้าวพังทลายอย่างแน่นอน ซึ่งเขื่อนสามารถรับน้ำได้สูงสุดถึงระดับสันเขื่อนประมาณ 150 ล้าน ลบ.ม.และในระยะยาวทางโครงการฯ กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาแนวทางที่จะเสริมสันเขื่อนสูงขึ้นเพื่อให้สามารถเก็บน้ำได้มากกว่าเดิม ทั้งนี้เพราะเขื่อนลำพระเพลิง มีพื้นที่รับน้ำมาก แต่ปัจจุบันสามารถกักเก็บน้ำได้ปริมาณน้อยแค่ 110 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อีก ๒ ปีต่อมา.-โคราชผว่า เขื่อนลำพระเพลิงน้ำเหลือครี่งอ่าง ครับ.
ชาวโคราชผู้ใช้น้ำเขื่อนลำพระเพลิงตื่นตระหนกน้ำมีครึ่งอ่าง หวั่นปัญหาน้ำดื่มน้ำใช้ขาดแคลน 3 อำเภอ ด้าน ผอ.โครงการสั่งงดนาปรังเด็ดขาด มั่นใจประคองรอดแล้งนี้หากใช้น้ำประหยัดสุดๆ …

เมื่อช่วงสายของวันนี้ ( 23 ม.ค.52 )ที่สำนักงานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำพระเพลิง ( เขื่อนลำพระเพลิง) ต.ตะขบ อ.ปักธงชัยฯ นายจำลอง พินิจการ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำพระเพลิง ได้ร่วมประชุมวางแผนการบริหารจัดการกับหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของโครงการฯ และการเตรียมการในการแก้ไขปัญหาหากเกิดปัญหาเรื่องการจ่ายน้ำกว่า 15 คน

พร้อมทั้งเปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำที่กักเก็บมีอยู่ในอ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง ต.ตะขบ อ.ปักธงชัยฯ ในปีนี้ต้องยอมรับว่า ปริมาณน้ำเข้าสู่อ่างมีน้อยมาก และอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ ซึ่งทำให้ทางโครงการฯได้ร่วมประชุมกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายตั้งแต่นายอำเภอปักธงชัย , นายอำเภอโชคชัย และนายอำเภอเฉลิมพระเกียรติฯ , กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน , อบต. และผู้นำกลุ่มผู้ใช้น้ำต่างๆกว่า 100 คนที่ได้ร่วมประชุมกันที่โครงการฯเมื่อ 2 – 3 วันที่ผ่านมาแล้ว เพื่อชี้แจงให้ทราบโดยทั่วกันว่า น้ำในอ่างลำพระเพลิงมีเพียงพอน้อยนิด ซึ่งช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรไม่เต็มพื้นที่ ฉะนั้นเราจึงต้องขอร้องว่าในปีนี้ของดส่งน้ำเพื่อทำนาปรัง 1 ปี หรือใน 1 รอบปีก่อน เพราะต้องรักษาน้ำส่วนนี้เอาไว้ใช้ในระบบประปา เพื่อใช้ในการอุปโภค บริโภคเท่านั้น เพราะ อ.ปักธงชัย , อ.โชคชัย และ อ.เฉลิมพระเกียรติบางส่วนใช้น้ำจากเขื่อนลำพระเพลิงในการผลิตน้ำดิบ และอีกส่วนหนึ่งใช้ในระบบประปาหมู่บ้านตาม อบต. ที่ต้องใช้ และอีกส่วนหนึ่งจำเป็นจะต้องปล่อยริมน้ำบางส่วนหล่อเลี้ยงตัวลำพระเพลิงเดิม หรือเรียกว่าระบบรักษาระบบนิเวศน์ เพื่อวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ต้องใช้น้ำ

สำหรับ อ.เฉลิมพระเกียรติฯซึ่งอยู่ปลายน้ำก่อนจะไหลลงแม่น้ำมูลมีพี่น้องประชาชนเดือดร้อนว่า น้ำไหลลงไปไม่ถึง และทำให้เกิดการเน่าเสีย อย่างไรก็ตามทั้งในส่วนของอ่างลำพระเพลิง และอ่างเก็บน้ำลำมูลบนก็จะต้องปล่อยริมน้ำบางส่วนเพื่อไปไล่ระบบน้ำที่เน่าเสียลงไปสู่ลำน้ำมูล

สำหรับนาปรังปีนี้ ที่เกษตรกร สอบถามมามากว่า จะส่งน้ำให้ได้หรือไม่ นั้น ตอบได้ว่า ได้ แต่ไม่เต็มพื้นที่ ฉะนั้นทางนายอำเภอต่างๆก็ได้ขอให้เก็บน้ำส่วนนี้เอาไว้เลี้ยงประปา เลี้ยงผู้คนส่วนใหญ่ และเก็บน้ำส่วนนี้เพื่อเอาไว้ใช้ทำนาปีจะดีกว่า เพราะนาปีจะไม่เสี่ยงเพราะจะถึงเดือนพฤษภาคมพอดี และเวลานั้นคาดว่าฝนก็น่าจะลง แต่ถ้าถึงเดือนพฤษภาคมฝนยังไม่ลง และทิ้งช่วงไปบ้าง ก็ยังพอมีน้ำส่วนที่เซฟไว้ใช้ได้ ฉะนั้นปัญหาก็จะไม่เกิด แต่ถ้านำน้ำนี้มาใช้นาปรัง พอถึงนาปีฝนไม่ตก เกษตรกรและประชาชนทั้ง 3 อำเภอจะลำบากมาก เพราะมีเวลาถึง 3 – 4 เดือนกว่าจะถึงฝนใหม่ จึงจำเป็นต้องสงวนน้ำส่วนนี้ไว้ให้ถึง 4 เดือนข้างหน้านี้ให้ได้

เพราะเขื่อนลำพระเพลิง นั้น สามารถเก็บกักน้ำได้จำนวน 110 ล้าน ลบ.ม. แต่ขณะนี้มีน้ำเหลืออยู่เพียง 55 ล้าน ลบ.ม. หรือเพียงครึ่งหนึ่งของอ่าง เพราะฉะนั้นอย่างไรก็คงไม่พอ เพราะจากช่วง 3 – 4 ปีย้อนหลังไปนาปรังแต่ละปีจะใช้น้ำประมาณ 70 ล้าน ลบ.ม. ถึงจะเต็มพื้นที่นาปรัง ถ้าน้ำต่ำกว่า 70 ล้าน ลบ.ม.ถือว่าอันตรายมาก และถ้าปล่อยน้ำไปให้ก็จะเสี่ยงเกินไป

ซึ่งขณะนี้ก็ได้ทำหนังสือถึงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดฯขอฝนหลวงมาช่วยเพื่อเติมน้ำให้เต็มสภาพของอ่างฯ แต่ยังไม่ทราบผล เพราะต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างในการขึ้นบินทำฝนหลวง ทั้งอุณหภูมิ ความชื้นของอากาศ และเมฆต่างๆ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

นายจำลองฯกล่าวอีกว่า ตนฝากไปยังพี่น้องเกษตรกรว่า มีความเห็นอกเห็นใจพี่น้องเกษตรกรทุกคน ทุกคนมีเจตนาที่อยากจะช่วยเหลือทั้งนั้น ไม่ได้หวงน้ำอะไร แต่ต้องรักษาภาพรวมของพี่น้องประชาชนใน 3 อำเภอไว้ก่อนที่ต้องใช้น้ำประปาในการอุปโภค บริโภคจากเขื่อนลำพระเพลิงทั้งสิ้น ส่วนปัญหาสาเหตุที่น้ำเข้าอ่างน้อยนั้น ต้องบอกว่าในช่วงหลังจะเห็นว่าโลกเปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะสภาพภูมิอากาศมีความแปรปรวน ผิดเพี้ยนไปหมด และสิ่งไหนที่ไม่เคยเจอก็ได้เจอ เหตุการณ์ไหนไม่เคยเห็นก็ได้เห็น ฤดูกาลต่างๆก็เพี้ยนเปลี่ยนแปลงไป หน้าหนาวกลางวันร้อนกลางคืนหนาว

แต่ไม่ว่าอย่างไรขอเรียนว่า ไม่ได้ทอดทิ้งพี่น้องประชาชนและพี่น้องเกษตรกร สำหรับการปล่อยน้ำเป้าหลักก็คือ ประปา โดยประปา อ.ปักธงชัย และประปา อ.โชคชัย ถ้าร้องขอมาก็ต้องปล่อยไปให้ทางคลองคอนกรีต หรือคลองดาด ถ้าเป็นประปาหมู่บ้านบางจุดอยู่ไกลจากคลองก็อาศัยน้ำจากลำน้ำธรรมชาติก็คือลำพระเพลิงเดิม ซึ่งเรารินไปครั้งละ 1 – 2 คิว หรือครึ่งคิว เมื่อได้สมบูรณ์แล้วก็หยุดส่งน้ำ ตนยืนยันขณะนี้ยังไม่ถึงขั้นเปิดปล่อยน้ำเป็นเวลา แต่ต้องพยายามประหยัดที่สุด และเมื่อปล่อยน้ำไปก็ต้องติดตามดูว่า เพียงพอหรือยัง ถ้าเพียงพอแล้วก็หยุด แต่ถ้าปล่อยตลอดวัน ตลอดคืนยืนยันว่าน้ำหมดอ่างแน่นอน ซึ่งการปล่อยน้ำอาจจะเป็น 1 สัปดาห์ต่อครั้งบ้าง หรือ 1 เดือนครั้งบ้าง เพราะบางจุดมีบ่อเพื่อสูบน้ำสต๊อกน้ำไว้ใช้ได้หลายวันหรือเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผมขออนุญาตินำเสนอ ข้อคิดเห็นของผม ในบทความ "แม่น้ำมูล"
ที่ http://www.esanclick.com/newses_art.php?No=03458

แสดงความคิดเห็น